บทความพิเศษ..สายงานโลจิสติกส์

เศรษฐกิจโลกซึ่งเข้าสู่สภาวะถดถอย…มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร?? (3)

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15 ตุลาคม 2551

          พอล คุกแมนด์ นักเศรษฐศาสตร์การเงินซึ่งได้รับรางวัลโนเบล ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจการเงินของโลก จะประสบปัญหาขยายวงกว้างออกไปจนอย่างน้อยถึงกลางปีหน้า ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่สภาพคล่องทั้งจากรัฐบาลสหรัฐฯ 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากประเทศกลุ่ม G7 ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดมีสภาพคล่องรวมถึงให้มีระบบการประกันเงินฝากในสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของวิกฤติการเงินโลกได้ส่งผลต่อหลายสถาบันการเงินทั้งของในสหรัฐอเมริกา , อังกฤษ , ยุโรป , ญี่ปุ่น ต้องมีการล้มละลายและปิดตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว การที่จะเยียวยาสภาพคล่องและจะสร้างความเชื่อมั่นทั้งในตลาดทุน ตลาดหุ้น ให้กลับคืนมา คงเป็นเรื่องที่ยาก เศรษฐกิจโลกจึงมีโอกาสที่จะเข้าสู่สภาวะถดถอย ยังมีโอกาสเป็นไปได้สูง

          ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยพึ่งพิงอยู่กับการส่งออกถึงร้อยละ 67 ของ GDP ดังนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาวะของวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งแพร่ขยายส่งผลกระทบต่อเนื่องในลักษณะที่เป็น Domino Crunch Effect คงจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ผลของวิกฤติการเงินซึ่งเกิดขึ้นในปี 2540 ได้สร้างวินัยทางด้านการเงินเป็นภูมิคุ้มกันให้กับภาคเศรษฐกิจของไทย ทั้งภาคการเงินและภาคการผลิต ทำให้ที่ผ่านมานักธุรกิจไทยค่อนข้างมีความระมัดระวัง ทั้งในด้านการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ และหรือพันธบัตร หรืออนุพันธ์ตราสาร ผลกระทบโดยตรงจึงมีไม่ค่อยมากนัก อย่างไรก็ดี ผลกระทบของเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย น่าจะประกอบไปด้วย

1.   สัญญาณความเสี่ยงจากเศรษฐกิจของชาติที่พัฒนา กำลังเข้าสู่สภาวะถดถอย ย่อมส่งผลต่อการขยายตัวของกำลังซื้อ และกระทบต่อการส่งออก คาดว่าตัวเลขการส่งออกในปี 2551 อาจขยายได้ประมาณร้อยละ 18.9 มูลค่ากว่า 182,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2552 การส่งออกอาจขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 10-12 ซึ่งการชะลอตัวของผู้บริโภคในประเทศชั้นนำอาจส่งผลกระทบอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น สิ่งทอ อาหาร พลาสติก อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

2.   ผลกระทบด้านแรงงาน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมส่งออกมีสัดส่วนอยู่ใน GDP กว่าร้อยละ 67 มีแรงงานทั้งระบบประมาณ 5.9 ล้านคน และมีภาคบริการโลจิสติกส์ที่ต่อเนื่องอีกกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งไม่นับรวม SMEs ซึ่งคาดว่ามีแรงงานอยู่กว่า 2 ล้านคน  อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการว่างงานของประเทศไทยมากนัก แต่จะต้องมีการวางแผนในการรองรับแรงงานที่จะจบการศึกษาในปีหน้ากว่า 700,000 คน

3.   ลักษณะปัญหาของประเทศไทยจะเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ คือได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกและเป็นวิกฤติการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติการขาดความศรัทธาในกลไกของภาครัฐในการแก้ปัญหาความวุ่นวายและความไม่ปรองดองในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยซึ่งจะทำให้รัฐบาลขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ปัญหาการกระทบกระทั่งชายแดนไทย-กัมพูชาก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อความมั่งคงและเศรษฐกิจของประเทศไทย

4.   สภาพคล่องทางด้านการเงินของจะหดตัวลง เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายเงินออกนอกประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินควรจะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะอาจเกิดสภาวะเงินตึงในประเทศ ประเด็นที่จะต้องพิจารณาก็คือปัจจัยดอกเบี้ย ซึ่งประเทศไทยควรจะมีการลดดอกเบี้ย ตามประเทศที่พัฒนาซึ่งมีการปรับลดไปร้อยละ 0.5 ซึ่งในประเด็นนี้จะต้องมีการพิจารณาถึงผลกระทบทางบวกและทางลบ

5.   ทิศทางดอกเบี้ยอาจทรงตัวหรือเป็นขาลงเล็กน้อย การพิจารณาว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยมีความเหมาะสมเพียงใดนั้น อาจต้องมีการเทียบเคียงกับดอกเบี้ยชี้นำของประเทศต่างๆ เช่น ของยุโรป (ECB) อัตรา 3.75% ของอังกฤษ 4.5% ออสเตรเลีย 6.5% ฟิลิปปินส์ 6.1% อินโดนีเซีย 9.5% จีน 6.93% เกาหลี 5.25% จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยชี้นำของไทยร้อยละ 3.75 จึงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับดอกเบี้ยภูมิภาค หากดอกเบี้ยที่ลดต่ำมากจนเกินความพอดี ก็จะทำให้ต่างชาติสามารถเข้ามาระดมทุน (Baht Bond) และอาจทำให้ภายในประเทศเกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง

6.   แนวโน้มการบริโภคภายในประเทศอาจมีการหดตัว ผลกระทบที่เกิดจากวิกฤติทางการเงินของโลก ส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดหุ้นและภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบกว่าร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท รวมทั้ง อาจมีการลดกำลังการผลิตจากอุตสาหกรรมส่งออกและเหตุการเมืองภายในประเทศอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุน

7.   ราคาสินค้าเกษตร ซึ่งคาดว่าจะมีทิศทางชะลอตัวลง มีผลสืบเนื่องจากหลายประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม และพม่า สามารถมีการส่งออกข้าวได้ และพืชพลังงานบางรายการได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ลดลง ทำให้ความต้องการพืชทดแทนพลังงานมีจำนวนลดลง โดยตัวอย่างของราคาสินค้าเกษตรที่ราคาอาจชะลอตัว เช่น ข้าว ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรก การส่งออกได้ถึง 6.8 ล้านตันจากเป้าทั้งปีประมาณ 10.0 ล้านตัน แต่ความต้องการในตลาดโลกจะชะลอตัวอันมีผลจากราคาของไทยที่แข่งขันไม่ได้ สำหรับยางพาราราคาจะผันแปรไปตามราคาน้ำมัน โดยราคาช่วงกลางเดือนตุลาคม ราคายางรมควันอยู่ที่กิโลกรัมละ 57.11 บาทจากที่เคยขายได้ 90-100 บาท , แป้งมันสำปะหลัง ราคาหัวมันลดลง 7.91% จาก 1.50 บาท/กิโลกรัม เป็น 1.39 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ ข้าวโพดก็ราคาจะร่วงลงประมาณ 15%

 

 

แนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ 6 มาตรการของรัฐบาลไทย

          ในช่วงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ครม.ได้อนุมัติมาตรการในการเสริมสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ มีมูลค่ากว่า 1.22 ล้านบาท เป็นมาตรการแบบเบ็ดเสร็จในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกแผ่ขยาย ส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงและพึ่งพิงกับเศรษฐกิจและการเงินของโลก ซึ่งมาตรการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีความกังขา ว่าจะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของไทยได้หรือไม่ แต่ก็ถือว่าเป็นมารตรการที่ดี ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการผลักดันของสภาอุตสาหกรรมฯ ถึงแม้จะมีการวิจารณ์ว่ามาตรการดังกล่าวให้น้ำหนักไปทางตลาดหุ้นมากกว่าที่จะเข้าไปช่วยเหลือภาคการผลิต ซึ่งเป็น Real Sector อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลก็ยังมีส่วนดีอยู่มาก และออกมาในจังหวะซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศ ซึ่งได้ออกมาตรการในการหยุดยั้งไม่ให้วิกฤติครั้งนี้ลุกลามขยายวงนำไปสู่การถดถอยของเศรษฐกิจโลก

วิพากษ์ 6 มาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย

1.   มาตรการอัดฉีดตลาดทุน 142,000 ล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้นที่มีปัญหา รวมถึงการทำ Matching Finance และการขยายเงินลงทุนในกองทุนเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาว (LTF) เป็นมาตรการที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเข้าไปอุ้มเสริมสภาพคล่องของตลาดหุ้น แต่ไม่เข้าไปดูและภาคการผลิต ซึ่งโดยข้อเท็จจริงตลาดหุ้นไทยไปอิงอยู่กับหุ้นตลาดนิวยอร์ก และตลาดในต่างประเทศ ดังนั้น หุ้นจะขึ้นหรือลงจึงขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาของสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ G7 และความอ่อนไหวของตลอดหุ้นอยู่ที่ความเชื่อมั่นทั้งในระดับเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาการเมืองภายในประเทศ มาตรการนี้จึงเป็นเพียงแง่เชิงจิตวิทยา และคงจะต้องมีรายละเอียดและมีกระบวนการในการปฏิบัติมากกว่านี้

2.   มาตรการทางด้านสินเชื่อและเสริมสภาพคล่อง 400,000 ล้านบาท พร้อมทั้งให้ ธกส. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ขยายสินเชื่ออีก 50,000 ล้านบาท เป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ขยายวงเงินสินเชื่อ 5% เป็นมาตรการที่จะเสริมสภาพคล่องในระบบของสถาบันการเงิน แต่ประเด็นก็คือ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งของโลกและของประเทศไทยที่ยังมีปัญหาทางออกทางด้านการเมืองที่ยังตีบตันอยู่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งของไทยและ FDI คงจะรอเวลาไปถึงต้นปีหน้า ขณะที่สถาบันการเงินก็จะมีความเข้มงวดและมีกฎเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าปกติ ดังนั้น เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ภาคการผลิตที่แท้จริงคงไม่ใช่เรื่องง่าย

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุน 50,000 ล้านบาทให้กับ SMEs แต่ถ้ายังใช้ระบบการปล่อยเครดิตผ่านธนาคารซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการและดูหลักประกันเป็นสำคัญ ซึ่ง SMEs ส่วนใหญ่ ก็คงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ดังนั้น มาตรการนี้ ธปท. จะต้องมีการผ่อนผันเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน รวมถึงต้องทบทวนเกี่ยวกับขีดความสามารถเกี่ยวกับ SMEs Bank ในการที่จะเข้ามาเป็นกลไกหลักในการปล่อยสินเชื่อ

3.   มาตรการเร่งรัดการส่งออกงบประมาณ 300,000 ล้านบาทและส่งเสริมการท่องเที่ยวงบประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งในด้านท่องเที่ยวหากจะใช้งบประมาณนี้คงจะต้องเน้นการสร้างภาพลักษณ์ และกิจกรรมในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งหากภาพลักษณ์ของไทยในปัจจุบันติดอยู่กับปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ในช่วง 2-3 เดือนนี้ คงไม่ได้จังหวะที่เหมาะสมจนกว่าภาคการเมืองจะมีความชัดเจน ไม่เช่นนั้นงบประมาณที่ใช้ก็จะเสียเปล่า ทั้งนี้ การอัดฉีดสินเชื่อเพื่อการส่งออกในการขยายตลาดส่งออกใหม่ เช่น รัสเซีย , ออฟริกา , ละติน ถึงแม้เปอร์เซ็นต์ขยายตัวจะสูง แต่สัดส่วนในเชิงปริมาณก็ยังไม่มากพอที่จะรักษาการเติบโตของภาคการส่งออกไทยให้เหมือนในปี 2551 ซึ่งเห็นได้จากกระทรวงพาณิชย์ได้มีการลดเป้าการส่งออกในปี 2552 ซึ่งเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 โดยปรับเป้าใหม่เหลือเพียงร้อยละ 10

4.   มาตรการเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 180,000 ล้านบาท ผ่านช่องทางกองทุนหมู่บ้าน SML และ OTOP เป็นลักษณะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านลงไปในภาคประชาชนในชนบทโดยตรง ซึ่งก็เป็นปัจจัยที่ภาครัฐควรดำเนินการโดยเฉพาะโครงการที่ลงไปในระดับรากหญ้า แต่ภายใต้ความระมัดระวังของข้าราชการประจำซึ่งมองว่าเสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง การใช้จ่ายเงินคงไม่สามารถทำได้เร็วนัก

5.   เร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เป็นเมกะโปรเจกต์ โดยให้มีงบลงทุนเพิ่มอีก 100,000 ล้านบาท (เดิมมี 200,000 ล้านบาท เป็น 300,000 ล้านบาท) โดยเป็นโครงการขนส่งมวลชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งรัฐจะเร่งรัดให้มีการเปิดประมูล แต่ภายใต้ความไม่มั่นคงของรัฐบาล อาจทำให้หลายโครงการต้องชะลอตัวไปจนถึงรัฐบาลหน้า ซึ่งมองไกลไปถึงการเลือกตั้งในช่วง 2-3 เดือนเป็นอย่างช้า ฉะนั้น มาตรการนี้คงไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคให้ฟื้นตัวได้ในทันที

6.   การเข้าร่วมโครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก เป็นการผลักดันร่วมกันของรัฐบาลไทยร่วมกับประเทศในอาเซียน ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศต่างๆในภูมิภาค ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก โดย World Bank จะสมทบเงินงวดแรก 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมทั้งให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กลุ่มประเทศอาเซียน จีน และเกาหลีใต้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นให้กับประเทศในภูมิภาค โดยจะมีการประชุมในช่วงปลายเดือนตุลาคม ที่ปักกิ่ง ซึ่งมาตรการนี้เป็นแนวคิดของฟิลิปปินส์ คงจะต้องมีการตกลงและมีรายละเอียดที่มากกว่านี้จึงจะสามารถเป็นรูปธรรม

 

จากมาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลที่ออกมา ซึ่งหลายฝ่ายยังกังขาว่าเป็นการช่วยเหลือตลาดหุ้น ซึ่งไม่ใช่ Real Sector สำหรับมาตรการสภาพคล่อง ซึ่งให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อ หากเป็นลูกค้าชั้นดีทางธนาคารก็แข่งกันปล่อยอยู่แล้ว ประเด็นจึงอยู่ที่ธุรกิจ และ SMEs  (บางกลุ่ม) ซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับด้านหลักประกัน การอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องก็อาจไม่ขับเคลื่อนตามทิศทางที่รัฐบาลอยากจะให้เป็น อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจของไทยมากที่สุดในขณะนี้ จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศมากกว่าปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกและหรือปัญหาความตึงเครียดทางชายแดนไทย-กัมพูชา วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นลักษณะวิกฤติซ้อนวิกฤติ ซึ่งวิกฤติทางการเมืองก็ยิ่งทำให้ขาดความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและนักลงทุน รวมถึงผู้บริโภคในการชะลอการใช้จ่ายเงิน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของไทยผูกพันอยู่กับเศรษฐกิจโลก ซึ่งมาตรการทั้ง 6 ข้อดีนั้นก็มีมากแต่จะต้องมีกลไกในการเฝ้าระวังวิกฤติการเงินของโลกไม่ให้ลุกลามเข้าไปในระบบสถาบันการเงินของไทย โดยมีการควบคุมและป้องกันเงินทุนไหลกลับ พร้อมทั้งต้องมีมาตรการในทางปฏิบัติในการเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SME ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านของหลักประกันในการเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งภาครัฐควรมีมาตรการด้าน Soft Loan ในการเสริมสภาพคล่องรวมถึงการร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันทางธุรกิจให้ SME สามารถนำสินทรัพย์ เช่น สต๊อก ใบแจ้งหนี้ซึ่งยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา สามารถแปลงเป็นหลักประกัน รวมถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภค รัฐบาลควรใช้คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน (ก.ร.อ.) และคณะกรรมการกำกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ ให้มีส่วนในการขับเคลื่อนในการเร่งให้มีการเบิกใช้งบประมาณและให้มีเงินทุนไหลลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า รวมถึงการใช้งบประมาณในโครงการเมกกะโปรเจกต์ต่างๆ และการเข้าไปแก้ปัญหาของภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยก็จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของโลกไม่ให้กระทบต่อประเทศไทยมากนัก                 

**********

 

 

" />
       
 

เศรษฐกิจโลกซึ่งเข้าสู่สภาวะถดถอย…มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร?? (3) Share


บทความพิเศษ..สายงานโลจิสติกส์

เศรษฐกิจโลกซึ่งเข้าสู่สภาวะถดถอย…มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร?? (3)

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15 ตุลาคม 2551

          พอล คุกแมนด์ นักเศรษฐศาสตร์การเงินซึ่งได้รับรางวัลโนเบล ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจการเงินของโลก จะประสบปัญหาขยายวงกว้างออกไปจนอย่างน้อยถึงกลางปีหน้า ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่สภาพคล่องทั้งจากรัฐบาลสหรัฐฯ 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากประเทศกลุ่ม G7 ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดมีสภาพคล่องรวมถึงให้มีระบบการประกันเงินฝากในสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของวิกฤติการเงินโลกได้ส่งผลต่อหลายสถาบันการเงินทั้งของในสหรัฐอเมริกา , อังกฤษ , ยุโรป , ญี่ปุ่น ต้องมีการล้มละลายและปิดตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว การที่จะเยียวยาสภาพคล่องและจะสร้างความเชื่อมั่นทั้งในตลาดทุน ตลาดหุ้น ให้กลับคืนมา คงเป็นเรื่องที่ยาก เศรษฐกิจโลกจึงมีโอกาสที่จะเข้าสู่สภาวะถดถอย ยังมีโอกาสเป็นไปได้สูง

          ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยพึ่งพิงอยู่กับการส่งออกถึงร้อยละ 67 ของ GDP ดังนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาวะของวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งแพร่ขยายส่งผลกระทบต่อเนื่องในลักษณะที่เป็น Domino Crunch Effect คงจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ผลของวิกฤติการเงินซึ่งเกิดขึ้นในปี 2540 ได้สร้างวินัยทางด้านการเงินเป็นภูมิคุ้มกันให้กับภาคเศรษฐกิจของไทย ทั้งภาคการเงินและภาคการผลิต ทำให้ที่ผ่านมานักธุรกิจไทยค่อนข้างมีความระมัดระวัง ทั้งในด้านการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ และหรือพันธบัตร หรืออนุพันธ์ตราสาร ผลกระทบโดยตรงจึงมีไม่ค่อยมากนัก อย่างไรก็ดี ผลกระทบของเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย น่าจะประกอบไปด้วย

1.   สัญญาณความเสี่ยงจากเศรษฐกิจของชาติที่พัฒนา กำลังเข้าสู่สภาวะถดถอย ย่อมส่งผลต่อการขยายตัวของกำลังซื้อ และกระทบต่อการส่งออก คาดว่าตัวเลขการส่งออกในปี 2551 อาจขยายได้ประมาณร้อยละ 18.9 มูลค่ากว่า 182,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2552 การส่งออกอาจขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 10-12 ซึ่งการชะลอตัวของผู้บริโภคในประเทศชั้นนำอาจส่งผลกระทบอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น สิ่งทอ อาหาร พลาสติก อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

2.   ผลกระทบด้านแรงงาน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมส่งออกมีสัดส่วนอยู่ใน GDP กว่าร้อยละ 67 มีแรงงานทั้งระบบประมาณ 5.9 ล้านคน และมีภาคบริการโลจิสติกส์ที่ต่อเนื่องอีกกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งไม่นับรวม SMEs ซึ่งคาดว่ามีแรงงานอยู่กว่า 2 ล้านคน  อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการว่างงานของประเทศไทยมากนัก แต่จะต้องมีการวางแผนในการรองรับแรงงานที่จะจบการศึกษาในปีหน้ากว่า 700,000 คน

3.   ลักษณะปัญหาของประเทศไทยจะเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ คือได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกและเป็นวิกฤติการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติการขาดความศรัทธาในกลไกของภาครัฐในการแก้ปัญหาความวุ่นวายและความไม่ปรองดองในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยซึ่งจะทำให้รัฐบาลขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ปัญหาการกระทบกระทั่งชายแดนไทย-กัมพูชาก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อความมั่งคงและเศรษฐกิจของประเทศไทย

4.   สภาพคล่องทางด้านการเงินของจะหดตัวลง เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายเงินออกนอกประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินควรจะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะอาจเกิดสภาวะเงินตึงในประเทศ ประเด็นที่จะต้องพิจารณาก็คือปัจจัยดอกเบี้ย ซึ่งประเทศไทยควรจะมีการลดดอกเบี้ย ตามประเทศที่พัฒนาซึ่งมีการปรับลดไปร้อยละ 0.5 ซึ่งในประเด็นนี้จะต้องมีการพิจารณาถึงผลกระทบทางบวกและทางลบ

5.   ทิศทางดอกเบี้ยอาจทรงตัวหรือเป็นขาลงเล็กน้อย การพิจารณาว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยมีความเหมาะสมเพียงใดนั้น อาจต้องมีการเทียบเคียงกับดอกเบี้ยชี้นำของประเทศต่างๆ เช่น ของยุโรป (ECB) อัตรา 3.75% ของอังกฤษ 4.5% ออสเตรเลีย 6.5% ฟิลิปปินส์ 6.1% อินโดนีเซีย 9.5% จีน 6.93% เกาหลี 5.25% จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยชี้นำของไทยร้อยละ 3.75 จึงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับดอกเบี้ยภูมิภาค หากดอกเบี้ยที่ลดต่ำมากจนเกินความพอดี ก็จะทำให้ต่างชาติสามารถเข้ามาระดมทุน (Baht Bond) และอาจทำให้ภายในประเทศเกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง

6.   แนวโน้มการบริโภคภายในประเทศอาจมีการหดตัว ผลกระทบที่เกิดจากวิกฤติทางการเงินของโลก ส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดหุ้นและภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบกว่าร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท รวมทั้ง อาจมีการลดกำลังการผลิตจากอุตสาหกรรมส่งออกและเหตุการเมืองภายในประเทศอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุน

7.   ราคาสินค้าเกษตร ซึ่งคาดว่าจะมีทิศทางชะลอตัวลง มีผลสืบเนื่องจากหลายประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม และพม่า สามารถมีการส่งออกข้าวได้ และพืชพลังงานบางรายการได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ลดลง ทำให้ความต้องการพืชทดแทนพลังงานมีจำนวนลดลง โดยตัวอย่างของราคาสินค้าเกษตรที่ราคาอาจชะลอตัว เช่น ข้าว ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรก การส่งออกได้ถึง 6.8 ล้านตันจากเป้าทั้งปีประมาณ 10.0 ล้านตัน แต่ความต้องการในตลาดโลกจะชะลอตัวอันมีผลจากราคาของไทยที่แข่งขันไม่ได้ สำหรับยางพาราราคาจะผันแปรไปตามราคาน้ำมัน โดยราคาช่วงกลางเดือนตุลาคม ราคายางรมควันอยู่ที่กิโลกรัมละ 57.11 บาทจากที่เคยขายได้ 90-100 บาท , แป้งมันสำปะหลัง ราคาหัวมันลดลง 7.91% จาก 1.50 บาท/กิโลกรัม เป็น 1.39 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ ข้าวโพดก็ราคาจะร่วงลงประมาณ 15%

 

 

แนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ 6 มาตรการของรัฐบาลไทย

          ในช่วงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ครม.ได้อนุมัติมาตรการในการเสริมสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ มีมูลค่ากว่า 1.22 ล้านบาท เป็นมาตรการแบบเบ็ดเสร็จในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกแผ่ขยาย ส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงและพึ่งพิงกับเศรษฐกิจและการเงินของโลก ซึ่งมาตรการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีความกังขา ว่าจะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของไทยได้หรือไม่ แต่ก็ถือว่าเป็นมารตรการที่ดี ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการผลักดันของสภาอุตสาหกรรมฯ ถึงแม้จะมีการวิจารณ์ว่ามาตรการดังกล่าวให้น้ำหนักไปทางตลาดหุ้นมากกว่าที่จะเข้าไปช่วยเหลือภาคการผลิต ซึ่งเป็น Real Sector อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลก็ยังมีส่วนดีอยู่มาก และออกมาในจังหวะซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศ ซึ่งได้ออกมาตรการในการหยุดยั้งไม่ให้วิกฤติครั้งนี้ลุกลามขยายวงนำไปสู่การถดถอยของเศรษฐกิจโลก

วิพากษ์ 6 มาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย

1.   มาตรการอัดฉีดตลาดทุน 142,000 ล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้นที่มีปัญหา รวมถึงการทำ Matching Finance และการขยายเงินลงทุนในกองทุนเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาว (LTF) เป็นมาตรการที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเข้าไปอุ้มเสริมสภาพคล่องของตลาดหุ้น แต่ไม่เข้าไปดูและภาคการผลิต ซึ่งโดยข้อเท็จจริงตลาดหุ้นไทยไปอิงอยู่กับหุ้นตลาดนิวยอร์ก และตลาดในต่างประเทศ ดังนั้น หุ้นจะขึ้นหรือลงจึงขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาของสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ G7 และความอ่อนไหวของตลอดหุ้นอยู่ที่ความเชื่อมั่นทั้งในระดับเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาการเมืองภายในประเทศ มาตรการนี้จึงเป็นเพียงแง่เชิงจิตวิทยา และคงจะต้องมีรายละเอียดและมีกระบวนการในการปฏิบัติมากกว่านี้

2.   มาตรการทางด้านสินเชื่อและเสริมสภาพคล่อง 400,000 ล้านบาท พร้อมทั้งให้ ธกส. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ขยายสินเชื่ออีก 50,000 ล้านบาท เป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ขยายวงเงินสินเชื่อ 5% เป็นมาตรการที่จะเสริมสภาพคล่องในระบบของสถาบันการเงิน แต่ประเด็นก็คือ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งของโลกและของประเทศไทยที่ยังมีปัญหาทางออกทางด้านการเมืองที่ยังตีบตันอยู่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งของไทยและ FDI คงจะรอเวลาไปถึงต้นปีหน้า ขณะที่สถาบันการเงินก็จะมีความเข้มงวดและมีกฎเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าปกติ ดังนั้น เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ภาคการผลิตที่แท้จริงคงไม่ใช่เรื่องง่าย

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุน 50,000 ล้านบาทให้กับ SMEs แต่ถ้ายังใช้ระบบการปล่อยเครดิตผ่านธนาคารซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการและดูหลักประกันเป็นสำคัญ ซึ่ง SMEs ส่วนใหญ่ ก็คงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ดังนั้น มาตรการนี้ ธปท. จะต้องมีการผ่อนผันเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน รวมถึงต้องทบทวนเกี่ยวกับขีดความสามารถเกี่ยวกับ SMEs Bank ในการที่จะเข้ามาเป็นกลไกหลักในการปล่อยสินเชื่อ

3.   มาตรการเร่งรัดการส่งออกงบประมาณ 300,000 ล้านบาทและส่งเสริมการท่องเที่ยวงบประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งในด้านท่องเที่ยวหากจะใช้งบประมาณนี้คงจะต้องเน้นการสร้างภาพลักษณ์ และกิจกรรมในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งหากภาพลักษณ์ของไทยในปัจจุบันติดอยู่กับปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ในช่วง 2-3 เดือนนี้ คงไม่ได้จังหวะที่เหมาะสมจนกว่าภาคการเมืองจะมีความชัดเจน ไม่เช่นนั้นงบประมาณที่ใช้ก็จะเสียเปล่า ทั้งนี้ การอัดฉีดสินเชื่อเพื่อการส่งออกในการขยายตลาดส่งออกใหม่ เช่น รัสเซีย , ออฟริกา , ละติน ถึงแม้เปอร์เซ็นต์ขยายตัวจะสูง แต่สัดส่วนในเชิงปริมาณก็ยังไม่มากพอที่จะรักษาการเติบโตของภาคการส่งออกไทยให้เหมือนในปี 2551 ซึ่งเห็นได้จากกระทรวงพาณิชย์ได้มีการลดเป้าการส่งออกในปี 2552 ซึ่งเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 โดยปรับเป้าใหม่เหลือเพียงร้อยละ 10

4.   มาตรการเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 180,000 ล้านบาท ผ่านช่องทางกองทุนหมู่บ้าน SML และ OTOP เป็นลักษณะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านลงไปในภาคประชาชนในชนบทโดยตรง ซึ่งก็เป็นปัจจัยที่ภาครัฐควรดำเนินการโดยเฉพาะโครงการที่ลงไปในระดับรากหญ้า แต่ภายใต้ความระมัดระวังของข้าราชการประจำซึ่งมองว่าเสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง การใช้จ่ายเงินคงไม่สามารถทำได้เร็วนัก

5.   เร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เป็นเมกะโปรเจกต์ โดยให้มีงบลงทุนเพิ่มอีก 100,000 ล้านบาท (เดิมมี 200,000 ล้านบาท เป็น 300,000 ล้านบาท) โดยเป็นโครงการขนส่งมวลชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งรัฐจะเร่งรัดให้มีการเปิดประมูล แต่ภายใต้ความไม่มั่นคงของรัฐบาล อาจทำให้หลายโครงการต้องชะลอตัวไปจนถึงรัฐบาลหน้า ซึ่งมองไกลไปถึงการเลือกตั้งในช่วง 2-3 เดือนเป็นอย่างช้า ฉะนั้น มาตรการนี้คงไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคให้ฟื้นตัวได้ในทันที

6.   การเข้าร่วมโครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก เป็นการผลักดันร่วมกันของรัฐบาลไทยร่วมกับประเทศในอาเซียน ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศต่างๆในภูมิภาค ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก โดย World Bank จะสมทบเงินงวดแรก 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมทั้งให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กลุ่มประเทศอาเซียน จีน และเกาหลีใต้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นให้กับประเทศในภูมิภาค โดยจะมีการประชุมในช่วงปลายเดือนตุลาคม ที่ปักกิ่ง ซึ่งมาตรการนี้เป็นแนวคิดของฟิลิปปินส์ คงจะต้องมีการตกลงและมีรายละเอียดที่มากกว่านี้จึงจะสามารถเป็นรูปธรรม

 

จากมาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลที่ออกมา ซึ่งหลายฝ่ายยังกังขาว่าเป็นการช่วยเหลือตลาดหุ้น ซึ่งไม่ใช่ Real Sector สำหรับมาตรการสภาพคล่อง ซึ่งให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อ หากเป็นลูกค้าชั้นดีทางธนาคารก็แข่งกันปล่อยอยู่แล้ว ประเด็นจึงอยู่ที่ธุรกิจ และ SMEs  (บางกลุ่ม) ซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับด้านหลักประกัน การอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องก็อาจไม่ขับเคลื่อนตามทิศทางที่รัฐบาลอยากจะให้เป็น อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจของไทยมากที่สุดในขณะนี้ จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศมากกว่าปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกและหรือปัญหาความตึงเครียดทางชายแดนไทย-กัมพูชา วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นลักษณะวิกฤติซ้อนวิกฤติ ซึ่งวิกฤติทางการเมืองก็ยิ่งทำให้ขาดความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและนักลงทุน รวมถึงผู้บริโภคในการชะลอการใช้จ่ายเงิน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของไทยผูกพันอยู่กับเศรษฐกิจโลก ซึ่งมาตรการทั้ง 6 ข้อดีนั้นก็มีมากแต่จะต้องมีกลไกในการเฝ้าระวังวิกฤติการเงินของโลกไม่ให้ลุกลามเข้าไปในระบบสถาบันการเงินของไทย โดยมีการควบคุมและป้องกันเงินทุนไหลกลับ พร้อมทั้งต้องมีมาตรการในทางปฏิบัติในการเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SME ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านของหลักประกันในการเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งภาครัฐควรมีมาตรการด้าน Soft Loan ในการเสริมสภาพคล่องรวมถึงการร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันทางธุรกิจให้ SME สามารถนำสินทรัพย์ เช่น สต๊อก ใบแจ้งหนี้ซึ่งยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา สามารถแปลงเป็นหลักประกัน รวมถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภค รัฐบาลควรใช้คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน (ก.ร.อ.) และคณะกรรมการกำกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ ให้มีส่วนในการขับเคลื่อนในการเร่งให้มีการเบิกใช้งบประมาณและให้มีเงินทุนไหลลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า รวมถึงการใช้งบประมาณในโครงการเมกกะโปรเจกต์ต่างๆ และการเข้าไปแก้ปัญหาของภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยก็จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของโลกไม่ให้กระทบต่อประเทศไทยมากนัก                 

**********

 

 


ไฟล์ประกอบ : 183_เศรษฐกิจโลกซึ่งเข้าสู่สภาวะถดถอย-v3.pdf
อ่าน : 12651 ครั้ง
วันที่ : 21/10/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com