เรียบเรียงโดย

ฝ่ายเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เมืองฟูกูชิม่า ซึ่งปัจจุบันกำลังมีปัญหาการได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เป็นปัจจัยสำคัญของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย เพราะเป็นโครงการที่ได้รับการต่อต้านอยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว หากมีการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีที่เมืองฟูกูชิม่า ย่อมส่งผลกระทบต่อโครงการในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ ความรุนแรงจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีปรมาณู จนถึงระดับ 4 เป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าทางญี่ปุ่นจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของโรงไฟฟ้าปรมาณูของฟูกูชิม่า ไดอิจิ  หลักการทำงานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะใช้ยูเรเนียม 235 เป็นเชื้อเพลิงภายในเตาปฏิกรณ์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชั่นหรือการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอม โดยอนุภาคนิวตรอนจะมีการชนกัน แบบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดพลังความร้อนมหาศาล ทำให้น้ำเดือดและเกิดไอน้ำไปหมุนใบพัดให้เกิดพลังไฟฟ้า  ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว เตาปฏิกรณ์ 3 ตัวจากทั้งหมด 6 ตัวกำลังทำงานอยู่ แต่เตาปฏิกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ปิดการทำงานโดยอัตโนมัติหากเกิดแผ่นดินไหว จากนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังดีเซลจะเริ่มทำหน้าที่ปั๊มน้ำเข้าไปบริเวณโดยรอบเตาปฏิกรณ์เพื่อหล่อเย็นไว้ แต่ปรากฏว่าทำงานได้เพียงชั่วโมงเดียวก็ล้มเหลวเนื่องจากสึนามิทำให้เกิดน้ำท่วมและเกิดความเสียหาย  ทางการญี่ปุ่นแถลงว่าการระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความล้มเหลวของระบบปั๊มน้ำ ไม่ใช่เตาปฏิกรณ์ สาเหตุที่ระเบิดอาจเป็นเพราะแรงดันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆภายในฝาครอบชั้นในเตาปฏิกรณ์ เมื่อไม่มีน้ำหล่อเย็น แรงดันจึงต้องหาช่องระบาย โลหะบางชิ้นที่อยู่รอบเชื้อเพลิงอาจปริออก เปิดช่องให้เชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดเซอร์โคเนียมอ็อกไซด์และไฮโดรเจนซึ่งเมื่อผสมกับอากาศที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดระเบิดขึ้น ทั้งนี้ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 และหมายเลข 2 แห่งนี้ใช้มานานถึง 40 ปีแล้ว โดยมีอยู่ทั้งสิ้น   6 เตา ซึ่งไอเออีเอเคยเตือนญี่ปุ่นเมื่อ 2 ปีที่แล้วว่าหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงอาจสร้างปัญหาร้ายแรงแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของไอเออีเอเคยแสดงความวิตกไว้เมื่อปลายปี 2551 ว่า เตาปฏิกรณ์ของญี่ปุ่น ได้รับการออกแบบมาให้รับแผ่นดินไหวที่ระดับ 7 ริกเตอร์ สำหรับเตาหมายเลขหนึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุด แต่ก็เป็นเตาปฏิกรณ์รุ่นราวคราวเดียวกับที่สหรัฐมีอยู่ประมาณ 100 เตาในขณะนี้ก่อนที่สหรัฐจะตัดสินใจไม่สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่อีกเลยตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี หากเกิดขึ้นอาจเทียบเท่ากับเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอโนบิล ซึ่งกระบวนการทำงานของเตาปฏิการณ์ หยุดลงเกือบ 5 วันแล้ว ทำให้จนถึงขณะนี้ น่าจะเหลือสารกัมมันตรังสีเพียงเกือบ 2 ใน 3 โดยล่าสุดสามารถลดอุณหภูมิของเตาหมายเลข 2 หมายเลข 4 หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ให้ระบบหล่อเย็นกลับมาทำงานได้ แต่โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแจ้งว่า อาจปิดโรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า ไดอิจิ อย่างถาวร เพราะโรงไฟฟ้าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงและยากที่จะซ่อมแซมให้มีสภาพที่ปลอดภัย

ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 6 โรงได้หยุดเดินเครื่องไปแล้ว เพียงแต่ต้องรอให้อุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงที่มีอยู่ 400-500 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิของความร้อนร่วมที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนที่ 1,000 องศาเซลเซียส คลายความร้อนหรือเย็นตัวลงด้วยวิธีการเดียว คือ การฉีดน้ำทะเลหล่อเลี้ยง ทดแทนระบบหล่อเย็นเดิม ซึ่งเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ คาดว่าอาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 วัน ถึงจะคลายความร้อน  ปริมาณสารกัมมันตรังสีทั้งไอโอดีนและซีเซียมที่แพร่ออกสู่ภายนอก จะอยู่บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร เนื่องจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยังไม่เกิดการระเบิด แตกต่างจากกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่แท่งเชื้อเพลิงเกิดการระเบิด  อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ทางการญี่ปุ่นได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับการพบการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีในนมและพืชผักจากจังหวัดฟูกูชิม่า และจังหวัดใกล้เคียงในรัศมี 130 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า อีกทั้งทางการญี่ปุ่นยังเตือนว่าสถานการณ์การรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่พ้นจากวิกฤต แต่มีสภาพดีขึ้นตามลำดับ

กรณีประเทศไทยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู

ประเทศไทยมีการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งประเมินค่าก่อสร้างไว้ หากเป็นขนาดกำลังการผลิต 1 พันเมกะวัตต์ จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างโรงละ 3,087 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 9.2 หมื่นล้านบาท ตามแผน พีดีพี 2010  ประเทศไทยจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวคลียร์ 5 โรง เท่ากับจะต้องใช้ลงทุนประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างเพียงโรงละ 1,550 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท  ที่ผ่านมาภาคการเมืองไม่ให้ความสำคัญต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู เพราะไม่อยากเป็นปัญหากับประชาชน อีกทั้งยังไม่มีรัฐบาลชุดใดกล้าตัดสินใจที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กรณีโรงไฟฟ้าที่เมืองฟูกูชิม่า หากถึงขั้นเลวร้ายคงมีผลต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูของไทย คำถามที่จะต้องตามมาก็คือ หากยกเลิกแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศไทยก็ต้องมีแผนการผลิตไฟฟ้าทางเลือกมาทดแทนให้ชัดเจน และหากจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินทดแทนก็ต้องเป็นเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด  ผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นระเบิดย่อมส่งผลกระทบให้แผนการสร้างโรงไฟฟ้าต้องล่าช้าออกไป

ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าแผนพลังงานทดแทนให้ได้ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565) ที่ตั้งเป้าไว้ในสัดส่วน 20% ภายในปี 2565 จากที่ปัจจุบันทดแทนพลังงานต่างๆ ได้ 5-6% เท่านั้น  “แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของกระทรวงพลังงานนั้น เริ่มส่งเสริมในทางปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2551 และสิ้นสุดแผนในปี 2565 ซึ่งมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนจากลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล ไฮโดรเจน และก๊าซชีวภาพ รวมทั้งสิ้น 5,600 เมกะวัตต์” ซึ่งหากแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชะลอออกไป จะต้องเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะใช้เงินมากกว่าแผนลงทุนเดิน ซึ่งต้องยอมรับว่าการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทนมีต้นทุนสูง  ทั้งนี้ หากการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา 5% ประเทศไทยจะใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 3 หมื่นเมกะวัตต์ต่อปี เป็น 6 หมื่นเมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งการผลักดันพลังงานทดแทนในสัดส่วน 20% ตามเป้าหมาย จะใช้เงินลงทุนเพิ่มกว่า 7 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนในแหล่งกำเนิดไฟฟ้า 3 แสนล้านบาท และลงทุนในระบบส่ง (Smart Grid) อีก 4 แสนล้าน

          อย่างไรก็ตาม พลังงานทดแทนจะเป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งในการเสริมกำลังการผลิตไฟฟ้าของเชื้อเพลิงอื่นๆ เท่านั้น เพราะพลังงานทดแทนเองก็มีข้อจำกัดหลายประการ หากในอนาคต โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินเกิดขึ้นไม่ได้ ประเทศไทยต้องพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำจากเพื่อนบ้านย่างน้อย 1.5 หมื่น   เมกะวัตต์ จากเขื่อนที่จะเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขง  และลุ่มน้ำสาละวินจากประเทศลาว 1 หมื่นเมกะวัตต์ และประเทศพม่า 5 พันเมกะวัตต์  นโยบายการวางแผนผลิตไฟฟ้าของประเทศนั้น กำหนดว่าปริมาณไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านจะต้องไม่สูงกว่าปริมาณไฟฟ้าสำรองของไทยเอง โดยขณะนี้ไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรอง 15% ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราที่ปลอดภัยและมีความมั่นคงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ

" />
       
 

ประเทศไทยกับแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู Share


เรียบเรียงโดย

ฝ่ายเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เมืองฟูกูชิม่า ซึ่งปัจจุบันกำลังมีปัญหาการได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เป็นปัจจัยสำคัญของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย เพราะเป็นโครงการที่ได้รับการต่อต้านอยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว หากมีการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีที่เมืองฟูกูชิม่า ย่อมส่งผลกระทบต่อโครงการในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ ความรุนแรงจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีปรมาณู จนถึงระดับ 4 เป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าทางญี่ปุ่นจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของโรงไฟฟ้าปรมาณูของฟูกูชิม่า ไดอิจิ  หลักการทำงานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะใช้ยูเรเนียม 235 เป็นเชื้อเพลิงภายในเตาปฏิกรณ์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชั่นหรือการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอม โดยอนุภาคนิวตรอนจะมีการชนกัน แบบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดพลังความร้อนมหาศาล ทำให้น้ำเดือดและเกิดไอน้ำไปหมุนใบพัดให้เกิดพลังไฟฟ้า  ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว เตาปฏิกรณ์ 3 ตัวจากทั้งหมด 6 ตัวกำลังทำงานอยู่ แต่เตาปฏิกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ปิดการทำงานโดยอัตโนมัติหากเกิดแผ่นดินไหว จากนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังดีเซลจะเริ่มทำหน้าที่ปั๊มน้ำเข้าไปบริเวณโดยรอบเตาปฏิกรณ์เพื่อหล่อเย็นไว้ แต่ปรากฏว่าทำงานได้เพียงชั่วโมงเดียวก็ล้มเหลวเนื่องจากสึนามิทำให้เกิดน้ำท่วมและเกิดความเสียหาย  ทางการญี่ปุ่นแถลงว่าการระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความล้มเหลวของระบบปั๊มน้ำ ไม่ใช่เตาปฏิกรณ์ สาเหตุที่ระเบิดอาจเป็นเพราะแรงดันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆภายในฝาครอบชั้นในเตาปฏิกรณ์ เมื่อไม่มีน้ำหล่อเย็น แรงดันจึงต้องหาช่องระบาย โลหะบางชิ้นที่อยู่รอบเชื้อเพลิงอาจปริออก เปิดช่องให้เชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดเซอร์โคเนียมอ็อกไซด์และไฮโดรเจนซึ่งเมื่อผสมกับอากาศที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดระเบิดขึ้น ทั้งนี้ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 และหมายเลข 2 แห่งนี้ใช้มานานถึง 40 ปีแล้ว โดยมีอยู่ทั้งสิ้น   6 เตา ซึ่งไอเออีเอเคยเตือนญี่ปุ่นเมื่อ 2 ปีที่แล้วว่าหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงอาจสร้างปัญหาร้ายแรงแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของไอเออีเอเคยแสดงความวิตกไว้เมื่อปลายปี 2551 ว่า เตาปฏิกรณ์ของญี่ปุ่น ได้รับการออกแบบมาให้รับแผ่นดินไหวที่ระดับ 7 ริกเตอร์ สำหรับเตาหมายเลขหนึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุด แต่ก็เป็นเตาปฏิกรณ์รุ่นราวคราวเดียวกับที่สหรัฐมีอยู่ประมาณ 100 เตาในขณะนี้ก่อนที่สหรัฐจะตัดสินใจไม่สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่อีกเลยตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี หากเกิดขึ้นอาจเทียบเท่ากับเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอโนบิล ซึ่งกระบวนการทำงานของเตาปฏิการณ์ หยุดลงเกือบ 5 วันแล้ว ทำให้จนถึงขณะนี้ น่าจะเหลือสารกัมมันตรังสีเพียงเกือบ 2 ใน 3 โดยล่าสุดสามารถลดอุณหภูมิของเตาหมายเลข 2 หมายเลข 4 หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ให้ระบบหล่อเย็นกลับมาทำงานได้ แต่โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแจ้งว่า อาจปิดโรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า ไดอิจิ อย่างถาวร เพราะโรงไฟฟ้าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงและยากที่จะซ่อมแซมให้มีสภาพที่ปลอดภัย

ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 6 โรงได้หยุดเดินเครื่องไปแล้ว เพียงแต่ต้องรอให้อุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงที่มีอยู่ 400-500 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิของความร้อนร่วมที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนที่ 1,000 องศาเซลเซียส คลายความร้อนหรือเย็นตัวลงด้วยวิธีการเดียว คือ การฉีดน้ำทะเลหล่อเลี้ยง ทดแทนระบบหล่อเย็นเดิม ซึ่งเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ คาดว่าอาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 วัน ถึงจะคลายความร้อน  ปริมาณสารกัมมันตรังสีทั้งไอโอดีนและซีเซียมที่แพร่ออกสู่ภายนอก จะอยู่บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร เนื่องจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยังไม่เกิดการระเบิด แตกต่างจากกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่แท่งเชื้อเพลิงเกิดการระเบิด  อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ทางการญี่ปุ่นได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับการพบการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีในนมและพืชผักจากจังหวัดฟูกูชิม่า และจังหวัดใกล้เคียงในรัศมี 130 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า อีกทั้งทางการญี่ปุ่นยังเตือนว่าสถานการณ์การรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่พ้นจากวิกฤต แต่มีสภาพดีขึ้นตามลำดับ

กรณีประเทศไทยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู

ประเทศไทยมีการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งประเมินค่าก่อสร้างไว้ หากเป็นขนาดกำลังการผลิต 1 พันเมกะวัตต์ จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างโรงละ 3,087 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 9.2 หมื่นล้านบาท ตามแผน พีดีพี 2010  ประเทศไทยจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวคลียร์ 5 โรง เท่ากับจะต้องใช้ลงทุนประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างเพียงโรงละ 1,550 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท  ที่ผ่านมาภาคการเมืองไม่ให้ความสำคัญต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู เพราะไม่อยากเป็นปัญหากับประชาชน อีกทั้งยังไม่มีรัฐบาลชุดใดกล้าตัดสินใจที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กรณีโรงไฟฟ้าที่เมืองฟูกูชิม่า หากถึงขั้นเลวร้ายคงมีผลต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูของไทย คำถามที่จะต้องตามมาก็คือ หากยกเลิกแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประเทศไทยก็ต้องมีแผนการผลิตไฟฟ้าทางเลือกมาทดแทนให้ชัดเจน และหากจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินทดแทนก็ต้องเป็นเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด  ผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นระเบิดย่อมส่งผลกระทบให้แผนการสร้างโรงไฟฟ้าต้องล่าช้าออกไป

ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าแผนพลังงานทดแทนให้ได้ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565) ที่ตั้งเป้าไว้ในสัดส่วน 20% ภายในปี 2565 จากที่ปัจจุบันทดแทนพลังงานต่างๆ ได้ 5-6% เท่านั้น  “แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของกระทรวงพลังงานนั้น เริ่มส่งเสริมในทางปฏิบัติมาตั้งแต่ปี 2551 และสิ้นสุดแผนในปี 2565 ซึ่งมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทนจากลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล ไฮโดรเจน และก๊าซชีวภาพ รวมทั้งสิ้น 5,600 เมกะวัตต์” ซึ่งหากแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชะลอออกไป จะต้องเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะใช้เงินมากกว่าแผนลงทุนเดิน ซึ่งต้องยอมรับว่าการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทนมีต้นทุนสูง  ทั้งนี้ หากการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา 5% ประเทศไทยจะใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 3 หมื่นเมกะวัตต์ต่อปี เป็น 6 หมื่นเมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งการผลักดันพลังงานทดแทนในสัดส่วน 20% ตามเป้าหมาย จะใช้เงินลงทุนเพิ่มกว่า 7 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนในแหล่งกำเนิดไฟฟ้า 3 แสนล้านบาท และลงทุนในระบบส่ง (Smart Grid) อีก 4 แสนล้าน

          อย่างไรก็ตาม พลังงานทดแทนจะเป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งในการเสริมกำลังการผลิตไฟฟ้าของเชื้อเพลิงอื่นๆ เท่านั้น เพราะพลังงานทดแทนเองก็มีข้อจำกัดหลายประการ หากในอนาคต โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินเกิดขึ้นไม่ได้ ประเทศไทยต้องพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำจากเพื่อนบ้านย่างน้อย 1.5 หมื่น   เมกะวัตต์ จากเขื่อนที่จะเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขง  และลุ่มน้ำสาละวินจากประเทศลาว 1 หมื่นเมกะวัตต์ และประเทศพม่า 5 พันเมกะวัตต์  นโยบายการวางแผนผลิตไฟฟ้าของประเทศนั้น กำหนดว่าปริมาณไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านจะต้องไม่สูงกว่าปริมาณไฟฟ้าสำรองของไทยเอง โดยขณะนี้ไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรอง 15% ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราที่ปลอดภัยและมีความมั่นคงต่อระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 2424 ครั้ง
วันที่ : 24/03/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com