ผลกระทบทางเศรษฐกิจภายหลัง “วิกฤติเมษาวิปโยก”

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

และที่ปรึกษาสายงานเศรษฐกิจจังหวัด สอท.

19 เมษายน 2553

เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤติการเมืองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน อันเป็นผลจากการที่ นปช. ได้นำคนเสื้อแดงเข้ามายึดพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยยึดพื้นที่สะพานมัฆวาน การชุมนุมเพื่อเรียกร้องและการเจรจาเพื่อกดดันให้รัฐบาลมีการยุบสภา ซึ่งจากการชุมนุมไม่สามารถทำให้รัฐบาลมีการยุบสภา โดยแนวร่วม นปช. มีการขยายพื้นที่ไปยังศูนย์การค้าสำคัญ ย่านราชประสงค์และปักหลักตั้งเวทีอย่างถาวร อุณหภูมิทางการเมืองท่ามกลางความร้อนแรงของอากาศเดือนเมษายน ได้เข้ามาถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งรัฐบาลได้มีการเข้าสลายการชุมนุม จนส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายมีการเสียชีวิต 25 คน และบาดเจ็บพุ่งขึ้นไปกว่า 900 คน โดยรัฐบาลได้ยกระดับของการชุมนุมไปสู่กระบวนการก่อการร้าย การเมืองในประเทศเข้าสู่วิกฤติอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต กลายเป็นทางตันของทั้งฝ่ายรัฐบาลและ นปช. การเมืองในประเทศไทยนั้นยังไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะเมื่อได้รับการกดดันจากกลุ่มคนเสื้อเหลือง และกลุ่มคนเสื้อหลากสี รวมถึงแนวร่วมต่างๆ ซึ่งต่างเสนอทางออกและแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน จนดูเหมือนว่าวิกฤติการเมืองในครั้งนี้ จะยังไม่สามารถหาทางออก หากชุมนุมยืดเยื้อและหรือพร้อมที่จะเกิดสงครามกลางเมืองได้ในทุกขณะ 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ซึ่งมีมูลค่าอยู่ใน GDP ประมาณร้อยละ 6.5 หลายฝ่ายคาดว่าหากวิกฤติยังยืดเยื้อเช่นนี้จะกระทบถึงการท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 20 ซึ่งเป็นเม็ดเงินกว่า 123,400 ล้านบาท ถึงแม้ว่า วิกฤติจะจบลงก็ต้องใช้เวลาฟื้นฟูให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา อย่างน้อยต้องใช้เวลากว่า 3-4 เดือน ซึ่งภาคโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะสูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล สำหรับการชุมนุมย่านศูนย์การค้าราชประสงค์ เสียหายถึง 300-350 ล้านบาทต่อวัน โดยภาพรวมแล้วภาคธุรกิจได้รับความเสียหายเฉลี่ย 27,000-35,000 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 0.316 / GDP 

" />
       
 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจภายหลัง “วิกฤติเมษาวิปโยก” Share


ผลกระทบทางเศรษฐกิจภายหลัง “วิกฤติเมษาวิปโยก”

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

และที่ปรึกษาสายงานเศรษฐกิจจังหวัด สอท.

19 เมษายน 2553

เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤติการเมืองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน อันเป็นผลจากการที่ นปช. ได้นำคนเสื้อแดงเข้ามายึดพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยยึดพื้นที่สะพานมัฆวาน การชุมนุมเพื่อเรียกร้องและการเจรจาเพื่อกดดันให้รัฐบาลมีการยุบสภา ซึ่งจากการชุมนุมไม่สามารถทำให้รัฐบาลมีการยุบสภา โดยแนวร่วม นปช. มีการขยายพื้นที่ไปยังศูนย์การค้าสำคัญ ย่านราชประสงค์และปักหลักตั้งเวทีอย่างถาวร อุณหภูมิทางการเมืองท่ามกลางความร้อนแรงของอากาศเดือนเมษายน ได้เข้ามาถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งรัฐบาลได้มีการเข้าสลายการชุมนุม จนส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายมีการเสียชีวิต 25 คน และบาดเจ็บพุ่งขึ้นไปกว่า 900 คน โดยรัฐบาลได้ยกระดับของการชุมนุมไปสู่กระบวนการก่อการร้าย การเมืองในประเทศเข้าสู่วิกฤติอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต กลายเป็นทางตันของทั้งฝ่ายรัฐบาลและ นปช. การเมืองในประเทศไทยนั้นยังไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะเมื่อได้รับการกดดันจากกลุ่มคนเสื้อเหลือง และกลุ่มคนเสื้อหลากสี รวมถึงแนวร่วมต่างๆ ซึ่งต่างเสนอทางออกและแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน จนดูเหมือนว่าวิกฤติการเมืองในครั้งนี้ จะยังไม่สามารถหาทางออก หากชุมนุมยืดเยื้อและหรือพร้อมที่จะเกิดสงครามกลางเมืองได้ในทุกขณะ 

ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ซึ่งมีมูลค่าอยู่ใน GDP ประมาณร้อยละ 6.5 หลายฝ่ายคาดว่าหากวิกฤติยังยืดเยื้อเช่นนี้จะกระทบถึงการท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 20 ซึ่งเป็นเม็ดเงินกว่า 123,400 ล้านบาท ถึงแม้ว่า วิกฤติจะจบลงก็ต้องใช้เวลาฟื้นฟูให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา อย่างน้อยต้องใช้เวลากว่า 3-4 เดือน ซึ่งภาคโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะสูญเสียเป็นจำนวนมหาศาล สำหรับการชุมนุมย่านศูนย์การค้าราชประสงค์ เสียหายถึง 300-350 ล้านบาทต่อวัน โดยภาพรวมแล้วภาคธุรกิจได้รับความเสียหายเฉลี่ย 27,000-35,000 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 0.316 / GDP 


ไฟล์ประกอบ : 014-ผลกระทบทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤติเมษาวิปโยก.pdf
อ่าน : 2170 ครั้ง
วันที่ : 21/04/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com