โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP          

            การศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงประเทศไทย , สปป.ลาว และกัมพูชา โดยใช้ถนนนานาชาติ International Road สายใหม่ของ Asian ที่รู้จักในชื่อเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ East West Economic Corridor เป็นการร่วมมือของประเทศต่างๆซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอนุทวีปหรือคาบสมุทรอาเซียน (Asian Main Land) ประกอบด้วย ประเทศไทย , เมียนม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศนอก Asian คือ ประเทศจีนตอนใต้ (สำหรับฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย และบรูไน พื้นที่เป็นเกาะ) โดยโครงการจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางถนนในการเชื่อมโยงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ถนนหมายเลข 9 เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนามกับเชื่อมโยงท่าเรือเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ของเมียนม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น  ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน  ทั้งนี้ โดยชายฝั่งทะเลของเวียดนามยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือไฮฟอง (Hai Phrong Port) , ท่าเรือวิน (Vinh Port) , ท่าเรือดานัง (Danang Port) , ท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) ฯลฯ โดยเส้นทางจะผ่านเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน (Asian Mainland) เริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนามผ่านเมืองเว้ และเมืองลาวบาวอันเป็นเมืองชายแดน (Lao Bao) อยู่ในจังหวัดกวางจิ (Quangtri) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ติดกับชายแดน สปป.ลาว 

           จากนั้นเส้นทางถนนหมายเลข 9 จะผ่านเข้าไปในประเทศ สปป.ลาว เป็นระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร โดยได้รับการพัฒนาการก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น โดย JICA หรือสำนักงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเส้นทางคอนกรีตมาตรฐานรถสวนสองเลน สร้างเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งเส้นทางนี้จะผ่านแขวงสะหวันนะเขตและมาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขง (ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเป็น Land Bridge Gate Way ของไทย โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศเมียนม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลองซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ
ทั้งนี้ ผู้เขียนมีโอกาสร่วมเดินทางไปกับคณะของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีโอกาสสำรวจเส้นทางเศรษฐกิจหมายเลข 9 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

             การเดินทางเริ่มต้นโดยการข้ามแม่น้ำโขงด้วยเรือขนานยนต์ ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรทุกรถขนาด 10 ล้อ โดยข้ามจากฝั่งเมืองมุกดาหารของไทยผ่านเมืองสะหวันนะเขตไปทางตะวันออก พบว่าเป็นเส้นทางคมนาคมที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและ สปป.ลาว ถนนจะเป็นลักษณะคอนกรีต 2 เลน อยู่ในสภาพที่ดีและใหม่ มีความเหมาะสมสำหรับรถคอนเทนเนอร์ เส้นทางจะเป็นเส้นตรง ข้อสังเกตก็คือ ตลอดเส้นทางจะมีชุมชนไม่มาก และขาดสถานีบริการน้ำมัน เส้นทางนี้จะผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษของลาว ที่เรียกว่า สะหวันเซโน ห่างจากเมืองสะหวันนะเขตประมาณ 25 กิโลเมตรที่ทางรัฐบาลของลาวร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพยายามส่งเสริมที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจ เพื่อทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก แต่สภาพที่เห็นนั้นเกือบทั้งหมดยังเป็นสภาพที่เปล่า ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า ยังขาดจุดแข็งที่จะดึงนักลงทุนเข้ามา ซึ่งลาวเองมีประชากรไม่มากอาจขาดแรงงาน ทั้ง Infrastructure ไม่ว่าทางรถไฟ , ท่าเรือ , สนามบิน ยังไม่มี อีกทั้งประเทศลาวไม่ได้ปกครองแบบเป็นรัฐเดียว อำนาจของเจ้าแขวง จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะทำให้ขาดความบูรณาการ รวมถึงการเก็บภาษีซับซ้อนของแต่ละแขวงจะเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสายนี้  

           การสำรวจเส้นทางจากสะหวันนะเขต มุ่งหน้าไปในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโน เป็นถนนสองเลน และปั้มน้ำมันจะไม่ค่อยมี (ห้องสุขาจะเป็นปัญหามากสำหรับการเดินทาง)ซึ่งจะเป็นปัญหาในการคมนาคมขนส่ง ถนนที่มุ่งไปสู่เซโนจากสะหวันนะเขตจะห่างกันประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นถนนสองเลน รถคอนเทนเนอร์วิ่งได้ จากนั้นเส้นทางจะผ่านเมืองสะหวันเซโนไปบ้านพระลาน ระยะทางอีกประมาณ 70 กิโลเมตรโดยความร่วมมือกับประเทศลาวและประเทศญี่ปุ่น เป็นถนนสองเลน ในตลอดช่วงนี้จะมีบ้านช่อง ร้านค้า บ้าน ปั้มน้ำมัน และตลาดเซโนจะมีขนาดใหญ่พอควร บ้านเรือนหนาแน่น ดูแล้วน่าจะเจริญกว่าแขวงสะหวันนะเขตด้วยซ้ำไป 

           เมืองคันทะบุลี ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงสะหวันนะเขตจนถึงเมืองพิน ระยะทางประมาณ 162 กม. ถนนลาดยางสภาพดี สองช่องทางจราจร มีไหล่ถนน ปรับปรุงเสร็จแล้วโดยบริษัทโอบายาชิของญี่ปุ่น รถยนต์สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 110 กม./ชม. มีเพียง 22 กม. ช่วงเมืองพะลานไซ-เมืองพิน ที่ยังไม่ได้ลาดยาง แต่ยานพาหนะของคณะเป็นรถบัสที่ใช้ความเร็วเพียง 80 กม./ชม. จึงใช้เวลาเดินทางจากเมืองคันทะบุลีถึงเมืองพิน 2 ชม. 35 นาที  จากเมืองพินถึงชายแดนระยะทาง 78 กม. เป็นช่วงที่บริษัทเวียดนามได้รับสัมปทานปรับปรุงเส้นทางแต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยได้ปรับสภาพพื้นผิวจราจรเพื่อเตรียมลาดยางแล้ว หลายช่วงต้องใช้ทางเบี่ยง ใช้เวลาเดินทางจากเมืองพินถึงด่านแดนสะหวันประมาณ 3 ชั่วโมง

            สำหรับเส้นทางจากลาวไปสู่ประเทศเวียดนามจะผ่านเมืองลาวบาว (Lao Bao) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกวางจิ ซึ่งเป็นเมืองชายแดนมีที่ทำการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองมีขนาดใหญ่ เห็นชัดว่าเวียดนามเตรียมทำการบ้านรองรับเส้นทางนี้ไว้ได้ดี จากสะหวันนะเขตมาเมืองลาวบาวระยะทาง 210 กิโลเมตรใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง ลาวบาวเป็นชายแดน ประกอบไปด้วยอาณาบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจ เป็นร้านค้าของประเทศเวียดนามส่วนใหญ่ ศูนย์การค้า ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ส่วนใหญ่ส่งมาจากประเทศไทย  สินค้าไทยมีศักยภาพและได้รับความนิยมจากคนเวียดนามและคนลาว ได้แก่  เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าของไทยเป็นสินค้ายอดนิยม นอกจากนี้ยังมีพวกอาหารขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง รวมถึง ยาสระผม ยาสีฟันและสินค้าเบ็ดเตล็ดจากไทย จะมีวางขายมากกว่าของจีนและของเวียดนาม อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอง คือ 400 ดองต่อ1บาท เวียดนามกำลังส่งเสริมให้เมืองลาวบาว (Lao Bao)ให้เป็น Gateway เข้าสู่จังหวัดกวางจิ โดยลาวบาวจะมีลักษณะเป็น Transit City มีนิคมอุตสาหกรรม จากการสอบถามทราบว่านักลงทุนของไทยประมาณ 2-3 รายเข้าไปลงทุน เช่น ปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก ในแง่ของศักยภาพในเวียดนามค่อนข้างจะมีการเตรียมตัวในการที่จะรับเป็นประตูเชื่อมดินแดนจากแผ่นดินใหญ่อาเซียนออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

            จากชายแดนลาว-เวียดนาม ถึงเมืองดองฮา ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดกวางจิ ระยะทาง 84 กม. เป็นถนนลาดยางสองช่องทางจราจรแต่ผิวจราจรไม่เรียบ บางช่วงเลียบแม่น้ำและเชิงเขาลาดชันเล็กน้อย ผ่านเส้นทาง 1B ที่กำลังก่อสร้าง ถนนดังกล่าวมีแนวขนานกับถนน 1A ในแนวเหนือ-ใต้ สามารถใช้เดินทางถึงนครโฮจิมินห์ได้ รวมเวลาเดินทางตลอดเส้นทางหมายเลข 9 ระยะทาง 344 กิโลเมตร 7 ชม.35นาที

             การเดินทางจากลาวบาวไปดองฮา ในช่วง 10-20 กิโลเมตรแรก เป็นเส้นทางที่ไม่ดี เป็นถนนเลนเดียวและลดเลี้ยวตามไหล่เขามีถนนเสียอยู่เป็นช่วง แน่นอนว่ารถเทรลเลอร์ไม่สามารถวิ่งได้ เส้นทางจากลาวบาวมาดองฮาใช้เวลา 2 ชั่วโมง ถนนอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ดี เส้นทางเมืองจากสะหวันนะเขตมาดองฮา ใช้เวลาทั้งหมด 6 ชั่วโมง ดองฮาเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีมอเตอร์ไซค์ มีสินค้าขายมากมาย เมืองดองฮาเป็นเมืองที่สงบตลอดเส้นทางพบว่า ปัญหาใหญ่ของที่นี่ก็คือปั้มน้ำมัน ซึ่งเป็นปั้มขนาดเล็ก (ไม่มีห้องสุขา ซึ่งหากสุภาพสตรีที่จะเดินทางใช้เส้นนี้ ก็ให้เตรียมให้พร้อมเพราะตลอดเส้นทางจะเป็นปัญหาเช่นนี้) 

          จากดองฮาไปเว้ใช้เวลาประมาณ 70 กิโลเมตร จากการสังเกตุรถบรรทุกขนาดใหญ่จะไม่มี ใช้รถบรรทุกขนาดเล็ก จากดองฮาไปเว้ จะเป็นถนนลาดยางคอนกรีต 2 เลน เส้นทางดี ขนานกันกับทางรถไฟ ซึ่งเป็นทางที่แคบและยังต้องมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟอีกมาก จากการสังเกตุรางจะเก่ามากและไม่ได้พบรถไฟสวนมาตลอดเส้นทาง จากลักษณะที่ผ่านมามีอาคารบ้านเรือนเป็นลักษณะอาคารเก่าขณะสงครามเย็น จากด่านลาบาว ซึ่งเป็นด่านชายแดนระหว่างเวียดนามกับประเทศ สปป.ลาวใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง  และจากจังหวัดกวางจิ เพื่อมุ่งไปสู่เมืองเว้ ก็ใช้ระยะทางประมาณ 1 ชั่วโมง

           เมืองเว้เป็นนครหลวงเก่าของเวียดนามตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ใช้เวลาเดินทางจากสะหวันนะเขต ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นประมาณ 7 ชั่วโมง ลักษณะบ้านเมืองคล้ายกับ โฮจิมินห์ซิตี้หรือไซ่ง่อนลักษณะเป็นเมืองเก่า ซึ่งสถาปัตยกรรมจะไปในแนวของฝรั่งเศส หากปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของจีนและเซียงไฮ้เป็นเมืองเก่าที่คลาสสิก เมืองเว้ก็จะมีลักษณะดังกล่าว ผู้คนส่วนใหญ่ยังใช้การสัญจรด้วยรถจักรยาน และจักรยานเครื่อง และรถสามล้อถีบซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของไซ่ง่อน คือ คนนั่งจะนั่งข้างหน้า คนถีบจะอยู่ข้างหลัง มอเตอร์ไซค์ที่เห็นก็จะเป็นแบบใหม่ปะปนไปกับแบบเก่าเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองเว้ ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญของเวียดนามนั้น มีเศรษฐกิจที่มั่นคงพอสมควร โรงแรมที่พักถือเป็นโรงแรมห้าดาว เหมือนกับโรงแรม Oriental ของประเทศไทย เมืองเว้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเว้ ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ มีผู้คนมากมายพอสมควร ลักษณะเป็นบ้านเมืองเก่า ท่าเรือเมืองเว้เป็นท่าเรือขนาดเล็กติดชายฝั่งทะเล จะห่างจากดานังประมาณ 50 กม. ลักษณะน่าจะเป็นจอดเรือชายฝั่งมากกว่าจะเป็นเรือสินค้าเชิงพาณิชย์ มีรถเครนขนาด 80 ตัน และรถท็อป มีลานคอนเทนเนอร์น่าจะไม่เกิน 6-10 ไร่ สภาพน่าจะจอดเรือคอนเทนเนอร์ได้ ขนาด Feeder ไม่เกิน 200 TEU เล็กกว่าท่าเรือสงขลาของไทย

           เมืองเว้เป็นเมืองทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทยในอดีตเวียดนาม ไม่ได้รวมเป็นประเทศเดียวกัน ทางใต้ก็มีตระกูลเหงียน ปกครองและทางเหนือก็มีตระกูลเฉิน โดยทางใต้ก็มีเมืองสำคัญคือไซ่ง่อนและกุยเยิน โดยมีกษัตริย์ชื่อองค์ชินสือเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ และสถาปนามาเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรทางภาคใต้ของเวียดนาม เรื่องของการแก่งแย่งมีมาตลอด จนเกิดกบฎไตเซิน ได้โค่นล้มอำนาจ องค์ชินสือสู้ไม่ได้ก็หนีไปกรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ 1 และอยู่ในประเทศไทยประมาณ 2 ปี ต่อมาองค์ชินสือหนีกลับไปกู้บัลลังก์ได้สำเร็จสถาปนาเป็นพระเจ้าเวียดนามยาลองและมีการส่งเครื่องราชบรรณาการมาตลอดรัชกาลที่ 1 เมืองเว้มีสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน มีพายุและน้ำท่วมเป็นประจำ และหน้าร้อนก็แล้งจัด ทำให้เศรษฐกิจล้าหลังกว่าโฮจิมินห์ ทางการเวียดนามจึงอยากจะสนับสนุนให้เมืองเว้ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของเวียดนาม เนื่องจากทั้งกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ล้วนไม่มีราชวัง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ 

            เส้นทางหมายเลข 9 จากเมืองเว้ไปเมืองดานังในระยะแรกๆนั้นเส้นทางดี ระยะทางถึงดานังหลังจากหนึ่งชั่วโมงไป เส้นทางเล็กและเป็นทางขึ้นเขา เส้นทางบางส่วนยังเสียหาย อันอาจเป็นอุปสรรคของรถเทรลเลอร์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขนส่ง ช่วงดานังถึงเว้นั้น ประกอบด้วยภูเขา และป่าไม้ ซึ่งก่อนถึงดานัง 59 กิโลเมตร เป็นถนนที่อยู่ในหุบเขาและค่อนข้างมีโค้งมาก จากเว้มาถึงดานังนั้น จะเห็นว่ามีทางรถไฟขนานกับเส้นทางขนส่งทางบก ข้อสังเกตุคือไม่เห็นขบวนขนส่งสินค้าด้วยรถไฟ เป็นไปได้ว่าอาจจะมีสถานีย่อยที่ยังไม่อาจขนส่งเชื่อมโยงได้ เส้นทางจากลาวบาวไปถึงเมืองดานังประมาณ 84 กิโลเมตร ได้รับการสนับสนุนจาก ADB Bank และรัฐบาลเวียดนาม มูลค่าการก่อสร้าง 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเส้นทางในช่วงเริ่มต้นออกจากลาวบาว อยู่ในระหว่างการพัฒนาและก่อสร้าง ทางแคบ รถคอนเทนเนอร์ยังไม่สามารถเดินทางได้ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ในเส้นทางที่เข้าสู่เมืองเว้เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องทาง โดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าเมืองเว้ประมาณ 20-30 กิโลเมตร จะต้องผ่านภูเขา โดยนครเว้ ซึ่งเป็นเมืองเก่าของเวียดนามจัดเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของประเทศเวียดนาม ประเทศเวียดนามมีถนนเชื่อมต่อตั้งแต่เหนือจรดใต้ สามารถเชื่อมโยงทางหมายเลข 9 ไปกรุงฮานอยและไปนครโฮจิมินห์ ซึ่งมีถนนเชื่อมไปถึงประเทศกัมพูชา  การเดินทางจากเมืองเว้สู่ดานังจะเป็นช่วงสั้นๆ โดยเส้นทางจะผ่านเขาสูงชัน ซึ่งบนทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนามเข้าสู่เมืองถัวะเทียนเหว ซึ่งปัจจุบันกำลังก่อสร้างอุโมงค์ Haivan tunnel ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร เป็นการเจาะอุโมงค์เข้าไปในภูเขา ได้รับการสนับสนุนการเงินจากธนาคารของญี่ปุ่น JBIC มูลค่า 211 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะเสร็จภายในต้นปี 2548

           เมืองดานังเป็นเมืองใหญ่  ห่างจากฮานอย 763 กิโลเมตร และ 947 กิโลเมตรจากโฮจิมินห์ เป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของเวียดนาม เพราะอยู่ตรงกึ่งกลางประเทศ อุณหภูมิเฉลี่ย 25.7 องศาเซียลเซียส มีประชากรประมาณ 752,439 คน (สำรวจปี 2546) ประเทศเวียดนามได้มีการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ดานัง ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อรองรับตามแผนยุทธศาสตร์ East West Economic Corridor สนามบินดานังเป็นสนามบินขนาดเล็กประมาณเท่าสนามบินสุราษฎร์ธานี ไม่แน่ใจว่าจะรองรับเครื่องโบอิ้งขนาดใหญ่ เช่น 747 หรือเครื่อง A330 เครื่องบินมาดานังเป็นเครื่องขนาดเล็ก เพราะไม่มีผู้โดยสาร หากมีสายการบินที่ตรงมาจากกรุงเทพฯ จะทำให้เชื่อมต่อการท่องเที่ยวได้ ทางเวียดนามแจ้งว่ารับผู้โดยสารได้ปีละ 800,000 – 1,000,000 คน สำหรับท่าเรือดานัง (Danang Port) เป็นท่าเรือเก่า ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม ประกอบด้วย อาคารคลังสินค้า ซึ่งน่าจะก่อสร้างตั้งแต่สมัยยุคสงคราม จากการสังเกตดูท่าเรือน่าจะยาวไม่เกิน 300-400 เมตร เรือที่จะเข้ามาก็น่าจะเป็น Feeder ขนาดเล็ก การปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกดานัง เป็นโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือน้ำลึกดานัง รวมถึง การสร้างถนนเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก JBIC และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 73 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) คาดว่าจะปรับปรุงเสร็จภายในปี 2547 สำหรับวันที่เข้าไปชมที่ท่าเรือดานัง ไม่พบเรือคอนเทนเนอร์ มีแต่เรือ Tram Ship ขนส่งสินค้าประเภทไม้ท่าเรือดานังไม่มีเครนหน้าท่า ที่เรียกว่า Gantry Crane มีกองตู้คอนเทนเนอร์เรียงกันก็ไม่น่าจะเกิน 100 ตู้ ในความเห็นส่วนตัวแล้ว การพัฒนาท่าเรือดานังให้เป็น Ocean Port เป็น Land Bridge ของทะเลฝั่งตะวันออก คงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกหลายปี ซึ่งแผนงานของ East West Economic Corridor ที่เชื่อมดานังกับเมืองเมาะลำไยของเมียนม่า (Maw Lam Yine)  คงต้องทบทวนกันใหม่ ซึ่งรวมถึงเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าจะเป็นเส้นทางเชื่อมสองฝั่งมหาสมุทร ซึ่งปัจจัยสำคัญก็จะต้องอาศัย Land Bridge ที่เป็น Gateway ส่วนเมาะลำไยผู้เขียนยังไม่มีโอกาสเยี่ยมชม ซึ่งสิงคโปร์มาลงทุนเป็นท่าเรือน้ำลึกเป็น Land Bridge ทางทะเลฝั่งตะวันตก แต่สำหรับท่าเรือดานัง ยังคงต้องพัฒนาอีกมากจึงจะเป็น Gateway เชื่อมต่อทะเลฝั่งตะวันออก ทั้งนี้ ท่าเรือดานังจะมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับท่าเรือโฮจิมินห์ ซึ่งอยู่ทางใต้ของเวียดนาม ซึ่งสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 300,000 ตู้/ปี สำหรับท่าเรือ Danang Port ประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ 3 ท่า คือ Teinsa Seaport , Han River Port และ Lien Chieu Seaport สำหรับท่าเรือที่คณะฯไปดูไม่ทราบว่าเป็นท่าเรือ Teinsa หรือไม่ ซึ่งทางเวียดนามแจ้งว่าท่านี้ลึก 11 เมตร แหลมฉบัง 11-14 เมตร ซึ่งท่าดานังปีที่แล้วมีตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 150,000 ตู้ ขณะที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทย ประมาณ 2.9 ล้านตู้ ซึ่งตรงนี้ประเทศไทยน่าจะพิจารณาใหม่ว่าเส้นทางหมายเลข 9 จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยหรือจะส่งเสริมเศรษฐกิจของเวียดนาม เพราะจากการสัมภาษณ์ทางเวียดนาม จะมีความกระตือรือร้นมาก เพราะคงเห็นว่าประโยชน์ที่ได้คุ้มกว่า (Comparative Advantage)  

            หากเปรียบเทียบขนาดของท่าเรือดานังกับท่าเรือไซ่ง่อน ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตั้งอยู่ที่เมืองโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดอยู่ทางใต้ของประเทศ โดยเป็นแหล่งปลูกยางพารา โฮจิมินห์เป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ สวนยางก็เป็นหนึ่งในสามของประเทศในการส่งออก ประชากรของโฮจิมินห์รวมทั้งจังหวัดปริมณฑล ก็คงประมาณ 10 ล้านคน เหมือนกรุงเทพ ก็ถือว่าเป็นมหานครที่ใกล้กรุงเทพที่สุด เส้นทางเครื่องบินแค่ประมาณ ชั่วโมงกว่า  ความสำคัญของโฮจิมินห์ก็คือเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ มีแหล่งวัตถุดิบและมีพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส อุตสาหกรรมทุกประเภท  เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบเป็นอันดับหนึ่ง มีแก๊สธรรมชาติมหาศาลมากกว่าของไทย เวียดนามต้องส่งออกน้ำมันดิบเพราะไม่มีโรงกลั่น และนำเข้าเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในประมาณที่เท่ากัน ซึ่งเห็นได้ว่าดานังยังมีขนาดที่เล็กกว่า ทั้งด้านเศรษฐกิจและศักยภาพของท่าเรือ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการแข่งขัน การเดินทางศึกษาเส้นทางหมายเลข 9 ได้เริ่มต้นตั้งแต่จังหวัดมุกดาหารของไทย ผ่านแขวงสะหวันนะเขต จนมาถึงเมืองท่าดานัง เป็นระยะทางประมาณ 324 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา 3 วัน ข้อมูลในรายงานนี้ เป็นข้อมูลเบื้องต้นเขียนตามทัศนะของผู้เขียน รายละเอียดสำหรับผู้สนใจก็ต้องค้นคว้าและศึกษาในเชิงลึกต่อไป

 

" />
       
 

ทำความรู้จักกับเส้นทางเศรษฐกิจมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง หรือทางหลวงเอเชียหมายเลข 9 Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP          

            การศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงประเทศไทย , สปป.ลาว และกัมพูชา โดยใช้ถนนนานาชาติ International Road สายใหม่ของ Asian ที่รู้จักในชื่อเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ East West Economic Corridor เป็นการร่วมมือของประเทศต่างๆซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอนุทวีปหรือคาบสมุทรอาเซียน (Asian Main Land) ประกอบด้วย ประเทศไทย , เมียนม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศนอก Asian คือ ประเทศจีนตอนใต้ (สำหรับฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย และบรูไน พื้นที่เป็นเกาะ) โดยโครงการจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางถนนในการเชื่อมโยงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ถนนหมายเลข 9 เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนามกับเชื่อมโยงท่าเรือเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ของเมียนม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น  ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน  ทั้งนี้ โดยชายฝั่งทะเลของเวียดนามยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือไฮฟอง (Hai Phrong Port) , ท่าเรือวิน (Vinh Port) , ท่าเรือดานัง (Danang Port) , ท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) ฯลฯ โดยเส้นทางจะผ่านเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน (Asian Mainland) เริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนามผ่านเมืองเว้ และเมืองลาวบาวอันเป็นเมืองชายแดน (Lao Bao) อยู่ในจังหวัดกวางจิ (Quangtri) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ติดกับชายแดน สปป.ลาว 

           จากนั้นเส้นทางถนนหมายเลข 9 จะผ่านเข้าไปในประเทศ สปป.ลาว เป็นระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร โดยได้รับการพัฒนาการก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น โดย JICA หรือสำนักงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเส้นทางคอนกรีตมาตรฐานรถสวนสองเลน สร้างเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งเส้นทางนี้จะผ่านแขวงสะหวันนะเขตและมาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขง (ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเป็น Land Bridge Gate Way ของไทย โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศเมียนม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลองซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ
ทั้งนี้ ผู้เขียนมีโอกาสร่วมเดินทางไปกับคณะของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีโอกาสสำรวจเส้นทางเศรษฐกิจหมายเลข 9 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

             การเดินทางเริ่มต้นโดยการข้ามแม่น้ำโขงด้วยเรือขนานยนต์ ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรทุกรถขนาด 10 ล้อ โดยข้ามจากฝั่งเมืองมุกดาหารของไทยผ่านเมืองสะหวันนะเขตไปทางตะวันออก พบว่าเป็นเส้นทางคมนาคมที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและ สปป.ลาว ถนนจะเป็นลักษณะคอนกรีต 2 เลน อยู่ในสภาพที่ดีและใหม่ มีความเหมาะสมสำหรับรถคอนเทนเนอร์ เส้นทางจะเป็นเส้นตรง ข้อสังเกตก็คือ ตลอดเส้นทางจะมีชุมชนไม่มาก และขาดสถานีบริการน้ำมัน เส้นทางนี้จะผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษของลาว ที่เรียกว่า สะหวันเซโน ห่างจากเมืองสะหวันนะเขตประมาณ 25 กิโลเมตรที่ทางรัฐบาลของลาวร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพยายามส่งเสริมที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจ เพื่อทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก แต่สภาพที่เห็นนั้นเกือบทั้งหมดยังเป็นสภาพที่เปล่า ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า ยังขาดจุดแข็งที่จะดึงนักลงทุนเข้ามา ซึ่งลาวเองมีประชากรไม่มากอาจขาดแรงงาน ทั้ง Infrastructure ไม่ว่าทางรถไฟ , ท่าเรือ , สนามบิน ยังไม่มี อีกทั้งประเทศลาวไม่ได้ปกครองแบบเป็นรัฐเดียว อำนาจของเจ้าแขวง จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะทำให้ขาดความบูรณาการ รวมถึงการเก็บภาษีซับซ้อนของแต่ละแขวงจะเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสายนี้  

           การสำรวจเส้นทางจากสะหวันนะเขต มุ่งหน้าไปในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโน เป็นถนนสองเลน และปั้มน้ำมันจะไม่ค่อยมี (ห้องสุขาจะเป็นปัญหามากสำหรับการเดินทาง)ซึ่งจะเป็นปัญหาในการคมนาคมขนส่ง ถนนที่มุ่งไปสู่เซโนจากสะหวันนะเขตจะห่างกันประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นถนนสองเลน รถคอนเทนเนอร์วิ่งได้ จากนั้นเส้นทางจะผ่านเมืองสะหวันเซโนไปบ้านพระลาน ระยะทางอีกประมาณ 70 กิโลเมตรโดยความร่วมมือกับประเทศลาวและประเทศญี่ปุ่น เป็นถนนสองเลน ในตลอดช่วงนี้จะมีบ้านช่อง ร้านค้า บ้าน ปั้มน้ำมัน และตลาดเซโนจะมีขนาดใหญ่พอควร บ้านเรือนหนาแน่น ดูแล้วน่าจะเจริญกว่าแขวงสะหวันนะเขตด้วยซ้ำไป 

           เมืองคันทะบุลี ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงสะหวันนะเขตจนถึงเมืองพิน ระยะทางประมาณ 162 กม. ถนนลาดยางสภาพดี สองช่องทางจราจร มีไหล่ถนน ปรับปรุงเสร็จแล้วโดยบริษัทโอบายาชิของญี่ปุ่น รถยนต์สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 110 กม./ชม. มีเพียง 22 กม. ช่วงเมืองพะลานไซ-เมืองพิน ที่ยังไม่ได้ลาดยาง แต่ยานพาหนะของคณะเป็นรถบัสที่ใช้ความเร็วเพียง 80 กม./ชม. จึงใช้เวลาเดินทางจากเมืองคันทะบุลีถึงเมืองพิน 2 ชม. 35 นาที  จากเมืองพินถึงชายแดนระยะทาง 78 กม. เป็นช่วงที่บริษัทเวียดนามได้รับสัมปทานปรับปรุงเส้นทางแต่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยได้ปรับสภาพพื้นผิวจราจรเพื่อเตรียมลาดยางแล้ว หลายช่วงต้องใช้ทางเบี่ยง ใช้เวลาเดินทางจากเมืองพินถึงด่านแดนสะหวันประมาณ 3 ชั่วโมง

            สำหรับเส้นทางจากลาวไปสู่ประเทศเวียดนามจะผ่านเมืองลาวบาว (Lao Bao) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกวางจิ ซึ่งเป็นเมืองชายแดนมีที่ทำการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองมีขนาดใหญ่ เห็นชัดว่าเวียดนามเตรียมทำการบ้านรองรับเส้นทางนี้ไว้ได้ดี จากสะหวันนะเขตมาเมืองลาวบาวระยะทาง 210 กิโลเมตรใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง ลาวบาวเป็นชายแดน ประกอบไปด้วยอาณาบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจ เป็นร้านค้าของประเทศเวียดนามส่วนใหญ่ ศูนย์การค้า ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ส่วนใหญ่ส่งมาจากประเทศไทย  สินค้าไทยมีศักยภาพและได้รับความนิยมจากคนเวียดนามและคนลาว ได้แก่  เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าของไทยเป็นสินค้ายอดนิยม นอกจากนี้ยังมีพวกอาหารขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง รวมถึง ยาสระผม ยาสีฟันและสินค้าเบ็ดเตล็ดจากไทย จะมีวางขายมากกว่าของจีนและของเวียดนาม อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอง คือ 400 ดองต่อ1บาท เวียดนามกำลังส่งเสริมให้เมืองลาวบาว (Lao Bao)ให้เป็น Gateway เข้าสู่จังหวัดกวางจิ โดยลาวบาวจะมีลักษณะเป็น Transit City มีนิคมอุตสาหกรรม จากการสอบถามทราบว่านักลงทุนของไทยประมาณ 2-3 รายเข้าไปลงทุน เช่น ปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก ในแง่ของศักยภาพในเวียดนามค่อนข้างจะมีการเตรียมตัวในการที่จะรับเป็นประตูเชื่อมดินแดนจากแผ่นดินใหญ่อาเซียนออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

            จากชายแดนลาว-เวียดนาม ถึงเมืองดองฮา ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดกวางจิ ระยะทาง 84 กม. เป็นถนนลาดยางสองช่องทางจราจรแต่ผิวจราจรไม่เรียบ บางช่วงเลียบแม่น้ำและเชิงเขาลาดชันเล็กน้อย ผ่านเส้นทาง 1B ที่กำลังก่อสร้าง ถนนดังกล่าวมีแนวขนานกับถนน 1A ในแนวเหนือ-ใต้ สามารถใช้เดินทางถึงนครโฮจิมินห์ได้ รวมเวลาเดินทางตลอดเส้นทางหมายเลข 9 ระยะทาง 344 กิโลเมตร 7 ชม.35นาที

             การเดินทางจากลาวบาวไปดองฮา ในช่วง 10-20 กิโลเมตรแรก เป็นเส้นทางที่ไม่ดี เป็นถนนเลนเดียวและลดเลี้ยวตามไหล่เขามีถนนเสียอยู่เป็นช่วง แน่นอนว่ารถเทรลเลอร์ไม่สามารถวิ่งได้ เส้นทางจากลาวบาวมาดองฮาใช้เวลา 2 ชั่วโมง ถนนอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ดี เส้นทางเมืองจากสะหวันนะเขตมาดองฮา ใช้เวลาทั้งหมด 6 ชั่วโมง ดองฮาเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีมอเตอร์ไซค์ มีสินค้าขายมากมาย เมืองดองฮาเป็นเมืองที่สงบตลอดเส้นทางพบว่า ปัญหาใหญ่ของที่นี่ก็คือปั้มน้ำมัน ซึ่งเป็นปั้มขนาดเล็ก (ไม่มีห้องสุขา ซึ่งหากสุภาพสตรีที่จะเดินทางใช้เส้นนี้ ก็ให้เตรียมให้พร้อมเพราะตลอดเส้นทางจะเป็นปัญหาเช่นนี้) 

          จากดองฮาไปเว้ใช้เวลาประมาณ 70 กิโลเมตร จากการสังเกตุรถบรรทุกขนาดใหญ่จะไม่มี ใช้รถบรรทุกขนาดเล็ก จากดองฮาไปเว้ จะเป็นถนนลาดยางคอนกรีต 2 เลน เส้นทางดี ขนานกันกับทางรถไฟ ซึ่งเป็นทางที่แคบและยังต้องมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟอีกมาก จากการสังเกตุรางจะเก่ามากและไม่ได้พบรถไฟสวนมาตลอดเส้นทาง จากลักษณะที่ผ่านมามีอาคารบ้านเรือนเป็นลักษณะอาคารเก่าขณะสงครามเย็น จากด่านลาบาว ซึ่งเป็นด่านชายแดนระหว่างเวียดนามกับประเทศ สปป.ลาวใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง  และจากจังหวัดกวางจิ เพื่อมุ่งไปสู่เมืองเว้ ก็ใช้ระยะทางประมาณ 1 ชั่วโมง

           เมืองเว้เป็นนครหลวงเก่าของเวียดนามตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ใช้เวลาเดินทางจากสะหวันนะเขต ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นประมาณ 7 ชั่วโมง ลักษณะบ้านเมืองคล้ายกับ โฮจิมินห์ซิตี้หรือไซ่ง่อนลักษณะเป็นเมืองเก่า ซึ่งสถาปัตยกรรมจะไปในแนวของฝรั่งเศส หากปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของจีนและเซียงไฮ้เป็นเมืองเก่าที่คลาสสิก เมืองเว้ก็จะมีลักษณะดังกล่าว ผู้คนส่วนใหญ่ยังใช้การสัญจรด้วยรถจักรยาน และจักรยานเครื่อง และรถสามล้อถีบซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของไซ่ง่อน คือ คนนั่งจะนั่งข้างหน้า คนถีบจะอยู่ข้างหลัง มอเตอร์ไซค์ที่เห็นก็จะเป็นแบบใหม่ปะปนไปกับแบบเก่าเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองเว้ ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญของเวียดนามนั้น มีเศรษฐกิจที่มั่นคงพอสมควร โรงแรมที่พักถือเป็นโรงแรมห้าดาว เหมือนกับโรงแรม Oriental ของประเทศไทย เมืองเว้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเว้ ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ มีผู้คนมากมายพอสมควร ลักษณะเป็นบ้านเมืองเก่า ท่าเรือเมืองเว้เป็นท่าเรือขนาดเล็กติดชายฝั่งทะเล จะห่างจากดานังประมาณ 50 กม. ลักษณะน่าจะเป็นจอดเรือชายฝั่งมากกว่าจะเป็นเรือสินค้าเชิงพาณิชย์ มีรถเครนขนาด 80 ตัน และรถท็อป มีลานคอนเทนเนอร์น่าจะไม่เกิน 6-10 ไร่ สภาพน่าจะจอดเรือคอนเทนเนอร์ได้ ขนาด Feeder ไม่เกิน 200 TEU เล็กกว่าท่าเรือสงขลาของไทย

           เมืองเว้เป็นเมืองทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทยในอดีตเวียดนาม ไม่ได้รวมเป็นประเทศเดียวกัน ทางใต้ก็มีตระกูลเหงียน ปกครองและทางเหนือก็มีตระกูลเฉิน โดยทางใต้ก็มีเมืองสำคัญคือไซ่ง่อนและกุยเยิน โดยมีกษัตริย์ชื่อองค์ชินสือเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ และสถาปนามาเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรทางภาคใต้ของเวียดนาม เรื่องของการแก่งแย่งมีมาตลอด จนเกิดกบฎไตเซิน ได้โค่นล้มอำนาจ องค์ชินสือสู้ไม่ได้ก็หนีไปกรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ 1 และอยู่ในประเทศไทยประมาณ 2 ปี ต่อมาองค์ชินสือหนีกลับไปกู้บัลลังก์ได้สำเร็จสถาปนาเป็นพระเจ้าเวียดนามยาลองและมีการส่งเครื่องราชบรรณาการมาตลอดรัชกาลที่ 1 เมืองเว้มีสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน มีพายุและน้ำท่วมเป็นประจำ และหน้าร้อนก็แล้งจัด ทำให้เศรษฐกิจล้าหลังกว่าโฮจิมินห์ ทางการเวียดนามจึงอยากจะสนับสนุนให้เมืองเว้ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของเวียดนาม เนื่องจากทั้งกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ล้วนไม่มีราชวัง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ 

            เส้นทางหมายเลข 9 จากเมืองเว้ไปเมืองดานังในระยะแรกๆนั้นเส้นทางดี ระยะทางถึงดานังหลังจากหนึ่งชั่วโมงไป เส้นทางเล็กและเป็นทางขึ้นเขา เส้นทางบางส่วนยังเสียหาย อันอาจเป็นอุปสรรคของรถเทรลเลอร์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขนส่ง ช่วงดานังถึงเว้นั้น ประกอบด้วยภูเขา และป่าไม้ ซึ่งก่อนถึงดานัง 59 กิโลเมตร เป็นถนนที่อยู่ในหุบเขาและค่อนข้างมีโค้งมาก จากเว้มาถึงดานังนั้น จะเห็นว่ามีทางรถไฟขนานกับเส้นทางขนส่งทางบก ข้อสังเกตุคือไม่เห็นขบวนขนส่งสินค้าด้วยรถไฟ เป็นไปได้ว่าอาจจะมีสถานีย่อยที่ยังไม่อาจขนส่งเชื่อมโยงได้ เส้นทางจากลาวบาวไปถึงเมืองดานังประมาณ 84 กิโลเมตร ได้รับการสนับสนุนจาก ADB Bank และรัฐบาลเวียดนาม มูลค่าการก่อสร้าง 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยเส้นทางในช่วงเริ่มต้นออกจากลาวบาว อยู่ในระหว่างการพัฒนาและก่อสร้าง ทางแคบ รถคอนเทนเนอร์ยังไม่สามารถเดินทางได้ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ในเส้นทางที่เข้าสู่เมืองเว้เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องทาง โดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าเมืองเว้ประมาณ 20-30 กิโลเมตร จะต้องผ่านภูเขา โดยนครเว้ ซึ่งเป็นเมืองเก่าของเวียดนามจัดเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของประเทศเวียดนาม ประเทศเวียดนามมีถนนเชื่อมต่อตั้งแต่เหนือจรดใต้ สามารถเชื่อมโยงทางหมายเลข 9 ไปกรุงฮานอยและไปนครโฮจิมินห์ ซึ่งมีถนนเชื่อมไปถึงประเทศกัมพูชา  การเดินทางจากเมืองเว้สู่ดานังจะเป็นช่วงสั้นๆ โดยเส้นทางจะผ่านเขาสูงชัน ซึ่งบนทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนามเข้าสู่เมืองถัวะเทียนเหว ซึ่งปัจจุบันกำลังก่อสร้างอุโมงค์ Haivan tunnel ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร เป็นการเจาะอุโมงค์เข้าไปในภูเขา ได้รับการสนับสนุนการเงินจากธนาคารของญี่ปุ่น JBIC มูลค่า 211 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะเสร็จภายในต้นปี 2548

           เมืองดานังเป็นเมืองใหญ่  ห่างจากฮานอย 763 กิโลเมตร และ 947 กิโลเมตรจากโฮจิมินห์ เป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของเวียดนาม เพราะอยู่ตรงกึ่งกลางประเทศ อุณหภูมิเฉลี่ย 25.7 องศาเซียลเซียส มีประชากรประมาณ 752,439 คน (สำรวจปี 2546) ประเทศเวียดนามได้มีการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ดานัง ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อรองรับตามแผนยุทธศาสตร์ East West Economic Corridor สนามบินดานังเป็นสนามบินขนาดเล็กประมาณเท่าสนามบินสุราษฎร์ธานี ไม่แน่ใจว่าจะรองรับเครื่องโบอิ้งขนาดใหญ่ เช่น 747 หรือเครื่อง A330 เครื่องบินมาดานังเป็นเครื่องขนาดเล็ก เพราะไม่มีผู้โดยสาร หากมีสายการบินที่ตรงมาจากกรุงเทพฯ จะทำให้เชื่อมต่อการท่องเที่ยวได้ ทางเวียดนามแจ้งว่ารับผู้โดยสารได้ปีละ 800,000 – 1,000,000 คน สำหรับท่าเรือดานัง (Danang Port) เป็นท่าเรือเก่า ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม ประกอบด้วย อาคารคลังสินค้า ซึ่งน่าจะก่อสร้างตั้งแต่สมัยยุคสงคราม จากการสังเกตดูท่าเรือน่าจะยาวไม่เกิน 300-400 เมตร เรือที่จะเข้ามาก็น่าจะเป็น Feeder ขนาดเล็ก การปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกดานัง เป็นโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือน้ำลึกดานัง รวมถึง การสร้างถนนเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก JBIC และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 73 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) คาดว่าจะปรับปรุงเสร็จภายในปี 2547 สำหรับวันที่เข้าไปชมที่ท่าเรือดานัง ไม่พบเรือคอนเทนเนอร์ มีแต่เรือ Tram Ship ขนส่งสินค้าประเภทไม้ท่าเรือดานังไม่มีเครนหน้าท่า ที่เรียกว่า Gantry Crane มีกองตู้คอนเทนเนอร์เรียงกันก็ไม่น่าจะเกิน 100 ตู้ ในความเห็นส่วนตัวแล้ว การพัฒนาท่าเรือดานังให้เป็น Ocean Port เป็น Land Bridge ของทะเลฝั่งตะวันออก คงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกหลายปี ซึ่งแผนงานของ East West Economic Corridor ที่เชื่อมดานังกับเมืองเมาะลำไยของเมียนม่า (Maw Lam Yine)  คงต้องทบทวนกันใหม่ ซึ่งรวมถึงเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าจะเป็นเส้นทางเชื่อมสองฝั่งมหาสมุทร ซึ่งปัจจัยสำคัญก็จะต้องอาศัย Land Bridge ที่เป็น Gateway ส่วนเมาะลำไยผู้เขียนยังไม่มีโอกาสเยี่ยมชม ซึ่งสิงคโปร์มาลงทุนเป็นท่าเรือน้ำลึกเป็น Land Bridge ทางทะเลฝั่งตะวันตก แต่สำหรับท่าเรือดานัง ยังคงต้องพัฒนาอีกมากจึงจะเป็น Gateway เชื่อมต่อทะเลฝั่งตะวันออก ทั้งนี้ ท่าเรือดานังจะมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับท่าเรือโฮจิมินห์ ซึ่งอยู่ทางใต้ของเวียดนาม ซึ่งสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ 300,000 ตู้/ปี สำหรับท่าเรือ Danang Port ประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ 3 ท่า คือ Teinsa Seaport , Han River Port และ Lien Chieu Seaport สำหรับท่าเรือที่คณะฯไปดูไม่ทราบว่าเป็นท่าเรือ Teinsa หรือไม่ ซึ่งทางเวียดนามแจ้งว่าท่านี้ลึก 11 เมตร แหลมฉบัง 11-14 เมตร ซึ่งท่าดานังปีที่แล้วมีตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 150,000 ตู้ ขณะที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทย ประมาณ 2.9 ล้านตู้ ซึ่งตรงนี้ประเทศไทยน่าจะพิจารณาใหม่ว่าเส้นทางหมายเลข 9 จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยหรือจะส่งเสริมเศรษฐกิจของเวียดนาม เพราะจากการสัมภาษณ์ทางเวียดนาม จะมีความกระตือรือร้นมาก เพราะคงเห็นว่าประโยชน์ที่ได้คุ้มกว่า (Comparative Advantage)  

            หากเปรียบเทียบขนาดของท่าเรือดานังกับท่าเรือไซ่ง่อน ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตั้งอยู่ที่เมืองโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดอยู่ทางใต้ของประเทศ โดยเป็นแหล่งปลูกยางพารา โฮจิมินห์เป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ สวนยางก็เป็นหนึ่งในสามของประเทศในการส่งออก ประชากรของโฮจิมินห์รวมทั้งจังหวัดปริมณฑล ก็คงประมาณ 10 ล้านคน เหมือนกรุงเทพ ก็ถือว่าเป็นมหานครที่ใกล้กรุงเทพที่สุด เส้นทางเครื่องบินแค่ประมาณ ชั่วโมงกว่า  ความสำคัญของโฮจิมินห์ก็คือเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ มีแหล่งวัตถุดิบและมีพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส อุตสาหกรรมทุกประเภท  เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบเป็นอันดับหนึ่ง มีแก๊สธรรมชาติมหาศาลมากกว่าของไทย เวียดนามต้องส่งออกน้ำมันดิบเพราะไม่มีโรงกลั่น และนำเข้าเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในประมาณที่เท่ากัน ซึ่งเห็นได้ว่าดานังยังมีขนาดที่เล็กกว่า ทั้งด้านเศรษฐกิจและศักยภาพของท่าเรือ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการแข่งขัน การเดินทางศึกษาเส้นทางหมายเลข 9 ได้เริ่มต้นตั้งแต่จังหวัดมุกดาหารของไทย ผ่านแขวงสะหวันนะเขต จนมาถึงเมืองท่าดานัง เป็นระยะทางประมาณ 324 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา 3 วัน ข้อมูลในรายงานนี้ เป็นข้อมูลเบื้องต้นเขียนตามทัศนะของผู้เขียน รายละเอียดสำหรับผู้สนใจก็ต้องค้นคว้าและศึกษาในเชิงลึกต่อไป

 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 6685 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com