รายงานพิเศษ

สายงานเศรษฐกิจฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผลกระทบจากวิกฤตค่าเงินบาท

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23 กันยายน 2553

ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯมีการแข็งค่าขึ้นอย่างเป็นนัย โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553  ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) อยู่ที่ 30.523 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 30.768 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นอัตราที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 13 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินบาท ในเดือนมกราคม 2553 อยู่ที่ระดับ 33.15 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ พบว่า เงินบาทมีการแข็งค่าไปถึง 2.65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ  คิดเป็นร้อยละ 7.99  ซึ่งเป็นอัตราแข็งค่าสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแข็งค่าร้อยละ 9.41 และอันดับ 2 เป็นประเทศมาเลเซีย แข็งค่าร้อยละ 9.24  

อนึ่งฯ หากเปรียบเทียบเฉพาะในช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา พบว่าเงินบาทกลับมีการแข็งค่าเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค เปรียบเทียบจากอัตราซื้อค่าเงินบาท ณ วันที่ 9 สิงหาคม อยู่ที่ 31.828 บาท/เหรียญสหรัฐ เทียบกับวันอังคารที่ 20 กันยายน 2553  อัตราซื้ออยู่ที่ 30.523 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเพียง 45 วัน ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าถึง 1.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าคิดเป็นร้อยละ 4.13 โดยมีประเทศมาเลเซียแข็งค่าเป็นอันดับ 2 ที่ อัตราร้อยละ 1.43 และประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 3 ที่อัตราแข็งค่าร้อยละ 1.136 นอกจากนี้ เงินบาทของไทยยังแข็งค่ากว่าเงินหยวนของจีน ซึ่งแข็งค่าเพียง 0.03 และเงินวอนของเกาหลีที่ 0.23 สำหรับเงินด่องของเวียดนามอ่อนค่าร้อยละ -4.08 ด่อง / เหรียญสหรัฐฯ และเงินฮ่องกงดอลล่าร์ก็อ่อนค่าร้อยละ 2.40 ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่มีนาคมถึงปลายกันยายน 2553 เงินบาทเฉพาะในช่วง 45 วันหลัง มีการแข็งค่าไปถึงร้อยละ 51.9 ซึ่งเห็นว่าไม่ใช่เป็นเรื่องปกติ แสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งเดือนเศษมีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรอย่างผิดปกติ จึงทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าอย่างที่เป็นอยู่ หากเป็นสัดส่วนเช่นนี้โอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าไปที่ระดับ 29.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐภายในปลายเดือนตุลาคม 2553 จะมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกมากกว่าที่เป็นอยู่ (ยกเว้น ธปท. มีมาตรการสกัดเงินไหลเข้าอย่างเป็นรูปธรรม)

อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 20 กันยายน 2553 กลับมีการอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1789 เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการแทรกแซงของ ธปท. ให้อยู่ในอัตราไม่หลุดจากระดับ 30.35 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยนักลงทุนชะลอดูผลการประชุมของ FED ว่าจะมีการเพิ่มปริมาณเงินดอลล่าร์เข้ามาในระบบอีกหรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มเงินบาทจะอ่อนค่าต่อไป อีกทั้ง นักลงทุนต่างประเทศชะลอดูมาตรการของ ธปท. ที่จะออกมาว่าจะไปในทิศทางไหน ทั้งนี้ หลังจากนักลงทุนต่างประเทศ เห็นว่ามาตรการ ธปท. ที่ออกมาวันที่ 20 กันยายน 2553 ไม่มีผลเป็นนัย อีกทั้ง ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 ได้มีการประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่อัตราร้อยละ 0.25 ทำให้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) ไหลกลับเข้ามาในประเทศไทย ทั้งในตลาดการเงินและตลาดหุ้น ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าไปอยู่ในระดับ 30.436 บาท/USD (อัตราซื้อ) และอัตราถัวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 30.665 บาท/USD ซึ่งก็สอดคล้องไปกับเงินหลายสกุลในภูมิภาค ยกเว้น เงินวอนของเกาหลี , รูปีของอินเดีย , รูเปียะของอินโดนีเซีย ซึ่งรัฐบาลประเทศดังกล่าวมีการแทรกแซง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีการอ่อนค่าต่อไป

ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เงินบาทแข็งค่า

1.      เงินนอกไม่มีที่ไป จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งมีความเสี่ยงทางการเงิน อีกทั้งเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง รวมทั้งการเข้าไปเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันมีความเสี่ยงสูง จากประเด็นดีมานด์ในตลาดโลกชะลอตัวเห็นได้จากราคาน้ำมันล่วงหน้าเดือนตุลาคม ปี 2553 ตัวเลขทั้งของ WTI, BRENT, OMAN และ DUBAI ล้วนมีราคาใกล้เคียงกับราคาปัจจุบันที่ประมาณ 75.0 – 82.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบใน 1 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มลดลงตามอุปทานการใช้คาดว่าจะมีมีราคาเฉลี่ยที่ 69 -72 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สะท้อนถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เงินนอกไม่มีที่ไป จึงหันเข้ามาทำกำไรระยะสั้น 3 – 6 เดือน ในตลาดภูมิภาครวมทั้งประเทศไทย (ข้อมูลจาก American Petroleum Institute)

2.      ดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงกว่าภูมิภาคมาก  จูงใจให้มีเงินไหลเข้ามาทำกำไร ปัจจุบันหลายประเทศได้ใช้มาตรการดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้รัฐบาลมีต้นทุนด้านดอกเบี้ยต่ำ ไปกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างกำลังซื้อในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงานในภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ทิศทางดอกเบี้ยของไทย ทาง ธปท. มีการห่วงเรื่องเงินเฟ้อ และการใช้จ่ายของประชาชน (เดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 เป็นอัตราที่ประกาศ) ธปท.จึงได้มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายจนปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และมีแนวโน้มที่ปรับไปถึงร้อยละ 2.0 ขณะที่ดอกเบี้ยของ FED ของสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 ยังตรึงอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.25 ,ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.1 และธนาคารกลางของจีน(BOC) อยู่ที่ร้อยละ 0.65 – 0.85 

3.      ดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยเกื้อหนุน จูงใจให้มีการนำเงินเข้ามาทำกำไรในระยะสั้น โดยดอกเบี้ยออมทรัพย์ของประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.5 -0.75 ,ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ 0.9-1.2 และดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี เฉลี่ยที่ 1.2-1.8 นอกจากนี้ ดอกเบี้ยอ้างอิง BIBOR ของไทย ระยะ 3 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 1.87 และ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.2 , ดอกเบี้ย Inter bank เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.27 ,ตลาดซื้อพันธบัตร 1 วัน เดือน กรกฎาคม ผลตอบแทนร้อยละ 1.4

4.      เงินนอกทะลักเข้ามาในตลาดหุ้นไทย  ซึ่งปลายไตรมาส 3 เศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวเพราะรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้เงินของต่างชาติไม่มีที่ไปและไหลเข้ามาทำกำไรในตลาดหุ้นไทย เฉพาะเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมมียอดการซื้อขาย 63,116 ล้านบาทสูงที่สุดในรอบ 4 ปี ทำให้หุ้นไทย ณ วันที่ 21 กันยายน 2553 ไปถึง 945 จุด และมีโอกาสที่จะแตะ 1,000 จุดในปลายปีนี้ จากอัตราดอกเบี้ยของไทยทั้งดอกเบี้ยธนาคารและผลตอบแทนจากอนุพันธ์ทางการเงินที่ค่อนข้างสูงกว่าทุกประเทศในภูมิภาค (ยกเว้นประเทศมาเลเซีย) มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินยังมีการไหลเข้ามาทำกำไรในระยะสั้น 1-3 เดือน เนื่องจากมีผลตอบแทนดีกว่า คาดว่าอัตราการแข็งค่าเงินบาทจะยังมีทิศทางที่แรง

5.      เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในอัตราที่สูงมาก จากตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมมีจำนวน 151,524 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้เป็นเงินตราต่างประเทศถึง 145,879 เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ เงินทุนสำรองของไทยเพิ่มขึ้น 9,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90

การที่ระบบสถาบันการเงินของไทยมีความแข็งแกร่ง รวมทั้ง ประเทศไทยมีทุนสำรองในจำนวนที่สามารถนำเข้าสินค้าได้ 9 เดือนเศษ โดยที่ไม่ต้องมีการส่งออก ถือว่า มีความน่าเชื่อถือซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นที่ต่างชาติ ในการนำเงินเข้ามาลงทุนระยะสั้นในประเทศไทย ซึ่งยิ่งจะทำให้เงินบาทของไทย มีการแข็งค่าต่อไป (การมีเงินสำรองสูงเป็นสิ่งที่ดี แต่จะส่งผลข้างเคียงต่อความเชื่อมั่นในการนำเงินเข้ามาลงทุนในระยะสั้น กระทบต่อค่าของเงินบาทในทางบวก)

5 มาตรการของ ธปท. สำหรับลดแรงกดันต่อการแข็งค่าของเงินบาท

1.      การพิจารณาให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยลงทุนในบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศได้มากขึ้น

2.      ให้นิติบุคคลไทยหรือบุคคลไทยสามารถให้นิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ต่างประเทศกู้ยืมเงินเป็นสกุลต่างประเทศในจำนวนมากขึ้น

3.      การพิจารณาเพิ่มวงเงินที่นิติบุคคลหรือบุคคลโอนออกไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ จากเดิมจำกัดไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเพดาเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

4.      การให้นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินสกุลเงินต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ ให้มียอดเงินคงค้างในบัญชีสูงถึง 500,000 เหรียญสหรัฐ

5.      มาตรการที่จะขยายวงเงินสินค้าส่งออกที่ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 20,000 เหรียญสหรัฐ เป็น 50,000 เหรียญสหรัฐ

มาตรการของ ธปท. ไม่สามารถเห็นผลสัมฤทธิ์ได้ในเวลาอันสั้น

จากมาตรการทั้ง 5 ของ ธปท. ที่ออกมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 เป็นเพียงมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขให้นักลงทุนไทยดำเนินต่อการลงทุนต่างประเทศ เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศ หรือซื้อเครื่องจักรใหม่ นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น เช่น แหล่งที่มาของเงิน , การจัดเตรียมก่อสร้างอาคาร สถานที่ โรงงาน โดยเฉพาะความต้องการหรือ Demand โดยปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นปัจจัยอยู่ในระดับท้ายๆของการตัดสินใจ ซึ่งกำลังการผลิตในปัจจุบันของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 70 ยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ อีกทั้ง การลงทุนในต่างประเทศเป็นเรื่องของการหาพาร์ทเนอร์ การศึกษาประเทศที่จะไปลงทุน รวมถึง กฎเกณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น มาตรการดังกล่าวของ ธปท. จึงไม่มีผลต่อทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทมากนัก อีกทั้ง เป็นมาตรการที่ยังไม่สามารถเห็นผลได้ในระยะสั้น เนื่องจากแนวโน้มดอลล่าร์ยังมีการอ่อนค่าและปัจจัยเกื้อหนุนของประเทศไทยเอง ทั้งด้านอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าภูมิภาค รวมถึง การเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ แต่ยังคงทำให้มีเงินไหลเข้ามาส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงมีการแข็งค่าต่อไป ทั้งนี้ ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะไม่มีการเก็บเงินเป็นดอลล่าร์ เนื่องจากทิศทางของเงินดอลล่าร์จะยังมีการอ่อนค่า หากเก็บเงินดอลล่าร์ไว้จะทำให้เกิดการขาดทุนในผลต่างอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้ง SMEs ส่วนใหญ่ของไทยก็ยังไม่ได้มีการเปิดเงินฝากในต่างประเทศ (FCD) ซึ่ง ธปท. และกระทรวงการคลัง ควรจะมีการหารือ ทบทวนมาตรการ เพื่อไม่ให้เงินบาทของไทยแข็งค่าไปกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค โดยเฉพาะในประเด็นดังต่อไปนี้

1.      แนวโน้มของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้จะมีเงิน Inflow เข้ามาในภูมิภาคและประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ ธปท. หามาตรการในการควบคุมเงินทุนที่จะไหลเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทมีการแข็งค่าต่อเนื่องเพราะเงินทุนจากสหรัฐฯและยุโรป จะยังทะลักเข้าสู่ภูมิภาค รวมทั้งประเทศไทยเพื่อทำกำไรจากผลตอบแทนของส่วนต่างของดอกเบี้ยในประเทศที่สูงกว่า

2.      ธปท. ควรจะมีมาตรการดูแลการเก็งกำไรในบางตลาด โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้ เพื่อให้การเข้ามาเก็งกำไรได้ยากขึ้น เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี

3.      ปัจจัยเกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ขอให้มีคงไว้ในระดับร้อยละ 1.75 ซึ่งเป็นระดับที่สูงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยของ BOJ อยู่ที่ร้อยละ 0.1 , ดอกเบี้ย FED อยู่ที่ร้อยละ 0.25 และดอกเบี้ยของ EU อยู่ที่ร้อยละ 1.0 โดยขอให้ กนง. พิจารณาในการคงดอกเบี้ยไว้ถึงสิ้นปี

4.      ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลังร่วมกันหามาตรการในการช่วยเหลือผู้ส่งออกโดยเฉพาะ SMEs ซึ่งจะเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องและการให้เข้าถึงระบบการประกันความเสี่ยงอันตราแลกเปลี่ยน

อนึ่งฯ ขอให้ทางภาครัฐเข้าใจว่า การที่ตัวเลขส่งออกในเดือนสิงหาคมยังสามารถเติบโตได้ดี เกิดจากการรับออร์เดอร์ผู้ส่งออกจะมีการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 เดือน แต่บางอุตสาหกรรมอาจต้องให้เวลาในการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าถึง 6 เดือน ตัวเลขในเดือนสิงหาคมบางส่วนจึงเป็นออร์เดอร์ที่รับมาตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม ผลกระทบที่เห็นชัดเจนต่อตัวเลขการส่งออก อาจเป็นในช่วงปลายไตรมาส 4 ของปี 2553 และไตรมาสแรกของปี 2554 ทางรัฐบาลจึงควรหามาตรการร่วมกับ ธปท. ในการแก้ปัญหา เพื่อให้เงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนสอดคล้องไปกับเงินสกุลต่างๆของภูมิภาค

 

******************

" />
       
 

รายงานพิเศษผลกระทบจากวิกฤตค่าเงินบาท Share


รายงานพิเศษ

สายงานเศรษฐกิจฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผลกระทบจากวิกฤตค่าเงินบาท

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23 กันยายน 2553

ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯมีการแข็งค่าขึ้นอย่างเป็นนัย โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553  ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) อยู่ที่ 30.523 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 30.768 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นอัตราที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 13 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินบาท ในเดือนมกราคม 2553 อยู่ที่ระดับ 33.15 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ พบว่า เงินบาทมีการแข็งค่าไปถึง 2.65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ  คิดเป็นร้อยละ 7.99  ซึ่งเป็นอัตราแข็งค่าสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแข็งค่าร้อยละ 9.41 และอันดับ 2 เป็นประเทศมาเลเซีย แข็งค่าร้อยละ 9.24  

อนึ่งฯ หากเปรียบเทียบเฉพาะในช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา พบว่าเงินบาทกลับมีการแข็งค่าเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค เปรียบเทียบจากอัตราซื้อค่าเงินบาท ณ วันที่ 9 สิงหาคม อยู่ที่ 31.828 บาท/เหรียญสหรัฐ เทียบกับวันอังคารที่ 20 กันยายน 2553  อัตราซื้ออยู่ที่ 30.523 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเพียง 45 วัน ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าถึง 1.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าคิดเป็นร้อยละ 4.13 โดยมีประเทศมาเลเซียแข็งค่าเป็นอันดับ 2 ที่ อัตราร้อยละ 1.43 และประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 3 ที่อัตราแข็งค่าร้อยละ 1.136 นอกจากนี้ เงินบาทของไทยยังแข็งค่ากว่าเงินหยวนของจีน ซึ่งแข็งค่าเพียง 0.03 และเงินวอนของเกาหลีที่ 0.23 สำหรับเงินด่องของเวียดนามอ่อนค่าร้อยละ -4.08 ด่อง / เหรียญสหรัฐฯ และเงินฮ่องกงดอลล่าร์ก็อ่อนค่าร้อยละ 2.40 ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่มีนาคมถึงปลายกันยายน 2553 เงินบาทเฉพาะในช่วง 45 วันหลัง มีการแข็งค่าไปถึงร้อยละ 51.9 ซึ่งเห็นว่าไม่ใช่เป็นเรื่องปกติ แสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งเดือนเศษมีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรอย่างผิดปกติ จึงทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าอย่างที่เป็นอยู่ หากเป็นสัดส่วนเช่นนี้โอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าไปที่ระดับ 29.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐภายในปลายเดือนตุลาคม 2553 จะมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกมากกว่าที่เป็นอยู่ (ยกเว้น ธปท. มีมาตรการสกัดเงินไหลเข้าอย่างเป็นรูปธรรม)

อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 20 กันยายน 2553 กลับมีการอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1789 เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการแทรกแซงของ ธปท. ให้อยู่ในอัตราไม่หลุดจากระดับ 30.35 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยนักลงทุนชะลอดูผลการประชุมของ FED ว่าจะมีการเพิ่มปริมาณเงินดอลล่าร์เข้ามาในระบบอีกหรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อแนวโน้มเงินบาทจะอ่อนค่าต่อไป อีกทั้ง นักลงทุนต่างประเทศชะลอดูมาตรการของ ธปท. ที่จะออกมาว่าจะไปในทิศทางไหน ทั้งนี้ หลังจากนักลงทุนต่างประเทศ เห็นว่ามาตรการ ธปท. ที่ออกมาวันที่ 20 กันยายน 2553 ไม่มีผลเป็นนัย อีกทั้ง ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 ได้มีการประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่อัตราร้อยละ 0.25 ทำให้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) ไหลกลับเข้ามาในประเทศไทย ทั้งในตลาดการเงินและตลาดหุ้น ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าไปอยู่ในระดับ 30.436 บาท/USD (อัตราซื้อ) และอัตราถัวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 30.665 บาท/USD ซึ่งก็สอดคล้องไปกับเงินหลายสกุลในภูมิภาค ยกเว้น เงินวอนของเกาหลี , รูปีของอินเดีย , รูเปียะของอินโดนีเซีย ซึ่งรัฐบาลประเทศดังกล่าวมีการแทรกแซง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีการอ่อนค่าต่อไป

ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เงินบาทแข็งค่า

1.      เงินนอกไม่มีที่ไป จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งมีความเสี่ยงทางการเงิน อีกทั้งเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง รวมทั้งการเข้าไปเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันมีความเสี่ยงสูง จากประเด็นดีมานด์ในตลาดโลกชะลอตัวเห็นได้จากราคาน้ำมันล่วงหน้าเดือนตุลาคม ปี 2553 ตัวเลขทั้งของ WTI, BRENT, OMAN และ DUBAI ล้วนมีราคาใกล้เคียงกับราคาปัจจุบันที่ประมาณ 75.0 – 82.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบใน 1 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มลดลงตามอุปทานการใช้คาดว่าจะมีมีราคาเฉลี่ยที่ 69 -72 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สะท้อนถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เงินนอกไม่มีที่ไป จึงหันเข้ามาทำกำไรระยะสั้น 3 – 6 เดือน ในตลาดภูมิภาครวมทั้งประเทศไทย (ข้อมูลจาก American Petroleum Institute)

2.      ดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูงกว่าภูมิภาคมาก  จูงใจให้มีเงินไหลเข้ามาทำกำไร ปัจจุบันหลายประเทศได้ใช้มาตรการดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้รัฐบาลมีต้นทุนด้านดอกเบี้ยต่ำ ไปกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างกำลังซื้อในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงานในภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ทิศทางดอกเบี้ยของไทย ทาง ธปท. มีการห่วงเรื่องเงินเฟ้อ และการใช้จ่ายของประชาชน (เดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 เป็นอัตราที่ประกาศ) ธปท.จึงได้มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายจนปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และมีแนวโน้มที่ปรับไปถึงร้อยละ 2.0 ขณะที่ดอกเบี้ยของ FED ของสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553 ยังตรึงอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.25 ,ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.1 และธนาคารกลางของจีน(BOC) อยู่ที่ร้อยละ 0.65 – 0.85 

3.      ดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยเกื้อหนุน จูงใจให้มีการนำเงินเข้ามาทำกำไรในระยะสั้น โดยดอกเบี้ยออมทรัพย์ของประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.5 -0.75 ,ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่ 0.9-1.2 และดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี เฉลี่ยที่ 1.2-1.8 นอกจากนี้ ดอกเบี้ยอ้างอิง BIBOR ของไทย ระยะ 3 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 1.87 และ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.2 , ดอกเบี้ย Inter bank เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.27 ,ตลาดซื้อพันธบัตร 1 วัน เดือน กรกฎาคม ผลตอบแทนร้อยละ 1.4

4.      เงินนอกทะลักเข้ามาในตลาดหุ้นไทย  ซึ่งปลายไตรมาส 3 เศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวเพราะรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้เงินของต่างชาติไม่มีที่ไปและไหลเข้ามาทำกำไรในตลาดหุ้นไทย เฉพาะเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมมียอดการซื้อขาย 63,116 ล้านบาทสูงที่สุดในรอบ 4 ปี ทำให้หุ้นไทย ณ วันที่ 21 กันยายน 2553 ไปถึง 945 จุด และมีโอกาสที่จะแตะ 1,000 จุดในปลายปีนี้ จากอัตราดอกเบี้ยของไทยทั้งดอกเบี้ยธนาคารและผลตอบแทนจากอนุพันธ์ทางการเงินที่ค่อนข้างสูงกว่าทุกประเทศในภูมิภาค (ยกเว้นประเทศมาเลเซีย) มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินยังมีการไหลเข้ามาทำกำไรในระยะสั้น 1-3 เดือน เนื่องจากมีผลตอบแทนดีกว่า คาดว่าอัตราการแข็งค่าเงินบาทจะยังมีทิศทางที่แรง

5.      เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในอัตราที่สูงมาก จากตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมมีจำนวน 151,524 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้เป็นเงินตราต่างประเทศถึง 145,879 เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ เงินทุนสำรองของไทยเพิ่มขึ้น 9,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.90

การที่ระบบสถาบันการเงินของไทยมีความแข็งแกร่ง รวมทั้ง ประเทศไทยมีทุนสำรองในจำนวนที่สามารถนำเข้าสินค้าได้ 9 เดือนเศษ โดยที่ไม่ต้องมีการส่งออก ถือว่า มีความน่าเชื่อถือซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นที่ต่างชาติ ในการนำเงินเข้ามาลงทุนระยะสั้นในประเทศไทย ซึ่งยิ่งจะทำให้เงินบาทของไทย มีการแข็งค่าต่อไป (การมีเงินสำรองสูงเป็นสิ่งที่ดี แต่จะส่งผลข้างเคียงต่อความเชื่อมั่นในการนำเงินเข้ามาลงทุนในระยะสั้น กระทบต่อค่าของเงินบาทในทางบวก)

5 มาตรการของ ธปท. สำหรับลดแรงกดันต่อการแข็งค่าของเงินบาท

1.      การพิจารณาให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยลงทุนในบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศได้มากขึ้น

2.      ให้นิติบุคคลไทยหรือบุคคลไทยสามารถให้นิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ต่างประเทศกู้ยืมเงินเป็นสกุลต่างประเทศในจำนวนมากขึ้น

3.      การพิจารณาเพิ่มวงเงินที่นิติบุคคลหรือบุคคลโอนออกไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ จากเดิมจำกัดไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเพดาเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

4.      การให้นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินสกุลเงินต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ ให้มียอดเงินคงค้างในบัญชีสูงถึง 500,000 เหรียญสหรัฐ

5.      มาตรการที่จะขยายวงเงินสินค้าส่งออกที่ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 20,000 เหรียญสหรัฐ เป็น 50,000 เหรียญสหรัฐ

มาตรการของ ธปท. ไม่สามารถเห็นผลสัมฤทธิ์ได้ในเวลาอันสั้น

จากมาตรการทั้ง 5 ของ ธปท. ที่ออกมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 เป็นเพียงมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขให้นักลงทุนไทยดำเนินต่อการลงทุนต่างประเทศ เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศ หรือซื้อเครื่องจักรใหม่ นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น เช่น แหล่งที่มาของเงิน , การจัดเตรียมก่อสร้างอาคาร สถานที่ โรงงาน โดยเฉพาะความต้องการหรือ Demand โดยปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นปัจจัยอยู่ในระดับท้ายๆของการตัดสินใจ ซึ่งกำลังการผลิตในปัจจุบันของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 70 ยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ อีกทั้ง การลงทุนในต่างประเทศเป็นเรื่องของการหาพาร์ทเนอร์ การศึกษาประเทศที่จะไปลงทุน รวมถึง กฎเกณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น มาตรการดังกล่าวของ ธปท. จึงไม่มีผลต่อทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทมากนัก อีกทั้ง เป็นมาตรการที่ยังไม่สามารถเห็นผลได้ในระยะสั้น เนื่องจากแนวโน้มดอลล่าร์ยังมีการอ่อนค่าและปัจจัยเกื้อหนุนของประเทศไทยเอง ทั้งด้านอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าภูมิภาค รวมถึง การเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ แต่ยังคงทำให้มีเงินไหลเข้ามาส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงมีการแข็งค่าต่อไป ทั้งนี้ ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะไม่มีการเก็บเงินเป็นดอลล่าร์ เนื่องจากทิศทางของเงินดอลล่าร์จะยังมีการอ่อนค่า หากเก็บเงินดอลล่าร์ไว้จะทำให้เกิดการขาดทุนในผลต่างอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้ง SMEs ส่วนใหญ่ของไทยก็ยังไม่ได้มีการเปิดเงินฝากในต่างประเทศ (FCD) ซึ่ง ธปท. และกระทรวงการคลัง ควรจะมีการหารือ ทบทวนมาตรการ เพื่อไม่ให้เงินบาทของไทยแข็งค่าไปกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค โดยเฉพาะในประเด็นดังต่อไปนี้

1.      แนวโน้มของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้จะมีเงิน Inflow เข้ามาในภูมิภาคและประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ ธปท. หามาตรการในการควบคุมเงินทุนที่จะไหลเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทมีการแข็งค่าต่อเนื่องเพราะเงินทุนจากสหรัฐฯและยุโรป จะยังทะลักเข้าสู่ภูมิภาค รวมทั้งประเทศไทยเพื่อทำกำไรจากผลตอบแทนของส่วนต่างของดอกเบี้ยในประเทศที่สูงกว่า

2.      ธปท. ควรจะมีมาตรการดูแลการเก็งกำไรในบางตลาด โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้ เพื่อให้การเข้ามาเก็งกำไรได้ยากขึ้น เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี

3.      ปัจจัยเกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ขอให้มีคงไว้ในระดับร้อยละ 1.75 ซึ่งเป็นระดับที่สูงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยของ BOJ อยู่ที่ร้อยละ 0.1 , ดอกเบี้ย FED อยู่ที่ร้อยละ 0.25 และดอกเบี้ยของ EU อยู่ที่ร้อยละ 1.0 โดยขอให้ กนง. พิจารณาในการคงดอกเบี้ยไว้ถึงสิ้นปี

4.      ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลังร่วมกันหามาตรการในการช่วยเหลือผู้ส่งออกโดยเฉพาะ SMEs ซึ่งจะเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องและการให้เข้าถึงระบบการประกันความเสี่ยงอันตราแลกเปลี่ยน

อนึ่งฯ ขอให้ทางภาครัฐเข้าใจว่า การที่ตัวเลขส่งออกในเดือนสิงหาคมยังสามารถเติบโตได้ดี เกิดจากการรับออร์เดอร์ผู้ส่งออกจะมีการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3-4 เดือน แต่บางอุตสาหกรรมอาจต้องให้เวลาในการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าถึง 6 เดือน ตัวเลขในเดือนสิงหาคมบางส่วนจึงเป็นออร์เดอร์ที่รับมาตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม ผลกระทบที่เห็นชัดเจนต่อตัวเลขการส่งออก อาจเป็นในช่วงปลายไตรมาส 4 ของปี 2553 และไตรมาสแรกของปี 2554 ทางรัฐบาลจึงควรหามาตรการร่วมกับ ธปท. ในการแก้ปัญหา เพื่อให้เงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนสอดคล้องไปกับเงินสกุลต่างๆของภูมิภาค

 

******************


ไฟล์ประกอบ : ผลกระทบจากวิกฤตค่าเงินบาท.doc
อ่าน : 2522 ครั้ง
วันที่ : 23/09/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com