วิเคราะห์ปัจจัยชี้วัดขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังอาจมีการชะลอตัว

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

เศรษฐกิจไทยผูกติดกับภาคการส่งออกและนำเข้า โดยภาคการส่งออกมีสัดส่วนอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 52.4 ขณะที่ภาคการนำเข้ามีสัดส่วนอยู่ใน  GDP ร้อยละ 36.1 ดังนั้น การวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจ จึงให้น้ำหนักด้านการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในครึ่งปีแรกมีการขยายตัวได้ดีอันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีแรก ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าตลาดในยุโรปจะเริ่มมีการชะลอตัวจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงในประเทศกรีซ ประเทศสเปน และประเทศอิตาลี ซึ่งตลาดยุโรปมีสัดส่วนร้อยละ 10.5 และตลาดสหรัฐฯซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 10.9 ก็ยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจน การว่างงานยังสูงถึงร้อยละ 9.2 มีการขาดดุลทั้งการคลังและดุลเดินสะพัด แต่การส่งออกครึ่งปีแรกของไทยก็ยังเติบโตได้ถึงร้อยละ 36.61 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาติดลบร้อยละ -25.9 โดยการส่งออกของไทยสามารถส่งออกไปในตลาดอาเซียนซึ่งมีสัดส่วนในภาคการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 23 ทั้งนี้ ไตรมาส 2 การส่งออกไปในทุกตลาด มีการขยายตัวมากกว่าไตรมาสที่ 1 มีเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีนเท่านั้นที่มีการชะลอตัว ซึ่งการส่งออกไปจีนไตรมาสที่ 1 โตร้อยละ 70 ในขณะที่ไตรมาสที่ 2 เหลือเพียงร้อยละ 30.7 ซึ่งตลาดจีนมีสัดส่วนร้อยละ  10.6

นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.3 ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีเศรษฐกิจชะลอตัว แต่การส่งออกไปญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ก็ยังขยายตัวได้ร้อยละ 34.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.4 ทั้งนี้ การส่งออกของไทยยังจะต้องมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลัก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา , จีน , สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งรวมกันมีสัดส่วนร้อยละ 43.3 เมื่อรวมอาเซียนมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 65.3 ซึ่งการพึ่งพิงตลาดใหม่ถึงแม้ตัวเลขการเติบโตอาจจะสูง แต่ก็มีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ เช่น ตลาดอินเดียมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.1 , ตลาดอาฟริกาทั้งทวีปสัดส่วนร้อยละ 4.2 และตลาดตะวันออกกลางร้อยละ 5.7 ตลาดเหล่านี้เป็นตลาดที่ค่อนข้างเข้ายาก เมื่อเทียบกับประเทศฮ่องกงซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6.2 และประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีสัดส่วน 6.1

 

การส่งออกและนำเข้าในไตรมาสที่ 2 มีทิศทางชะลอตัว

เป็นที่น่าสังเกตว่า มูลค่าการส่งออกในสินค้าส่งออกหลักมีการชะลอตัวโดยเฉพาะสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าเกษตร มีการชะลอตัวลงถึงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 มีเพียงการส่งออกรถยนต์ที่มีการเติบโตไตรมาสที่ 2 มากกว่าไตรมาสแรกถึงร้อยละ 30 ตัวเลขที่แสดงข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 สินค้าส่วนใหญ่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งจะต้องมีการติดตามใกล้ชิดว่าผลกระทบเหล่านี้ยังต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 3 หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตามที่ภาคส่งออกขยายตัว ก็ทำให้ภาคการนำเข้าซึ่งมีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 36.1 มีการขยายตัวตามไปด้วย ซึ่งครึ่งปีแรกมีการขยายตัวร้อยละ 51.70 แต่มีสัญญาณการขยายตัวชะลอลง โดยตัวเลขการขยายตัวในไตรมาส 2 มีการขยายตัวร้อยละ 46.1 เมื่อเทียบกับการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวประมาณร้อยละ 58.1 แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 เริ่มมีการชะลอตัว โดยเฉพาะการขยายตัวการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมเทียบกับเดือนมิถุนายน ก็เริ่มมีการชะลอตัวที่น้อยลงมากถึง 31.22% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับตัวเลขของภาคส่งออก ซึ่งเริ่มมีการชะลอตัวลง ซึ่งก็เป็นสัญญาณความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ว่าจะมีการชะลอตัวในลักษณะนี้หรือไม่

 

ด้านการลงทุนมีทิศทางที่ดี

การลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 17 ของ GDP ซึ่งภาคการลงทุนเริ่มมีสัญญาณที่ดีที่ภาคเอกชนเริ่มมีการเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในไตรมาสที่ 1 มีการเติบโตร้อยละ 15.8 และในไตรมาสที่ 2 มีการเติบโตที่ประมาณร้อยละ 7 ทำให้การลงทุนภาคเอกชนครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับการลงทุนในปี 2009 ที่โตติดลบร้อยละ -12.8 ซึ่งตัวเลขข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบเชิง Y/Y โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนปี 2553 ทั้งปีจะขยายตัวได้ประมาณ 10.2 ถึง 12 และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 ถึงร้อยละ 6.0 โดยตัวชี้วัดที่สำคัญเห็นได้จากการลงทุนในเครื่องจักรในไตรมาส 2 ขยายตัวถึงร้อยละ 41.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ที่ร้อยละ 24.1 ซึ่งตัวเลขการลงทุนที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนของประเทศไทยเริ่มที่จะมีการกลับเข้ามา เพราะได้มีการอั้นในหลายโครงการมานาน ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ยังมีสถานการณ์การก่อการร้ายที่สี่แยกราชประสงค์ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นด้านลบอย่างรุนแรง แต่ภาคเศรษฐกิจของไทยก็เริ่มมีการปรับตัวโดยแยกปัญหาเศรษฐกิจออกจากปัญหาการเมืองได้อย่างชัดเจน เช่น ในเดือนกรกฎาคม บริษัท GM/FORD มีการขอขยายการลงทุนการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลมูลค่า 1.35 หมื่นล้านบาท ,บริษัท แจ็คเดเนียล ผู้ผลิตสุรารายใหญ่ของโลก และบริษัทเวสซิ่งเฮ้าส์ก็ขอมาลงทุนในประเทศไทยเช่นกัน ทั้งนี้ การลงทุนยังแสดงออกให้เห็นถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยจำนวนการซื้อรถบรรทุกในไตรมาส 2 สูงกว่าในไตรมาสแรกถึงร้อยละ 51.6 รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ยังมีการเติบโต โดยเห็นได้จากตัวชี้วัดเหล็กและปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ก็ยังโตร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1

 

 

 

ด้านการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาด

การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดไว้ จากผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม แต่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวก็กลับมาเป็นบวก อย่างรวดเร็ว ซึ่งเดิมคาดว่าภาคการท่องเที่ยวอาจจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มี การเติบโตติดลบเพียง -1.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเดือนพฤษภาคม ติดลบร้อยละ -9 และเดือนเมษายนติดลบสูงสุดที่ร้อยละ -12 ถึง -20 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม มีประมาณ 800,000 คน ขณะที่เดือนมิถุนายนมีจำนวนประมาณ 943,000 คน แสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จะกลับมาเป็นบวก และจะลดลงจากปีที่แล้วไม่มากนัก ซึ่งในเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนแรกที่ตัวเลขการท่องเที่ยวกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 0.19 ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดการผื้นตัวของการท่องเที่ยววัดได้จากตัวเลขผู้ที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 67.7 ของสนามบินทั่วประเทศ ตัวเลขในเดือนเมษายนติดลบร้อยละ -4.2 เดือนพฤษภาคมติดลบร้อยละ -19.1 เดือนมิถุนายนติดลบร้อยละ -4.7 และเดือนกรกฎาคมกลับมาเป็นบวกร้อยละ 11.5 แสดงว่าการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดคิด เหตุผลสำคัญเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวของไทยมีการกระจายตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจะเดินทางไปทางภาคใต้และภาคตะวันออก

โดยภาพรวมแล้วการที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเป็นบวก และเริ่มมีสัญญาณที่ดีจนถึงปลายปี ซึ่งภาคการท่องเที่ยวจะมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ซึ่งจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวดังกล่าว เป็นเหตุผลสำคัญที่ IMF ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 7-8

 

ด้านการบริโภคยังขยายตัวได้

ภาคบริโภคมีสัดส่วนอยู่ใน GDP  ถึงร้อยละ 52.2 พบว่ารายได้ในครัวเรือนยังคงไปได้ดี โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนทั้งปีจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.6 ถึงร้อยละ 4.3  เนื่องจากในครึ่งปีแรกภาคการบริโภคไม่ได้รับการกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศและวิกฤติเศรษฐกิจโลก และจากภาคส่งออกยังเติบโตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีการพื้นตัวได้เร็ว อีกทั้งมาตรการของภาครัฐที่มีการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค รวมถึงด้านรัฐสวัสดิการ เช่น การตรึงราคา LPG , การตรึงราคาไฟฟ้า , น้ำประปา , รถไฟฟรี , รถเมล์ฟรี , สวัสดิการคนชรา , การแก้หนี้สินในภาคครัวเรือน , การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง โดยเฉพาะการที่ใช้งบประมาณขาดดุล 3-4 แสนล้านบาท ถึงแม้ว่าในโครงการสวัสดิการของรัฐจะต้องใช้เงินมากกว่าแสนล้าน แต่อานิสงค์ได้ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อีกทั้ง การฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังการผลิตมาอยู่ที่ร้อยละ 65.8 และในเดือนกรกฎาคม ปรับเป็นร้อยละ 70 ส่งผลให้การบริโภคไม่ได้รับผลกระทบ

 

เงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์รับได้

จากสภาวะเงินเฟ้อจากการบริโภคภายในที่ไม่ได้รับผลกระทบ และภาคการส่งออกที่ยังขับเคลื่อนรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้เงินเฟ้อ ในเดือนกรกฎาคมเงินเฟ้อทั่วไปขึ้นไปถึงร้อยละ 3.4 (Y/Y) ซึ่งในตัวเลขเงินเฟ้อที่กลับมาในอัตรานี้ พบว่าเหมาะกับเศรษฐกิจ ซึ่งเงินเฟ้อของไทยไม่ผันผวนมากเมื่อเทียบกับเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 5.1 ซึ่งเงินเฟ้อทั้งปีคาดว่าจะอยู่ในอัตรา 3.0%-3.5%

 

ด้านการเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัว

ภาคเกษตรมีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 9.5 โดยดัชนีผลผลิตเกษตรหรือ API เทียบ Y/Y พบว่า ในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 1.9 เหตุผลสำคัญเกิดจากราคายาง , ราคาแป้ง มันสำปะหลัง และราคาอ้อย มีการขยายตัวได้มาก ซึ่งภาคเกษตรมีส่วนสำคัญต่อการบริโภคภายใน อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภัยแล้ง สินค้าเชิงปริมาณในไตรมาสสองเริ่มมีการติดลบ แต่เนื่องจากราคาตลาดโลกยังการขยายตัว จึงทำให้ภาคเกษตรยังขยายตัวได้ถึงร้อยละ 19.2 แต่ทั้งนี้ รายได้ภาคเกษตรที่ดีนี้เป็นการกระจุกอยู่บนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญไม่กี่ชนิด เช่น ยางแป้ง มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สำหรับราคาข้าวนาปรังในตลาดโลกเริ่มมีการลดลงโดยภาพรวมแล้วราคาสินค้าเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ และในช่วงเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ปัญหากังวลด้านภัยแล้งลดลง

 

การว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

          ภาคแรงงานทั้งระบบเดือนเมษายน 53 มีจำนวน 38.1 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำงานจริง จำนวน 37.3 ล้านคน ทำให้อัตราการว่างงานในเดือนเมษายนเป็นร้อยละ 1.18 จำนวน 450,000 คน ซึ่งจำนวนนี้อยู่ในภาคเกษตรร้อยละ 61.49 จำนวน 12.236 ล้านคน และในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 22.1 คิดเป็นจำนวน 8.7721 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม อัตราคนว่างงานกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 590,000 คน การว่างงานในภาคเกษตรร้อยละ 0.8325 เป็นการว่างงานตามช่วงฤดูกาลที่สภาวะอากาศแล้ง และเป็นการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ 0.6675 ทั้งนี้การว่างงานของภาคอุตสาหกรรมของไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก แต่ในข้อเท็จจริงภาคการผลิตยังมีการขาดแคลนแรงงานมากกว่า 400,000 ล้านคน และมีแรงงานต่างด้าวอยู่ในระบบถึง 2.-2.5 ล้านล้านคน ตัวเลขการว่างงานที่ต่ำนี้สะท้อนและสอดคล้องกับการบริภาคภายในและการขยายตัวของภาคการผลิตและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณที่ดีในครึ่งปีหลัง ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

สถาบันการเงินสภาพคล่องล้น

          สินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 1 มีทั้งสิ้น 16.07 ล้านล้านบาท เป็นของธนาคารพาณิชย์ไทย 7.07 ล้านล้านบาท และธนาคารต่างชาติ 8.9 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อคงค้างมีการขยายตัวจากปี 2552 เพียงร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 2.7 คิดเป็นสินเชื่อที่ขยายตัวในไตรมาสแรก 267,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าในไตรมาสแรกธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อที่น้อยมาก ส่งผลให้สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินมีสภาพล้นระบบธนาคาร โดยมีเงินฝากกับธนาคารแห่งประเทศไทยรวมกันมากกว่า 2.3 ล้านล้านบาท  ในเดือนกรกฎาคมภาคการเงินของไทยมีสภาพคล่องทั้งระบบรวมกันประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท และมี NPL เฉลี่ยร้อยละ 2.5 โดยเฉพาะไม่มีสัญญาณฟองสบู่ในระบบของสถาบันการเงินของไทย เพราะใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์มีการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง สถาบันการเงินจะมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทั้งนี้ ทิศทางของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจน การขยายตัวของกำลังการผลิตใกล้จะเต็มพิกัด และเริ่มเห็นสัญญาณการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสินเชื่อในระบบทั้งหมดอาจจะโตได้ร้อยละ  7 ในปีนี้

 

ดอกเบี้ยมีทิศทางขาขึ้นเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ทิศทางของดอกเบี้ยจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการปรับดอกเบี้ย RP หรือดอกเบี้ยชี้นำจากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.5 และจะปรับเป็นร้อยละ 1.75 ในเร็วๆนี้ คาดว่าดอกเบี้ยชี้นำสิ้นปีอาจจะขยับไปถึงร้อยละ 2 หรือร้อยละ 2.25 เนื่องจากดอกเบี้ยของไทยนั้นติดลบอยู่มากกว่าร้อยละ 2.5  ซึ่งการปรับดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี แสดงถึงเศรษฐกิจของไทยได้มีการฟื้นตัวอย่างเป็นนัย ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทิศทางของดอกเบี้ยในช่วงนี้ อาจจะยังไม่มีดีมานต์ในตลาดมากนัก เนื่องจากสภาพคล่องของธนาคารยังล้น (ธนาคารพาณิชย์มีเงินฝาก Overnight กับ ธปท. เฉลี่ยรวมกัน 2.33 ล้านล้านบาท)  และอัตรา Real Interest ของ ธปท. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 0.7 สะท้อนให้เห็นว่า ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำกว่าดอกเบี้ยชี้นำของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นก็คือ NIM หรืออัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารพาณิชย์ มีช่องว่างที่ห่างกันเกินไปประมาณ 4-5% คาดว่าในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ดอกเบี้ยอาจมีการขยับตัวบ้างแต่อาจไม่มาก เพราะธนาคารพาณิชย์ยังสามารถปล่อยเงินผ่านพันธบัตรของรัฐบาลที่จะออกมาแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณและการลงทุนรายใหญ่ที่จะเริ่มเข้ามาขอสินเชื่อ.

" />
       
 

วิเคราะห์ปัจจัยชี้วัดขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังอาจมีการชะลอตัว Share


วิเคราะห์ปัจจัยชี้วัดขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังอาจมีการชะลอตัว

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

เศรษฐกิจไทยผูกติดกับภาคการส่งออกและนำเข้า โดยภาคการส่งออกมีสัดส่วนอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 52.4 ขณะที่ภาคการนำเข้ามีสัดส่วนอยู่ใน  GDP ร้อยละ 36.1 ดังนั้น การวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจ จึงให้น้ำหนักด้านการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในครึ่งปีแรกมีการขยายตัวได้ดีอันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีแรก ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าตลาดในยุโรปจะเริ่มมีการชะลอตัวจากปัญหาหนี้สาธารณะสูงในประเทศกรีซ ประเทศสเปน และประเทศอิตาลี ซึ่งตลาดยุโรปมีสัดส่วนร้อยละ 10.5 และตลาดสหรัฐฯซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 10.9 ก็ยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจน การว่างงานยังสูงถึงร้อยละ 9.2 มีการขาดดุลทั้งการคลังและดุลเดินสะพัด แต่การส่งออกครึ่งปีแรกของไทยก็ยังเติบโตได้ถึงร้อยละ 36.61 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาติดลบร้อยละ -25.9 โดยการส่งออกของไทยสามารถส่งออกไปในตลาดอาเซียนซึ่งมีสัดส่วนในภาคการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 23 ทั้งนี้ ไตรมาส 2 การส่งออกไปในทุกตลาด มีการขยายตัวมากกว่าไตรมาสที่ 1 มีเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีนเท่านั้นที่มีการชะลอตัว ซึ่งการส่งออกไปจีนไตรมาสที่ 1 โตร้อยละ 70 ในขณะที่ไตรมาสที่ 2 เหลือเพียงร้อยละ 30.7 ซึ่งตลาดจีนมีสัดส่วนร้อยละ  10.6

นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.3 ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีเศรษฐกิจชะลอตัว แต่การส่งออกไปญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ก็ยังขยายตัวได้ร้อยละ 34.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.4 ทั้งนี้ การส่งออกของไทยยังจะต้องมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลัก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา , จีน , สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งรวมกันมีสัดส่วนร้อยละ 43.3 เมื่อรวมอาเซียนมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 65.3 ซึ่งการพึ่งพิงตลาดใหม่ถึงแม้ตัวเลขการเติบโตอาจจะสูง แต่ก็มีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ เช่น ตลาดอินเดียมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.1 , ตลาดอาฟริกาทั้งทวีปสัดส่วนร้อยละ 4.2 และตลาดตะวันออกกลางร้อยละ 5.7 ตลาดเหล่านี้เป็นตลาดที่ค่อนข้างเข้ายาก เมื่อเทียบกับประเทศฮ่องกงซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6.2 และประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีสัดส่วน 6.1

 

การส่งออกและนำเข้าในไตรมาสที่ 2 มีทิศทางชะลอตัว

เป็นที่น่าสังเกตว่า มูลค่าการส่งออกในสินค้าส่งออกหลักมีการชะลอตัวโดยเฉพาะสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าเกษตร มีการชะลอตัวลงถึงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 มีเพียงการส่งออกรถยนต์ที่มีการเติบโตไตรมาสที่ 2 มากกว่าไตรมาสแรกถึงร้อยละ 30 ตัวเลขที่แสดงข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 สินค้าส่วนใหญ่เริ่มชะลอตัวลง ซึ่งจะต้องมีการติดตามใกล้ชิดว่าผลกระทบเหล่านี้ยังต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 3 หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตามที่ภาคส่งออกขยายตัว ก็ทำให้ภาคการนำเข้าซึ่งมีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 36.1 มีการขยายตัวตามไปด้วย ซึ่งครึ่งปีแรกมีการขยายตัวร้อยละ 51.70 แต่มีสัญญาณการขยายตัวชะลอลง โดยตัวเลขการขยายตัวในไตรมาส 2 มีการขยายตัวร้อยละ 46.1 เมื่อเทียบกับการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวประมาณร้อยละ 58.1 แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 เริ่มมีการชะลอตัว โดยเฉพาะการขยายตัวการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมเทียบกับเดือนมิถุนายน ก็เริ่มมีการชะลอตัวที่น้อยลงมากถึง 31.22% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับตัวเลขของภาคส่งออก ซึ่งเริ่มมีการชะลอตัวลง ซึ่งก็เป็นสัญญาณความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ว่าจะมีการชะลอตัวในลักษณะนี้หรือไม่

 

ด้านการลงทุนมีทิศทางที่ดี

การลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 17 ของ GDP ซึ่งภาคการลงทุนเริ่มมีสัญญาณที่ดีที่ภาคเอกชนเริ่มมีการเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในไตรมาสที่ 1 มีการเติบโตร้อยละ 15.8 และในไตรมาสที่ 2 มีการเติบโตที่ประมาณร้อยละ 7 ทำให้การลงทุนภาคเอกชนครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับการลงทุนในปี 2009 ที่โตติดลบร้อยละ -12.8 ซึ่งตัวเลขข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบเชิง Y/Y โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนปี 2553 ทั้งปีจะขยายตัวได้ประมาณ 10.2 ถึง 12 และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 ถึงร้อยละ 6.0 โดยตัวชี้วัดที่สำคัญเห็นได้จากการลงทุนในเครื่องจักรในไตรมาส 2 ขยายตัวถึงร้อยละ 41.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ที่ร้อยละ 24.1 ซึ่งตัวเลขการลงทุนที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนของประเทศไทยเริ่มที่จะมีการกลับเข้ามา เพราะได้มีการอั้นในหลายโครงการมานาน ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ยังมีสถานการณ์การก่อการร้ายที่สี่แยกราชประสงค์ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นด้านลบอย่างรุนแรง แต่ภาคเศรษฐกิจของไทยก็เริ่มมีการปรับตัวโดยแยกปัญหาเศรษฐกิจออกจากปัญหาการเมืองได้อย่างชัดเจน เช่น ในเดือนกรกฎาคม บริษัท GM/FORD มีการขอขยายการลงทุนการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลมูลค่า 1.35 หมื่นล้านบาท ,บริษัท แจ็คเดเนียล ผู้ผลิตสุรารายใหญ่ของโลก และบริษัทเวสซิ่งเฮ้าส์ก็ขอมาลงทุนในประเทศไทยเช่นกัน ทั้งนี้ การลงทุนยังแสดงออกให้เห็นถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยจำนวนการซื้อรถบรรทุกในไตรมาส 2 สูงกว่าในไตรมาสแรกถึงร้อยละ 51.6 รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ยังมีการเติบโต โดยเห็นได้จากตัวชี้วัดเหล็กและปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ก็ยังโตร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1

 

 

 

ด้านการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาด

การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดไว้ จากผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม แต่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวก็กลับมาเป็นบวก อย่างรวดเร็ว ซึ่งเดิมคาดว่าภาคการท่องเที่ยวอาจจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มี การเติบโตติดลบเพียง -1.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเดือนพฤษภาคม ติดลบร้อยละ -9 และเดือนเมษายนติดลบสูงสุดที่ร้อยละ -12 ถึง -20 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม มีประมาณ 800,000 คน ขณะที่เดือนมิถุนายนมีจำนวนประมาณ 943,000 คน แสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จะกลับมาเป็นบวก และจะลดลงจากปีที่แล้วไม่มากนัก ซึ่งในเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนแรกที่ตัวเลขการท่องเที่ยวกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 0.19 ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดการผื้นตัวของการท่องเที่ยววัดได้จากตัวเลขผู้ที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 67.7 ของสนามบินทั่วประเทศ ตัวเลขในเดือนเมษายนติดลบร้อยละ -4.2 เดือนพฤษภาคมติดลบร้อยละ -19.1 เดือนมิถุนายนติดลบร้อยละ -4.7 และเดือนกรกฎาคมกลับมาเป็นบวกร้อยละ 11.5 แสดงว่าการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดคิด เหตุผลสำคัญเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวของไทยมีการกระจายตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจะเดินทางไปทางภาคใต้และภาคตะวันออก

โดยภาพรวมแล้วการที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเป็นบวก และเริ่มมีสัญญาณที่ดีจนถึงปลายปี ซึ่งภาคการท่องเที่ยวจะมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ซึ่งจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวดังกล่าว เป็นเหตุผลสำคัญที่ IMF ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 7-8

 

ด้านการบริโภคยังขยายตัวได้

ภาคบริโภคมีสัดส่วนอยู่ใน GDP  ถึงร้อยละ 52.2 พบว่ารายได้ในครัวเรือนยังคงไปได้ดี โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนทั้งปีจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.6 ถึงร้อยละ 4.3  เนื่องจากในครึ่งปีแรกภาคการบริโภคไม่ได้รับการกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศและวิกฤติเศรษฐกิจโลก และจากภาคส่งออกยังเติบโตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีการพื้นตัวได้เร็ว อีกทั้งมาตรการของภาครัฐที่มีการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค รวมถึงด้านรัฐสวัสดิการ เช่น การตรึงราคา LPG , การตรึงราคาไฟฟ้า , น้ำประปา , รถไฟฟรี , รถเมล์ฟรี , สวัสดิการคนชรา , การแก้หนี้สินในภาคครัวเรือน , การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการไทยเข้มแข็ง โดยเฉพาะการที่ใช้งบประมาณขาดดุล 3-4 แสนล้านบาท ถึงแม้ว่าในโครงการสวัสดิการของรัฐจะต้องใช้เงินมากกว่าแสนล้าน แต่อานิสงค์ได้ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อีกทั้ง การฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังการผลิตมาอยู่ที่ร้อยละ 65.8 และในเดือนกรกฎาคม ปรับเป็นร้อยละ 70 ส่งผลให้การบริโภคไม่ได้รับผลกระทบ

 

เงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์รับได้

จากสภาวะเงินเฟ้อจากการบริโภคภายในที่ไม่ได้รับผลกระทบ และภาคการส่งออกที่ยังขับเคลื่อนรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้เงินเฟ้อ ในเดือนกรกฎาคมเงินเฟ้อทั่วไปขึ้นไปถึงร้อยละ 3.4 (Y/Y) ซึ่งในตัวเลขเงินเฟ้อที่กลับมาในอัตรานี้ พบว่าเหมาะกับเศรษฐกิจ ซึ่งเงินเฟ้อของไทยไม่ผันผวนมากเมื่อเทียบกับเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 5.1 ซึ่งเงินเฟ้อทั้งปีคาดว่าจะอยู่ในอัตรา 3.0%-3.5%

 

ด้านการเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัว

ภาคเกษตรมีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 9.5 โดยดัชนีผลผลิตเกษตรหรือ API เทียบ Y/Y พบว่า ในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 1.9 เหตุผลสำคัญเกิดจากราคายาง , ราคาแป้ง มันสำปะหลัง และราคาอ้อย มีการขยายตัวได้มาก ซึ่งภาคเกษตรมีส่วนสำคัญต่อการบริโภคภายใน อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภัยแล้ง สินค้าเชิงปริมาณในไตรมาสสองเริ่มมีการติดลบ แต่เนื่องจากราคาตลาดโลกยังการขยายตัว จึงทำให้ภาคเกษตรยังขยายตัวได้ถึงร้อยละ 19.2 แต่ทั้งนี้ รายได้ภาคเกษตรที่ดีนี้เป็นการกระจุกอยู่บนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญไม่กี่ชนิด เช่น ยางแป้ง มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สำหรับราคาข้าวนาปรังในตลาดโลกเริ่มมีการลดลงโดยภาพรวมแล้วราคาสินค้าเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ และในช่วงเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ปัญหากังวลด้านภัยแล้งลดลง

 

การว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

          ภาคแรงงานทั้งระบบเดือนเมษายน 53 มีจำนวน 38.1 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำงานจริง จำนวน 37.3 ล้านคน ทำให้อัตราการว่างงานในเดือนเมษายนเป็นร้อยละ 1.18 จำนวน 450,000 คน ซึ่งจำนวนนี้อยู่ในภาคเกษตรร้อยละ 61.49 จำนวน 12.236 ล้านคน และในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 22.1 คิดเป็นจำนวน 8.7721 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม อัตราคนว่างงานกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 590,000 คน การว่างงานในภาคเกษตรร้อยละ 0.8325 เป็นการว่างงานตามช่วงฤดูกาลที่สภาวะอากาศแล้ง และเป็นการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ 0.6675 ทั้งนี้การว่างงานของภาคอุตสาหกรรมของไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก แต่ในข้อเท็จจริงภาคการผลิตยังมีการขาดแคลนแรงงานมากกว่า 400,000 ล้านคน และมีแรงงานต่างด้าวอยู่ในระบบถึง 2.-2.5 ล้านล้านคน ตัวเลขการว่างงานที่ต่ำนี้สะท้อนและสอดคล้องกับการบริภาคภายในและการขยายตัวของภาคการผลิตและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณที่ดีในครึ่งปีหลัง ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

สถาบันการเงินสภาพคล่องล้น

          สินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 1 มีทั้งสิ้น 16.07 ล้านล้านบาท เป็นของธนาคารพาณิชย์ไทย 7.07 ล้านล้านบาท และธนาคารต่างชาติ 8.9 ล้านล้านบาท โดยสินเชื่อคงค้างมีการขยายตัวจากปี 2552 เพียงร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 2.7 คิดเป็นสินเชื่อที่ขยายตัวในไตรมาสแรก 267,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าในไตรมาสแรกธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อที่น้อยมาก ส่งผลให้สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินมีสภาพล้นระบบธนาคาร โดยมีเงินฝากกับธนาคารแห่งประเทศไทยรวมกันมากกว่า 2.3 ล้านล้านบาท  ในเดือนกรกฎาคมภาคการเงินของไทยมีสภาพคล่องทั้งระบบรวมกันประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท และมี NPL เฉลี่ยร้อยละ 2.5 โดยเฉพาะไม่มีสัญญาณฟองสบู่ในระบบของสถาบันการเงินของไทย เพราะใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์มีการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง สถาบันการเงินจะมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทั้งนี้ ทิศทางของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจน การขยายตัวของกำลังการผลิตใกล้จะเต็มพิกัด และเริ่มเห็นสัญญาณการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสินเชื่อในระบบทั้งหมดอาจจะโตได้ร้อยละ  7 ในปีนี้

 

ดอกเบี้ยมีทิศทางขาขึ้นเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ทิศทางของดอกเบี้ยจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการปรับดอกเบี้ย RP หรือดอกเบี้ยชี้นำจากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.5 และจะปรับเป็นร้อยละ 1.75 ในเร็วๆนี้ คาดว่าดอกเบี้ยชี้นำสิ้นปีอาจจะขยับไปถึงร้อยละ 2 หรือร้อยละ 2.25 เนื่องจากดอกเบี้ยของไทยนั้นติดลบอยู่มากกว่าร้อยละ 2.5  ซึ่งการปรับดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี แสดงถึงเศรษฐกิจของไทยได้มีการฟื้นตัวอย่างเป็นนัย ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทิศทางของดอกเบี้ยในช่วงนี้ อาจจะยังไม่มีดีมานต์ในตลาดมากนัก เนื่องจากสภาพคล่องของธนาคารยังล้น (ธนาคารพาณิชย์มีเงินฝาก Overnight กับ ธปท. เฉลี่ยรวมกัน 2.33 ล้านล้านบาท)  และอัตรา Real Interest ของ ธปท. เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 0.7 สะท้อนให้เห็นว่า ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำกว่าดอกเบี้ยชี้นำของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นก็คือ NIM หรืออัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารพาณิชย์ มีช่องว่างที่ห่างกันเกินไปประมาณ 4-5% คาดว่าในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ดอกเบี้ยอาจมีการขยับตัวบ้างแต่อาจไม่มาก เพราะธนาคารพาณิชย์ยังสามารถปล่อยเงินผ่านพันธบัตรของรัฐบาลที่จะออกมาแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณและการลงทุนรายใหญ่ที่จะเริ่มเข้ามาขอสินเชื่อ.


ไฟล์ประกอบ : 021-วิเคราะห์ปัจจัยชี้วัด.doc
อ่าน : 2230 ครั้ง
วันที่ : 26/08/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com