รายงานพิเศษ..สายงานโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา (1)

โดย ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23 กันยายน 2551

          เป็นที่ทราบกันดีว่าวิกฤติด้านการเงินหรือซัพไพร์มที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดจากเงินเฟ้อฟองสบู่จากสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า Asset Price Inflation ซึ่งโดยข้อเท็จจริงได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว วิกฤตินี้เกิดจากการปล่อยสินเชื่อคุณภาพต่ำ (Sub-Prime Credit) ในรูปแบบของตราสารอนุพันธ์ทั้งที่เป็นแบบ Derivative และ Securitilization เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์มีราคาต่ำกว่าเงินที่ธนาคารปล่อยกู้ ทำให้ลูกหนี้ของธนาคารไม่มีการชำระหนี้ ส่งผลให้เกิด NPL และสภาพคล่องของสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐฯอย่างรุนแรง เกิดเป็นวิกฤติที่เรียกว่า Sub- Prime ซึ่งทำให้ระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา มีการสั่นคลอนและขาดความเชื่อมั่นทำให้ธนาคารและวาณิชธนกิจหลายแห่ง ขาดสภาพคล่อง เช่น สถาบันการเงินแบร์เสตินส์ (Bear Stearns) ถึงขั้นต้องล้มละลาย โดย FED หรือธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินกว่า 29,000 ล้านเหรียญ ผ่านทางสถาบันการเงินเจพี    มอร์แกน (JP Morgan Chase Bank) ซึ่งเข้าไปเทคโอเวอร์ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของซัพไพร์มได้ก่อให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงในสถาบันการเงิน มีประชาชนแห่ไปถอนเงินจำนวนมาก ทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินมีการตึงตัวอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า Credit Crunch จนกระทั่งในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ได้ส่งผลกระทบต่อหลายสถาบันการเงิน เช่น การที่ FED ใช้เงิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าไปเทคโอเว่อร์สถาบันสินเชื่อเคหะรายใหญ่ 2 รายของสหรัฐฯ คือ แฟนนี เม และ      เฟรดดี้ แม็ค และล่าสุดสถาบันการเงินเลแมนบราเดอร์ (Lehman brother) ซึ่งมีหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต้องล้มละลาย ส่วนบริษัทเลแมนเอเชีย ก็ได้ถูกบริษัท โนบูระ โฮลดิ้ง ของญี่ปุ่นซื้อกิจการ นอกจากนี้ บริษัทเมอร์ริลรินซ์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจขนาดยักษ์ก็ประสบกับปัญหาสภาพคล่องจน Bank of America (BOA) ต้องเข้าไปเทคโอเวอร์

นอกจากนี้ สถาบันการเงินและประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของโลก คือ AIG (American International Group) ก็ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน 80 เปอร์เซนต์ เพื่อเสริมสภาพคล่องใช้เงินกว่า 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ วิกฤติทางด้านการเงินของสหรัฐอเมริกายังส่งผลให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาหลายแห่งต้องมีการควบกิจการ เช่น ธนาคารมอร์แกนสแตนเลย์ (Morgan Stanley) และโกลด์แมนแซคส์ (Goldman Sack) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งเดิมถึงขั้นจะต้องขายกิจการแต่สามารถตกลงกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการเปลี่ยนสถานภาพเป็นธนาคารเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ธนาคารมิวชวออิงค์ ซึ่งคล้ายธนาคารออมสินของอเมริกา ก็กำลังจะขายกิจการให้กับ Citigroup และกลุ่มธนาคาร HSBC Group วิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบกลายเป็นวิกฤติการเงินของโลก นักวิชาการในสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญเทียบได้กับมหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก หรือ “The Great Depression” ซึ่งเกิดในสหรัฐเมื่อปี 1929-1932 ซึ่งลุกลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ตลาดการเงินของอเมริกาเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการออกอนุพันธ์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ Collateralized Debt Obligations หรือ CDO ซึ่งเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ ด้านอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจนักลงทุน ทำให้ธนาคารในหลายประเทศเข้าไปลงทุน เมื่อเกิดซัพไพร์มฟองสบู่แตกทำให้สถาบันการเงินที่ออกตราสารหนี้เป็นอันต้องขาดทุนหรือล้มละลาย จึงส่งผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ (Domino Crunch) ไปสู่ระบบธนาคารต่างชาติที่เข้าไปลงทุน เช่น ธนาคาร HBOS (Halifax Bank of Scotland) ก็อยู่ในระหว่างการเจรจาควบกับธนาคาร Loyd TSB ของอังกฤษ โดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ได้เร่งอัดฉีดระบบการเงินเสริมสภาพคล่อง เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติการเงินในประเทศของตน เห็นได้จากธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้ใส่เงินเข้าไปเสริมสภาพคล่อง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และ Bank of Japan (ธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งมีการค้าและระบบการเงินผูกติดกับสหรัฐฯมากที่สุด) อัดฉีดเงินกว่า 1.5 ล้านเยน หรือ 4.76 แสนล้านบาท เข้าสู่ระบบการเงิน สำหรับธนาคารกลางรัสเซียก็ได้อัดฉีดเงินกว่า 44,900 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เข้าสู่ระบบธนาคารเช่นกัน

          กรณีของประเทศไทย ผลกระทบทางตรงที่เกิดจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯคงจะไม่รุนแรง เนื่องจากระบบธนาคารของไทยค่อนข้างมีวินัยในการลงทุน อาจมีบางธนาคารซึ่งเข้าไปซื้อตราสารหนี้และหรืออนุพันธ์ของสหรัฐฯบ้างแต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อย เช่น ธนาคารกรุงเทพ ซื้อหุ้นกู้ของเลแมนบราเดอร์ จำนวน 3.5 พันล้านบาท ส่วนธนาคารที่ไปลงทุนในตราสารประเภท CDO ของสหรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 85 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ และธนาคารกรุงไทย 160 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ สำหรับธนาคารที่มีการปล่อยกู้ให้กับบริษัทลูกของบริษัทเลแมนบราเดอร์ในประเทศไทย เช่น ธนาคารกสิกรไทย 330 ล้านบาท ,TISCO 1,300 ล้านบาท , ธนาคารนครหลวงไทย 1,000 ล้านบาท

ผลกระทบที่อาจจะมีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจประกอบด้วยปัจจัยดังนี้

1.   วิกฤติการเงินของสหรัฐฯ จะก่อให้เกิดเงินทุนไหลออกไปจำนวนมาก เพราะเกิดการตึงตัวในระบบการเงินของโลก ทำให้ธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยมีการปิดความเสี่ยงสภาพคล่อง (Liquidate) ด้วยการดึงเงินกลับประเทศเพื่อนำเงินไปลงทุนหรือหาแหล่งในการลงทุนหรือฝากเงินในที่มีความปลอดภัยกว่า ที่เรียกว่า “Save Haven” และหรือเปลี่ยนพอร์ทการลงทุน ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศอาจมีแนวโน้มสูงขึ้น

2.   การโยกย้ายเงินลงทุนในตลาดหุ้นของไทยจะมีสูง จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนพอร์ตเสริมสภาพคล่องในประเทศ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบไปอย่างน้อยปลายปี 2552

3.   ระบบธนาคารของไทยจะมีผลกระทบไม่มาก เพราะมีการลงทุนในตราสารหนี้ไม่สูง โดยทั้งระบบมีประมาณ 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มาก ผลกระทบต่อวิกฤติการเงินของสหรัฐจึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากนัก แต่ปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านการเมืองน่าจะทำให้ในอนาคตอันสั้น จะทำให้ไทยถูกลดลำดับชั้นความน่าเชื่อถือทางด้านการเงิน ซึ่งจะทำให้เกิดต้นทุนความเสี่ยงในการกู้เงินต่างชาติสูง (Risk Premium)

4.   ตลาดการเงินของโลกจะเข้าสู่สภาวะเงินตึง ทำให้เกิด Global Credit Crunch คือการปล่อยสินเชื่อของภาคการเงิน จะมีการตึงตัวและนักลงทุนจะมีความระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ซุ่มเสี่ยงในการทำธุรกรรมด้านการเงิน (Moral Hazard) ส่งผลกระทบต่อการระดมเงินทุนทั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยและของภาคเอกชนในการที่จะไม่สามารถออกพันธบัตรและตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ไปขายในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้การระดมทุนของไทยเพื่อเสริมสภาพคล่องในอนาคตจะมีความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะการระดมทุนในเมกกะโปรเจกต์ของรัฐบาลอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

5.   สภาวะเศรษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบทางตรงจากการที่ตลาดส่งออกหดตัว โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งยังถือว่าเป็นตลาดรายประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือมีตัวเลขส่งออกประมาณ 21,770 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะมีการขยายตัวได้ 7% โดยการส่งออกน่าจะมีการชลอตัวในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และต่อเนื่องไปอย่างน้อยครึ่งปีแรกของปี 2552 แต่อย่างไรก็ดีในปีนี้ภาพรวมการส่งออกยังน่าจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 22-25

6.   ค่าเงินบาทอาจมีความผันผวน ซึ่งอาจเกิดจากเงินทุนไหลออกและการขาดดุลการค้าและเงินดุลสะพัด ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงอาจมีผลต่อเงินบาทที่อาจจะมีการอ่อนตัวลงในอนาคต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเงินบาทของไทยค่อนข้างมีทิศทางไปในทางแข็งค่า โดยอัตราแลกเปลี่ยนเดือนกันยายน อยู่ที่ประมาณ 33.7-34.1 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์ แต่จากสภาวะการขาดดุลอาจจะส่งผลกระทบต่อการอ่อนค่าของเงินบาทในระยะต่อไป จำเป็นที่ ธปท. ควรจะมุ่งให้น้ำหนักสำคัญต่อเสถียรภาพด้านการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีความซับซ้อน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจของโลก ซึ่งค่อนข้างควบคุมได้ยาก

7.   วิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นวิกฤติการเงินของโลก ซึ่งวิกฤติทางการเงินมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศอุตสาหกรรม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น , อังกฤษ ซึ่งอาจมีผลต่อการลดอำนาจการซื้อ ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศไทยผูกติดกับการส่งออกถึงร้อยละ 67 ของ GDP รวมถึงส่งผลต่อการชะลอการลงทุนเนื่องจากปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินของโลกจะเป็นตัวบั่นทอนการลงทุนและการท่องเที่ยวในปีหน้า

8.   ประเทศไทยอาจเข้าสู่ระบบการขาดสภาพคล่องและเงินตึงตัว จะส่งผลให้ธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนได้ยากขึ้น ถึงแม้ว่าระบบธนาคารไทยจะยังคงมีสภาพคล่อง แต่การที่กระแสเงินอาจมีการไหลออก รัฐบาลและ ธปท. ควรจะมีมาตรการรักษาสภาพคล่อง ซึ่งรัฐบาลจำเป็นจะต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณ และมีมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ รวมถึงการเร่งรัดการลงทุนในเมกกะโปรเจกต์ เพื่อให้ทดแทนการส่งออกที่จะมีการชะลอตัวลงในปีหน้า รวมถึงราคาสินค้าเกษตรซึ่งราคามีแนวโน้มที่จะลดลง

วิกฤติทางการเงินของโลกซึ่งลุกลามมาจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพที่เรียกว่า ซัพไพร์ม ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ผลลัพธ์ของการล้มของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเห็นว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Snow Ball Effect  ซึ่งจะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังทั่วโลก ที่มีระบบเศรษฐกิจและการเงินผูกติดกับระบบการเงินของสหรัฐฯและวิกฤตินี้คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปีในการเยียวยา โดยล่าสุดสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติงบประมาณ 700,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ซื้อหนี้เสียทั้งระบบ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงอาจต้องใช้เงินมากกว่า 1.8 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในการจะแก้วิกฤติด้านการเงินครั้งนี้ สำหรับประเทศไทยผลกระทบทางตรงคงมีไม่มากนักและปัญหาการตึงตัว (Global Credit Crunch) ของระบบเงินโลกก็ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ,ภาคการลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึง ราคาน้ำมันซึ่งในช่วงต้นเดือนกันยายน ราคาน้ำมันโลกมีการปรับลดไปถึง 38% แต่ในช่วงปลายเดือนกันยายน ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น 10-13% แต่ภายใต้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและขาดปัจจัยอุปสงค์ที่จะสนับสนุน รวมทั้ง ระดับราคาน้ำมันก็ไปผูกติดกับวิกฤติการเงินของโลก คาดว่าราคาน้ำมันก็ไม่น่าจะมีทิศทางในขาขึ้นมากนัก ดังนั้น ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งผูกติดกับระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่ง “วิกฤติทางการเงินของโลก” จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายความสามารถของรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะเข้าบริหารประเทศในเร็วๆนี้ โดยจำเป็นจะต้องหามืออาชีพที่เข้าใจความโยงใยที่ซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจ-การเงินของโลก โดยเฉพาะการประสานเป็นทีมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกับทีมของธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องมีการประสานงานในทิศทางที่เป็นเอกภาพในการป้องกันไม่ให้วิกฤติการเงินโลก มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องมีการติดตามสถานะของวิกฤติการเงินครั้งนี้อย่างใกล้ชิด...

 

 

 

" />
       
 

วิเคราะห์เศรษฐกิจ3ภาค ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา (1) Share


รายงานพิเศษ..สายงานโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา (1)

โดย ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23 กันยายน 2551

          เป็นที่ทราบกันดีว่าวิกฤติด้านการเงินหรือซัพไพร์มที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดจากเงินเฟ้อฟองสบู่จากสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า Asset Price Inflation ซึ่งโดยข้อเท็จจริงได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว วิกฤตินี้เกิดจากการปล่อยสินเชื่อคุณภาพต่ำ (Sub-Prime Credit) ในรูปแบบของตราสารอนุพันธ์ทั้งที่เป็นแบบ Derivative และ Securitilization เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์มีราคาต่ำกว่าเงินที่ธนาคารปล่อยกู้ ทำให้ลูกหนี้ของธนาคารไม่มีการชำระหนี้ ส่งผลให้เกิด NPL และสภาพคล่องของสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐฯอย่างรุนแรง เกิดเป็นวิกฤติที่เรียกว่า Sub- Prime ซึ่งทำให้ระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา มีการสั่นคลอนและขาดความเชื่อมั่นทำให้ธนาคารและวาณิชธนกิจหลายแห่ง ขาดสภาพคล่อง เช่น สถาบันการเงินแบร์เสตินส์ (Bear Stearns) ถึงขั้นต้องล้มละลาย โดย FED หรือธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินกว่า 29,000 ล้านเหรียญ ผ่านทางสถาบันการเงินเจพี    มอร์แกน (JP Morgan Chase Bank) ซึ่งเข้าไปเทคโอเวอร์ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของซัพไพร์มได้ก่อให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงในสถาบันการเงิน มีประชาชนแห่ไปถอนเงินจำนวนมาก ทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินมีการตึงตัวอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า Credit Crunch จนกระทั่งในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ได้ส่งผลกระทบต่อหลายสถาบันการเงิน เช่น การที่ FED ใช้เงิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าไปเทคโอเว่อร์สถาบันสินเชื่อเคหะรายใหญ่ 2 รายของสหรัฐฯ คือ แฟนนี เม และ      เฟรดดี้ แม็ค และล่าสุดสถาบันการเงินเลแมนบราเดอร์ (Lehman brother) ซึ่งมีหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต้องล้มละลาย ส่วนบริษัทเลแมนเอเชีย ก็ได้ถูกบริษัท โนบูระ โฮลดิ้ง ของญี่ปุ่นซื้อกิจการ นอกจากนี้ บริษัทเมอร์ริลรินซ์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจขนาดยักษ์ก็ประสบกับปัญหาสภาพคล่องจน Bank of America (BOA) ต้องเข้าไปเทคโอเวอร์

นอกจากนี้ สถาบันการเงินและประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของโลก คือ AIG (American International Group) ก็ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน 80 เปอร์เซนต์ เพื่อเสริมสภาพคล่องใช้เงินกว่า 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ วิกฤติทางด้านการเงินของสหรัฐอเมริกายังส่งผลให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาหลายแห่งต้องมีการควบกิจการ เช่น ธนาคารมอร์แกนสแตนเลย์ (Morgan Stanley) และโกลด์แมนแซคส์ (Goldman Sack) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งเดิมถึงขั้นจะต้องขายกิจการแต่สามารถตกลงกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการเปลี่ยนสถานภาพเป็นธนาคารเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ธนาคารมิวชวออิงค์ ซึ่งคล้ายธนาคารออมสินของอเมริกา ก็กำลังจะขายกิจการให้กับ Citigroup และกลุ่มธนาคาร HSBC Group วิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบกลายเป็นวิกฤติการเงินของโลก นักวิชาการในสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญเทียบได้กับมหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก หรือ “The Great Depression” ซึ่งเกิดในสหรัฐเมื่อปี 1929-1932 ซึ่งลุกลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ตลาดการเงินของอเมริกาเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการออกอนุพันธ์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ Collateralized Debt Obligations หรือ CDO ซึ่งเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ ด้านอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจนักลงทุน ทำให้ธนาคารในหลายประเทศเข้าไปลงทุน เมื่อเกิดซัพไพร์มฟองสบู่แตกทำให้สถาบันการเงินที่ออกตราสารหนี้เป็นอันต้องขาดทุนหรือล้มละลาย จึงส่งผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ (Domino Crunch) ไปสู่ระบบธนาคารต่างชาติที่เข้าไปลงทุน เช่น ธนาคาร HBOS (Halifax Bank of Scotland) ก็อยู่ในระหว่างการเจรจาควบกับธนาคาร Loyd TSB ของอังกฤษ โดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ได้เร่งอัดฉีดระบบการเงินเสริมสภาพคล่อง เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติการเงินในประเทศของตน เห็นได้จากธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้ใส่เงินเข้าไปเสริมสภาพคล่อง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และ Bank of Japan (ธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งมีการค้าและระบบการเงินผูกติดกับสหรัฐฯมากที่สุด) อัดฉีดเงินกว่า 1.5 ล้านเยน หรือ 4.76 แสนล้านบาท เข้าสู่ระบบการเงิน สำหรับธนาคารกลางรัสเซียก็ได้อัดฉีดเงินกว่า 44,900 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เข้าสู่ระบบธนาคารเช่นกัน

          กรณีของประเทศไทย ผลกระทบทางตรงที่เกิดจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯคงจะไม่รุนแรง เนื่องจากระบบธนาคารของไทยค่อนข้างมีวินัยในการลงทุน อาจมีบางธนาคารซึ่งเข้าไปซื้อตราสารหนี้และหรืออนุพันธ์ของสหรัฐฯบ้างแต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อย เช่น ธนาคารกรุงเทพ ซื้อหุ้นกู้ของเลแมนบราเดอร์ จำนวน 3.5 พันล้านบาท ส่วนธนาคารที่ไปลงทุนในตราสารประเภท CDO ของสหรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 85 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ และธนาคารกรุงไทย 160 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ สำหรับธนาคารที่มีการปล่อยกู้ให้กับบริษัทลูกของบริษัทเลแมนบราเดอร์ในประเทศไทย เช่น ธนาคารกสิกรไทย 330 ล้านบาท ,TISCO 1,300 ล้านบาท , ธนาคารนครหลวงไทย 1,000 ล้านบาท

ผลกระทบที่อาจจะมีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจประกอบด้วยปัจจัยดังนี้

1.   วิกฤติการเงินของสหรัฐฯ จะก่อให้เกิดเงินทุนไหลออกไปจำนวนมาก เพราะเกิดการตึงตัวในระบบการเงินของโลก ทำให้ธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยมีการปิดความเสี่ยงสภาพคล่อง (Liquidate) ด้วยการดึงเงินกลับประเทศเพื่อนำเงินไปลงทุนหรือหาแหล่งในการลงทุนหรือฝากเงินในที่มีความปลอดภัยกว่า ที่เรียกว่า “Save Haven” และหรือเปลี่ยนพอร์ทการลงทุน ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศอาจมีแนวโน้มสูงขึ้น

2.   การโยกย้ายเงินลงทุนในตลาดหุ้นของไทยจะมีสูง จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนพอร์ตเสริมสภาพคล่องในประเทศ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบไปอย่างน้อยปลายปี 2552

3.   ระบบธนาคารของไทยจะมีผลกระทบไม่มาก เพราะมีการลงทุนในตราสารหนี้ไม่สูง โดยทั้งระบบมีประมาณ 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มาก ผลกระทบต่อวิกฤติการเงินของสหรัฐจึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากนัก แต่ปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านการเมืองน่าจะทำให้ในอนาคตอันสั้น จะทำให้ไทยถูกลดลำดับชั้นความน่าเชื่อถือทางด้านการเงิน ซึ่งจะทำให้เกิดต้นทุนความเสี่ยงในการกู้เงินต่างชาติสูง (Risk Premium)

4.   ตลาดการเงินของโลกจะเข้าสู่สภาวะเงินตึง ทำให้เกิด Global Credit Crunch คือการปล่อยสินเชื่อของภาคการเงิน จะมีการตึงตัวและนักลงทุนจะมีความระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ซุ่มเสี่ยงในการทำธุรกรรมด้านการเงิน (Moral Hazard) ส่งผลกระทบต่อการระดมเงินทุนทั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยและของภาคเอกชนในการที่จะไม่สามารถออกพันธบัตรและตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ไปขายในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้การระดมทุนของไทยเพื่อเสริมสภาพคล่องในอนาคตจะมีความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะการระดมทุนในเมกกะโปรเจกต์ของรัฐบาลอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

5.   สภาวะเศรษฐกิจไทยอาจได้รับผลกระทบทางตรงจากการที่ตลาดส่งออกหดตัว โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งยังถือว่าเป็นตลาดรายประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือมีตัวเลขส่งออกประมาณ 21,770 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะมีการขยายตัวได้ 7% โดยการส่งออกน่าจะมีการชลอตัวในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และต่อเนื่องไปอย่างน้อยครึ่งปีแรกของปี 2552 แต่อย่างไรก็ดีในปีนี้ภาพรวมการส่งออกยังน่าจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 22-25

6.   ค่าเงินบาทอาจมีความผันผวน ซึ่งอาจเกิดจากเงินทุนไหลออกและการขาดดุลการค้าและเงินดุลสะพัด ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงอาจมีผลต่อเงินบาทที่อาจจะมีการอ่อนตัวลงในอนาคต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเงินบาทของไทยค่อนข้างมีทิศทางไปในทางแข็งค่า โดยอัตราแลกเปลี่ยนเดือนกันยายน อยู่ที่ประมาณ 33.7-34.1 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์ แต่จากสภาวะการขาดดุลอาจจะส่งผลกระทบต่อการอ่อนค่าของเงินบาทในระยะต่อไป จำเป็นที่ ธปท. ควรจะมุ่งให้น้ำหนักสำคัญต่อเสถียรภาพด้านการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีความซับซ้อน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจของโลก ซึ่งค่อนข้างควบคุมได้ยาก

7.   วิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นวิกฤติการเงินของโลก ซึ่งวิกฤติทางการเงินมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศอุตสาหกรรม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น , อังกฤษ ซึ่งอาจมีผลต่อการลดอำนาจการซื้อ ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศไทยผูกติดกับการส่งออกถึงร้อยละ 67 ของ GDP รวมถึงส่งผลต่อการชะลอการลงทุนเนื่องจากปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินของโลกจะเป็นตัวบั่นทอนการลงทุนและการท่องเที่ยวในปีหน้า

8.   ประเทศไทยอาจเข้าสู่ระบบการขาดสภาพคล่องและเงินตึงตัว จะส่งผลให้ธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนได้ยากขึ้น ถึงแม้ว่าระบบธนาคารไทยจะยังคงมีสภาพคล่อง แต่การที่กระแสเงินอาจมีการไหลออก รัฐบาลและ ธปท. ควรจะมีมาตรการรักษาสภาพคล่อง ซึ่งรัฐบาลจำเป็นจะต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณ และมีมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ รวมถึงการเร่งรัดการลงทุนในเมกกะโปรเจกต์ เพื่อให้ทดแทนการส่งออกที่จะมีการชะลอตัวลงในปีหน้า รวมถึงราคาสินค้าเกษตรซึ่งราคามีแนวโน้มที่จะลดลง

วิกฤติทางการเงินของโลกซึ่งลุกลามมาจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพที่เรียกว่า ซัพไพร์ม ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ผลลัพธ์ของการล้มของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเห็นว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Snow Ball Effect  ซึ่งจะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังทั่วโลก ที่มีระบบเศรษฐกิจและการเงินผูกติดกับระบบการเงินของสหรัฐฯและวิกฤตินี้คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปีในการเยียวยา โดยล่าสุดสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติงบประมาณ 700,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ซื้อหนี้เสียทั้งระบบ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงอาจต้องใช้เงินมากกว่า 1.8 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในการจะแก้วิกฤติด้านการเงินครั้งนี้ สำหรับประเทศไทยผลกระทบทางตรงคงมีไม่มากนักและปัญหาการตึงตัว (Global Credit Crunch) ของระบบเงินโลกก็ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ,ภาคการลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึง ราคาน้ำมันซึ่งในช่วงต้นเดือนกันยายน ราคาน้ำมันโลกมีการปรับลดไปถึง 38% แต่ในช่วงปลายเดือนกันยายน ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้น 10-13% แต่ภายใต้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและขาดปัจจัยอุปสงค์ที่จะสนับสนุน รวมทั้ง ระดับราคาน้ำมันก็ไปผูกติดกับวิกฤติการเงินของโลก คาดว่าราคาน้ำมันก็ไม่น่าจะมีทิศทางในขาขึ้นมากนัก ดังนั้น ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งผูกติดกับระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่ง “วิกฤติทางการเงินของโลก” จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายความสามารถของรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะเข้าบริหารประเทศในเร็วๆนี้ โดยจำเป็นจะต้องหามืออาชีพที่เข้าใจความโยงใยที่ซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจ-การเงินของโลก โดยเฉพาะการประสานเป็นทีมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกับทีมของธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องมีการประสานงานในทิศทางที่เป็นเอกภาพในการป้องกันไม่ให้วิกฤติการเงินโลก มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องมีการติดตามสถานะของวิกฤติการเงินครั้งนี้อย่างใกล้ชิด...

 

 

 


ไฟล์ประกอบ : 181_รายงานพิเศษ-v1.pdf
อ่าน : 4219 ครั้ง
วันที่ : 21/10/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com