WHAT IS THE LOGISTICS ?

           LOGISTICS MANAGEMENT ความหมายในแบบที่เป็นองค์รวมหรือบูรณาการ (Integration) หมายถึง กระบวนการในการจัดการให้วัตถุดิบ (Raw Material) สินค้า (Goods) และบริการ (Service) เคลื่อนย้ายจากต้นทางไปยังผู้บริโภคปลายทางได้อย่างทันเวลา (Just In Time) และมีประสิทธิภาพ โดย Logistics จะมีความหมายซึ่งเน้นไปในกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes Movement) การขนส่งสินค้า (Cargoes Carriage) การเก็บรักษาสินค้า (Storage) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) ส่วน Supply Chain จะมีความที่ครอบคลุมกระบวนการ Logistics และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ (Procurement) และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของ

 Market Demand Management (การจัดการ อุปสงค์ทางการตลาด) เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics
1) ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Just in Time Delivery)
2) การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
3) การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
4) การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในกระบวนการทางการตลาดและการผลิต
5) ลดต้นทุน (Cost Reduction)ในส่วนที่เกี่ยวกับ Cargoes Handling และ Carriage Cost


          ในการจัดการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้าภายในกระบวนการของ Logistics เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมกิจกรรมตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ (Suppliers Sources)ไปจนถึงมือผู้บริโภค (Customers sources) หรืออาจกล่าวได้ว่า Logistics เริ่มต้นที่ลูกค้าและสิ้นสุดที่ลูกค้า ซึ่งจะคล้ายกับกระบวนการทางการตลาด เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาด มีความซับซ้อน การจัดการในกระบวนการ Movement และ Carriageของสินค้าและข่าวสาร จึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันจึงทำให้ Logistics ได้เข้าไปมีบทบาทในฐานะ Function ที่สำคัญของกระบวนการทางการตลาด (สมัยใหม่) โดยสิ้นเชิง   โดย Logistics ที่ดีจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการกิจกรรมสำคัญที่เรียกว่า RIMS
          อาจกล่าวได้ว่า Logistics จะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องมีการจัดการกิจกรรม RIMS ภายใต้ Plat Form ของ Information Technology โดยกิจกรรมของ RIMS ต่างดำเนินกิจกรรมตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของตน ( Service on Individual Specialize) กระบวนการต่างๆ ข้างต้น ที่ประกอบเป็นโครงข่าย Logistics & Supply Chain นั้น มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ความพยายามที่จะลดต้นทุนหรือบทบาทของระบบงานใดงานหนึ่งหรือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอย่างไม่เป็นบูรณาการ (Integration) มักจะทำให้กระทบในส่วนอื่น เช่น การลดต้นทุนการจัดซื้อด้วยการจัดซื้อทีละมากๆ จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บวัสดุคงคลังสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจัดการ Logistics & Supply Chain จำเป็นต้องพิจารณาของภาพรวมทั้งระบบ ที่เรียกว่า Integrated Logistics Management

กิจกรรมที่สำคัญของการจัดการ Logistics หรือที่เรียกว่า “RIMS”
1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics ซึ่งอาจได้แก่


ก. การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management : (CRM)    Logistics จะต้องมี       ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าโดยตรง (Direct Customers) และลูกค้าทางอ้อม (Indirect Customers) คือลูกค้าของลูกค้า


ข. การจัดการในเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Suppliers Value) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ Logistics เช่น การจัดหาสินค้า , การเก็บสินค้า (Storage) ฯลฯ


ค. การจัดการเกี่ยวกับการผลิต (Manufacturing Management)


ง. การจัดการเกี่ยวกับการกระจายสินค้า (Distribution Management) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ Packaging คือ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Desire


จ. ผู้ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการขนส่ง และจะรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ Cargoes Clearing ซึ่งรวมถึงพิธีการศุลกากร ,      กิจกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ


ฉ. ผู้ให้บริการเครือข่าย Information  Technology Network เช่น ผู้ให้บริการ Web Site เพื่อธุรกิจ


ช. ผู้ให้บริการในการจัดซื้อ-จัดหา และหรือ ผู้ให้บริการ Vender Management ในรูปแบบต่างๆ


2. การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) เนื่องจาก Logistics นั้น ได้ครอบคลุมถึงกระบวนการตลาด ดังนั้นการจัดการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร จึงมีความสำคัญต่อ Logistics ซึ่งจะตั้งอยู่บน Platform ของ Information Technology โดยจะมีกิจกรรม ดังนี้
ก. การจัดการเกี่ยวกับข้อมูล จะต้องมีความแม่นยำ (Accuracy) ในฐานะที่จะนำไปใช้ใน Supply & Sale Forcasting และการกระจายสินค้าแบบ Just in Time


ข. การจัดการเครือข่าย (Network Management) ในฐานะที่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพจะต้องอยู่บนเครือข่าย Platform ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการจัดการในการเลือกสรรระบบ IT ที่มีความสอดคล้องกับองค์กร


3. การจัดการวัตถุดิบและสินค้า (Material Management) เนื่องจาก Logistics จะเกี่ยวกับส่วนที่เป็นกายภาพ (Physical Part) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การ Desire รูปแบบผลิตภัณฑ์ วิธีการออกแบบ Packaging ของสินค้า , วิธีการที่จะเก็บรักษา และทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการผลิตต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง


4. การจัดการกิจกรรมผู้ให้บริการ Logistics Provider หรือ Carriage Provider เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคัดสรร เลือกสรร และการใช้ผู้ให้บริการ Logistics ซึ่งหมายถึง ธุรกิจผู้ให้บริการในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Logistics เช่น ผู้ให้บริการคลังสินค้า , ผู้ให้บริการขนส่งต่างๆ ทั้งการขนส่งทางบก , ทางน้ำ และทางอากาศ หรือทางท่อ , ผู้ให้บริการ Packing สินค้า ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการเข้าสู่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพได้จะต้องเข้าใจถึงวิธีการจัดการ ผู้ให้บริการภายนอกหรือเรียกว่า Out sources subcontractors ซึ่งจะต้องมีเทคนิคและการจัดการ ผู้ให้บริการ Logistics Provider จาก Subcontractors ให้กลายเป็น Business Partners และใช้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน (New Competition Paradigm )
 การจัดการ “RIMS” ทั้ง 4 ปัจจัยนั้น การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) จึงเป็นงานที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งจะต้องศึกษาถึง CRM หรือ Customers Relationship Management ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การจัดการ “RIMS” ก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก ในบางทฤษฎี อาจจะเรียกว่า 5 FIRMS คือเพิ่มปัจจัย Found คือรายได้หรือทุน ซึ่งใช้ในการดำเนินการใน Logistics & Supply แต่ผู้เขียนเห็นว่า Found ควรจัดอยู่ใน Finance Factor ซึ่งมีรายละเอียดมาก โดยบทความนี้มุ่งทำความเข้าใจกับผู้ศึกษาในฐานะเป็นตำราพื้นฐานของ Supply Chain เท่านั้น จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็น Cost Centers คือ เป็นการใช้ระบบที่เรียกว่าต้นทุนรวมศูนย์ อาจกล่าวได้ว่ากระแสที่เกิดจากการตลาดยุคใหม่ที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ (Market Globalization) ซึ่งเป็นตลาดในยุคโลกไร้พรมแดน โดยมีกลไกการค้า World Trade Organization หรือ WTO , WCO (องค์กรศุลกากรโลก) หรือ Incoterms ซึ่งล้วนแต่มีส่วนกำหนดและผลักดันบทบาท ให้ Logistics กลายเป็นกลไกการค้าโลก โดยประโยชน์ที่สำคัญของ Logistics นอกเหนือจาก Just In Time Delivery แล้ว ยังเป็นการ Value Chain ให้กับทุกกิจกรรมใน Supply Chain และเป็นการเพิ่มการผลิตและบริการ (Productivity) เป็นการลดต้นทุนรวม ทำให้มีส่วนต่างของกำไร (Gain) สูงขึ้นและสามารถสนองตอบในการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction) ทำให้ระบบการจัดการตลาดเป็น Total Integrated Marketing นำไปสู่ World Class Business และ Global Niche คือ การวางตำแหน่งธุรกิจในระดับโลก สำหรับฉบับหน้า จะเป็นเรื่องราวของ Supply Chain Management.

 

" />
       
 

โลจิสติกส์...กลไกที่สำคัญของการค้าโลก Share


WHAT IS THE LOGISTICS ?

           LOGISTICS MANAGEMENT ความหมายในแบบที่เป็นองค์รวมหรือบูรณาการ (Integration) หมายถึง กระบวนการในการจัดการให้วัตถุดิบ (Raw Material) สินค้า (Goods) และบริการ (Service) เคลื่อนย้ายจากต้นทางไปยังผู้บริโภคปลายทางได้อย่างทันเวลา (Just In Time) และมีประสิทธิภาพ โดย Logistics จะมีความหมายซึ่งเน้นไปในกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes Movement) การขนส่งสินค้า (Cargoes Carriage) การเก็บรักษาสินค้า (Storage) และการกระจายสินค้า (Cargoes Distribution) ส่วน Supply Chain จะมีความที่ครอบคลุมกระบวนการ Logistics และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ (Procurement) และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของ

 Market Demand Management (การจัดการ อุปสงค์ทางการตลาด) เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics
1) ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Just in Time Delivery)
2) การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
3) การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
4) การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในกระบวนการทางการตลาดและการผลิต
5) ลดต้นทุน (Cost Reduction)ในส่วนที่เกี่ยวกับ Cargoes Handling และ Carriage Cost


          ในการจัดการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้าภายในกระบวนการของ Logistics เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมกิจกรรมตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ (Suppliers Sources)ไปจนถึงมือผู้บริโภค (Customers sources) หรืออาจกล่าวได้ว่า Logistics เริ่มต้นที่ลูกค้าและสิ้นสุดที่ลูกค้า ซึ่งจะคล้ายกับกระบวนการทางการตลาด เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาด มีความซับซ้อน การจัดการในกระบวนการ Movement และ Carriageของสินค้าและข่าวสาร จึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันจึงทำให้ Logistics ได้เข้าไปมีบทบาทในฐานะ Function ที่สำคัญของกระบวนการทางการตลาด (สมัยใหม่) โดยสิ้นเชิง   โดย Logistics ที่ดีจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการกิจกรรมสำคัญที่เรียกว่า RIMS
          อาจกล่าวได้ว่า Logistics จะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องมีการจัดการกิจกรรม RIMS ภายใต้ Plat Form ของ Information Technology โดยกิจกรรมของ RIMS ต่างดำเนินกิจกรรมตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของตน ( Service on Individual Specialize) กระบวนการต่างๆ ข้างต้น ที่ประกอบเป็นโครงข่าย Logistics & Supply Chain นั้น มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ความพยายามที่จะลดต้นทุนหรือบทบาทของระบบงานใดงานหนึ่งหรือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอย่างไม่เป็นบูรณาการ (Integration) มักจะทำให้กระทบในส่วนอื่น เช่น การลดต้นทุนการจัดซื้อด้วยการจัดซื้อทีละมากๆ จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บวัสดุคงคลังสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจัดการ Logistics & Supply Chain จำเป็นต้องพิจารณาของภาพรวมทั้งระบบ ที่เรียกว่า Integrated Logistics Management

กิจกรรมที่สำคัญของการจัดการ Logistics หรือที่เรียกว่า “RIMS”
1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics ซึ่งอาจได้แก่


ก. การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management : (CRM)    Logistics จะต้องมี       ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าโดยตรง (Direct Customers) และลูกค้าทางอ้อม (Indirect Customers) คือลูกค้าของลูกค้า


ข. การจัดการในเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Suppliers Value) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ Logistics เช่น การจัดหาสินค้า , การเก็บสินค้า (Storage) ฯลฯ


ค. การจัดการเกี่ยวกับการผลิต (Manufacturing Management)


ง. การจัดการเกี่ยวกับการกระจายสินค้า (Distribution Management) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ Packaging คือ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Desire


จ. ผู้ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการขนส่ง และจะรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ Cargoes Clearing ซึ่งรวมถึงพิธีการศุลกากร ,      กิจกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ


ฉ. ผู้ให้บริการเครือข่าย Information  Technology Network เช่น ผู้ให้บริการ Web Site เพื่อธุรกิจ


ช. ผู้ให้บริการในการจัดซื้อ-จัดหา และหรือ ผู้ให้บริการ Vender Management ในรูปแบบต่างๆ


2. การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) เนื่องจาก Logistics นั้น ได้ครอบคลุมถึงกระบวนการตลาด ดังนั้นการจัดการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร จึงมีความสำคัญต่อ Logistics ซึ่งจะตั้งอยู่บน Platform ของ Information Technology โดยจะมีกิจกรรม ดังนี้
ก. การจัดการเกี่ยวกับข้อมูล จะต้องมีความแม่นยำ (Accuracy) ในฐานะที่จะนำไปใช้ใน Supply & Sale Forcasting และการกระจายสินค้าแบบ Just in Time


ข. การจัดการเครือข่าย (Network Management) ในฐานะที่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพจะต้องอยู่บนเครือข่าย Platform ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการจัดการในการเลือกสรรระบบ IT ที่มีความสอดคล้องกับองค์กร


3. การจัดการวัตถุดิบและสินค้า (Material Management) เนื่องจาก Logistics จะเกี่ยวกับส่วนที่เป็นกายภาพ (Physical Part) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การ Desire รูปแบบผลิตภัณฑ์ วิธีการออกแบบ Packaging ของสินค้า , วิธีการที่จะเก็บรักษา และทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการผลิตต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง


4. การจัดการกิจกรรมผู้ให้บริการ Logistics Provider หรือ Carriage Provider เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคัดสรร เลือกสรร และการใช้ผู้ให้บริการ Logistics ซึ่งหมายถึง ธุรกิจผู้ให้บริการในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Logistics เช่น ผู้ให้บริการคลังสินค้า , ผู้ให้บริการขนส่งต่างๆ ทั้งการขนส่งทางบก , ทางน้ำ และทางอากาศ หรือทางท่อ , ผู้ให้บริการ Packing สินค้า ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการเข้าสู่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพได้จะต้องเข้าใจถึงวิธีการจัดการ ผู้ให้บริการภายนอกหรือเรียกว่า Out sources subcontractors ซึ่งจะต้องมีเทคนิคและการจัดการ ผู้ให้บริการ Logistics Provider จาก Subcontractors ให้กลายเป็น Business Partners และใช้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน (New Competition Paradigm )
 การจัดการ “RIMS” ทั้ง 4 ปัจจัยนั้น การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) จึงเป็นงานที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งจะต้องศึกษาถึง CRM หรือ Customers Relationship Management ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การจัดการ “RIMS” ก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก ในบางทฤษฎี อาจจะเรียกว่า 5 FIRMS คือเพิ่มปัจจัย Found คือรายได้หรือทุน ซึ่งใช้ในการดำเนินการใน Logistics & Supply แต่ผู้เขียนเห็นว่า Found ควรจัดอยู่ใน Finance Factor ซึ่งมีรายละเอียดมาก โดยบทความนี้มุ่งทำความเข้าใจกับผู้ศึกษาในฐานะเป็นตำราพื้นฐานของ Supply Chain เท่านั้น จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็น Cost Centers คือ เป็นการใช้ระบบที่เรียกว่าต้นทุนรวมศูนย์ อาจกล่าวได้ว่ากระแสที่เกิดจากการตลาดยุคใหม่ที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ (Market Globalization) ซึ่งเป็นตลาดในยุคโลกไร้พรมแดน โดยมีกลไกการค้า World Trade Organization หรือ WTO , WCO (องค์กรศุลกากรโลก) หรือ Incoterms ซึ่งล้วนแต่มีส่วนกำหนดและผลักดันบทบาท ให้ Logistics กลายเป็นกลไกการค้าโลก โดยประโยชน์ที่สำคัญของ Logistics นอกเหนือจาก Just In Time Delivery แล้ว ยังเป็นการ Value Chain ให้กับทุกกิจกรรมใน Supply Chain และเป็นการเพิ่มการผลิตและบริการ (Productivity) เป็นการลดต้นทุนรวม ทำให้มีส่วนต่างของกำไร (Gain) สูงขึ้นและสามารถสนองตอบในการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction) ทำให้ระบบการจัดการตลาดเป็น Total Integrated Marketing นำไปสู่ World Class Business และ Global Niche คือ การวางตำแหน่งธุรกิจในระดับโลก สำหรับฉบับหน้า จะเป็นเรื่องราวของ Supply Chain Management.

 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 12066 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com