ประเทศไทยในช่วงปี 2553 ดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. มีการปรับขึ้นมา 2 ครั้ง จนมาอยู่ที่ระดับ 1.75 และจากการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีมติให้ยังคงอัตรานี้อยู่และคาดว่าน่าจะต่อเนื่องไปจนปลายปี 2553 ถึงแม้ว่าทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่มีผลโดยตรงต่อกระแสเงินไหลเข้า แต่โดยข้อเท็จจริง อัตราผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ยพันธบัตร จะมีผลผันแปรไปตามดอกเบี้ยนโยบาย เห็นได้จากดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและธปท. อาทิ พันธบัตรอายุ 3-4 ปีร้อยละ 4 และ ปีที่ 5 ร้อยละ 5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูง กว่าหลายประเทศในภูมิภาค กล่าวได้ว่า ดอกเบี้ยนโยบายไม่มีผลโดยตรงต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ แต่มีนัยสำคัญต่อการกำหนดอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ ทั้งนี้ทางธปท.ยังยืนยันแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้นโดยมีเหตุผล ปัจจัยจากอัตราการซื้อแท้จริงติดลบ ขณะที่เศรษฐกิจแท้จริงอยู่ในช่วงขาขึ้น และปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งคาดว่าปีนี้ทั้งปีคงเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.4

อย่างไรก็ดีอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆมีผลต่อผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมักจะมีอัตราไม่น้อยกว่าอันตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกรณีของประเทศไทยเช่นกันซึ่งมีผลทำให้เงินทุนโลก Inflow เข้ามามากกว่าปรกติและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า จากตารางข้างล่างแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีอัตราที่สูงเป็นสาเหตุสำคัญที่มีกระแสเงินไหลเข้ามาในประเทศไทย เงินที่เข้ามามากในลักษณะนี้ มีความผิดปกติ เพราะเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้ดีกว่ามาเลเซีย เกาหลี หรือไต้หวัน ซึ่งค่าเงินบาทของประเทศเหล่านี้ในช่วง 2 เดือนเศษที่ผ่านมา แข็งค่าเฉลี่ยที่ระดับร้อยละ 3.199 ขณะที่ประเทศไทยแข็งค่าร้อยละ 7.389 ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินที่เข้ามาส่วนใหญ่ เพื่อการเก็งกำไร และมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าผันผวนอย่างผิดปกติ

" />
       
 

ผลกระทบดอกเบี้ยกับเงินบาท Share


ประเทศไทยในช่วงปี 2553 ดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. มีการปรับขึ้นมา 2 ครั้ง จนมาอยู่ที่ระดับ 1.75 และจากการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีมติให้ยังคงอัตรานี้อยู่และคาดว่าน่าจะต่อเนื่องไปจนปลายปี 2553 ถึงแม้ว่าทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่มีผลโดยตรงต่อกระแสเงินไหลเข้า แต่โดยข้อเท็จจริง อัตราผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ยพันธบัตร จะมีผลผันแปรไปตามดอกเบี้ยนโยบาย เห็นได้จากดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและธปท. อาทิ พันธบัตรอายุ 3-4 ปีร้อยละ 4 และ ปีที่ 5 ร้อยละ 5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูง กว่าหลายประเทศในภูมิภาค กล่าวได้ว่า ดอกเบี้ยนโยบายไม่มีผลโดยตรงต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ แต่มีนัยสำคัญต่อการกำหนดอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ ทั้งนี้ทางธปท.ยังยืนยันแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้นโดยมีเหตุผล ปัจจัยจากอัตราการซื้อแท้จริงติดลบ ขณะที่เศรษฐกิจแท้จริงอยู่ในช่วงขาขึ้น และปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งคาดว่าปีนี้ทั้งปีคงเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.4

อย่างไรก็ดีอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆมีผลต่อผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมักจะมีอัตราไม่น้อยกว่าอันตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกรณีของประเทศไทยเช่นกันซึ่งมีผลทำให้เงินทุนโลก Inflow เข้ามามากกว่าปรกติและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า จากตารางข้างล่างแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีอัตราที่สูงเป็นสาเหตุสำคัญที่มีกระแสเงินไหลเข้ามาในประเทศไทย เงินที่เข้ามามากในลักษณะนี้ มีความผิดปกติ เพราะเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้ดีกว่ามาเลเซีย เกาหลี หรือไต้หวัน ซึ่งค่าเงินบาทของประเทศเหล่านี้ในช่วง 2 เดือนเศษที่ผ่านมา แข็งค่าเฉลี่ยที่ระดับร้อยละ 3.199 ขณะที่ประเทศไทยแข็งค่าร้อยละ 7.389 ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินที่เข้ามาส่วนใหญ่ เพื่อการเก็งกำไร และมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าผันผวนอย่างผิดปกติ


ไฟล์ประกอบ : ผลกระทบดอกเบี้ยกับเงินบาท.pdf
อ่าน : 1977 ครั้ง
วันที่ : 26/10/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com