“ E-CONTAINER ”  หรือ “ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์”   นับเป็นนวัตกรรมอีกขั้นของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของกรมศุลกากรไทย ในอันที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพิธีการส่งออกสินค้าทางเรือแบบเบ็ดเสร็จด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการแข่งขันในเวทีการค้าโลก ซึ่งนับวันจะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น และสิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่งที่กรมศุลกากร ได้พยายามนำระบบ IT. และนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงขจัดอุปสรรค และขั้นตอน พิธีการให้มีเอกสารน้อยลง อันเป็นการนำไปสู่ระบบการไร้เอกสาร (PAPERLESS SYSTEM) ตามมาตรการของกรมศุลกากร, นโยบายของภาครัฐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
 
E-CONTAINER (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) คืออะไร
             E-Container (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) คือ “พิธีการส่งออกด้วยระบบคอนเทนเนอร์”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบพิธีการส่งออกสินค้าทางเรือแบบเบ็ดเสร็จด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (One Stop Service) โดยจะต้องมีการส่งข้อมูลใบกำกับตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ EDI หรือ XML Protocol เพื่อไปตรวจสอบ (MATCHING) กับข้อมูลใบขนสินค้าระบบ EDI และข้อมูลบัญชีเรือสินค้า (MANIFEST) โดยระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น ผู้ส่งออก, เลขที่ใบขนสินค้า, ท่าที่ส่งออก, ชื่อเรือ/เที่ยวเรือ, หมายเลขตู้ จำนวนหีบห่อ ,น้ำหนักสินค้า เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลการส่งของออกจากราชอาณาจักรที่ถูกต้อง เป็นจริง ป้องกันการลักลอบส่งออกโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร รวมถึงทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส ในการให้บริการแก่ผู้ส่งออก และนำไปสู่ระบบการไร้เอกสาร (Paperless System) ในอนาคต

ปัญหาและอุปสรรค ของพิธีการส่งออกแบบเดิม (ใช้ใบกำกับคอนเทนเนอร์ แบบ Manual (ไม่ส่งข้อมูลใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) )

1. การลงทะเบียนรับใบขน และการโพยชื่อนายตรวจ นั้น ปริมาณงานไม่สมดุลกับอัตรากำลังคน ทำให้สิ้นเปลืองอัตรากำลัง และเวลาในการปฎิบัติงาน ไม่สามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จได้แน่นอน
2. การที่ผู้ประกอบการต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรง อาจเป็นช่องทางการแสวงหาผลประโยชน์ จากเงินใต้โต๊ะ และการติดสินบนต่างๆ ซึ่งผลเสียหายกับทั้งภาครัฐ และผู้ประกอบการเอง
3. การบันทึกข้อมูลการตรวจปล่อย ในใบกำกับคอนเทนเนอร์ นั้นมีความผิดพลาดบ่อย ข้อมูลไม่ชัดเจน เอกสารไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือรายละเอียดไม่เพียงพอ ทำให้ใบขนค้างการดำเนินการนานจนเกินไป (ประมาณ 10 – 20 วัน)
4. การบันทึกข้อมูลการรับบรรทุก จากใบกำกับคอนเทนเนอร์ กับ Manifest เรือ นั้นมีความล่าช้าและความผิดพลาดในการส่งข้อมูลบัญชีเรือสินค้า (MANIFEST) ของตัวแทนเรือนั้น ส่งผลให้ระบบการ MATCHING เกิดความล่าช้า ทำให้เกิดมีใบขนสินค้าค้าง (กรณีติด U)  มีปริมาณมากในเกือบทุกหน่วยงาน โดยขาดการติดตามแก้ไข ซึ่งบางกรณีติดค้างนานเป็นปี ก่อให้เกิดการทุจริต คอร์รัปชั่น ได้
5. เอกสารในการดำเนินพิธีการศุลกากรมีมาก ทำให้เกิดความผิดพลาด และความล่าช้า ยากต่อการพัฒนาไปสู่ระบบการไร้เอกสาร (PAPERLESS SYSTEM)
6. การขอรับสำเนาใบขนสินค้า, ใบแนบ, และการจำลองใบขนสินค้า ทำได้ช้า (บางครั้งต้องใช้เวลาเป็นปี) ส่งผลกระทบกับการขอคืนภาษี และการใช้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการ ที่พึงจะได้รับอย่างเต็มที่
7. การป้องกันและปราบปราม การลักลอบ, หลีกเลี่ยง, หนีภาษี, สินค้าผิดกฎหมาย และการส่งออกโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ทำได้ยาก ไม่ทันเวลา เสี่ยงต่อความเสียหาย

ขั้นตอนและวิธีการ ของพิธีการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ
โดยใช้ระบบ E-CONTAINER (ส่งข้อมูลใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์)

1. ผู้ประกอบการ / ตัวแทนออกของ  KEY ข้อมูลใบขนสินค้าออกเข้าระบบ EDI/IT โดยระบบจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าให้โดยอัตโนมัติ (ตามพิธีการเดิม)

2. ผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบการบรรจุ KEY ข้อมูลใบกำกับคอนเทนเนอร์ ตามรูปแบบที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Container) ไปที่กรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบกับข้อมูลใบขนสินค้าในข้อที่ 1

3. พนักงานศุลกากรทำการตรวจสอบหมายเลขคอนเทนเนอร์ ณ สถานีตรวจสอบชั้นสุดท้าย (SUB GATE) ของท่าเรือที่ส่งของออก และทำการ KEY ข้อมูลหมายเลขคอนเทนเนอร์ หรือเลขที่ใบขนสินค้า หากถูกต้องตรงตาม โปรแกรมที่กำหนด (MATCHING)  ระบบจะทำการรับบรรทุกให้โดยอัตโนมัติ (Status=03) แต่หากข้อมูลไม่ตรงตามโปรแกรมพนักงานศุลกากรจะทำการแก้ไขข้อมูลในระบบให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

4. พนักงานศุลกากรประจำหน่วยงานควบคุมการบรรทุก ณ ท่าเรือที่ส่งของออก KEY ข้อมูลวันเรือออกจริง

5. ผู้ประกอบการยื่นใบขนสินค้าพร้อมสำเนาใบขนตามจำนวนที่ประสงค์ ต่อหน่วยงานพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด (โดยหลักการสามารถยื่นใบขนสินค้าขาออก และสำเนาได้ทันทีนับแต่วันออกเรือ (ภายใน 15 วัน) ต่อหน่วยงานพิธีการศุลกากรได้ทั่วราชอาณาจักร แต่ในเบื้องต้นอาจจะกำหนดไว้เฉพาะท่าที่มีการส่งออกเพียงบางแห่ง) เพื่อรับรองการบรรทุกและวันส่งออก โดยยื่นได้ทันทีนับแต่วันออกเรือ

6. พนักงานศุลกากร ณ หน่วยรับใบขนสินค้าจะทำการตรวจสอบข้อมูลในระบบ หากถูกต้องตรงตามโปรแกรมที่กำหนด ก็จะสั่งพิมพ์ (PRINTER) เพื่อพิมพ์ข้อมูลการรับบรรทุกและวันเรือออก พร้อมลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้านหลังใบขนสินค้า โดยระบบจะทำการบันทึก วัน เวลา ที่สั่งพิมพ์ข้อมูลไว้เป็นหลักฐานทั้งในใบขนสินค้าด้วย (Status=04)


 ประโยชน์ที่จะได้รับการนำระบบ E-CONTAINER (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) มาใช้สรุปได้ดังนี้

  1. สะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย (ปัจจุบัน VAN คิดค่าส่งตู้ละ 20 บาท) โปร่งใส ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
  2. ลดขั้นตอนการทำงาน, เวลา และอัตรากำลังคนของภาครัฐ
  3. ข้อมูลมีความเที่ยงตรง แม่นยำ เป็น REAL TIME รวดเร็วทันเวลา เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบ ON-LINE
  4. ลดความผิดพลาดของคน (Human Error) ด้วยการนำระบบ (System) และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อควบคุมขั้นตอนการทำงาน
  5. ยื่นเอกสารใบขนสินค้า ภายหลังการส่งออก (ภายใน 15 วัน หลังเรือออก) ทำให้สะดวกและรวดเร็วแก่ผู้ประกอบการ
  6. การขอรับสำเนาใบขน, ใบแนบ และการขอจำลองใบขนสินค้า สามารถทำได้ทันที นับแต่วันเรือออก โดยสามารถยื่นได้ทุกหน่วยงานที่กรมศุลกากรกำหนดให้สามารถใช้ระบบแบบเบ็ดเสร็จได้
  7. การป้องกันและปราบปราม การลักลอบ, หลีกเลี่ยง, หนีภาษี, สินค้าผิดกฎหมาย และการส่งออกโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันเวลา สามารถวิเคราะห์ข้อมูลล่วงหน้า และจัดการกับระบบบริหารความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT PROFILES) ได้อย่างแม่นยำ ไม่เสียงต่อความเสียหาย

             แต่ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นในการนำระบบนี้มาใช้นั้น กรมศุลกากร ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับพิธีการส่งออกทางเรือแบบเบ็ดเสร็จด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ดังนี้

  1. เป็นสินค้าที่ส่งออกทางเรือด้วยระบบคอนเทนเนอร์ ยกเว้นสินค้าถ่ายลำ สินค้าผ่านแดน และ     RE-EXPORT
  2. เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการตรวจ
  3. ส่งออกทางท่าเรือกรุงเทพ  หรือท่าเรือแหลมฉบัง
  4. ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อม และมีความรู้ความเข้าใจในด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระบบ EDI/IT เป็นอย่างดี

หมายเหตุ : รายละเอียดและข้อกำหนดโดยละเอียดสามารถอ่านได้จากประกาศกรมศุลกากรที่ 50/2547 และ ประกาศกรมศุลกากรที่ 55/2547 (แก้ไขเพิ่มเติม)

สรุป 
              จากประโยชน์และข้อดีที่จะเกิดขึ้น จากการนำระบบ E-CONTAINER มาใช้ข้างต้นนั้น         V-SERVE ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในอันที่จะอำนวยความสะดวก รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าการให้บริการ (Value Added Service) ให้กับลูกค้า จึงได้ทำการพัฒนาระบบ E-CONTAINER ขึ้นมาโดยได้ทำการทดสอบทั้งในด้านการบันทึกข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูลแบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็ได้ทำการทดสอบนำร่องใช้กับลูกค้าในการใช้ระบบ E-CONTAINER ทั้งที่ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งส่งผลให้ขั้นตอนการทำงาน รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
และในขณะนี้ V-SERVE กำลังพัฒนาระบบอีกหลายระบบ  เพื่อที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวก   และเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระบบ  INVOICE ONLINE,  FEDI / E-PAYMENT,  JOB ELECTRONICS ONLINE,  PLAN LOADING ONLINE,  EDI MONTHLY REPORT ONLINE,  E-DOCUMENT CENTER (PAPERLESS SYSTEM),  WEB SERVICE,  E-LEARNING, E-TRAINING, E-LIBRARY และระบบอื่นๆ อีกหลายระบบ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกค้าสูงสุด.

" />
       
 

“E-CONTAINER (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์)” Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP           


               “ E-CONTAINER ”  หรือ “ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์”   นับเป็นนวัตกรรมอีกขั้นของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของกรมศุลกากรไทย ในอันที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพิธีการส่งออกสินค้าทางเรือแบบเบ็ดเสร็จด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการแข่งขันในเวทีการค้าโลก ซึ่งนับวันจะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น และสิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่งที่กรมศุลกากร ได้พยายามนำระบบ IT. และนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงขจัดอุปสรรค และขั้นตอน พิธีการให้มีเอกสารน้อยลง อันเป็นการนำไปสู่ระบบการไร้เอกสาร (PAPERLESS SYSTEM) ตามมาตรการของกรมศุลกากร, นโยบายของภาครัฐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
 
E-CONTAINER (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) คืออะไร
             E-Container (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) คือ “พิธีการส่งออกด้วยระบบคอนเทนเนอร์”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบพิธีการส่งออกสินค้าทางเรือแบบเบ็ดเสร็จด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (One Stop Service) โดยจะต้องมีการส่งข้อมูลใบกำกับตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ EDI หรือ XML Protocol เพื่อไปตรวจสอบ (MATCHING) กับข้อมูลใบขนสินค้าระบบ EDI และข้อมูลบัญชีเรือสินค้า (MANIFEST) โดยระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น ผู้ส่งออก, เลขที่ใบขนสินค้า, ท่าที่ส่งออก, ชื่อเรือ/เที่ยวเรือ, หมายเลขตู้ จำนวนหีบห่อ ,น้ำหนักสินค้า เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลการส่งของออกจากราชอาณาจักรที่ถูกต้อง เป็นจริง ป้องกันการลักลอบส่งออกโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร รวมถึงทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส ในการให้บริการแก่ผู้ส่งออก และนำไปสู่ระบบการไร้เอกสาร (Paperless System) ในอนาคต

ปัญหาและอุปสรรค ของพิธีการส่งออกแบบเดิม (ใช้ใบกำกับคอนเทนเนอร์ แบบ Manual (ไม่ส่งข้อมูลใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) )

1. การลงทะเบียนรับใบขน และการโพยชื่อนายตรวจ นั้น ปริมาณงานไม่สมดุลกับอัตรากำลังคน ทำให้สิ้นเปลืองอัตรากำลัง และเวลาในการปฎิบัติงาน ไม่สามารถกำหนดเวลาแล้วเสร็จได้แน่นอน
2. การที่ผู้ประกอบการต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรง อาจเป็นช่องทางการแสวงหาผลประโยชน์ จากเงินใต้โต๊ะ และการติดสินบนต่างๆ ซึ่งผลเสียหายกับทั้งภาครัฐ และผู้ประกอบการเอง
3. การบันทึกข้อมูลการตรวจปล่อย ในใบกำกับคอนเทนเนอร์ นั้นมีความผิดพลาดบ่อย ข้อมูลไม่ชัดเจน เอกสารไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือรายละเอียดไม่เพียงพอ ทำให้ใบขนค้างการดำเนินการนานจนเกินไป (ประมาณ 10 – 20 วัน)
4. การบันทึกข้อมูลการรับบรรทุก จากใบกำกับคอนเทนเนอร์ กับ Manifest เรือ นั้นมีความล่าช้าและความผิดพลาดในการส่งข้อมูลบัญชีเรือสินค้า (MANIFEST) ของตัวแทนเรือนั้น ส่งผลให้ระบบการ MATCHING เกิดความล่าช้า ทำให้เกิดมีใบขนสินค้าค้าง (กรณีติด U)  มีปริมาณมากในเกือบทุกหน่วยงาน โดยขาดการติดตามแก้ไข ซึ่งบางกรณีติดค้างนานเป็นปี ก่อให้เกิดการทุจริต คอร์รัปชั่น ได้
5. เอกสารในการดำเนินพิธีการศุลกากรมีมาก ทำให้เกิดความผิดพลาด และความล่าช้า ยากต่อการพัฒนาไปสู่ระบบการไร้เอกสาร (PAPERLESS SYSTEM)
6. การขอรับสำเนาใบขนสินค้า, ใบแนบ, และการจำลองใบขนสินค้า ทำได้ช้า (บางครั้งต้องใช้เวลาเป็นปี) ส่งผลกระทบกับการขอคืนภาษี และการใช้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการ ที่พึงจะได้รับอย่างเต็มที่
7. การป้องกันและปราบปราม การลักลอบ, หลีกเลี่ยง, หนีภาษี, สินค้าผิดกฎหมาย และการส่งออกโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ทำได้ยาก ไม่ทันเวลา เสี่ยงต่อความเสียหาย

ขั้นตอนและวิธีการ ของพิธีการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ
โดยใช้ระบบ E-CONTAINER (ส่งข้อมูลใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์)

1. ผู้ประกอบการ / ตัวแทนออกของ  KEY ข้อมูลใบขนสินค้าออกเข้าระบบ EDI/IT โดยระบบจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าให้โดยอัตโนมัติ (ตามพิธีการเดิม)

2. ผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบการบรรจุ KEY ข้อมูลใบกำกับคอนเทนเนอร์ ตามรูปแบบที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Container) ไปที่กรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบกับข้อมูลใบขนสินค้าในข้อที่ 1

3. พนักงานศุลกากรทำการตรวจสอบหมายเลขคอนเทนเนอร์ ณ สถานีตรวจสอบชั้นสุดท้าย (SUB GATE) ของท่าเรือที่ส่งของออก และทำการ KEY ข้อมูลหมายเลขคอนเทนเนอร์ หรือเลขที่ใบขนสินค้า หากถูกต้องตรงตาม โปรแกรมที่กำหนด (MATCHING)  ระบบจะทำการรับบรรทุกให้โดยอัตโนมัติ (Status=03) แต่หากข้อมูลไม่ตรงตามโปรแกรมพนักงานศุลกากรจะทำการแก้ไขข้อมูลในระบบให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

4. พนักงานศุลกากรประจำหน่วยงานควบคุมการบรรทุก ณ ท่าเรือที่ส่งของออก KEY ข้อมูลวันเรือออกจริง

5. ผู้ประกอบการยื่นใบขนสินค้าพร้อมสำเนาใบขนตามจำนวนที่ประสงค์ ต่อหน่วยงานพิธีการที่กรมศุลกากรกำหนด (โดยหลักการสามารถยื่นใบขนสินค้าขาออก และสำเนาได้ทันทีนับแต่วันออกเรือ (ภายใน 15 วัน) ต่อหน่วยงานพิธีการศุลกากรได้ทั่วราชอาณาจักร แต่ในเบื้องต้นอาจจะกำหนดไว้เฉพาะท่าที่มีการส่งออกเพียงบางแห่ง) เพื่อรับรองการบรรทุกและวันส่งออก โดยยื่นได้ทันทีนับแต่วันออกเรือ

6. พนักงานศุลกากร ณ หน่วยรับใบขนสินค้าจะทำการตรวจสอบข้อมูลในระบบ หากถูกต้องตรงตามโปรแกรมที่กำหนด ก็จะสั่งพิมพ์ (PRINTER) เพื่อพิมพ์ข้อมูลการรับบรรทุกและวันเรือออก พร้อมลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้านหลังใบขนสินค้า โดยระบบจะทำการบันทึก วัน เวลา ที่สั่งพิมพ์ข้อมูลไว้เป็นหลักฐานทั้งในใบขนสินค้าด้วย (Status=04)


 ประโยชน์ที่จะได้รับการนำระบบ E-CONTAINER (ใบกำกับตู้อิเล็กทรอนิกส์) มาใช้สรุปได้ดังนี้

  1. สะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย (ปัจจุบัน VAN คิดค่าส่งตู้ละ 20 บาท) โปร่งใส ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
  2. ลดขั้นตอนการทำงาน, เวลา และอัตรากำลังคนของภาครัฐ
  3. ข้อมูลมีความเที่ยงตรง แม่นยำ เป็น REAL TIME รวดเร็วทันเวลา เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบ ON-LINE
  4. ลดความผิดพลาดของคน (Human Error) ด้วยการนำระบบ (System) และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อควบคุมขั้นตอนการทำงาน
  5. ยื่นเอกสารใบขนสินค้า ภายหลังการส่งออก (ภายใน 15 วัน หลังเรือออก) ทำให้สะดวกและรวดเร็วแก่ผู้ประกอบการ
  6. การขอรับสำเนาใบขน, ใบแนบ และการขอจำลองใบขนสินค้า สามารถทำได้ทันที นับแต่วันเรือออก โดยสามารถยื่นได้ทุกหน่วยงานที่กรมศุลกากรกำหนดให้สามารถใช้ระบบแบบเบ็ดเสร็จได้
  7. การป้องกันและปราบปราม การลักลอบ, หลีกเลี่ยง, หนีภาษี, สินค้าผิดกฎหมาย และการส่งออกโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันเวลา สามารถวิเคราะห์ข้อมูลล่วงหน้า และจัดการกับระบบบริหารความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT PROFILES) ได้อย่างแม่นยำ ไม่เสียงต่อความเสียหาย

             แต่ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นในการนำระบบนี้มาใช้นั้น กรมศุลกากร ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับพิธีการส่งออกทางเรือแบบเบ็ดเสร็จด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ดังนี้

  1. เป็นสินค้าที่ส่งออกทางเรือด้วยระบบคอนเทนเนอร์ ยกเว้นสินค้าถ่ายลำ สินค้าผ่านแดน และ     RE-EXPORT
  2. เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการตรวจ
  3. ส่งออกทางท่าเรือกรุงเทพ  หรือท่าเรือแหลมฉบัง
  4. ผู้ประกอบการต้องมีความพร้อม และมีความรู้ความเข้าใจในด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระบบ EDI/IT เป็นอย่างดี

หมายเหตุ : รายละเอียดและข้อกำหนดโดยละเอียดสามารถอ่านได้จากประกาศกรมศุลกากรที่ 50/2547 และ ประกาศกรมศุลกากรที่ 55/2547 (แก้ไขเพิ่มเติม)

สรุป 
              จากประโยชน์และข้อดีที่จะเกิดขึ้น จากการนำระบบ E-CONTAINER มาใช้ข้างต้นนั้น         V-SERVE ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในอันที่จะอำนวยความสะดวก รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าการให้บริการ (Value Added Service) ให้กับลูกค้า จึงได้ทำการพัฒนาระบบ E-CONTAINER ขึ้นมาโดยได้ทำการทดสอบทั้งในด้านการบันทึกข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูลแบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็ได้ทำการทดสอบนำร่องใช้กับลูกค้าในการใช้ระบบ E-CONTAINER ทั้งที่ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งส่งผลให้ขั้นตอนการทำงาน รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
และในขณะนี้ V-SERVE กำลังพัฒนาระบบอีกหลายระบบ  เพื่อที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวก   และเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระบบ  INVOICE ONLINE,  FEDI / E-PAYMENT,  JOB ELECTRONICS ONLINE,  PLAN LOADING ONLINE,  EDI MONTHLY REPORT ONLINE,  E-DOCUMENT CENTER (PAPERLESS SYSTEM),  WEB SERVICE,  E-LEARNING, E-TRAINING, E-LIBRARY และระบบอื่นๆ อีกหลายระบบ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกค้าสูงสุด.


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 11082 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com