แนวโน้มเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ส.อ.ท.

6 ต.ค. 2553

 

ในช่วงต้นปี 2553 เงินบาทมีทิศทางที่แข็งค่าอย่างเป็นนัย เมื่อเทียบกับดอลลาร์มีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแข็งค่าตั้งแต่เดือน ม.ค. 2553 – วันที่ 30 กันยายน 2553 เงินบาทมีการแข็งค่า 2.975 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.0% ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยรวม โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศในสัดส่วนที่สูง ก็จะได้รับผลกระทบในอัตราที่สูงเช่นกัน (High Local content) ทาง ส.อ.ท. เคยทำสำรวจ พบว่าผู้ส่งออกได้รับผลกระทบมากร้อยละ 30 , ได้รับผลกระทบปานกลาง ร้อยละ 41, ได้รับผลกระทบน้อย ร้อยละ 12 และไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 12 (ที่เหลือแจ้งว่ามีทั้งกระทบและไม่กระทบ)

 

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เงินบาทไทยแข็งค่า นอกเหนือจากการสะสมเงินดุลสะพัด , การมีสำรองเงินตราต่างประเทศที่สูง ยังเกิดจากปัจจัยภายนอก เนื่องจากสภาวะความไม่ชัดเจนของเศรษฐกิจประเทศสหรัฐ และบางประเทศในยุโรป เช่น สเปน ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้ประเทศเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป โดยรวม) ยังไม่ชัดเจนในการฟื้นตัว อาจต้องใช้เวลาไปถึงกลางปี หรือ ปลายปี 2554 กอปร์กับ อัตราดอกเบี้ยชี้นำของธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดอกเบี้ยอนุพันธ์การเงินของไทบให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่า รวมถึง มาตรการทั้ง 5 ข้อ ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 เป็นเพียงมาตรการการผ่อนปรนเงื่อนไขให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศให้ง่ายขึ้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวขาดเหตุผลเชิงพาณิชย์ที่ภาคเอกชนจะมีการเก็บเงินดอลลาร์ไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราสกุลต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) และ การซื้อเครื่องจักรใหม่ รวมถึง การลงทุนในต่างประเทศ เป็นเรื่องเชิงการวางแผนในระยะยาวของธุรกิจ ดังนั้น มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงไม่อาจเห็นผลสัมฤทธิ์ต่อการกดดันให้เงินบาทเป็นไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศ  

 

ทิศทางเงินบาทยังมีการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราแลกเปลี่ยน (อัตราซื้อ) ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 อยู่ที่ระดับ 30.1752 (อัตราถัวเฉลี่ย อยู่ที่ 30.401 บาท/ดอลลาร์) เปรียบเทียบจากอัตราซื้อ วันที่ 1 สิงหาคม 2553 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.979 ซึ่งในช่วงเวลา 2 เดือน เงินบาทมีการแข็งค่าถึง 1.803 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 5.640 และยังทำสถิติแข็งต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 13 ปี และยังมีทิศทางชัดเจนว่าจะลงไปในระดับที่ต่ำกว่า 30.00 บาท/ดอลลาร์ ในเร็วนี้ ทั้งเงินบาทในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2553 มีการแข็งค่าอย่างผิดปกติ โดยแข็งค่าเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคที่อัตรา 5.640% อันดับที่ 2 เงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่า 4.010% อันดับที่ 3 เงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 3.576% อันดับที่ 4 เงินดอลลาร์สิงค์โปร์แข็งค่า 3.234% อันดับที่ 5 เงินรังกิตของมาเลเซียแข็งค่า 3.094% สำหรับ เงินหยวนของจีนแข็งค่าเป็นอันดับ 6 ที่ระดับ 1.284% ขณะที่เวียดนามเงินอ่อนค่า 2.035% อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าเงินบาทเฉพาะวันที่ 30 กันยายน 2553 เป็นการแข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ยกเว้นเงินหยวนกับฮ่องกงดอลลาร์กลับมีการอ่อนค่าเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.0710 และ 0.0309 ตามลำดับ แต่การแข็งค่าเงินบาทของไทยก็ยังแข็งค่ามากกว่ามาเลเซียและประเทศสิงค์โปร์


***อ่านเพิ่มเติมคลิกด้านล่าง***

" />
       
 

แนวโน้มเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง Share


แนวโน้มเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ส.อ.ท.

6 ต.ค. 2553

 

ในช่วงต้นปี 2553 เงินบาทมีทิศทางที่แข็งค่าอย่างเป็นนัย เมื่อเทียบกับดอลลาร์มีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแข็งค่าตั้งแต่เดือน ม.ค. 2553 – วันที่ 30 กันยายน 2553 เงินบาทมีการแข็งค่า 2.975 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.0% ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกโดยรวม โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศในสัดส่วนที่สูง ก็จะได้รับผลกระทบในอัตราที่สูงเช่นกัน (High Local content) ทาง ส.อ.ท. เคยทำสำรวจ พบว่าผู้ส่งออกได้รับผลกระทบมากร้อยละ 30 , ได้รับผลกระทบปานกลาง ร้อยละ 41, ได้รับผลกระทบน้อย ร้อยละ 12 และไม่ได้รับผลกระทบร้อยละ 12 (ที่เหลือแจ้งว่ามีทั้งกระทบและไม่กระทบ)

 

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เงินบาทไทยแข็งค่า นอกเหนือจากการสะสมเงินดุลสะพัด , การมีสำรองเงินตราต่างประเทศที่สูง ยังเกิดจากปัจจัยภายนอก เนื่องจากสภาวะความไม่ชัดเจนของเศรษฐกิจประเทศสหรัฐ และบางประเทศในยุโรป เช่น สเปน ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้ประเทศเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป โดยรวม) ยังไม่ชัดเจนในการฟื้นตัว อาจต้องใช้เวลาไปถึงกลางปี หรือ ปลายปี 2554 กอปร์กับ อัตราดอกเบี้ยชี้นำของธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดอกเบี้ยอนุพันธ์การเงินของไทบให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่า รวมถึง มาตรการทั้ง 5 ข้อ ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 เป็นเพียงมาตรการการผ่อนปรนเงื่อนไขให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศให้ง่ายขึ้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวขาดเหตุผลเชิงพาณิชย์ที่ภาคเอกชนจะมีการเก็บเงินดอลลาร์ไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราสกุลต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) และ การซื้อเครื่องจักรใหม่ รวมถึง การลงทุนในต่างประเทศ เป็นเรื่องเชิงการวางแผนในระยะยาวของธุรกิจ ดังนั้น มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงไม่อาจเห็นผลสัมฤทธิ์ต่อการกดดันให้เงินบาทเป็นไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศ  

 

ทิศทางเงินบาทยังมีการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราแลกเปลี่ยน (อัตราซื้อ) ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 อยู่ที่ระดับ 30.1752 (อัตราถัวเฉลี่ย อยู่ที่ 30.401 บาท/ดอลลาร์) เปรียบเทียบจากอัตราซื้อ วันที่ 1 สิงหาคม 2553 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.979 ซึ่งในช่วงเวลา 2 เดือน เงินบาทมีการแข็งค่าถึง 1.803 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 5.640 และยังทำสถิติแข็งต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 13 ปี และยังมีทิศทางชัดเจนว่าจะลงไปในระดับที่ต่ำกว่า 30.00 บาท/ดอลลาร์ ในเร็วนี้ ทั้งเงินบาทในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2553 มีการแข็งค่าอย่างผิดปกติ โดยแข็งค่าเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคที่อัตรา 5.640% อันดับที่ 2 เงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่า 4.010% อันดับที่ 3 เงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 3.576% อันดับที่ 4 เงินดอลลาร์สิงค์โปร์แข็งค่า 3.234% อันดับที่ 5 เงินรังกิตของมาเลเซียแข็งค่า 3.094% สำหรับ เงินหยวนของจีนแข็งค่าเป็นอันดับ 6 ที่ระดับ 1.284% ขณะที่เวียดนามเงินอ่อนค่า 2.035% อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าเงินบาทเฉพาะวันที่ 30 กันยายน 2553 เป็นการแข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ยกเว้นเงินหยวนกับฮ่องกงดอลลาร์กลับมีการอ่อนค่าเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 0.0710 และ 0.0309 ตามลำดับ แต่การแข็งค่าเงินบาทของไทยก็ยังแข็งค่ามากกว่ามาเลเซียและประเทศสิงค์โปร์


***อ่านเพิ่มเติมคลิกด้านล่าง***


ไฟล์ประกอบ : 026-ค่าเงินบาท-6-10-53.pdf
อ่าน : 2473 ครั้ง
วันที่ : 11/10/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com