เศรษฐกิจของไทยภายใต้ พ....ฉุกเฉิน

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

9 เมษายน 2553

 

เศรษฐกิจของไทยภายใต้การกดดันของการเมืองในประเทศ โดย นปช. ได้นำคนเสื้อแดงเข้ามายึดพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะบริเวณราชประสงค์ และการใช้ดาวกระจายไปทั่วกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยได้ตกเข้าอยู่ใต้ระบอบอนาธิปไตย กลายเป็นประเทศที่ไม่เป็นนิติรัฐอยู่ภายใต้กฎหมู่ กฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้ โดยเฉพาะการล้มเหลวจากการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. ซึ่งข้อเสนอของ นปช. ให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน โดยไม่มีเงื่อนไข ขณะที่รัฐบาลต้องการยุบสภาใน 9 เดือน โดยจะต้องมีการแก้ไขกติกา และรัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมถึง เงื่อนไขที่ นปช. จะต้องยอมรับผลของการเลือกตั้ง ความล้มเหลวของการเจรจาซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าทางออกของประเทศไทย จะไปในทิศทางไหน อีกทั้ง ดีกรีความรุนแรงของ นปช. ในรูปแบบต่างๆ เช่น ระเบิดรายวัน , การเข้าบุกรัฐสภาและปิดล้อมสถานที่ราชการ ข่มขู่ บุคคลสำคัญของประเทศ จนรัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ซึ่งเหมือนว่าฝ่ายคนเสื้อแดง จะไม่ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากทราบดีว่า ภาครัฐไม่กล้าที่จะใช้ความรุนแรง ขณะที่คนกรุงเทพฯ เริ่มขาดความอดทน โดยการแสดงออกของนักวิชาการ คนเสื้อสีชมพู และกลุ่มนักธุรกิจ เช่น กกร. , สภาการท่องเที่ยว ฯลฯ และคนสีอื่นๆ ซึ่งการทำโพลจากหลายสำนัก ออกมาทิศทางเดียวกันว่า คนส่วนใหญ่ของกรุงเทพ เริ่มขาดความอดทน สภาวะการเมืองของไทยจึงเหมือนเข้าสู่ทางตัน จนส่อเค้าจนถึงขั้นวิกฤติที่รุนแรงมากขึ้น
" />
       
 

เศรษฐกิจของไทยภายใต้ พ.ร.ก..ฉุกเฉิน Share


เศรษฐกิจของไทยภายใต้ พ....ฉุกเฉิน

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

9 เมษายน 2553

 

เศรษฐกิจของไทยภายใต้การกดดันของการเมืองในประเทศ โดย นปช. ได้นำคนเสื้อแดงเข้ามายึดพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะบริเวณราชประสงค์ และการใช้ดาวกระจายไปทั่วกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยได้ตกเข้าอยู่ใต้ระบอบอนาธิปไตย กลายเป็นประเทศที่ไม่เป็นนิติรัฐอยู่ภายใต้กฎหมู่ กฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้ โดยเฉพาะการล้มเหลวจากการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. ซึ่งข้อเสนอของ นปช. ให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน โดยไม่มีเงื่อนไข ขณะที่รัฐบาลต้องการยุบสภาใน 9 เดือน โดยจะต้องมีการแก้ไขกติกา และรัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมถึง เงื่อนไขที่ นปช. จะต้องยอมรับผลของการเลือกตั้ง ความล้มเหลวของการเจรจาซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าทางออกของประเทศไทย จะไปในทิศทางไหน อีกทั้ง ดีกรีความรุนแรงของ นปช. ในรูปแบบต่างๆ เช่น ระเบิดรายวัน , การเข้าบุกรัฐสภาและปิดล้อมสถานที่ราชการ ข่มขู่ บุคคลสำคัญของประเทศ จนรัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ซึ่งเหมือนว่าฝ่ายคนเสื้อแดง จะไม่ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากทราบดีว่า ภาครัฐไม่กล้าที่จะใช้ความรุนแรง ขณะที่คนกรุงเทพฯ เริ่มขาดความอดทน โดยการแสดงออกของนักวิชาการ คนเสื้อสีชมพู และกลุ่มนักธุรกิจ เช่น กกร. , สภาการท่องเที่ยว ฯลฯ และคนสีอื่นๆ ซึ่งการทำโพลจากหลายสำนัก ออกมาทิศทางเดียวกันว่า คนส่วนใหญ่ของกรุงเทพ เริ่มขาดความอดทน สภาวะการเมืองของไทยจึงเหมือนเข้าสู่ทางตัน จนส่อเค้าจนถึงขั้นวิกฤติที่รุนแรงมากขึ้น

ไฟล์ประกอบ : 013-เศรษฐกิจของไทยภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-สอท.pdf
อ่าน : 1952 ครั้ง
วันที่ : 21/04/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com