การเปลี่ยนแปลงของโลก

: การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion) ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Warming) และสาธารณสุข (Public Health)

แปลจาก จอห์น เอ็ม ลาสต์ 

มหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศแคนาดา

 

สื่อมวลชนหลายแขนงทั้งองค์กรระหว่างประเทศและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ ได้อธิบายให้เห็นถึงการถูกทำลายของพื้นผิวและบรรยากาศของโลก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์กระทำ โดยรายงานนี้ซึ่งเป็นการสังเกต และให้ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ จากการที่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก

ส่วนประกอบที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลง

1. การเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Change) เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกัน ตั้งแต่ปีค.ศ.1970 ได้มุ่งประเด็นไปที่การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) แผ่ขยายเพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิดการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นภาวะโลกร้อน

2. การเปลี่ยนแปลงของโลกยังเกิดจากสาเหตุสภาพแวดล้อมถูกปนเปื้อน (Contamination) จากสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งไปทำลายระบบนิเวศของน้ำ (Aquatic Ecosystem) การเกษตร พืชบางชนิด และสิ่งก่อสร้าง เนื่องจากการสะสมของกรด (Acidic Deposition) และยังเกี่ยวโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการใช้พลังงาน

3. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกก็คือ การลดลงของพื้นที่เพาะปลูก น้ำจืด ทรัพยากรที่หมุนเวียน (Renewable Resources) และไม่สามารถหมุนเวียนได้ (Nonrenewable Resources)

4. การสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นการทำให้ลดความหลากหลายทางชีวภาพลง โดยปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความกดดันให้ประชากรย้ายถิ่นฐานกันมากขึ้น

การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ

ในชั้นบรรยากาศล่างสุด โอโซนเป็นส่วนประกอบที่เป็นพิษของสารโฟโตเคมีคอล เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างรังสี UV กับควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือเกิดจากอุตสาหกรรมบางประเภท

โอโซนในชั้นบรรยากาศ Stratospheric เป็นเกราะบางๆ และตัวที่ทำลายโอโซนก็คือ ก๊าซคลอรีน มอน็อกไซด์ (Chlorine Monoxide) ซึ่งสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ และใช้กันอย่างแพร่หลายในสารทำความเย็นและตัวทำระเหยที่มีสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons) หรือสาร CFC ซึ่งมีคุณสมบัติคงทนถาวร เบากว่าอากาศ และจะปล่อยก๊าซคลอรีน มอน๊อกไซต์(Chlorine Monoxide) ออกมาเมื่อสัมผัสกับรังสี UV โดยผู้เชี่ยวชาญของ National Academy of Science ได้สรุปว่า สาร CFC สามารถทำลายชั้นโอโซนได้ และจะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ และก่อให้เกิดผลทางชีวภาพอื่นๆ อีก

ในการสังเกตการณ์จากดาวเทียมของนาซ่า ในปี 1992 พบว่าสภาพอากาศเหนือเขตนิวอิงแลนด์ ประเทศแคนาดา มีปริมาณของสาร CFC และก๊าซคลอรีน มอน๊อกไซต์ (Chlorine Monoxide) สูงมาก  ความเข้มข้นที่สูงมากของสารเหล่านี้ คาดว่าเป็นการคงอยู่มานานหลายทศวรรษและทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของชั้นโอโซนเพิ่มมากขึ้น

ผลทางชีวภาพของรังสี UV

รังสี UV-B ส่งผลอันตรายอย่างมากต่อระบบชีวภาพ ซึ่งจะไปทำลายสัดส่วน DNA ต่อความเข้มข้นและระยะเวลาของการรับแสง (Duration of Exposure) โดยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก บอบบางจะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงกว่า เช่น มนุษย์ อีกทั้งยังทำให้การเจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงของพืชบางชนิดแย่ลง ทำให้การเคลื่อนไหวและการสืบพันธุ์ของแพลงก์ตอนพืชบกพร่อง โดยส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในบางโซ่อาหาร จากการที่แพลงก์ตอนลดจำนวนลงทำให้การดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ของแพลงก์ตอนลดลงตามไปด้วย จึงทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจกรุนแรงขึ้น

ผลกระทบจากรังสี UV ต่อร่างกายมนุษย์

รังสี UV จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ รวมทั้งเพิ่มความรุนแรงของโรคติดต่อและเพิ่มความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นอันตราย  นอกจากมีผลทำให้ผิวหนังเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วแล้ว ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดของรังสี UV-B คือ โรคมะเร็ง โดยจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้องอก โรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งที่ริมฝีปาก และที่ต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ รังสี UV ยังมีผลกระทบต่อดวงตา โดยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก ไม่ว่าผลกระทบเหล่านี้มาจากสาเหตุโดยตรงของรังสี UV หรือปัจจัยอื่นๆ ที่นำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก ยังต้องมีการประเมินที่รอบคอบมากขึ้น

การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ 10% นั้น เพิ่มความเสี่ยงของต้อกระจก 5% ต่อปี (ผู้ป่วย 1.6-1.75ล้านรายทั่วโลก) ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น 10% และความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนังประเภท Nonmelanoma 26%

ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์การลดลงของโอโซน

-          มีการประเมินแนวโน้มปริมาณของโอโซนในชั้นบรรยากาศ และอัตราการไหลเวียนของรังสี UV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังและต้อกระจก

-          มีการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางชีวภาพและต่อสุขภาพของมนุษย์จากการได้รับรังสี UV และการป้องกันโดยใช้ครีมกันแดด

-          มีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยา ทั้งด้านการบรรยายและการวิเคราะห์ รวมทั้งมีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังอัตราการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และอัตราของผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว

-          มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศออสเตรเลียและแคนาดา โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงและการป้องกันจากการถูกแสงแดดเผา รวมทั้งพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องการมีผิวสีแทนนั้นดูน่าดึงดูดใจและมีสุขภาพดีมากกว่าผิวขาวซีด และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อร่างกายจากการเปิดรับรังสี UV มากเกินไป

-          มีการออกนโยบายสาธารณะ ในประเทศอุตสาหกรรมเพื่อลดการผลิตและการใช้สาร CFC 

ก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิ และสภาพอากาศ

ก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นหลัก เช่น การปล่อยไอเสียจากเครื่องยนต์ การเผาไหม้ถ่านหินของเครื่องกำเนิดพลังไฟฟ้า และจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย  โดยทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.3 – 0.6 องศาเซลเซียสในช่วงปีค.ศ.1800-1990 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความผันผวนทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์เอลนิโย (El Nino) และภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นอีกประมาณ 4-5 องศาเซลเซียสในพื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตร

สถานการณ์โลกร้อน (Global Warming)

-          อุณหภูมิที่พิ่มขึ้น 5 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับโลก คือระดับน้ำทะเลและมหาสมุทร กระแสลม น้ำจืด การเกษตร ป่าไม้ การประมง การอุตสาหกรรม การขนส่ง การวางผังเมือง และสุขภาพของมนุษย์ อีกทั้งยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมืองในด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์

-          นอกจากนี้แล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้กระแสลมกรด (Jet Stream) และกระแสน้ำในมหาสมุทร (Ocean Current) เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนการกระจายของปริมาณน้ำฝน จึงทำให้บางภูมิภาคมีฝนตกชุกมากขึ้น หรือบางแห่งเกิดความแห้งแล้งมากขึ้น และอากาศจะแปรปรวน เช่น พายุเฮอริเคน อาจจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

-          ภาวะโลกร้อนจะทำให้การกระจายตัวของพืชเปลี่ยนแปลงไป โยกย้ายจะพื้นที่ร้อนไปสู่พื้นที่ที่มีอากาศเย็นกว่า ซึ่งจะทำให้ผลผลิตการเกษตรลดน้อยลง และพืชผลต่างๆ อาจได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา แมลง และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคของเมล็ดพืชผักผลไม้

-          ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เนื่องมาจากผลของภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และเกิดการขยายตัวของมวลน้ำทะเล จึงก่อให้เกิดเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลประมาณ 5-7 เมตร คาดการณ์ว่าในอีก 50 ปี จะทำให้พื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งทะเลจมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล และเกิดปัญหาต่อระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลดลงของปลา

-          จากสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบในด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยจะทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แต่การที่อากาศอบอุ่นมากขึ้นจะกลายเป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในบางพื้นที่ได้เช่นกัน

-          แหล่งน้ำจืดลดน้อยลง ซึ่งมาจากสาเหตุความเค็มจากน้ำทะเล (Salination) ในเขตชายฝั่งทะเลแทรกตัวเข้ามาในแหล่งน้ำจืดใต้ดิน นอกจากนี้แหล่งน้ำจืดยังถูกปนเปื้อนจากของเสียที่เป็นพิษ สิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน หรือที่มนุษย์ขับถ่ายออกมาเช่นกัน

-          โรคติดต่อจากแมลง (Vector-Borne Disease) แมลงพาหะของโรคเหล่านี้จะเจริญเติบโตได้ดีในเขตภูมิอากาศร้อน จึงทำให้เชื้อโรคต่างๆ ขยายวงกว้างกว่า และถ้ารังสี UV เพิ่มมากขึ้น ภูมิคุ้มกันของมนุษย์ก็จะอ่อนแอมากขึ้น จึงทำให้การติดเชื้อของโรคระบาดเพิ่มมากขึ้น

-          ผลกระทบโดยตรงของความร้อน ในอีก 50 ปีข้างหน้านี้ อุณหภูมิในเขตเมืองจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเรียกว่า “ปรากฏการณ์เกาะร้อน” (Heat Island) ซึ่งในเขตเมืองจะมีอุณหภูมิที่สูงมากกว่าแถบชานเมืองรอบๆ โดยคลื่นความร้อนจะส่งผลต่อสุขภาพและความอ่อนเพลียของมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง นอกจากนี้ ความร้อนยังส่งผลกระทบให้เกิดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศที่สูงขึ้น สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เป็นการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

-          ส่วนผลกระทบในด้านสุขภาพ ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้จากพืช ฝุ่น น้ำเสีย และทำให้ภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อลดลง (เนื่องจากรังสี UV ทำให้เกิดความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน) เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Change)

การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก

ความกังวลต่อสภาพแวดล้อมของโลกที่กำลังเสื่อมโทรมลง ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานระหว่างประเทศหลายองค์กร เช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คณะกรรมการสหภาพวิทยาศาสต์ระหว่างประเทศ (ICSU) องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP) ได้มีการประสานงานและผลักดันให้มีการลงนามในสนธิสัญญา ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซต์

การตอบสนองด้านสาธารณสุข

มีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการกระจายและการกระจุกตัวของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคต่างๆ ซึ่งร่วมกับการตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร และการเฝ้าระวังโรคที่เกิดในสภาพอากาศร้อน โดยใช้วิธีการเดียวกับศูนย์ควาบคุมโรคในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ อากาศที่แปรปรวนอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำท่วมรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ถ้าสภาพอากาศแปรปรวนไปจากสภาวะโลกร้อน และการเคลื่อนย้ายของผู้หนีภัยทางธรรมชาติจะกลายเป็นคลื่นมวลชนขนาดใหญ่ และจะเพิ่มมากขึ้นถ้าหากมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา จะไม่สามารถรักษาจำนวนประชากรของตนเอาไว้ได้ ดังนั้น ด้านสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องกระทำก่อนในช่วงเกิดภัยพิบัติ

 

การเติบโตของประชากร (Population Growth)

จำนวนประชากรโลกทีเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งในขณะนี้มีอัตรา 90 ล้านคนต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีมากกว่า 6 พันล้านคนก่อนค.ศ.2000 การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วนี้ เปรียบได้กับมะเร็งของโลก (A cancer of the planet) ซึ่งจำนวนประชากรโลกจะต้องสมดุลกับอัตราการเจริญพันธุ์และอาหารที่มีอยู่ รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเติบโตของประชากรมีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นถ้าหากไม่มีมาตรการเพื่อดำเนินการใดๆ ในขณะนี้

ค่านิยมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของโลก

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีการสรุปผลว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้นจะทำให้เกิดภัยพิบัติ แต่คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ทำให้หน่วยงานภาครัฐหรือกลุ่มเอกชนที่แสวงหาผลกำไรดำเนินการอย่างแท้จริง ที่จะลดการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตราย จึงต้องมีการให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาสุขภาพผ่านทางสื่อมวลชนไปยังประชาชนทั่วไป ซึ่งจะนำไปสู่การผลักดันทางการเมืองให้ออกกฎหมายที่ควบคุมสิ่งที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการยอมรับในจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หากจำนวนประชากรเป็นสาเหตุสูงสุดของทุกปัญหาต่างๆ เราจึงต้องจำกัดการขยายตัวของประขากร รวมทั้งความขัดแย้งทางจริยธรรมและคุณธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากจะแก้ไข มนุษยชาติจึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับปัญหาประชากรและสิ่งแวดล้อม ที่เราต้องเผชิญในอนาคต ทั้งประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้

 

......................................................

 

 

" />
       
 

การเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Change) : การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion) ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Warming) และสาธารณสุข (Public Health) Share


การเปลี่ยนแปลงของโลก

: การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion) ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Warming) และสาธารณสุข (Public Health)

แปลจาก จอห์น เอ็ม ลาสต์ 

มหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศแคนาดา

 

สื่อมวลชนหลายแขนงทั้งองค์กรระหว่างประเทศและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ ได้อธิบายให้เห็นถึงการถูกทำลายของพื้นผิวและบรรยากาศของโลก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์กระทำ โดยรายงานนี้ซึ่งเป็นการสังเกต และให้ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ จากการที่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก

ส่วนประกอบที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลง

1. การเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Change) เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกัน ตั้งแต่ปีค.ศ.1970 ได้มุ่งประเด็นไปที่การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) แผ่ขยายเพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิดการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นภาวะโลกร้อน

2. การเปลี่ยนแปลงของโลกยังเกิดจากสาเหตุสภาพแวดล้อมถูกปนเปื้อน (Contamination) จากสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งไปทำลายระบบนิเวศของน้ำ (Aquatic Ecosystem) การเกษตร พืชบางชนิด และสิ่งก่อสร้าง เนื่องจากการสะสมของกรด (Acidic Deposition) และยังเกี่ยวโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการใช้พลังงาน

3. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกก็คือ การลดลงของพื้นที่เพาะปลูก น้ำจืด ทรัพยากรที่หมุนเวียน (Renewable Resources) และไม่สามารถหมุนเวียนได้ (Nonrenewable Resources)

4. การสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นการทำให้ลดความหลากหลายทางชีวภาพลง โดยปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความกดดันให้ประชากรย้ายถิ่นฐานกันมากขึ้น

การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ

ในชั้นบรรยากาศล่างสุด โอโซนเป็นส่วนประกอบที่เป็นพิษของสารโฟโตเคมีคอล เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างรังสี UV กับควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือเกิดจากอุตสาหกรรมบางประเภท

โอโซนในชั้นบรรยากาศ Stratospheric เป็นเกราะบางๆ และตัวที่ทำลายโอโซนก็คือ ก๊าซคลอรีน มอน็อกไซด์ (Chlorine Monoxide) ซึ่งสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ และใช้กันอย่างแพร่หลายในสารทำความเย็นและตัวทำระเหยที่มีสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons) หรือสาร CFC ซึ่งมีคุณสมบัติคงทนถาวร เบากว่าอากาศ และจะปล่อยก๊าซคลอรีน มอน๊อกไซต์(Chlorine Monoxide) ออกมาเมื่อสัมผัสกับรังสี UV โดยผู้เชี่ยวชาญของ National Academy of Science ได้สรุปว่า สาร CFC สามารถทำลายชั้นโอโซนได้ และจะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ และก่อให้เกิดผลทางชีวภาพอื่นๆ อีก

ในการสังเกตการณ์จากดาวเทียมของนาซ่า ในปี 1992 พบว่าสภาพอากาศเหนือเขตนิวอิงแลนด์ ประเทศแคนาดา มีปริมาณของสาร CFC และก๊าซคลอรีน มอน๊อกไซต์ (Chlorine Monoxide) สูงมาก  ความเข้มข้นที่สูงมากของสารเหล่านี้ คาดว่าเป็นการคงอยู่มานานหลายทศวรรษและทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของชั้นโอโซนเพิ่มมากขึ้น

ผลทางชีวภาพของรังสี UV

รังสี UV-B ส่งผลอันตรายอย่างมากต่อระบบชีวภาพ ซึ่งจะไปทำลายสัดส่วน DNA ต่อความเข้มข้นและระยะเวลาของการรับแสง (Duration of Exposure) โดยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก บอบบางจะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงกว่า เช่น มนุษย์ อีกทั้งยังทำให้การเจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงของพืชบางชนิดแย่ลง ทำให้การเคลื่อนไหวและการสืบพันธุ์ของแพลงก์ตอนพืชบกพร่อง โดยส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในบางโซ่อาหาร จากการที่แพลงก์ตอนลดจำนวนลงทำให้การดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ของแพลงก์ตอนลดลงตามไปด้วย จึงทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจกรุนแรงขึ้น

ผลกระทบจากรังสี UV ต่อร่างกายมนุษย์

รังสี UV จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ รวมทั้งเพิ่มความรุนแรงของโรคติดต่อและเพิ่มความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นอันตราย  นอกจากมีผลทำให้ผิวหนังเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วแล้ว ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดของรังสี UV-B คือ โรคมะเร็ง โดยจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้องอก โรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งที่ริมฝีปาก และที่ต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ รังสี UV ยังมีผลกระทบต่อดวงตา โดยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก ไม่ว่าผลกระทบเหล่านี้มาจากสาเหตุโดยตรงของรังสี UV หรือปัจจัยอื่นๆ ที่นำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก ยังต้องมีการประเมินที่รอบคอบมากขึ้น

การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศ 10% นั้น เพิ่มความเสี่ยงของต้อกระจก 5% ต่อปี (ผู้ป่วย 1.6-1.75ล้านรายทั่วโลก) ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น 10% และความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนังประเภท Nonmelanoma 26%

ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์การลดลงของโอโซน

-          มีการประเมินแนวโน้มปริมาณของโอโซนในชั้นบรรยากาศ และอัตราการไหลเวียนของรังสี UV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังและต้อกระจก

-          มีการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางชีวภาพและต่อสุขภาพของมนุษย์จากการได้รับรังสี UV และการป้องกันโดยใช้ครีมกันแดด

-          มีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยา ทั้งด้านการบรรยายและการวิเคราะห์ รวมทั้งมีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังอัตราการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และอัตราของผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว

-          มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศออสเตรเลียและแคนาดา โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงและการป้องกันจากการถูกแสงแดดเผา รวมทั้งพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องการมีผิวสีแทนนั้นดูน่าดึงดูดใจและมีสุขภาพดีมากกว่าผิวขาวซีด และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อร่างกายจากการเปิดรับรังสี UV มากเกินไป

-          มีการออกนโยบายสาธารณะ ในประเทศอุตสาหกรรมเพื่อลดการผลิตและการใช้สาร CFC 

ก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิ และสภาพอากาศ

ก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นหลัก เช่น การปล่อยไอเสียจากเครื่องยนต์ การเผาไหม้ถ่านหินของเครื่องกำเนิดพลังไฟฟ้า และจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย  โดยทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.3 – 0.6 องศาเซลเซียสในช่วงปีค.ศ.1800-1990 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความผันผวนทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์เอลนิโย (El Nino) และภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นอีกประมาณ 4-5 องศาเซลเซียสในพื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตร

สถานการณ์โลกร้อน (Global Warming)

-          อุณหภูมิที่พิ่มขึ้น 5 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับโลก คือระดับน้ำทะเลและมหาสมุทร กระแสลม น้ำจืด การเกษตร ป่าไม้ การประมง การอุตสาหกรรม การขนส่ง การวางผังเมือง และสุขภาพของมนุษย์ อีกทั้งยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมืองในด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์

-          นอกจากนี้แล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้กระแสลมกรด (Jet Stream) และกระแสน้ำในมหาสมุทร (Ocean Current) เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนการกระจายของปริมาณน้ำฝน จึงทำให้บางภูมิภาคมีฝนตกชุกมากขึ้น หรือบางแห่งเกิดความแห้งแล้งมากขึ้น และอากาศจะแปรปรวน เช่น พายุเฮอริเคน อาจจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

-          ภาวะโลกร้อนจะทำให้การกระจายตัวของพืชเปลี่ยนแปลงไป โยกย้ายจะพื้นที่ร้อนไปสู่พื้นที่ที่มีอากาศเย็นกว่า ซึ่งจะทำให้ผลผลิตการเกษตรลดน้อยลง และพืชผลต่างๆ อาจได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา แมลง และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคของเมล็ดพืชผักผลไม้

-          ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เนื่องมาจากผลของภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และเกิดการขยายตัวของมวลน้ำทะเล จึงก่อให้เกิดเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลประมาณ 5-7 เมตร คาดการณ์ว่าในอีก 50 ปี จะทำให้พื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งทะเลจมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล และเกิดปัญหาต่อระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลดลงของปลา

-          จากสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบในด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยจะทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แต่การที่อากาศอบอุ่นมากขึ้นจะกลายเป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในบางพื้นที่ได้เช่นกัน

-          แหล่งน้ำจืดลดน้อยลง ซึ่งมาจากสาเหตุความเค็มจากน้ำทะเล (Salination) ในเขตชายฝั่งทะเลแทรกตัวเข้ามาในแหล่งน้ำจืดใต้ดิน นอกจากนี้แหล่งน้ำจืดยังถูกปนเปื้อนจากของเสียที่เป็นพิษ สิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน หรือที่มนุษย์ขับถ่ายออกมาเช่นกัน

-          โรคติดต่อจากแมลง (Vector-Borne Disease) แมลงพาหะของโรคเหล่านี้จะเจริญเติบโตได้ดีในเขตภูมิอากาศร้อน จึงทำให้เชื้อโรคต่างๆ ขยายวงกว้างกว่า และถ้ารังสี UV เพิ่มมากขึ้น ภูมิคุ้มกันของมนุษย์ก็จะอ่อนแอมากขึ้น จึงทำให้การติดเชื้อของโรคระบาดเพิ่มมากขึ้น

-          ผลกระทบโดยตรงของความร้อน ในอีก 50 ปีข้างหน้านี้ อุณหภูมิในเขตเมืองจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเรียกว่า “ปรากฏการณ์เกาะร้อน” (Heat Island) ซึ่งในเขตเมืองจะมีอุณหภูมิที่สูงมากกว่าแถบชานเมืองรอบๆ โดยคลื่นความร้อนจะส่งผลต่อสุขภาพและความอ่อนเพลียของมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง นอกจากนี้ ความร้อนยังส่งผลกระทบให้เกิดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศที่สูงขึ้น สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เป็นการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

-          ส่วนผลกระทบในด้านสุขภาพ ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้จากพืช ฝุ่น น้ำเสีย และทำให้ภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อลดลง (เนื่องจากรังสี UV ทำให้เกิดความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน) เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Change)

การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก

ความกังวลต่อสภาพแวดล้อมของโลกที่กำลังเสื่อมโทรมลง ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานระหว่างประเทศหลายองค์กร เช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คณะกรรมการสหภาพวิทยาศาสต์ระหว่างประเทศ (ICSU) องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP) ได้มีการประสานงานและผลักดันให้มีการลงนามในสนธิสัญญา ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซต์

การตอบสนองด้านสาธารณสุข

มีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการกระจายและการกระจุกตัวของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคต่างๆ ซึ่งร่วมกับการตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร และการเฝ้าระวังโรคที่เกิดในสภาพอากาศร้อน โดยใช้วิธีการเดียวกับศูนย์ควาบคุมโรคในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ อากาศที่แปรปรวนอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำท่วมรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ถ้าสภาพอากาศแปรปรวนไปจากสภาวะโลกร้อน และการเคลื่อนย้ายของผู้หนีภัยทางธรรมชาติจะกลายเป็นคลื่นมวลชนขนาดใหญ่ และจะเพิ่มมากขึ้นถ้าหากมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา จะไม่สามารถรักษาจำนวนประชากรของตนเอาไว้ได้ ดังนั้น ด้านสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องกระทำก่อนในช่วงเกิดภัยพิบัติ

 

การเติบโตของประชากร (Population Growth)

จำนวนประชากรโลกทีเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งในขณะนี้มีอัตรา 90 ล้านคนต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีมากกว่า 6 พันล้านคนก่อนค.ศ.2000 การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วนี้ เปรียบได้กับมะเร็งของโลก (A cancer of the planet) ซึ่งจำนวนประชากรโลกจะต้องสมดุลกับอัตราการเจริญพันธุ์และอาหารที่มีอยู่ รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเติบโตของประชากรมีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นถ้าหากไม่มีมาตรการเพื่อดำเนินการใดๆ ในขณะนี้

ค่านิยมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของโลก

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีการสรุปผลว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้นจะทำให้เกิดภัยพิบัติ แต่คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ทำให้หน่วยงานภาครัฐหรือกลุ่มเอกชนที่แสวงหาผลกำไรดำเนินการอย่างแท้จริง ที่จะลดการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตราย จึงต้องมีการให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาสุขภาพผ่านทางสื่อมวลชนไปยังประชาชนทั่วไป ซึ่งจะนำไปสู่การผลักดันทางการเมืองให้ออกกฎหมายที่ควบคุมสิ่งที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการยอมรับในจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หากจำนวนประชากรเป็นสาเหตุสูงสุดของทุกปัญหาต่างๆ เราจึงต้องจำกัดการขยายตัวของประขากร รวมทั้งความขัดแย้งทางจริยธรรมและคุณธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากจะแก้ไข มนุษยชาติจึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับปัญหาประชากรและสิ่งแวดล้อม ที่เราต้องเผชิญในอนาคต ทั้งประชาชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้

 

......................................................

 

 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 38280 ครั้ง
วันที่ : 25/02/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com