รายงานพิเศษ

สภาวะเศรษฐกิจไทยหลังคำพิพากษายึดทรัพย์

โดย ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่ปรึกษาเศรษฐกิจสายงานจังหวัด

วันที่ 3 มีนาคม 2553

 

          เศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมานอกเหนือจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยของโลก ส่งผลให้ GDP ของปี 2552 ติดลบร้อยละ 2.3 จากที่ขยายตัวในปี 2551 ร้อยละ 4.1 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจของไทยมีการชะลอตัวลงต่อเนื่องมา 2-3 ปี เหตุผลสำคัญเกิดจากปัญหาการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคและด้านการลงทุน ประเด็นก็คือ หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ได้พิพากษาด้วยมติเอกฉันท์ให้ยึดทรัพย์อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นจำนวนเงิน 46,373 ล้านบาท คำถามที่ตามมาก็คือ หลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นวันพิพากษา เศรษฐกิจของไทยจะมีการพลิกฟื้นอย่างเป็นนัยหรือไม่ ที่ผ่านมาต้องยอมรับความจริงที่ว่า เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากการเมืองในประเทศต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งในปีนั้นมีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 4 รัฐบาล และนัยจากรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลาปีเศษ ปัญหาการเมืองในประเทศก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ผลเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม การพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็เป็นการลดการอึมครึม ปลดล็อคการเมืองในประเทศได้ในระดับหนึ่ง แต่การที่จะเห็นภาพปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ชัดเจน อย่างน้อยจะต้องไปถึงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน 2553 โดยช่วงเวลาที่สำคัญจะอยู่ที่วันที่ 14 มีนาคม 2553 ซึ่งฝ่ายที่นิยมอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร จะสามารถระดมประชาชนได้เป็นจำนวนหลักล้านตามที่ได้กล่าวอ้างหรือไม่ และสามารถกดดันให้มีการยุบสภาเปลี่ยนขั้วการเมือง หรืออาจมีการปะทะจราจลเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งหากเป็นประการแรก การเปลี่ยนขั้วรัฐบาลจะทำให้หลายโครงการของรัฐบาลปัจจุบัน เช่น กำลังออก พรบ.กระตุ้นเศรษฐกิจ 400,000 ซึ่งชะงักอยู่ที่วุฒิสภา หลายโครงการจะต้องมีการชะลอ อีกทั้งการแก้ปัญหามาบตาพุดก็จะไม่มีการต่อเนื่อง นอกจากนี้ หากเหตุการณ์บานปลายไปถึงความรุนแรง หรือมีการปฏิวัติรัฐประหาร ก็จะเกิดเป็นวิกฤติการเมืองไทยภาคสอง ซึ่งจะทำให้ปัญหามีความซับซ้อนยืดเยื้อและส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง ซึ่งหากมีวิกฤติเช่นนั้นการเติบโตเศรษฐกิจของไทยคงจะต้องพึ่งพาภาคการส่งออกเพียงอย่างเดียว ขณะที่ภาคการบริโภคในประเทศ , การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงการท่องเที่ยว จะได้รับความกระทบอย่างรุนแรง โดย GDP อาจจะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 2-2.5 จากที่คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ การส่งออก จะเป็นภาคเดียวที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเมืองในประเทศ (รอบ 2) ซึ่งที่กล่าวนี้เป็นการวิเคราะห์ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด

" />
       
 

สภาวะเศรษฐกิจไทยหลังคำพิพากษายึดทรัพย์ Share


รายงานพิเศษ

สภาวะเศรษฐกิจไทยหลังคำพิพากษายึดทรัพย์

โดย ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่ปรึกษาเศรษฐกิจสายงานจังหวัด

วันที่ 3 มีนาคม 2553

 

          เศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมานอกเหนือจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยของโลก ส่งผลให้ GDP ของปี 2552 ติดลบร้อยละ 2.3 จากที่ขยายตัวในปี 2551 ร้อยละ 4.1 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจของไทยมีการชะลอตัวลงต่อเนื่องมา 2-3 ปี เหตุผลสำคัญเกิดจากปัญหาการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคและด้านการลงทุน ประเด็นก็คือ หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ได้พิพากษาด้วยมติเอกฉันท์ให้ยึดทรัพย์อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นจำนวนเงิน 46,373 ล้านบาท คำถามที่ตามมาก็คือ หลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นวันพิพากษา เศรษฐกิจของไทยจะมีการพลิกฟื้นอย่างเป็นนัยหรือไม่ ที่ผ่านมาต้องยอมรับความจริงที่ว่า เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากการเมืองในประเทศต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งในปีนั้นมีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 4 รัฐบาล และนัยจากรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลาปีเศษ ปัญหาการเมืองในประเทศก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ผลเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม การพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็เป็นการลดการอึมครึม ปลดล็อคการเมืองในประเทศได้ในระดับหนึ่ง แต่การที่จะเห็นภาพปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ชัดเจน อย่างน้อยจะต้องไปถึงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน 2553 โดยช่วงเวลาที่สำคัญจะอยู่ที่วันที่ 14 มีนาคม 2553 ซึ่งฝ่ายที่นิยมอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร จะสามารถระดมประชาชนได้เป็นจำนวนหลักล้านตามที่ได้กล่าวอ้างหรือไม่ และสามารถกดดันให้มีการยุบสภาเปลี่ยนขั้วการเมือง หรืออาจมีการปะทะจราจลเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งหากเป็นประการแรก การเปลี่ยนขั้วรัฐบาลจะทำให้หลายโครงการของรัฐบาลปัจจุบัน เช่น กำลังออก พรบ.กระตุ้นเศรษฐกิจ 400,000 ซึ่งชะงักอยู่ที่วุฒิสภา หลายโครงการจะต้องมีการชะลอ อีกทั้งการแก้ปัญหามาบตาพุดก็จะไม่มีการต่อเนื่อง นอกจากนี้ หากเหตุการณ์บานปลายไปถึงความรุนแรง หรือมีการปฏิวัติรัฐประหาร ก็จะเกิดเป็นวิกฤติการเมืองไทยภาคสอง ซึ่งจะทำให้ปัญหามีความซับซ้อนยืดเยื้อและส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง ซึ่งหากมีวิกฤติเช่นนั้นการเติบโตเศรษฐกิจของไทยคงจะต้องพึ่งพาภาคการส่งออกเพียงอย่างเดียว ขณะที่ภาคการบริโภคในประเทศ , การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงการท่องเที่ยว จะได้รับความกระทบอย่างรุนแรง โดย GDP อาจจะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 2-2.5 จากที่คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ การส่งออก จะเป็นภาคเดียวที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเมืองในประเทศ (รอบ 2) ซึ่งที่กล่าวนี้เป็นการวิเคราะห์ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด


ไฟล์ประกอบ : 010-รายงานพิเศษ.pdf
อ่าน : 2264 ครั้ง
วันที่ : 03/03/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com