FTI Economic Focus

รายงานเศรษฐกิจประจำเดือน กรกฎาคม 2553

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2553

ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน พ.ค.ที่ปรับตัวลดลงจากปัญหาการจราจรบริเวณสี่แยกราชประสงค์ แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม ไม่ได้รุนแรงตามที่คาดไว้ ยกเว้นภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวลดลง 815,000 คน หรือลดลงร้อยละ 19.2 ขณะที่ภาคส่งออกกลับขยายตัว โดยการส่งออกเดือน พ.ค. ขยายตัวสูงถึง 42.1% ซึ่งไม่ได้มาจากฐานที่ต่ำเพียงอย่างเดียว แต่ยัง ขยายตัว 3.4% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งในไตรมาสแรกการส่งออกขยายตัวประมาณร้อยละ 43 นับเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีสัดส่วนสูงถึง 65% ขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงถึง 55.1% เพิ่มขึ้น 3.3% จากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบที่คิดเป็นมูลค่าขยาย ตัวถึง 57.7% การบริโภคและการลงทุนก็ชะลอน้อยกว่าที่ประเมินไว้ ผลจากยืดอายุ 5 มาตรการฯ ลดภาระค่าครองชีพประชาชนที่ ครม. มีมติขยายออกถึงสิ้นปี รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ลดเหลือ 72-73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจากเดิมที่ 80 ดอลลาร์ฯ คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะอยู่ที่ 3.5% จากเดิมคาดการณ์ 4% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 1.3% สอดคล้องกับกรอบเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 0.5-3% ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐานยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบายที่คงไว้ 1.25% จึงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ไตรมาส 4 หรือหากเศรษฐกิจครึ่งปีหลังฟื้นตัวขึ้นอาจขึ้น 0.5% ได้ หรือเฉลี่ยทั้งปีที่ 1.50% ขณะที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ การค้าปลีกที่ผ่านมาไม่ได้รับผลกระทบ โดยในครึ่งปีหลังภาคการค้าปลีกทั้งระบบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้น สินค้า Brand Name ต่างประเทศ ที่อาจได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง โดยตลาดเงินและตลาดทุนจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่
สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

1 กรกฎาคม 2553

" />
       
 

ปรับเป้าเศรษฐกิจโต FTI Economic Focus Share


FTI Economic Focus

รายงานเศรษฐกิจประจำเดือน กรกฎาคม 2553

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2553

ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน พ.ค.ที่ปรับตัวลดลงจากปัญหาการจราจรบริเวณสี่แยกราชประสงค์ แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม ไม่ได้รุนแรงตามที่คาดไว้ ยกเว้นภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวลดลง 815,000 คน หรือลดลงร้อยละ 19.2 ขณะที่ภาคส่งออกกลับขยายตัว โดยการส่งออกเดือน พ.ค. ขยายตัวสูงถึง 42.1% ซึ่งไม่ได้มาจากฐานที่ต่ำเพียงอย่างเดียว แต่ยัง ขยายตัว 3.4% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งในไตรมาสแรกการส่งออกขยายตัวประมาณร้อยละ 43 นับเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะมีสัดส่วนสูงถึง 65% ขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงถึง 55.1% เพิ่มขึ้น 3.3% จากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบที่คิดเป็นมูลค่าขยาย ตัวถึง 57.7% การบริโภคและการลงทุนก็ชะลอน้อยกว่าที่ประเมินไว้ ผลจากยืดอายุ 5 มาตรการฯ ลดภาระค่าครองชีพประชาชนที่ ครม. มีมติขยายออกถึงสิ้นปี รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ลดเหลือ 72-73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจากเดิมที่ 80 ดอลลาร์ฯ คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะอยู่ที่ 3.5% จากเดิมคาดการณ์ 4% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 1.3% สอดคล้องกับกรอบเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 0.5-3% ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐานยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบายที่คงไว้ 1.25% จึงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ไตรมาส 4 หรือหากเศรษฐกิจครึ่งปีหลังฟื้นตัวขึ้นอาจขึ้น 0.5% ได้ หรือเฉลี่ยทั้งปีที่ 1.50% ขณะที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ การค้าปลีกที่ผ่านมาไม่ได้รับผลกระทบ โดยในครึ่งปีหลังภาคการค้าปลีกทั้งระบบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้น สินค้า Brand Name ต่างประเทศ ที่อาจได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง โดยตลาดเงินและตลาดทุนจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่
สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

1 กรกฎาคม 2553


ไฟล์ประกอบ : FTI ECONOMIC FOCUS.pdf
อ่าน : 1979 ครั้ง
วันที่ : 06/07/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com