โลจิสติกส์ เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจาก   ผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค รวมถึงขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บสินค้าคงคลังด้วย ดังนั้น ทั้ง Logistics และ Supply Chain  จึงเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ ยากที่จะแยกแยะ โดย Robert B. Handfield ได้กล่าวว่า “The scope of the logistics strategy is now the entire supply chain” โดยหากเทียบกับร่างกายเป็น Supply Chain แล้ว หัวใจและเส้นเลือดก็อาจเปรียบเสมือนกับ Logistics โดยมีสมองเป็นศูนย์     ควบคุม ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับระบบ IT นั่นเอง ดังนั้นในกระบวนการค้าปัจจุบัน      โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานจะต้องไปด้วยกันหรือควบคู่กันเสมอ แต่ก็ใช่ว่าจะ  กลมกลืนเป็นส่วนเดียวกันที่เดียว เพราะหากจะมองในอีกมิติแล้วจะพบว่าโดยเนื้อแท้แล้วต่างก็เป็นกิจกรรมคนละส่วน ต่างมีหน้าที่และดำเนินกิจกรรมที่เป็นการเฉพาะตัว เพียงแต่ว่านำบทบาทของทั้งสองกิจกรรมมาต่อเชื่อมกันเป็นบูรณาการ (Integration) คือเป็นแบบบูรณาการคล้ายกับการ Merge รวมบริษัท 2 บริษัทไว้ด้วยกัน โดยแต่ละบริษัทฯ ก็ยังดำเนินธุรกิจของตนเอง ดังนั้นอาจมีผู้เข้าใจผิดว่าหากจะพูดถึง Supply Chain ก็ใช่ว่าจะพูดถึง Logistics ในลักษณะที่แยกส่วนไม่ได้  ในบางตำราอาจไม่ยอมรับให้มีการแยกจัดการ Logistics ออกมาจาก Supply Chain Management แต่ทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มีมุมมองว่า ถึงแม้ว่า ห่วงโซ่อุปทานจะเป็นเรื่องของบูรณาการ (Integration) แต่การที่จะเข้าใจได้ถ่องแท้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงนั้น ก็จะต้องทำความเข้าใจกิจกรรมของ Logistics ในลักษณะที่แยกส่วน คือ ให้เห็นความแตกต่างของ Logistics กับ Supply Chain ให้ชัดเจนก่อน คือ อยากจะให้มอง Supply Chain ที่เป็นกระบวนการในการจัดการเพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตและกระบวนการทางการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลดต้นทุนรวมและให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องเกิดขึ้นในระหว่างองค์กร จำเป็นที่จะต้องอาศัยเครือข่ายและการกระจายต้นทุน ที่เรียกว่า Cost Sharing ดังนั้น Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรวมพลังและความร่วมมือ ทั้งในแต่ละกระบวนการภายในองค์กรและต่างองค์กร ที่เรียกว่า Synergy ซึ่งกิจกรรมของ Supply Chain จึงต้องอาศัยผู้ให้บริการภายนอก (Outsources) หรือ Logistics Provider ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการแต่ละกระบวนการของ Supply Chain จะถูกเชื่อม โดยกิจกรรมของ Logistics ในการส่งต่อและการเปลี่ยนมือในการเป็นเจ้าของสินค้า (ชั่วขณะหนึ่ง) โดยกิจกรรมต่างๆนั้นจะมีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร เพื่อทำให้ห่วงโซ่อุปทานเป็นห่วงโซ่ที่เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงวงแหวน แบบบูรณาการได้อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่า หน้าที่หลักของ Logistics จึงเป็นกระบวนการที่มีกิจกรรมที่เน้นการส่งต่อของสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย (Moving) การให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบและการกระจายซึ่งสินค้าและบริการจนถึงผู้รับหน่วยสุดท้าย โดยทั้งโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็ล้วนมีไว้เพิ่มให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน (Core Competency)  ดังนั้นทางโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จะมีความสัมพันธ์กันและโดยข้อเท็จจริงก็ยากที่จะแยกจากกัน

" />
       
 

ความแตกต่างของโลจิสติกส์และซัพพลายเชน Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP           


          โลจิสติกส์ เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจาก   ผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค รวมถึงขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บสินค้าคงคลังด้วย ดังนั้น ทั้ง Logistics และ Supply Chain  จึงเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ ยากที่จะแยกแยะ โดย Robert B. Handfield ได้กล่าวว่า “The scope of the logistics strategy is now the entire supply chain” โดยหากเทียบกับร่างกายเป็น Supply Chain แล้ว หัวใจและเส้นเลือดก็อาจเปรียบเสมือนกับ Logistics โดยมีสมองเป็นศูนย์     ควบคุม ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับระบบ IT นั่นเอง ดังนั้นในกระบวนการค้าปัจจุบัน      โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานจะต้องไปด้วยกันหรือควบคู่กันเสมอ แต่ก็ใช่ว่าจะ  กลมกลืนเป็นส่วนเดียวกันที่เดียว เพราะหากจะมองในอีกมิติแล้วจะพบว่าโดยเนื้อแท้แล้วต่างก็เป็นกิจกรรมคนละส่วน ต่างมีหน้าที่และดำเนินกิจกรรมที่เป็นการเฉพาะตัว เพียงแต่ว่านำบทบาทของทั้งสองกิจกรรมมาต่อเชื่อมกันเป็นบูรณาการ (Integration) คือเป็นแบบบูรณาการคล้ายกับการ Merge รวมบริษัท 2 บริษัทไว้ด้วยกัน โดยแต่ละบริษัทฯ ก็ยังดำเนินธุรกิจของตนเอง ดังนั้นอาจมีผู้เข้าใจผิดว่าหากจะพูดถึง Supply Chain ก็ใช่ว่าจะพูดถึง Logistics ในลักษณะที่แยกส่วนไม่ได้  ในบางตำราอาจไม่ยอมรับให้มีการแยกจัดการ Logistics ออกมาจาก Supply Chain Management แต่ทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มีมุมมองว่า ถึงแม้ว่า ห่วงโซ่อุปทานจะเป็นเรื่องของบูรณาการ (Integration) แต่การที่จะเข้าใจได้ถ่องแท้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงนั้น ก็จะต้องทำความเข้าใจกิจกรรมของ Logistics ในลักษณะที่แยกส่วน คือ ให้เห็นความแตกต่างของ Logistics กับ Supply Chain ให้ชัดเจนก่อน คือ อยากจะให้มอง Supply Chain ที่เป็นกระบวนการในการจัดการเพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตและกระบวนการทางการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลดต้นทุนรวมและให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องเกิดขึ้นในระหว่างองค์กร จำเป็นที่จะต้องอาศัยเครือข่ายและการกระจายต้นทุน ที่เรียกว่า Cost Sharing ดังนั้น Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรวมพลังและความร่วมมือ ทั้งในแต่ละกระบวนการภายในองค์กรและต่างองค์กร ที่เรียกว่า Synergy ซึ่งกิจกรรมของ Supply Chain จึงต้องอาศัยผู้ให้บริการภายนอก (Outsources) หรือ Logistics Provider ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการแต่ละกระบวนการของ Supply Chain จะถูกเชื่อม โดยกิจกรรมของ Logistics ในการส่งต่อและการเปลี่ยนมือในการเป็นเจ้าของสินค้า (ชั่วขณะหนึ่ง) โดยกิจกรรมต่างๆนั้นจะมีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร เพื่อทำให้ห่วงโซ่อุปทานเป็นห่วงโซ่ที่เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงวงแหวน แบบบูรณาการได้อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่า หน้าที่หลักของ Logistics จึงเป็นกระบวนการที่มีกิจกรรมที่เน้นการส่งต่อของสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย (Moving) การให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบและการกระจายซึ่งสินค้าและบริการจนถึงผู้รับหน่วยสุดท้าย โดยทั้งโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็ล้วนมีไว้เพิ่มให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน (Core Competency)  ดังนั้นทางโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จะมีความสัมพันธ์กันและโดยข้อเท็จจริงก็ยากที่จะแยกจากกัน


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 33281 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com