เรียบเรียงโดย

ดร. ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

 

          เหตุเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดมิยางิ บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอนชู ห่างจากนครโตเกียวประมาณ 250 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ซึ่งวัดได้ขนาด 9.0 ริกเตอร์ ส่งผลให้เกาะญี่ปุ่นเคลื่อนที่จากจุดเดิมถึง 2.40 เมตร ผลของแรงสั่นสะเทือน กอปรกับ คลื่นสึนามิสูงถึง 10 เมตร ได้ทำลายเมืองฟูกูชิม่า และเมืองเซนได ได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตคาดว่าจะทะลุ 12,000 ถึง 14,000 คน (ณ วันที่    20 มี.ค.   มีรายงานผู้เสียชีวิต 8,649 คน และสูญหาย 12,242 คน) ผลของภัยพิบัติยังได้ส่งผลให้เตาปฏิกรณ์ปรมาณูของโรงงานไฟฟ้า เตาได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง จนทางการญี่ปุ่นประกาศให้พื้นที่ในรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า ไดอิจิ ซึ่งมีประชาชนกว่า 200,000 คน เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยจากสารกัมมันตรังสี

          จากการติดตามสถานการณ์ของฝ่ายเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการสอบถามไปยังหน่วยงานด้านการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่านอกเหนือจากการเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก ผลของความเสียหายเชิงเศรษฐกิจอาจประเมินได้ประมาณ 100,000-120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 ของ GDP แต่หากเทียบกับความเสียหายกับแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีความเสียหายมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 4 ของ GDP  ปัญหาจากภัยพิบัติครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 1.3 ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในช่วงการฟื้นตัว อาจเติบโตได้ไม่ถึงร้อยละ 1.0    จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 1.6-2.0   ล่าสุดธนาคารกลางของญี่ปุ่นหรือ BOI ได้อัดฉีดสภาพคล่องผ่านกองทุนซื้อสินทรัพย์ เพิ่มจาก 5.0 ล้านล้านเยนเป็น 40.0 ล้านล้านเยน อีกทั้งประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.01 เพื่อลดความกังวลให้ตลาดการเงินและให้สถาบันการเงิน มีสภาพคล่องพอเพียงที่จะเข้าไปปล่อยกู้ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าในช่วงประมาณ 6 เดือน สภาพเศรษฐกิจ จึงจะกลับคืนมาเป็นปรกติ แต่การฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย อาจใช้เวลาประมาณ 3 ปีเศษ  ซึ่งการประเมินความเสียหายดังกล่าว ยังอยู่ในเวลาที่เร็วไปที่จะคาดการณ์ได้ เพราะยังไม่รวมความเสียหายหากมีการรั่วของรังสีนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพราะถ้าหากมีการรั่วไหลหรือการระเบิด ความเสียหายคงไม่อาจที่จะประเมินได้  อย่างไรก็ตาม ทางการญี่ปุ่นแจ้งว่า ยังสามารถควบคุมการหล่อเย็นของแกนปฏิกรณ์ให้ Cool down แล้ว เพื่อลดความร้อนจากอนุภาพปรมาณูให้อยู่ในสภาพปรกติได้ โดยล่าสุดสามารถควบคุมอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หมายเลข 5 และ 6 ได้แล้ว ส่วนหมายเลข 2 ซึ่งเสียหายมากที่สุดก็กำลังกลับสู่ระดับปรกติ ซึ่งทางการญี่ปุ่นได้มีการแถลงข่าวว่าอาจมีการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิม่า ไดอิจิ อย่างถาวร เพราะได้รับความเสียหายจนยากต่อการช่วยเหลือให้อยู่ในสภาวะที่ปลอดภัย

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศซึ่งมีการลงทุนในต่างประเทศสูงสุดในโลก มีสัดส่วน FDI ถึงร้อยละ 36 ของโลก สำหรับในอาเซียน ญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 3 โดยมีเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อยู่ในลำดับที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ตามลำดับ  โครงการลงทุนของญี่ปุ่น ในช่วง 6 ปีที่  ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 719,679 ล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน    ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร โดยญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญในการลงทุนของไทยในภูมิภาคเอเซียอยู่ในลำดับต้นๆ  ดังนั้น ผลของภัยพิบัติในญี่ปุ่นจึงย่อมมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อไทยไม่มากก็น้อย  โดยเฉพาะผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งปีนี้ทาง BOI ตั้งเป้าหมายการลงทุนจากต่างประเทศไว้ถึง 400,000 ล้านบาท

การประเมินความเสียหายผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย

1. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าน่าจะอยู่ที่ 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ยังไม่รวมความเสียหายที่ ประเมินค่าไม่ได้จากการที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิด ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า จะแก้ปัญหาได้เร็วหรือไม่) ส่งผลกระทบต่อการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 1.3 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในช่วงการเริ่มฟื้นตัว เศรษฐกิจอาจโตได้เพียงร้อยละ 0.3 ซึ่งเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจกลับไปสู่สภาวะถดถอย อาจต้องรอไปถึงช่วงต้นไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจจึงอาจกลับมาฟื้นตัว ผลของการใช้จ่ายเงินจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านล้านเยนในการบูรณะประเทศ จะทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องขึ้นภาษีและหนี้สาธารณะจะสูงทะลุเกิน 200% ต่อ GDP แต่การบูรณะประเทศจะมีส่วนทำให้กระตุ้นการค้าโลก รวมทั้งประเทศไทยให้สูงขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาของญี่ปุ่นอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงกว่านี้ก็เป็นได้

2. ผลกระทบต่ออัตราขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจลดลงร้อยละ 0.1 โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ Short of supply โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท ท่องเที่ยว การลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน 

3. ด้านการส่งออก  สัดส่วนส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นมีจำนวน 10.5% ของส่งออกรวม หรือประมาณ 22,709 ล้านดอลลาร์  ไทยอาจได้รับผลการะทบในระยะสั้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าขั้นกลางและส่วนประกอบ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า ส่วนสินค้าอาหารอาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ อย่างไรก็ตาม การบูรณะประเทศและการ Replace order ในการใช้ไทยเป็นฐานการส่งออก จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับผลกระทบ

4. ด้านท่องเที่ยว  ทั้ง Outbound และ Inbound จะได้รับความเสียหายประมาณ15,000-20,000 ล้านบาท และผลกระทบด้านท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างน้อยถึงปลายปี ปัจจุบันนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มาไทยมีประมาณ   9.8 แสนคน คิดเป็น 6.2% ของนักท่องเที่ยวรวม

5. ความผันผวนของตลาดเงินเยน ซึ่งมีความผันผวนค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากเงินเยนที่แข็งค่าอยู่ที่      70 เยนต่อดอลลาร์ จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 79 เยนต่อดอลลาร์ ถือเป็นการทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 16 ปี เพราะตลาดเงินตอบรับต่อการที่รัฐบาลอัดฉีดเงินและคาดว่าจะมีเงินไหลกลับไปบูรณะอุตสาหกรรมในประเทศ เงินเยนอาจมีความผันผวน มีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่าในเวลาใกล้เคียงกัน  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทุนสำรองสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน และสามารถใช้วิธีพิมพ์เงินเยนเข้าระบบได้เหมือนที่สหรัฐดำเนินการ เพราะเงินเยนเป็นสกุหลักของโลก ทั้งนี้ เงินเยนแข็งค่าสุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กดดันให้ดัชนีนิกเคอิตลาดหุ้นญี่ปุ่น ร่วงลง 131.05 จุด (1.44%) ปิดตลาดที่ 8,903.86 จุด ท่ามกลางความวิตกถึงความเป็นไปได้ทีแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา  ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BJO) อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินอีก 5 ล้านล้านเยน เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงิน ถือเป็นการอัดฉีดทำให้ยอดเงินอัดฉีดสู่ตลาดเงินระยะสั้น มาอยู่ที่ 34 ล้านล้านเยน ธนาคารกลางกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ 7 ชาติ (G 7) เห็นพ้องว่าค่าเงินเยนมีความผันผวนมากเกินไป ก็อาจทำให้ญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป ร่วมมือกันเข้าแทรกแซงตลาดเทขายเงินเยน เพื่อซื้อเงินดอลลาร์ และยูโร

6. ด้านการลงทุน อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนใหม่ที่ชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้านั้น ประเมินว่า ได้รับผลกระทบระยะสั้น จากการอุปสรรคด้านขนส่งสินค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิต โดยไทยนำเข้าสินค้าญี่ปุ่น 20.8% ของนำเข้ารวม หรือประมาณ 3.7หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งไทยจะได้รับผลประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายการลงทุนของญี่ปุ่น เพราะอาจมีการกระจายความเสี่ยงด้านการย้ายฐานการลงทุนไปต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยที่จะเป็นฐานซัพพลายเชนของญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ในด้านลบ การลงทุนของญี่ปุ่นอาจมีการชะลอตัวในช่วงสั้นๆ เพราะต้องนำเงินไปบูรณะบริษัทแม่ซึ่งได้รับความเสียหาย

7. ผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน  จากการไหลกลับของเงินทุน เพื่อฟื้นฟูธุรกิจและเศรษฐกิจ  แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการชำระหนี้เงินกู้แก่ญี่ปุ่นของไทย โดยการชำระหนี้ยังเป็นไปตามเดิม และญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ขอชำระหนี้เร็วกว่ากำหนด แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อเงินกู้งวดใหม่ให้ล่าช้าไปบ้าง โดยเฉพาะเงินกู้จากไจก้า เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นต้องจัดการความเรียบร้อยในประเทศก่อน เช่น การลงนามในสัญญาเงินกู้ฉบับสุดท้ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 100 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันไทยมีหนี้สกุลเงินเยนกว่า 6.21 แสนล้านเยน หรือคิดเป็นสัดส่วน 60-65% ของหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ 20-30 ปี พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนของบาทต่อดอลลาร์ สรอ. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเงินบาทยังอยู่ในระดับปรกติที่อัตรา 30.0423 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.

อนึ่ง องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy Trade and Industry : METI) ได้แจ้งมายังประเทศไทยว่า ปัญหา  ภัยพิบัติที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จะไม่มีผลกระทบต่อการขยายธุรกิจและการลงทุนของประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย แต่ในระยะสั้นอาจได้รับผลกระทบบ้าง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนยานยนต์ หรืออะไหล่ยนต์ และวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่น แต่ในระยะยาวญี่ปุ่นจะยังใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ โดยขอให้ประเทศไทยมีการพิจารณาสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนญี่ปุ่น เช่น สิทธิพิเศษทางภาษี ซึ่ง METI จะผลักดันให้มีแถลงการณ์ร่วมและ MOU ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น รวมถึงการส่งเสริมตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น และตลาดหลักทรัพย์ MAI ของประเทศญี่ปุ่น และตลาดหลักทรัพย์ MAI ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เป็นช่องทางการลงทุนของ SMEs ญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายฐาน

การประเมินสถานการณ์ของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.)

การดำเนินการของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางรองรับและประเมินสถานการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 โดยสถานการณ์ภาพรวมพบว่ายังไม่มีปัญหาการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปรกติ รวมถึง กรณีที่บริษัทญี่ปุ่นจะมีการไถ่ถอนพันธบัตรเพื่อนำไปชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ สำหรับการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีการแข็งค่าเล็กน้อยนั้นเป็นไปตามกลไกการเก็งกำไร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันว่าไม่พบความผิดปรกติจากเงินไหลกลับ ควบคู่กัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยระยะสั้น และ จากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนเป็นอันดับต้น

ผลกระทบของภาคอุตสาหกรรมจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ

สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ส.อ.ท. มีความคิดเห็นว่าผลกระทบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนจะไม่เห็นผลในระยะสั้น ๆ โดยขณะนี้บริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นคงต้องใช้เวลาและทุ่มเทในการแก้ไขปัญหาภายในและจะต้องมีการระดมเงินทุนไปฟื้นฟูภายในประเทศให้มั่นคงก่อน แต่ด้านการแข็งค่าของเงินเยนจะมีอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจเกิดจากการระดมทุนจากทั่วโลกของบริษัทแม่ในญี่ปุ่นเพื่อนำไปแก้ไขปัญหา อนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีการเตรียมการพิจารณาที่จะให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นรายใหม่เพิ่มเติม และ พิจารณาการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้ว โดยเชื่อมั่นว่า จากเหตุการณ์ผลกระทบครั้งนี้กับมาตรการที่จะกำหนดออกมาจะกลับทำให้  นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2553 ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนโดยประมาณ 1 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของการลงทุน FDI ทั้งหมดในประเทศไทย ในด้านการประเมินสถานการณ์และผลกระทบของแต่ละอุตสาหกรรม พบว่า

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านลบมีจำนวน 13 กลุ่ม ประกอบด้วย ก๊าซ เคมี เครื่องจักรกลและโลหะการ เครื่องปรับอากาศฯ ซอฟต์แวร์ ผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์ สิ่งทอ หนัง หัตถอุตสาหกรรม และอลูมิเนียม ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานที่ผลิตวัตถุดิบในญี่ปุ่นหยุดการผลิต มีความล่าช้าในการส่งสินค้า

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านบวก (เป็นโอกาสทางธุรกิจ) มีจำนวน 1 กลุ่ม คือ      แก้วและกระจก มีโอกาสในการสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม เนื่องจากโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่นหยุดการผลิต

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านบวกและลบมีจำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก ปิโตรเคมี ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น และอาหาร โดยผลกระทบด้านลบเกิดจากความล่าช้าในการส่งสินค้าไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นได้ สำหรับโอกาสทางธุรกิจเกิดจากมีความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 8 กลุ่ม ประกอบด้วย การจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม แกรนิตและหินอ่อน เครื่องจักรกลการเกษตร เซรามิก ปูนซีเมนต์ รองเท้า โรงเลื่อยและโรงอบไม้ และสมุนไพร โดยบางสินค้าไม่มีการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่างรอประเมินสถานการณ์มีจำนวน 11 กลุ่ม ประกอบด้วย การพิมพ์ฯ เทคโนโลยีชีวภาพ น้ำตาล ผู้ผลิตไฟฟ้า พลังงานทดแทน ยา เยื่อและกระดาษ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หลังคาและอุปกรณ์ เหล็ก และ อัญมณีเครื่องประดับ

" />
       
 

ประเทศญี่ปุ่นกับภัยพิบัติสึนามิและการรั่วของนิวเคลียร์ ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย Share


เรียบเรียงโดย

ดร. ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

 

          เหตุเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดมิยางิ บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอนชู ห่างจากนครโตเกียวประมาณ 250 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ซึ่งวัดได้ขนาด 9.0 ริกเตอร์ ส่งผลให้เกาะญี่ปุ่นเคลื่อนที่จากจุดเดิมถึง 2.40 เมตร ผลของแรงสั่นสะเทือน กอปรกับ คลื่นสึนามิสูงถึง 10 เมตร ได้ทำลายเมืองฟูกูชิม่า และเมืองเซนได ได้รับความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตคาดว่าจะทะลุ 12,000 ถึง 14,000 คน (ณ วันที่    20 มี.ค.   มีรายงานผู้เสียชีวิต 8,649 คน และสูญหาย 12,242 คน) ผลของภัยพิบัติยังได้ส่งผลให้เตาปฏิกรณ์ปรมาณูของโรงงานไฟฟ้า เตาได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง จนทางการญี่ปุ่นประกาศให้พื้นที่ในรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิม่า ไดอิจิ ซึ่งมีประชาชนกว่า 200,000 คน เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยจากสารกัมมันตรังสี

          จากการติดตามสถานการณ์ของฝ่ายเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการสอบถามไปยังหน่วยงานด้านการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่านอกเหนือจากการเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก ผลของความเสียหายเชิงเศรษฐกิจอาจประเมินได้ประมาณ 100,000-120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 ของ GDP แต่หากเทียบกับความเสียหายกับแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีความเสียหายมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 4 ของ GDP  ปัญหาจากภัยพิบัติครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 1.3 ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในช่วงการฟื้นตัว อาจเติบโตได้ไม่ถึงร้อยละ 1.0    จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 1.6-2.0   ล่าสุดธนาคารกลางของญี่ปุ่นหรือ BOI ได้อัดฉีดสภาพคล่องผ่านกองทุนซื้อสินทรัพย์ เพิ่มจาก 5.0 ล้านล้านเยนเป็น 40.0 ล้านล้านเยน อีกทั้งประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ย นโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.01 เพื่อลดความกังวลให้ตลาดการเงินและให้สถาบันการเงิน มีสภาพคล่องพอเพียงที่จะเข้าไปปล่อยกู้ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าในช่วงประมาณ 6 เดือน สภาพเศรษฐกิจ จึงจะกลับคืนมาเป็นปรกติ แต่การฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย อาจใช้เวลาประมาณ 3 ปีเศษ  ซึ่งการประเมินความเสียหายดังกล่าว ยังอยู่ในเวลาที่เร็วไปที่จะคาดการณ์ได้ เพราะยังไม่รวมความเสียหายหากมีการรั่วของรังสีนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพราะถ้าหากมีการรั่วไหลหรือการระเบิด ความเสียหายคงไม่อาจที่จะประเมินได้  อย่างไรก็ตาม ทางการญี่ปุ่นแจ้งว่า ยังสามารถควบคุมการหล่อเย็นของแกนปฏิกรณ์ให้ Cool down แล้ว เพื่อลดความร้อนจากอนุภาพปรมาณูให้อยู่ในสภาพปรกติได้ โดยล่าสุดสามารถควบคุมอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หมายเลข 5 และ 6 ได้แล้ว ส่วนหมายเลข 2 ซึ่งเสียหายมากที่สุดก็กำลังกลับสู่ระดับปรกติ ซึ่งทางการญี่ปุ่นได้มีการแถลงข่าวว่าอาจมีการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิม่า ไดอิจิ อย่างถาวร เพราะได้รับความเสียหายจนยากต่อการช่วยเหลือให้อยู่ในสภาวะที่ปลอดภัย

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศซึ่งมีการลงทุนในต่างประเทศสูงสุดในโลก มีสัดส่วน FDI ถึงร้อยละ 36 ของโลก สำหรับในอาเซียน ญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 3 โดยมีเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อยู่ในลำดับที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ตามลำดับ  โครงการลงทุนของญี่ปุ่น ในช่วง 6 ปีที่  ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 719,679 ล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน    ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร โดยญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญในการลงทุนของไทยในภูมิภาคเอเซียอยู่ในลำดับต้นๆ  ดังนั้น ผลของภัยพิบัติในญี่ปุ่นจึงย่อมมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อไทยไม่มากก็น้อย  โดยเฉพาะผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งปีนี้ทาง BOI ตั้งเป้าหมายการลงทุนจากต่างประเทศไว้ถึง 400,000 ล้านบาท

การประเมินความเสียหายผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย

1. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าน่าจะอยู่ที่ 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ยังไม่รวมความเสียหายที่ ประเมินค่าไม่ได้จากการที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิด ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า จะแก้ปัญหาได้เร็วหรือไม่) ส่งผลกระทบต่อการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 1.3 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในช่วงการเริ่มฟื้นตัว เศรษฐกิจอาจโตได้เพียงร้อยละ 0.3 ซึ่งเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจกลับไปสู่สภาวะถดถอย อาจต้องรอไปถึงช่วงต้นไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจจึงอาจกลับมาฟื้นตัว ผลของการใช้จ่ายเงินจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านล้านเยนในการบูรณะประเทศ จะทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องขึ้นภาษีและหนี้สาธารณะจะสูงทะลุเกิน 200% ต่อ GDP แต่การบูรณะประเทศจะมีส่วนทำให้กระตุ้นการค้าโลก รวมทั้งประเทศไทยให้สูงขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาของญี่ปุ่นอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงกว่านี้ก็เป็นได้

2. ผลกระทบต่ออัตราขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจลดลงร้อยละ 0.1 โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ Short of supply โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท ท่องเที่ยว การลงทุน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน 

3. ด้านการส่งออก  สัดส่วนส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นมีจำนวน 10.5% ของส่งออกรวม หรือประมาณ 22,709 ล้านดอลลาร์  ไทยอาจได้รับผลการะทบในระยะสั้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าขั้นกลางและส่วนประกอบ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า ส่วนสินค้าอาหารอาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ อย่างไรก็ตาม การบูรณะประเทศและการ Replace order ในการใช้ไทยเป็นฐานการส่งออก จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับผลกระทบ

4. ด้านท่องเที่ยว  ทั้ง Outbound และ Inbound จะได้รับความเสียหายประมาณ15,000-20,000 ล้านบาท และผลกระทบด้านท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างน้อยถึงปลายปี ปัจจุบันนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่มาไทยมีประมาณ   9.8 แสนคน คิดเป็น 6.2% ของนักท่องเที่ยวรวม

5. ความผันผวนของตลาดเงินเยน ซึ่งมีความผันผวนค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากเงินเยนที่แข็งค่าอยู่ที่      70 เยนต่อดอลลาร์ จากที่เคยอยู่ที่ระดับ 79 เยนต่อดอลลาร์ ถือเป็นการทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 16 ปี เพราะตลาดเงินตอบรับต่อการที่รัฐบาลอัดฉีดเงินและคาดว่าจะมีเงินไหลกลับไปบูรณะอุตสาหกรรมในประเทศ เงินเยนอาจมีความผันผวน มีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่าในเวลาใกล้เคียงกัน  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทุนสำรองสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน และสามารถใช้วิธีพิมพ์เงินเยนเข้าระบบได้เหมือนที่สหรัฐดำเนินการ เพราะเงินเยนเป็นสกุหลักของโลก ทั้งนี้ เงินเยนแข็งค่าสุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กดดันให้ดัชนีนิกเคอิตลาดหุ้นญี่ปุ่น ร่วงลง 131.05 จุด (1.44%) ปิดตลาดที่ 8,903.86 จุด ท่ามกลางความวิตกถึงความเป็นไปได้ทีแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา  ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BJO) อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินอีก 5 ล้านล้านเยน เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงิน ถือเป็นการอัดฉีดทำให้ยอดเงินอัดฉีดสู่ตลาดเงินระยะสั้น มาอยู่ที่ 34 ล้านล้านเยน ธนาคารกลางกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ 7 ชาติ (G 7) เห็นพ้องว่าค่าเงินเยนมีความผันผวนมากเกินไป ก็อาจทำให้ญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป ร่วมมือกันเข้าแทรกแซงตลาดเทขายเงินเยน เพื่อซื้อเงินดอลลาร์ และยูโร

6. ด้านการลงทุน อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนใหม่ที่ชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้านั้น ประเมินว่า ได้รับผลกระทบระยะสั้น จากการอุปสรรคด้านขนส่งสินค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิต โดยไทยนำเข้าสินค้าญี่ปุ่น 20.8% ของนำเข้ารวม หรือประมาณ 3.7หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งไทยจะได้รับผลประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายการลงทุนของญี่ปุ่น เพราะอาจมีการกระจายความเสี่ยงด้านการย้ายฐานการลงทุนไปต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยที่จะเป็นฐานซัพพลายเชนของญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ในด้านลบ การลงทุนของญี่ปุ่นอาจมีการชะลอตัวในช่วงสั้นๆ เพราะต้องนำเงินไปบูรณะบริษัทแม่ซึ่งได้รับความเสียหาย

7. ผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน  จากการไหลกลับของเงินทุน เพื่อฟื้นฟูธุรกิจและเศรษฐกิจ  แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการชำระหนี้เงินกู้แก่ญี่ปุ่นของไทย โดยการชำระหนี้ยังเป็นไปตามเดิม และญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ขอชำระหนี้เร็วกว่ากำหนด แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อเงินกู้งวดใหม่ให้ล่าช้าไปบ้าง โดยเฉพาะเงินกู้จากไจก้า เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นต้องจัดการความเรียบร้อยในประเทศก่อน เช่น การลงนามในสัญญาเงินกู้ฉบับสุดท้ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 100 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันไทยมีหนี้สกุลเงินเยนกว่า 6.21 แสนล้านเยน หรือคิดเป็นสัดส่วน 60-65% ของหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ 20-30 ปี พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนของบาทต่อดอลลาร์ สรอ. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเงินบาทยังอยู่ในระดับปรกติที่อัตรา 30.0423 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.

อนึ่ง องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy Trade and Industry : METI) ได้แจ้งมายังประเทศไทยว่า ปัญหา  ภัยพิบัติที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จะไม่มีผลกระทบต่อการขยายธุรกิจและการลงทุนของประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย แต่ในระยะสั้นอาจได้รับผลกระทบบ้าง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนยานยนต์ หรืออะไหล่ยนต์ และวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่น แต่ในระยะยาวญี่ปุ่นจะยังใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ โดยขอให้ประเทศไทยมีการพิจารณาสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนญี่ปุ่น เช่น สิทธิพิเศษทางภาษี ซึ่ง METI จะผลักดันให้มีแถลงการณ์ร่วมและ MOU ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น รวมถึงการส่งเสริมตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น และตลาดหลักทรัพย์ MAI ของประเทศญี่ปุ่น และตลาดหลักทรัพย์ MAI ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เป็นช่องทางการลงทุนของ SMEs ญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายฐาน

การประเมินสถานการณ์ของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.)

การดำเนินการของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางรองรับและประเมินสถานการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 โดยสถานการณ์ภาพรวมพบว่ายังไม่มีปัญหาการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปรกติ รวมถึง กรณีที่บริษัทญี่ปุ่นจะมีการไถ่ถอนพันธบัตรเพื่อนำไปชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ สำหรับการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีการแข็งค่าเล็กน้อยนั้นเป็นไปตามกลไกการเก็งกำไร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันว่าไม่พบความผิดปรกติจากเงินไหลกลับ ควบคู่กัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยระยะสั้น และ จากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนเป็นอันดับต้น

ผลกระทบของภาคอุตสาหกรรมจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ

สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ส.อ.ท. มีความคิดเห็นว่าผลกระทบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนจะไม่เห็นผลในระยะสั้น ๆ โดยขณะนี้บริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นคงต้องใช้เวลาและทุ่มเทในการแก้ไขปัญหาภายในและจะต้องมีการระดมเงินทุนไปฟื้นฟูภายในประเทศให้มั่นคงก่อน แต่ด้านการแข็งค่าของเงินเยนจะมีอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจเกิดจากการระดมทุนจากทั่วโลกของบริษัทแม่ในญี่ปุ่นเพื่อนำไปแก้ไขปัญหา อนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีการเตรียมการพิจารณาที่จะให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นรายใหม่เพิ่มเติม และ พิจารณาการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้ว โดยเชื่อมั่นว่า จากเหตุการณ์ผลกระทบครั้งนี้กับมาตรการที่จะกำหนดออกมาจะกลับทำให้  นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2553 ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนโดยประมาณ 1 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 ของการลงทุน FDI ทั้งหมดในประเทศไทย ในด้านการประเมินสถานการณ์และผลกระทบของแต่ละอุตสาหกรรม พบว่า

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านลบมีจำนวน 13 กลุ่ม ประกอบด้วย ก๊าซ เคมี เครื่องจักรกลและโลหะการ เครื่องปรับอากาศฯ ซอฟต์แวร์ ผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์ สิ่งทอ หนัง หัตถอุตสาหกรรม และอลูมิเนียม ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานที่ผลิตวัตถุดิบในญี่ปุ่นหยุดการผลิต มีความล่าช้าในการส่งสินค้า

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านบวก (เป็นโอกาสทางธุรกิจ) มีจำนวน 1 กลุ่ม คือ      แก้วและกระจก มีโอกาสในการสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม เนื่องจากโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่นหยุดการผลิต

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านบวกและลบมีจำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก ปิโตรเคมี ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น และอาหาร โดยผลกระทบด้านลบเกิดจากความล่าช้าในการส่งสินค้าไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นได้ สำหรับโอกาสทางธุรกิจเกิดจากมีความต้องการสินค้าเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 8 กลุ่ม ประกอบด้วย การจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม แกรนิตและหินอ่อน เครื่องจักรกลการเกษตร เซรามิก ปูนซีเมนต์ รองเท้า โรงเลื่อยและโรงอบไม้ และสมุนไพร โดยบางสินค้าไม่มีการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

§  กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่างรอประเมินสถานการณ์มีจำนวน 11 กลุ่ม ประกอบด้วย การพิมพ์ฯ เทคโนโลยีชีวภาพ น้ำตาล ผู้ผลิตไฟฟ้า พลังงานทดแทน ยา เยื่อและกระดาษ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หลังคาและอุปกรณ์ เหล็ก และ อัญมณีเครื่องประดับ


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 4997 ครั้ง
วันที่ : 24/03/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com