โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP           


            เมื่อเร็วๆนี้ V-SERVE GROUP ร่วมกับ ร้านหนังสือ “ซีเอ็ด”  (SE-EDUCATION) ได้มีการเปิดตัวหนังสือ “Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน” ณ โรงแรมสวิส โฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจมาร่วมเป็นจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้เกิดจากผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางสำรวจเส้นทางขนส่งผ่านทาง สปป.ลาว , พม่า และจีนตอนใต้ โดยใช้เส้นทางบกและเส้นทางขนส่งทางแม่น้ำโขง รวมถึง การเดินทางผ่านเส้นทางหมายเลข 9 เชื่อโยงอำเภอแม่สอด – จังหวัดมุกดาหาร – แขวงสะหวันนะเขต จนไปถึงดานังในเวียดนาม ผู้เขียนมีความประทับใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเดินทางโดยใช้การขนส่งทางแม่น้ำโขง จึงได้เขียนหนังสือ  “Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน” ซึ่งจะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์สำคัญที่ประเทศไทยให้ความสนใจ โดย Logistics ปัจจุบันได้เป็นที่แพร่หลาย กลายเป็นกระแส ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ต่างให้ความสนใจ โดยเห็นได้จากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ที่ได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย โดยจุดประสงค์สำคัญก็ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่งของอนุภูมิภาคอินโดจีน อย่างไรก็ดี ใช่ว่าประเทศไทยที่ต้องการจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เท่านั้น ประเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย , สิงคโปร์ , เวียดนาม โดยเฉพาะจีน ต่างก็มุ่งที่จะใช้ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจในการต่อรอง แข่งขัน แย่งชิง ในการที่จะใช้ประโยชน์กับการเป็นผู้นำทางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาค จะเห็นได้จากหลายโครงการที่รัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นถนน ระบบการสื่อสาร ท่าเรือ สนามบิน รวมถึงการเข้าไปใช้ประโยชน์จากประเทศที่อ่อนแอกว่าทางเศรษฐกิจ แต่เป็นขุมทรัพย์ทางวัตถุดิบที่จำเป็นต้องการผลิต เช่น ประเทศพม่า , ลาว , กัมพูชา ดังนั้น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ จึงได้กลายเป็นประเด็นสำคัญของการเมืองระหว่างประเทศ  

           หนังสือนี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งมีโอกาสได้เดินทางไปสำรวจเส้นทางต่างๆ ทั้งในประเทศจีนและประเทศอื่นๆในอินโดจีน รวมถึงมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการประชุม พบปะผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ในหลายประเทศ จึงเห็นน่าจะเผยแพร่มุมมองและข้อมูลเป็นหนังสือทางวิชาการกึ่งสารคดีในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษาของการพัฒนาระบบ       โลจิสติกส์ (Logistics Case Study) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยผู้เขียนเลือกที่จะใช้กรณีศึกษา การพัฒนาร่องน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาค ที่ไหลผ่านประเทศต่างๆในอินโดจีน ตั้งแต่ต้นน้ำซึ่งอยู่ในเขตธิเบต ผ่านหลายมณฑลในประเทศจีน ผ่านประเทศพม่า , ไทย , สปป.ลาว , กัมพูชา และออกสู่ทะเลที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เวียดนามตอนใต้ โดยกรณีศึกษาของการพัฒนาระบบ Logistics การขนส่งทางแม่น้ำโขง จะมีความน่าสนใจยิ่ง นอกเหนือจากเส้นทางนี้ในบางช่วงผ่านพื้นที่ที่มีความทุรกันดาร อารยธรรมสมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึงและบางแห่งยังมีการสู้รบช่วงชิงดินแดน โดยเฉพาะอยู่ในทางเหนือของพม่า   อีกทั้งกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากของแม่น้ำโขง ยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าที่ต้องผ่านเกาะแก่งที่เป็นอันตราย แม่น้ำโขงจึงดูเหมือนกับเป็นแม่น้ำที่ลึกลับ จึงน่าจะใกล้เคียงกับที่ผู้เขียนได้ Highlight เป็นหัวเรื่องของหนังสือนี้ว่า “แม่น้ำโขง..เส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน” ทั้งนี้ ประเทศจีนได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าต้องการมีอิทธิพลในการควบคุมเส้นทางการขนส่งโดยเฉพาะจากจีนจนมาถึงบริเวณหลวงพระบาง สำหรับกรณีของประเทศ สปป.ลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ Land Lock ต้องพึ่งพาการออกทะเลผ่านประเทศไทยก็เริ่มที่จะมีการเปลี่ยนนโยบายโดยหันไปพึ่งพาการใช้เส้นทางออกทะเลผ่านท่าเรือวุงอางในประเทศเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งเวียดนามเองก็ต้องการเข้ามาแข่งขันกับประเทศไทยในการใช้ประโยชน์จากเส้นทางออกสู่ทะเลจากประเทศ สปป.ลาว 

            ในหนังสือฉบับนี้ ผู้อ่านจะได้เห็นถึงอุปสรรคของการขนส่งทางแม่น้ำโขง ซึ่งจีนได้มองเห็นเป็นโอกาสในการพัฒนา โดยการสร้างเขื่อนกั้นน้ำหลายแห่งและระเบิดเกาะแก่ง เพื่อทำเป็นร่องน้ำ โดยจีนเข้าครอบงำเส้นทางขนส่งทั้งทางบกและแม่น้ำได้โดยสิ้นเชิง โดยเมืองเชียงรุ่ง หรือจีนเรียกว่าจิ่งหง ส่วนคนไตลื้อจะเรียกว่า สิบสองปันนา กำลังพัฒนาให้เป็นประตูด้านทักษิณสู่ประเทศจีน ขณะที่ประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ท่าเรือเชียงแสนและท่าเรือเชียงของ และจังหวัดเชียงราย เป็นศูนย์กลางเพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่ประเทศจีน การพัฒนาท่าเรือเชียงแสน จึงต้องมีการเร่งรีบ จะพัฒนาแบบ “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม” คงไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ การเข้าใจถึงนโยบาย    มหภาคของจีนเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งภาครัฐของไทยจะต้องให้ความสนใจ เนื่องจากจีน เป็นประเทศที่มีระบบที่เรียกว่า ทวิลักษณ์ คือ ระบบการเมืองที่เป็นสังคมนิยม ขณะที่ภาคธุรกิจเป็นระบบตลาด ด้วยลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้มีการแทรกแซงตลาด ราคาสินค้าของจีนจึงมีต้นทุนที่แปรปรวน การจะแข่งขันกับจีนจึงไม่ใช่การเข้าไปแลกหมัดด้านต้นทุนค่าแรง ซึ่งอุตสาหกรรมของไทยไม่มีทางที่จะสู้ได้ แต่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมก้าวหน้าหรือ STI Industry (Skill , Technology , Innovation) รวมถึงการมีแนวคิดย้ายฐานการผลิตไปในประเทศอาเซียนใหม่ไม่ว่าจะเป็นลาว , พม่า , กัมพูชา , เวียดนาม หรือแม้แต่จีนเอง อย่างไรก็ดี จากลักษณะความเสี่ยงจากปัจจัยด้านสังคมและการเมืองของจีน ตลอดจนกฎ ระเบียบต่างๆที่มีความแตกต่างกันแต่ละมณฑล จะเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปลงทุนในประเทศจีนโดยตรง การนำเข้าสินค้าไปสู่ตลาดจีนตาม ข้อตกลง FTA อาจใช้ไม่ได้ผลกับลักษณะของตลาดของจีน โดยข้อตกลงการค้าเสรีจีนกับไทย หรืออาเซียน คงจะมีคนที่ได้และคนที่เสีย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา , แป้งมันสำปะหลัง ,ลำไย ฯลฯ จะต้องเร่งใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุกในการเข้าถึงตลาดของจีน สำหรับภาคอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรมที่จะกลายเป็นผู้เสียประโยชน์ก็ต้องเร่งสร้างยุทธศาสตร์ตั้งรับกับจีน ซึ่งยังมีเวลาอีก 5-6 ปี ก่อนที่จะถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งสินค้าเกือบทุกรายการจะมีภาษี 0-5% ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาคราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้วิจารณญาณ โดยเอาประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง หรืออย่างน้อยก็นำกรณีของจีนเป็น Case Study ในการทำข้อตกลง FTA กับอีกหลายประเทศที่กำลังจะตามมา  โดยเฉพาะการนำอุปสรรคของแม่น้ำโขงให้ปรับเปลี่ยนเป็นโอกาส ทั้งในแง่การเชื่อมโยงการขนส่ง และการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยแม่น้ำโขงจะเป็นแม่น้ำสำคัญในฐานะเป็นเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้ายุคใหม่และเป็นเส้นทางขนส่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและทางการเมืองระหว่างประเทศมากที่สุดของภูมิภาค

             นอกจากนี้ หนังสือ “Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน”  ยังได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย และประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำอินโดจีน ซึ่งต่างนำนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์มาเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจการเมืองของภูมิภาค โดยผู้เขียนได้ถ่ายทอดประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์และการเดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงเอเชียหมายเลข 9 จากมุกดาหาร ผ่านเส้นทางในประเทศลาวและเวียดนาม โดยผู้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้ทราบถึงเส้นทางขนส่งที่ส่วนใหญ่แล้วยังไม่เป็นที่รู้จัก รวมถึง ให้ทราบถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีนและประเทศต่างๆในอินโดจีน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนามและประเทศ สปป.ลาว ซึ่งก็ไม่ต้องการที่จะเป็น “น้องเล็ก” ของไทยตลอดไป นอกจากนี้ จะได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยจะต้องเอาอย่างและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเส้นทางขนส่ง ตั้งแต่ด่านปาดังเบซาร์ของไทย ไปจนถึงท่าเรือ Port Klang สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อนบ้าน จะพลาดไม่ได้โดยหนังสือนี้จะเขียนให้อ่านง่าย จะเป็นลักษณะเชิงวิชาการกึ่งสารคดี อ่านแล้วจะเข้าใจว่าทำไมประเทศไทย จึงยากนักยากหนากับการที่จะเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของอินโดจีน...

 

" />
       
 

Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP           


            เมื่อเร็วๆนี้ V-SERVE GROUP ร่วมกับ ร้านหนังสือ “ซีเอ็ด”  (SE-EDUCATION) ได้มีการเปิดตัวหนังสือ “Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน” ณ โรงแรมสวิส โฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจมาร่วมเป็นจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้เกิดจากผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางสำรวจเส้นทางขนส่งผ่านทาง สปป.ลาว , พม่า และจีนตอนใต้ โดยใช้เส้นทางบกและเส้นทางขนส่งทางแม่น้ำโขง รวมถึง การเดินทางผ่านเส้นทางหมายเลข 9 เชื่อโยงอำเภอแม่สอด – จังหวัดมุกดาหาร – แขวงสะหวันนะเขต จนไปถึงดานังในเวียดนาม ผู้เขียนมีความประทับใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเดินทางโดยใช้การขนส่งทางแม่น้ำโขง จึงได้เขียนหนังสือ  “Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน” ซึ่งจะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์สำคัญที่ประเทศไทยให้ความสนใจ โดย Logistics ปัจจุบันได้เป็นที่แพร่หลาย กลายเป็นกระแส ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ต่างให้ความสนใจ โดยเห็นได้จากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ที่ได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย โดยจุดประสงค์สำคัญก็ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่งของอนุภูมิภาคอินโดจีน อย่างไรก็ดี ใช่ว่าประเทศไทยที่ต้องการจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เท่านั้น ประเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย , สิงคโปร์ , เวียดนาม โดยเฉพาะจีน ต่างก็มุ่งที่จะใช้ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจในการต่อรอง แข่งขัน แย่งชิง ในการที่จะใช้ประโยชน์กับการเป็นผู้นำทางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาค จะเห็นได้จากหลายโครงการที่รัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นถนน ระบบการสื่อสาร ท่าเรือ สนามบิน รวมถึงการเข้าไปใช้ประโยชน์จากประเทศที่อ่อนแอกว่าทางเศรษฐกิจ แต่เป็นขุมทรัพย์ทางวัตถุดิบที่จำเป็นต้องการผลิต เช่น ประเทศพม่า , ลาว , กัมพูชา ดังนั้น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ จึงได้กลายเป็นประเด็นสำคัญของการเมืองระหว่างประเทศ  

           หนังสือนี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งมีโอกาสได้เดินทางไปสำรวจเส้นทางต่างๆ ทั้งในประเทศจีนและประเทศอื่นๆในอินโดจีน รวมถึงมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการประชุม พบปะผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ในหลายประเทศ จึงเห็นน่าจะเผยแพร่มุมมองและข้อมูลเป็นหนังสือทางวิชาการกึ่งสารคดีในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษาของการพัฒนาระบบ       โลจิสติกส์ (Logistics Case Study) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยผู้เขียนเลือกที่จะใช้กรณีศึกษา การพัฒนาร่องน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาค ที่ไหลผ่านประเทศต่างๆในอินโดจีน ตั้งแต่ต้นน้ำซึ่งอยู่ในเขตธิเบต ผ่านหลายมณฑลในประเทศจีน ผ่านประเทศพม่า , ไทย , สปป.ลาว , กัมพูชา และออกสู่ทะเลที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เวียดนามตอนใต้ โดยกรณีศึกษาของการพัฒนาระบบ Logistics การขนส่งทางแม่น้ำโขง จะมีความน่าสนใจยิ่ง นอกเหนือจากเส้นทางนี้ในบางช่วงผ่านพื้นที่ที่มีความทุรกันดาร อารยธรรมสมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึงและบางแห่งยังมีการสู้รบช่วงชิงดินแดน โดยเฉพาะอยู่ในทางเหนือของพม่า   อีกทั้งกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากของแม่น้ำโขง ยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าที่ต้องผ่านเกาะแก่งที่เป็นอันตราย แม่น้ำโขงจึงดูเหมือนกับเป็นแม่น้ำที่ลึกลับ จึงน่าจะใกล้เคียงกับที่ผู้เขียนได้ Highlight เป็นหัวเรื่องของหนังสือนี้ว่า “แม่น้ำโขง..เส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน” ทั้งนี้ ประเทศจีนได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าต้องการมีอิทธิพลในการควบคุมเส้นทางการขนส่งโดยเฉพาะจากจีนจนมาถึงบริเวณหลวงพระบาง สำหรับกรณีของประเทศ สปป.ลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ Land Lock ต้องพึ่งพาการออกทะเลผ่านประเทศไทยก็เริ่มที่จะมีการเปลี่ยนนโยบายโดยหันไปพึ่งพาการใช้เส้นทางออกทะเลผ่านท่าเรือวุงอางในประเทศเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งเวียดนามเองก็ต้องการเข้ามาแข่งขันกับประเทศไทยในการใช้ประโยชน์จากเส้นทางออกสู่ทะเลจากประเทศ สปป.ลาว 

            ในหนังสือฉบับนี้ ผู้อ่านจะได้เห็นถึงอุปสรรคของการขนส่งทางแม่น้ำโขง ซึ่งจีนได้มองเห็นเป็นโอกาสในการพัฒนา โดยการสร้างเขื่อนกั้นน้ำหลายแห่งและระเบิดเกาะแก่ง เพื่อทำเป็นร่องน้ำ โดยจีนเข้าครอบงำเส้นทางขนส่งทั้งทางบกและแม่น้ำได้โดยสิ้นเชิง โดยเมืองเชียงรุ่ง หรือจีนเรียกว่าจิ่งหง ส่วนคนไตลื้อจะเรียกว่า สิบสองปันนา กำลังพัฒนาให้เป็นประตูด้านทักษิณสู่ประเทศจีน ขณะที่ประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้ท่าเรือเชียงแสนและท่าเรือเชียงของ และจังหวัดเชียงราย เป็นศูนย์กลางเพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่ประเทศจีน การพัฒนาท่าเรือเชียงแสน จึงต้องมีการเร่งรีบ จะพัฒนาแบบ “ช้าๆได้พร้าเล่มงาม” คงไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ การเข้าใจถึงนโยบาย    มหภาคของจีนเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งภาครัฐของไทยจะต้องให้ความสนใจ เนื่องจากจีน เป็นประเทศที่มีระบบที่เรียกว่า ทวิลักษณ์ คือ ระบบการเมืองที่เป็นสังคมนิยม ขณะที่ภาคธุรกิจเป็นระบบตลาด ด้วยลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้มีการแทรกแซงตลาด ราคาสินค้าของจีนจึงมีต้นทุนที่แปรปรวน การจะแข่งขันกับจีนจึงไม่ใช่การเข้าไปแลกหมัดด้านต้นทุนค่าแรง ซึ่งอุตสาหกรรมของไทยไม่มีทางที่จะสู้ได้ แต่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมก้าวหน้าหรือ STI Industry (Skill , Technology , Innovation) รวมถึงการมีแนวคิดย้ายฐานการผลิตไปในประเทศอาเซียนใหม่ไม่ว่าจะเป็นลาว , พม่า , กัมพูชา , เวียดนาม หรือแม้แต่จีนเอง อย่างไรก็ดี จากลักษณะความเสี่ยงจากปัจจัยด้านสังคมและการเมืองของจีน ตลอดจนกฎ ระเบียบต่างๆที่มีความแตกต่างกันแต่ละมณฑล จะเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปลงทุนในประเทศจีนโดยตรง การนำเข้าสินค้าไปสู่ตลาดจีนตาม ข้อตกลง FTA อาจใช้ไม่ได้ผลกับลักษณะของตลาดของจีน โดยข้อตกลงการค้าเสรีจีนกับไทย หรืออาเซียน คงจะมีคนที่ได้และคนที่เสีย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา , แป้งมันสำปะหลัง ,ลำไย ฯลฯ จะต้องเร่งใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุกในการเข้าถึงตลาดของจีน สำหรับภาคอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรมที่จะกลายเป็นผู้เสียประโยชน์ก็ต้องเร่งสร้างยุทธศาสตร์ตั้งรับกับจีน ซึ่งยังมีเวลาอีก 5-6 ปี ก่อนที่จะถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งสินค้าเกือบทุกรายการจะมีภาษี 0-5% ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาคราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้วิจารณญาณ โดยเอาประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง หรืออย่างน้อยก็นำกรณีของจีนเป็น Case Study ในการทำข้อตกลง FTA กับอีกหลายประเทศที่กำลังจะตามมา  โดยเฉพาะการนำอุปสรรคของแม่น้ำโขงให้ปรับเปลี่ยนเป็นโอกาส ทั้งในแง่การเชื่อมโยงการขนส่ง และการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยแม่น้ำโขงจะเป็นแม่น้ำสำคัญในฐานะเป็นเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้ายุคใหม่และเป็นเส้นทางขนส่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและทางการเมืองระหว่างประเทศมากที่สุดของภูมิภาค

             นอกจากนี้ หนังสือ “Logistics Case Study… แม่น้ำโขงเส้นทางสายไหมโลจิสติกส์ยุคใหม่ของการค้าจีน-อาเซียน”  ยังได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย และประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำอินโดจีน ซึ่งต่างนำนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์มาเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจการเมืองของภูมิภาค โดยผู้เขียนได้ถ่ายทอดประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์และการเดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงเอเชียหมายเลข 9 จากมุกดาหาร ผ่านเส้นทางในประเทศลาวและเวียดนาม โดยผู้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้ทราบถึงเส้นทางขนส่งที่ส่วนใหญ่แล้วยังไม่เป็นที่รู้จัก รวมถึง ให้ทราบถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีนและประเทศต่างๆในอินโดจีน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนามและประเทศ สปป.ลาว ซึ่งก็ไม่ต้องการที่จะเป็น “น้องเล็ก” ของไทยตลอดไป นอกจากนี้ จะได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยจะต้องเอาอย่างและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเส้นทางขนส่ง ตั้งแต่ด่านปาดังเบซาร์ของไทย ไปจนถึงท่าเรือ Port Klang สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อนบ้าน จะพลาดไม่ได้โดยหนังสือนี้จะเขียนให้อ่านง่าย จะเป็นลักษณะเชิงวิชาการกึ่งสารคดี อ่านแล้วจะเข้าใจว่าทำไมประเทศไทย จึงยากนักยากหนากับการที่จะเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของอินโดจีน...

 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 4374 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com