Economic Outlook 2011

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2554

สายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ส.อ.ท.

20 มกราคม 2554

เศรษฐกิจไทยปี 2553 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี 

ภาพรวมแล้วเศรษฐกิจไทยปี 2553 จะสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 7.8-7.9 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ได้หักตัวเลขน้ำท่วม และค่าเงินบาทที่แข็งค่าออกไปแล้ว (ธนาคารโลกประเมินการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 7.5) ทั้งนี้ การส่งออกปี 2553 จะสามารถส่งออกได้ 195,311.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 28.17 คิดเป็นมูลค่าเงินบาทรวม 6.176 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.9 (เปรียบเทียบกับปี 2552 การส่งออกติดลบร้อยละ -13.90 คิดเป็นมูลค่า 152,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขณะที่ในเชิงปริมาณขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 16.4 เปรียบเทียบกับปี 2552 ขยายตัวติดลบที่ร้อยละ -13.60 ด้านการนำเข้าเชิง USD ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 37.5 มูลค่าประมาณ 182,406 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับปี 2552 ติดลบร้อยละ -25.2 ทำให้ในปี 2553 ดุลการค้าของไทยอยู่ที่ประมาณ 12,905.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และดุลเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 13,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 4.3 ต่อ GDP โดยมีเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ 30 พฤศจิกายน 2553 มีอยู่ถึง 167,973.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกัน ธันวาคม 2552มีเงินสำรอง 111,080 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.21 คิดเป็นมูลค่า 56,893 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยมี Net Forward อีก 12.59 พันล้านดอลล่าร์ คิดเป็น 4.6 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น สามารถนำสินค้าเข้าได้ 10 เดือนเศษ จัดว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพด้านทุนสำรองในระดับต้นของโลก (เงินสำรองของไทย มีทองคำ 4,480.2 ล้านดอลลาร์และสินทรัพย์อื่นๆอีก 1,894 ล้านดอลลาร์)

 

ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2553/2010

ทั้งนั้เศรษฐกิจไทยปี 2553 ที่เติบโตได้ดีเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1.       เศรษฐกิจไทยในปี 2553 เกิดจากขับเคลื่อนของภาคส่งออก ซึ่งอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 60.8 และภาคนำเข้า ซึ่งมีมูลค่าอยู่ใน GDP ร้อยละ 57.2

2.       เศรษฐกิจไทยปี 2553 ซึ่งยังมีการขยายตัวได้ดีส่วนหนึ่งเกิดจากฐานปี 2552 ต่ำ ซึ่งตัวชี้วัดเศรษฐกิจทุกตัวติดลบ ดังนั้น ในเชิงตัวเลขจึงทำให้เศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมา มีการเติบโตที่ดี

3.       เศรษฐกิจของไทยไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองในประเทศ ซึ่งรุนแรงสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน แต่หลังจากที่รัฐบาลสามารถสลายการชุมนุมที่ไม่สูญเสียถึงชีวิตสูงมากอย่างที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้ง หลายฝ่ายไม่ต้องการเห็นความรุนแรงที่จะเกิดกับประเทศไทย ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองไทย (น่าจะ) มีแนวโน้มไปสู่กระแสการปรองดองแห่งชาติ

4.       บทบาทนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ใช้งบประมาณ และงบกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากเฉพาะงบรายจ่ายของรัฐบาลปี 2553 มีการเบิกจ่ายจริง ณ สิ้นเดือนตุลาคม มีจำนวน 1,627,846.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.8 ของงบทั้งหมด

ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2554

คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2554 อาจจะโต ประมาณร้อยละ 3.1 ถึง 3.4 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 4.3) และการค้าโลก จะโตในทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน ที่ร้อยละ 6.5 ถึง 7.5 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 10) ขณะที่ 14 ประเทศคู่ค้าหลัก เศรษฐกิจขยายตัวกว่าอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.5

·        ประเทศสหรัฐฯอเมริกา การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า จะขยายตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เท่ากับปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 การว่างงานยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อย 9.6 มีคนว่างงานประมาณ 14.8 -15.0 ล้านคน เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นบ้าง จากมาตรการกระตุ้นจากมาตรการ QE-2 จำนวน 650,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

·        สหภาพยุโรป (17) เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการล่มสลายทางการเงินของไอร์แลนด์  , กรีซ , สเปน ทำให้ปี 2554 การขยายตัวยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ ที่ร้อยละ 1.3 อัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ที่สูงที่ร้อยละ 10.1 มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ย

·        ประเทศญี่ปุ่น อุปสงค์ต่อเงินเยนที่แข็งค่า กระทบต่อการส่งออกที่ชะลอตัว ทำให้การว่างงานยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 5.1 ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าไปจำนวนมาก แต่ดัชนีผู้บริโภคยังลดต่อเนื่องติดต่อกัน 19 เดือน

ปัจจัยเกื้อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ปี 2554

            คาคการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2554 ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องโดยมีปัจจัยเกื้อหนุนเศรษฐกิจไทย ได้แก่

1.       การค้าระหว่างประเทศ ยังเป็นปัจจัยชี้นำเศรษฐกิจ การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.7 ถึง 12.0 โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 39.3 (F)

2.       ฐานะการคลังและการเงินของไทยอยู่ในระดับสูง ณ สิ้นปีงบประมาณมีเงินคงคลังสุทธิ 429,322 ล้านบาท และดุลการค้า (Net Export) คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 12.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 3.3 ของ GDP สภาพคล่องของสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับสูงถึง 1.26 ล้านล้านบาท มีสินเชื่อคงค้างประมาณ (ต.ค.53) 890,000 ล้านบาท และมี NPL ทั้งระบบอยู่ในระดับต่ำที่อัตราร้อยละ 2.053 โดยการขยายตัวสินเชื่อปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 10

3.       เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงมาก มีประมาณ 167,973.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และทองคำ จำนวน 4,480.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินสำรองของไทย เป็นสัดส่วนอยู่ใน GDP ร้อยละ 50.46 อยู่ในที่ปลอดภัย

4.       เศรษฐกิจไทยจะถูกขับเคลื่อนจากงบประมาณของรัฐที่สูงเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากงบประมาณรายจ่าย 2,180,000 ล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำร้อยละ 80.3 ทำให้รัฐมีรายจ่ายลงทุนได้ 344,495 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของวงเงินงบประมาณ อีกทั้ง

5.       การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือนเป็นแรงกระตุ้นการบริโภค จากการเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเฉลี่ยร้อยละ 5 และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ เฉลี่ย 11 บาทต่อวัน ทำให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 29,172 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของ

6.       การบริโภครวมจะขยายตัวได้ระดับปานกลาง ที่อัตราร้อยละ 4.0-5.0 และการใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลดลงจากปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 4.9 แต่ในด้านการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 ซึ่ ทิศทางการเติบโตของ Mega Store ในปี 2554 โดยมีมูลค่าอยู่ในระบบเศรษฐกิจประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนอยู่ใน GDP ประมาณ ร้อยละ 20

7.       การลงทุนรวมขยายตัวได้ระดับปานกลาง ที่ระดับร้อยละ 8.0-8.5 เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9. คาดว่า การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.3  ลดลงจากที่ขยายตัวได้ในปีที่แล้ว ร้อยละ 4.9 แต่ด้านการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.41 แสนล้านบาท

8.       ด้านเงินเฟ้อและการว่างงานของไทย อยู่ในระดับเกื้อหนุนเศรษฐกิจ ซึ่ง สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.5 และ ธปท. ประเมินไว้ที่ระดับร้อยละ 3.0-3.2 ปรับตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2553 และ IMF ประเมินเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 3.2-3.7 โดยอัตราการว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 0.9-1.1 การจ้างงานทั้งระบบปี 2553 มีทั้งสิ้น 38.57 ล้านคน โดยมีผู้ว่างงานเพียง 349,000 คน ส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ปี 2554

1.       ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกจะมีการชะลอตัว จากปี 2553 เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ที่อัตราร้อยละ 3.9 ซึ่งสหประชาชาติประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกปี 2554 อาจจะเติบโตเพียงร้อยละ 3.1 ขณะที่ IMF ประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกปี 2554 จะโตร้อยละ 3.6 และธนาคารโลกประเมินว่าจะโตร้อยละ 3.3 โดยการว่างงานเดือนมกราคม 2554 ของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 9.1 และของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อยู่ที่ร้อยละ 10.5 และประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 ซึ่งประเทศในกลุ่ม Q3 มีในฐานะการคลังที่อ่อนแอ หนี้สาธารณะและเงินดุลสะพัดติดลบสูง ส่งผลต่ออุปสงค์โลกที่จะชะลอตัว

2.       ราคาน้ำมันในตลาดต่างประเทศจะมีความผันผวน แต่ราคาอาจไม่สูงทะลุ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรลตามที่หลายฝ่ายมีการประเมินไว้ เนื่องจากการไม่ฟื้นตัวของเศรษฐกิจของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม G3 ซึ่งราคาน้ำมันตลาดโลกเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2554 อยู่ที่ระดับ 89-91.48 เหรียญสหรัฐ/บาเรล

3.       ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าในปี 2554 ประเทศต่างๆ จะใช้มาตรการการคลัง กระตุ้นให้เศรษฐกิจในประเทศของตนเองฟื้นตัว อาจมีแนวโน้มอ่อนค่าในทางทรงตัวที่ระดับ 30.2 ถึง 30.50 จนถึงในช่วงต้นของไตรมาสที่ 2

4.       ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น แนวโน้มที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการปรับดอกเบี้ยอ้างอิง จากร้อยละ 2.25 (ณ เดือนมกราคม 2554) ให้มาสู่ร้อยละ 3.0 ในช่วงไตรมาสที่สามของปี เพื่อให้ใกล้เดียงกับอัตราเงินเฟ้อ

5.       ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะสูงขึ้น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 เริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวของราคาสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก Cost Push Inflation ที่มาจากราคาน้ำมัน (ที่สูง) การปรับค่าแรงดอกเบี้ยที่สูง , ด้านขนส่งและโลจิสติกส์ และปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา

6.       การลงทุน (FDI) ของไทยยังขาดความชัดเจน  เนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และสิทธิประโยชน์ของ BOI ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน

7.       ปัจจัยค่าแรงที่ปรับตัวสูงและปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต การปรับค่าแรงขั้นต่ำของ ก.ก. ค่าจ้างแบบก้าวกระโดด ในบางจังหวัดค่าแรงถึงวันละ 14 ถึง 17 บาท อาจมีผลทำให้อุตสาหกรรมบางพื้นที่และบางประเภทประสบปัญหาด้านต้นทุนที่สูง

8.       ปัจจัยด้านการเมืองในประเทศและรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง แนวโน้มที่พรรคร่วมรัฐบาลอาจมีการยุบสภาในช่วงกลางปี การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหลังการเลือกตั้งหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ ล้วนมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

9.       สภาวะตลาดทุนไทยอาจไม่สดใส ในปีที่ผ่านมา ตลาดทุนได้รับอานิสงค์จากการที่มีเงินไหลเข้ามาในภูมิภาค โดยคาดว่าอาจมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดการเงินมากกว่า 325,000 ล้านบาท ส่งผลให้ตลาดหุ้นสามารถเติบโตได้ทะลุหลักพันจุด ไปอยู่ที่ระดับ 1,023-1,025 จุดในช่วงปลายปี

คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 2554

ในปี 2554 จะเป็นปีที่ภาคการส่งออกจะมีความยากลำบากทั้งจากอุปสงค์ที่ลดลงและความไม่แน่นอนและความตึงเครียดในตลาดปริวรรษเงินตราจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน อันเกิดจากมาตรการอัดฉีดเงินเพื่อปกป้องเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการ Quantitative Easing หรือ QE-2 ของสหรัฐอเมริกา

ปัจจัยที่เศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญในปี 2554 จะเกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งยังไม่ชัดเจนในด้านการฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยูโร ซึ่งการว่างงานยังสูงที่ระดับร้อยละ 9.4 ถึง 10.1

โดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจของไทยจะมีแนวโน้มชะลอตัวไปตามเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะโต ประมาณร้อยละ 3.1 ถึง 3.4 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 4.3) และการค้าโลก จะโตในทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน ที่ร้อยละ 6.5 ถึง 7.5 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 10) ขณะที่ 14 ประเทศคู่ค้าหลัก เศรษฐกิจขยายตัวกว่าอัตราเฉลี่ยที่น้อยละ 4.5 สศช. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0-4.5 ชะลอตัวจากปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.8-7.9 ด้านการส่งออกจะขยายตัวได้ร้อยละ 11-12 ลดจากปีที่แล้วมาก ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัว

คาดการณ์การเติบโดตทางเศรษฐกิจของไทยจากหน่วยงานต่างๆ

หน่วยงาน

คาดการณ์อัตราการเติบโตของไทย (%)

สหประชาชาติ

4.8

ธนาคารโลก

3.2

IMF

3.0-3.5

สศค

4.2-4.5

สศช.

3.5-4.0

ธปท.

4.0

 

ความเสี่ยงของเศรษฐกิจในปี 2554

ยังเกี่ยวข้องกับสถานะความรุนแรง (หากมี) ที่เกิดจากความวุ่นวายจากกลุ่มกดดันทางการเมืองทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง แต่ก็คาดว่าคงไม่เกิดความรุงแรงมาก แต่อาจเป็นแรงกระเพื่อมกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SMEs จะต้องเผชิญจากสภาวะสภาพคล่องในธุรกิจ อันเกิดจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้กำไรลดลงเมื่อบวกกับต้นทุนการผลิตที่วัตถุดิบ , ค่าแรง , ดอกเบี้ย , น้ำมัน , ค่าขนส่ง จะทยอยกันปรับราคา หลังจากที่อั้นกันมาระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันต้นทุนจนเกิดสภาวะเป็น “Cost Push Inflation” คือก่อให้เงินเฟ้อที่มาจากด้านต้นทุนโดยเฉพาะที่มาจากด้านการผันผวนของราคาน้ำมัน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs ที่ขาดอำนาจต่อรอง จะไม่สามารถกระจายต้นทุนไปยังลูกค้าหรือไม่สามารถเพิ่มราคาขายให้สมดุลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น จะกดดันต่อสถานการณ์ขาดทุนของธุรกิจ

ด้านกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม

ดัชนีการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 อยู่ที่ 63.65 ต่ำกว่าเดือนตุลาคมที่อัตราร้อยละ 65.41 แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มไปในทางที่ลดลง ซึ่งสาเหตุจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต เพราะจากดัชนีคำสั่งซื้อในอนาคต ทั้งด้านในประเทศและด้านส่งออกยังอยู่ในระดับสูงที่อัตรา 123 และ 117 ตามลำดับ ดังนั้น อัตรากำลังการผลิตในปี 2554 อาจไม่เพิ่มกว่านี้ไม่ได้มากนัก เพราะปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังคงมีต่อเนื่องไป ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิต (บางส่วน) ไม่สามารถรับ Order ได้เพิ่มขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตแบบประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ทั้งหมดเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทยในปี 2554

โหราศาสตร์ได้พยากรณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีเถาะ 2554 เศรษฐกิจจะดี โดยเฉพาะหลังเดือนเมษายนไปแล้ว บ้านเมืองจะเริ่มกลับมาสงบสุข โดยดาวพฤหัส ซึ่งเป็นดาวประธานแห่งศุภเคราะห์ เดิมในปีที่แล้ว อยู่ในเกณฑ์วินาศกับดาวเมืองแต่ปีนี้จะโคจรมาประทับดวงเมือง จะทำให้ประเทศไทยมีความสงบและปรองดอง เพราะเป็นดาวแห่งความสงบสุข จะมีการเลือกตั้งในกลางปี และหลังเลือกตั้ง การเมืองในประเทศจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เมื่อการเมืองในประเทศนิ่ง เศรษฐกิจก็จะขับเคลื่อนได้ดี (พยากรณ์ : คุณบงกชรัต ฉันทานุรักษ์)

" />
       
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2554 Share


Economic Outlook 2011

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2554

สายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ส.อ.ท.

20 มกราคม 2554

เศรษฐกิจไทยปี 2553 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี 

ภาพรวมแล้วเศรษฐกิจไทยปี 2553 จะสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 7.8-7.9 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ได้หักตัวเลขน้ำท่วม และค่าเงินบาทที่แข็งค่าออกไปแล้ว (ธนาคารโลกประเมินการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 7.5) ทั้งนี้ การส่งออกปี 2553 จะสามารถส่งออกได้ 195,311.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 28.17 คิดเป็นมูลค่าเงินบาทรวม 6.176 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.9 (เปรียบเทียบกับปี 2552 การส่งออกติดลบร้อยละ -13.90 คิดเป็นมูลค่า 152,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขณะที่ในเชิงปริมาณขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 16.4 เปรียบเทียบกับปี 2552 ขยายตัวติดลบที่ร้อยละ -13.60 ด้านการนำเข้าเชิง USD ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 37.5 มูลค่าประมาณ 182,406 เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับปี 2552 ติดลบร้อยละ -25.2 ทำให้ในปี 2553 ดุลการค้าของไทยอยู่ที่ประมาณ 12,905.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และดุลเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 13,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 4.3 ต่อ GDP โดยมีเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ 30 พฤศจิกายน 2553 มีอยู่ถึง 167,973.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกัน ธันวาคม 2552มีเงินสำรอง 111,080 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.21 คิดเป็นมูลค่า 56,893 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยมี Net Forward อีก 12.59 พันล้านดอลล่าร์ คิดเป็น 4.6 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น สามารถนำสินค้าเข้าได้ 10 เดือนเศษ จัดว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพด้านทุนสำรองในระดับต้นของโลก (เงินสำรองของไทย มีทองคำ 4,480.2 ล้านดอลลาร์และสินทรัพย์อื่นๆอีก 1,894 ล้านดอลลาร์)

 

ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2553/2010

ทั้งนั้เศรษฐกิจไทยปี 2553 ที่เติบโตได้ดีเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1.       เศรษฐกิจไทยในปี 2553 เกิดจากขับเคลื่อนของภาคส่งออก ซึ่งอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 60.8 และภาคนำเข้า ซึ่งมีมูลค่าอยู่ใน GDP ร้อยละ 57.2

2.       เศรษฐกิจไทยปี 2553 ซึ่งยังมีการขยายตัวได้ดีส่วนหนึ่งเกิดจากฐานปี 2552 ต่ำ ซึ่งตัวชี้วัดเศรษฐกิจทุกตัวติดลบ ดังนั้น ในเชิงตัวเลขจึงทำให้เศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมา มีการเติบโตที่ดี

3.       เศรษฐกิจของไทยไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองในประเทศ ซึ่งรุนแรงสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน แต่หลังจากที่รัฐบาลสามารถสลายการชุมนุมที่ไม่สูญเสียถึงชีวิตสูงมากอย่างที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้ง หลายฝ่ายไม่ต้องการเห็นความรุนแรงที่จะเกิดกับประเทศไทย ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองไทย (น่าจะ) มีแนวโน้มไปสู่กระแสการปรองดองแห่งชาติ

4.       บทบาทนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ใช้งบประมาณ และงบกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากเฉพาะงบรายจ่ายของรัฐบาลปี 2553 มีการเบิกจ่ายจริง ณ สิ้นเดือนตุลาคม มีจำนวน 1,627,846.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.8 ของงบทั้งหมด

ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2554

คาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2554 อาจจะโต ประมาณร้อยละ 3.1 ถึง 3.4 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 4.3) และการค้าโลก จะโตในทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน ที่ร้อยละ 6.5 ถึง 7.5 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 10) ขณะที่ 14 ประเทศคู่ค้าหลัก เศรษฐกิจขยายตัวกว่าอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.5

·        ประเทศสหรัฐฯอเมริกา การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้า จะขยายตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เท่ากับปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 การว่างงานยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อย 9.6 มีคนว่างงานประมาณ 14.8 -15.0 ล้านคน เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นบ้าง จากมาตรการกระตุ้นจากมาตรการ QE-2 จำนวน 650,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

·        สหภาพยุโรป (17) เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการล่มสลายทางการเงินของไอร์แลนด์  , กรีซ , สเปน ทำให้ปี 2554 การขยายตัวยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ ที่ร้อยละ 1.3 อัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ที่สูงที่ร้อยละ 10.1 มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ย

·        ประเทศญี่ปุ่น อุปสงค์ต่อเงินเยนที่แข็งค่า กระทบต่อการส่งออกที่ชะลอตัว ทำให้การว่างงานยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 5.1 ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าไปจำนวนมาก แต่ดัชนีผู้บริโภคยังลดต่อเนื่องติดต่อกัน 19 เดือน

ปัจจัยเกื้อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ปี 2554

            คาคการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2554 ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องโดยมีปัจจัยเกื้อหนุนเศรษฐกิจไทย ได้แก่

1.       การค้าระหว่างประเทศ ยังเป็นปัจจัยชี้นำเศรษฐกิจ การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.7 ถึง 12.0 โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 39.3 (F)

2.       ฐานะการคลังและการเงินของไทยอยู่ในระดับสูง ณ สิ้นปีงบประมาณมีเงินคงคลังสุทธิ 429,322 ล้านบาท และดุลการค้า (Net Export) คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 12.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 3.3 ของ GDP สภาพคล่องของสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับสูงถึง 1.26 ล้านล้านบาท มีสินเชื่อคงค้างประมาณ (ต.ค.53) 890,000 ล้านบาท และมี NPL ทั้งระบบอยู่ในระดับต่ำที่อัตราร้อยละ 2.053 โดยการขยายตัวสินเชื่อปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 10

3.       เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงมาก มีประมาณ 167,973.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และทองคำ จำนวน 4,480.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินสำรองของไทย เป็นสัดส่วนอยู่ใน GDP ร้อยละ 50.46 อยู่ในที่ปลอดภัย

4.       เศรษฐกิจไทยจะถูกขับเคลื่อนจากงบประมาณของรัฐที่สูงเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากงบประมาณรายจ่าย 2,180,000 ล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำร้อยละ 80.3 ทำให้รัฐมีรายจ่ายลงทุนได้ 344,495 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของวงเงินงบประมาณ อีกทั้ง

5.       การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือนเป็นแรงกระตุ้นการบริโภค จากการเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเฉลี่ยร้อยละ 5 และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ เฉลี่ย 11 บาทต่อวัน ทำให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 29,172 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของ

6.       การบริโภครวมจะขยายตัวได้ระดับปานกลาง ที่อัตราร้อยละ 4.0-5.0 และการใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลดลงจากปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.0 และ 4.9 แต่ในด้านการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 ซึ่ ทิศทางการเติบโตของ Mega Store ในปี 2554 โดยมีมูลค่าอยู่ในระบบเศรษฐกิจประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนอยู่ใน GDP ประมาณ ร้อยละ 20

7.       การลงทุนรวมขยายตัวได้ระดับปานกลาง ที่ระดับร้อยละ 8.0-8.5 เป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9. คาดว่า การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.3  ลดลงจากที่ขยายตัวได้ในปีที่แล้ว ร้อยละ 4.9 แต่ด้านการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.41 แสนล้านบาท

8.       ด้านเงินเฟ้อและการว่างงานของไทย อยู่ในระดับเกื้อหนุนเศรษฐกิจ ซึ่ง สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.5 และ ธปท. ประเมินไว้ที่ระดับร้อยละ 3.0-3.2 ปรับตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2553 และ IMF ประเมินเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 3.2-3.7 โดยอัตราการว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 0.9-1.1 การจ้างงานทั้งระบบปี 2553 มีทั้งสิ้น 38.57 ล้านคน โดยมีผู้ว่างงานเพียง 349,000 คน ส่งผลให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ปี 2554

1.       ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกจะมีการชะลอตัว จากปี 2553 เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ที่อัตราร้อยละ 3.9 ซึ่งสหประชาชาติประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกปี 2554 อาจจะเติบโตเพียงร้อยละ 3.1 ขณะที่ IMF ประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกปี 2554 จะโตร้อยละ 3.6 และธนาคารโลกประเมินว่าจะโตร้อยละ 3.3 โดยการว่างงานเดือนมกราคม 2554 ของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 9.1 และของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อยู่ที่ร้อยละ 10.5 และประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 ซึ่งประเทศในกลุ่ม Q3 มีในฐานะการคลังที่อ่อนแอ หนี้สาธารณะและเงินดุลสะพัดติดลบสูง ส่งผลต่ออุปสงค์โลกที่จะชะลอตัว

2.       ราคาน้ำมันในตลาดต่างประเทศจะมีความผันผวน แต่ราคาอาจไม่สูงทะลุ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรลตามที่หลายฝ่ายมีการประเมินไว้ เนื่องจากการไม่ฟื้นตัวของเศรษฐกิจของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม G3 ซึ่งราคาน้ำมันตลาดโลกเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2554 อยู่ที่ระดับ 89-91.48 เหรียญสหรัฐ/บาเรล

3.       ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน คาดว่าในปี 2554 ประเทศต่างๆ จะใช้มาตรการการคลัง กระตุ้นให้เศรษฐกิจในประเทศของตนเองฟื้นตัว อาจมีแนวโน้มอ่อนค่าในทางทรงตัวที่ระดับ 30.2 ถึง 30.50 จนถึงในช่วงต้นของไตรมาสที่ 2

4.       ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น แนวโน้มที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการปรับดอกเบี้ยอ้างอิง จากร้อยละ 2.25 (ณ เดือนมกราคม 2554) ให้มาสู่ร้อยละ 3.0 ในช่วงไตรมาสที่สามของปี เพื่อให้ใกล้เดียงกับอัตราเงินเฟ้อ

5.       ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะสูงขึ้น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 เริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวของราคาสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก Cost Push Inflation ที่มาจากราคาน้ำมัน (ที่สูง) การปรับค่าแรงดอกเบี้ยที่สูง , ด้านขนส่งและโลจิสติกส์ และปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา

6.       การลงทุน (FDI) ของไทยยังขาดความชัดเจน  เนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และสิทธิประโยชน์ของ BOI ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน

7.       ปัจจัยค่าแรงที่ปรับตัวสูงและปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต การปรับค่าแรงขั้นต่ำของ ก.ก. ค่าจ้างแบบก้าวกระโดด ในบางจังหวัดค่าแรงถึงวันละ 14 ถึง 17 บาท อาจมีผลทำให้อุตสาหกรรมบางพื้นที่และบางประเภทประสบปัญหาด้านต้นทุนที่สูง

8.       ปัจจัยด้านการเมืองในประเทศและรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง แนวโน้มที่พรรคร่วมรัฐบาลอาจมีการยุบสภาในช่วงกลางปี การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหลังการเลือกตั้งหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ ล้วนมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

9.       สภาวะตลาดทุนไทยอาจไม่สดใส ในปีที่ผ่านมา ตลาดทุนได้รับอานิสงค์จากการที่มีเงินไหลเข้ามาในภูมิภาค โดยคาดว่าอาจมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดการเงินมากกว่า 325,000 ล้านบาท ส่งผลให้ตลาดหุ้นสามารถเติบโตได้ทะลุหลักพันจุด ไปอยู่ที่ระดับ 1,023-1,025 จุดในช่วงปลายปี

คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 2554

ในปี 2554 จะเป็นปีที่ภาคการส่งออกจะมีความยากลำบากทั้งจากอุปสงค์ที่ลดลงและความไม่แน่นอนและความตึงเครียดในตลาดปริวรรษเงินตราจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน อันเกิดจากมาตรการอัดฉีดเงินเพื่อปกป้องเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการ Quantitative Easing หรือ QE-2 ของสหรัฐอเมริกา

ปัจจัยที่เศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญในปี 2554 จะเกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งยังไม่ชัดเจนในด้านการฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยูโร ซึ่งการว่างงานยังสูงที่ระดับร้อยละ 9.4 ถึง 10.1

โดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจของไทยจะมีแนวโน้มชะลอตัวไปตามเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะโต ประมาณร้อยละ 3.1 ถึง 3.4 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 4.3) และการค้าโลก จะโตในทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน ที่ร้อยละ 6.5 ถึง 7.5 (ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 10) ขณะที่ 14 ประเทศคู่ค้าหลัก เศรษฐกิจขยายตัวกว่าอัตราเฉลี่ยที่น้อยละ 4.5 สศช. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0-4.5 ชะลอตัวจากปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.8-7.9 ด้านการส่งออกจะขยายตัวได้ร้อยละ 11-12 ลดจากปีที่แล้วมาก ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัว

คาดการณ์การเติบโดตทางเศรษฐกิจของไทยจากหน่วยงานต่างๆ

หน่วยงาน

คาดการณ์อัตราการเติบโตของไทย (%)

สหประชาชาติ

4.8

ธนาคารโลก

3.2

IMF

3.0-3.5

สศค

4.2-4.5

สศช.

3.5-4.0

ธปท.

4.0

 

ความเสี่ยงของเศรษฐกิจในปี 2554

ยังเกี่ยวข้องกับสถานะความรุนแรง (หากมี) ที่เกิดจากความวุ่นวายจากกลุ่มกดดันทางการเมืองทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง แต่ก็คาดว่าคงไม่เกิดความรุงแรงมาก แต่อาจเป็นแรงกระเพื่อมกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SMEs จะต้องเผชิญจากสภาวะสภาพคล่องในธุรกิจ อันเกิดจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้กำไรลดลงเมื่อบวกกับต้นทุนการผลิตที่วัตถุดิบ , ค่าแรง , ดอกเบี้ย , น้ำมัน , ค่าขนส่ง จะทยอยกันปรับราคา หลังจากที่อั้นกันมาระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันต้นทุนจนเกิดสภาวะเป็น “Cost Push Inflation” คือก่อให้เงินเฟ้อที่มาจากด้านต้นทุนโดยเฉพาะที่มาจากด้านการผันผวนของราคาน้ำมัน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs ที่ขาดอำนาจต่อรอง จะไม่สามารถกระจายต้นทุนไปยังลูกค้าหรือไม่สามารถเพิ่มราคาขายให้สมดุลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น จะกดดันต่อสถานการณ์ขาดทุนของธุรกิจ

ด้านกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม

ดัชนีการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 อยู่ที่ 63.65 ต่ำกว่าเดือนตุลาคมที่อัตราร้อยละ 65.41 แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มไปในทางที่ลดลง ซึ่งสาเหตุจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต เพราะจากดัชนีคำสั่งซื้อในอนาคต ทั้งด้านในประเทศและด้านส่งออกยังอยู่ในระดับสูงที่อัตรา 123 และ 117 ตามลำดับ ดังนั้น อัตรากำลังการผลิตในปี 2554 อาจไม่เพิ่มกว่านี้ไม่ได้มากนัก เพราะปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังคงมีต่อเนื่องไป ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิต (บางส่วน) ไม่สามารถรับ Order ได้เพิ่มขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตแบบประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ทั้งหมดเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทยในปี 2554

โหราศาสตร์ได้พยากรณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีเถาะ 2554 เศรษฐกิจจะดี โดยเฉพาะหลังเดือนเมษายนไปแล้ว บ้านเมืองจะเริ่มกลับมาสงบสุข โดยดาวพฤหัส ซึ่งเป็นดาวประธานแห่งศุภเคราะห์ เดิมในปีที่แล้ว อยู่ในเกณฑ์วินาศกับดาวเมืองแต่ปีนี้จะโคจรมาประทับดวงเมือง จะทำให้ประเทศไทยมีความสงบและปรองดอง เพราะเป็นดาวแห่งความสงบสุข จะมีการเลือกตั้งในกลางปี และหลังเลือกตั้ง การเมืองในประเทศจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เมื่อการเมืองในประเทศนิ่ง เศรษฐกิจก็จะขับเคลื่อนได้ดี (พยากรณ์ : คุณบงกชรัต ฉันทานุรักษ์)


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 6348 ครั้ง
วันที่ : 31/01/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com