วิเคราะห์เศรษฐกิจประจำเดือนตุลาคม 2550

โดยธนิต โสรัตน์

รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

26 ตุลาคม 2550

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในช่วงเดือนที่ผ่านมา ถูกกลบด้วยกระแสการเตรียมตัวของพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งที่แยกและรวมพรรค กระแสความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชน จึงให้น้ำหนักต่อการเลือกตั้ง เนื่องจากระยะเวลารัฐบาลชุดปัจจุบัน คงเหลือระยะเวลาไม่มากในการที่จะผลักดันเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการและประชาชนจึงฝากความหวังไว้กับรัฐบาล ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในช่วงเดือนมกราคม 2551 โดยสถานการณ์ส่งออกในเดือนตุลาคม คงจะขยายตัวอยู่ในระดับ 11 – 12% โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่เกิน 15% ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 8.5 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีการจำหน่ายในประเทศ จะมีลักษณะชะลอตัวลง โดยคาดว่าการบริโภครวมทั้งปี คงจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 – 2.0 และการลงทุนรวมภาคเอกชนที่เป็นเม็ดเงินจริง คงจะขยายตัวไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยตัวเลขของบริษัทที่มาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในรอบ 9 เดือนของปีนี้ จำนวน 995 โครงการ คิดเป็นมูลค่าตัวเลขการขยายตัวร้อยละ 23.1 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น , ยุโรป , อเมริกา และประเทศในอาเซียน ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีว่าในปีหน้าจะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศ โดยเฉพาะโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และโครงการที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2551

เงินบาทของไทยที่ผ่านมาค่อนข้างจะแข็งค่าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ

            โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.12 – 34.15 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ เหตุผลสำคัญที่ระยะนี้ค่าเงินบาทค่อนข้างนิ่งเนื่องจาก ธปท. ใช้มาตรการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน โดยเงินบาทแข็งค่าจากต้นปีประมาณร้อยละ 12 ซึ่งหากเทียบกับเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเพียง 3% อย่างไรก็ตาม ระบบการเงินโลกมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพและความไม่แน่นอน โดยธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าปัญหาที่เกิดจากสินเชื่อซัพไพร์มในสหรัฐฯ ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเห็นได้จากแบงค์ ออฟ อเมริกา ประกาศปลดพนักงานกว่า 3,000 คน และเมอร์ริล ลินซ์ แอนด์ โค ธนาคารชั้นนำของสหรัฐฯ ประกาศผลขาดทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์ของธนาคารที่ 2,240 ล้านดอลล่าร์ สูงกว่าที่คาดการณ์ถึง 6 เท่า โดยผลกระทบยังส่งผลไปถึงธนาคารในประเทศต่างๆ เช่น สถาบันการเงินโนมูระ โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ผ่านมา สูงถึง 10,500 ล้านเยน โดยธนาคารของประเทศอังกฤษ ต้องเพิ่มเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์เสี่ยงไว้สูงถึง 348,000 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งคาดว่าปัญหาของซัพไพร์มคงต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึง 2 ปี และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท

ปัจจัยลบซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจจากไตรมาส 4 ไปจนถึงต้นปี 2551

แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกจะเข้าไปสู่สภาวะการชะลอที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในปีหน้าการส่งออกน่าจะขยายตัวที่ชะลอตัวลงกว่าในปีนี้มาก ดังนั้น ปัจจัยเกี่ยวกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกแล้วมากระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นตัวแปรต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจากการส่งออกคงจะเป็นข้อตกลง JTEPA ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน 1 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งทำให้สินค้าของไทยหลายรายการมีส่วนลดภาษี  ส่วนปัจจัยลบจากนี้ไปคงจะต้องดูเรื่องของราคาน้ำมัน ซึ่งมีทิศทางที่จะมีราคาสูงขึ้น โดยมีทิศทางของราคาน้ำมันในสิ้นปี โดยราคาน้ำมันของตลาดนิวยอร์ค ส่งมอบเดือนธันวาคม ขึ้นไปแตะ 90 ดอลล่าร์ต่อบาเรล ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงินและกองทุน Hedge Fund ซึ่งเข้าไปแสวงหากำไร โดยในประเทศไทยได้มีการปรับราคาปลีกน้ำมันในประเทศไปแล้วตั้งวันที่ 23 ตุลาคม 2550 สำหรับสภาพคล่องทางด้านการเงินเริ่มมีสภาวะตื่นตัว เนื่องจากการดูดซับเงินในระบบกว่าแสนล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เริ่มตรึงตัว เห็นได้จากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มมีการแข่งขันในการออกตั๋วเงิน B/E รวมทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ การแข่งขันเพื่อระดมเงินฝากจะไปสร้างแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์มีการขยายตัวทางด้านสินเชื่อที่ต่ำมาก หากทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นบวกกับสภาพคล่องของธนาคารที่ลดลง ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ซึ่งธุรกิจยังต้องพึ่งพาเงินกู้จากธนาคาร ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยลบต่อการขยายเศรษฐกิจในปีหน้า

ปัจจัยเสี่ยงซึ่งมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2551

          ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่าในปี 2551 จะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ตาม จากการประเมินของ สศช. และ ธปท. ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2550 จะเติบโต 4.0%-4.5% (ไตรมาสแรกโต 4.2% , ไตรมาสที่ 2 โต 4.4%) และในปี 2551 เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 4.5% – 6.0%

ประเด็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องนำมาวิเคราะห์ถึงอนาคตเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย

1.      สถานการณ์การเมืองที่สั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล

2.      ความวิตกกังวลต่อสถานะการเมือง

3.      การหดตัวของสภาพคล่องของธุรกิจ

4.      การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

5.      ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท   

          ทั้งหมดนี้ จะเป็นปัจจัยต่อการชะลอตัวและการผันผวนต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 3 เดือนหลังของปีจนไปถึงปีหน้า โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นทางการเมืองและนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่ต่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นปัญหาที่ท้าทายเพื่อรอรับการแก้ไขจากรัฐบาลที่จะมาจากภายหลังการเลือกตั้งในปี 2551..

 

 

***************

" />
       
 

วิเคราะห์เศรษฐกิจประจำเดือนตุลาคม 2550 ฉบับย่อ Share


วิเคราะห์เศรษฐกิจประจำเดือนตุลาคม 2550

โดยธนิต โสรัตน์

รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

26 ตุลาคม 2550

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในช่วงเดือนที่ผ่านมา ถูกกลบด้วยกระแสการเตรียมตัวของพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งที่แยกและรวมพรรค กระแสความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชน จึงให้น้ำหนักต่อการเลือกตั้ง เนื่องจากระยะเวลารัฐบาลชุดปัจจุบัน คงเหลือระยะเวลาไม่มากในการที่จะผลักดันเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการและประชาชนจึงฝากความหวังไว้กับรัฐบาล ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในช่วงเดือนมกราคม 2551 โดยสถานการณ์ส่งออกในเดือนตุลาคม คงจะขยายตัวอยู่ในระดับ 11 – 12% โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่เกิน 15% ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 8.5 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีการจำหน่ายในประเทศ จะมีลักษณะชะลอตัวลง โดยคาดว่าการบริโภครวมทั้งปี คงจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7 – 2.0 และการลงทุนรวมภาคเอกชนที่เป็นเม็ดเงินจริง คงจะขยายตัวไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยตัวเลขของบริษัทที่มาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในรอบ 9 เดือนของปีนี้ จำนวน 995 โครงการ คิดเป็นมูลค่าตัวเลขการขยายตัวร้อยละ 23.1 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น , ยุโรป , อเมริกา และประเทศในอาเซียน ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีว่าในปีหน้าจะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศ โดยเฉพาะโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และโครงการที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2551

เงินบาทของไทยที่ผ่านมาค่อนข้างจะแข็งค่าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ

            โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 34.12 – 34.15 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ เหตุผลสำคัญที่ระยะนี้ค่าเงินบาทค่อนข้างนิ่งเนื่องจาก ธปท. ใช้มาตรการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน โดยเงินบาทแข็งค่าจากต้นปีประมาณร้อยละ 12 ซึ่งหากเทียบกับเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเพียง 3% อย่างไรก็ตาม ระบบการเงินโลกมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพและความไม่แน่นอน โดยธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าปัญหาที่เกิดจากสินเชื่อซัพไพร์มในสหรัฐฯ ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเห็นได้จากแบงค์ ออฟ อเมริกา ประกาศปลดพนักงานกว่า 3,000 คน และเมอร์ริล ลินซ์ แอนด์ โค ธนาคารชั้นนำของสหรัฐฯ ประกาศผลขาดทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์ของธนาคารที่ 2,240 ล้านดอลล่าร์ สูงกว่าที่คาดการณ์ถึง 6 เท่า โดยผลกระทบยังส่งผลไปถึงธนาคารในประเทศต่างๆ เช่น สถาบันการเงินโนมูระ โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ผ่านมา สูงถึง 10,500 ล้านเยน โดยธนาคารของประเทศอังกฤษ ต้องเพิ่มเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์เสี่ยงไว้สูงถึง 348,000 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งคาดว่าปัญหาของซัพไพร์มคงต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึง 2 ปี และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท

ปัจจัยลบซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจจากไตรมาส 4 ไปจนถึงต้นปี 2551

แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกจะเข้าไปสู่สภาวะการชะลอที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในปีหน้าการส่งออกน่าจะขยายตัวที่ชะลอตัวลงกว่าในปีนี้มาก ดังนั้น ปัจจัยเกี่ยวกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกแล้วมากระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นตัวแปรต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจากการส่งออกคงจะเป็นข้อตกลง JTEPA ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน 1 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งทำให้สินค้าของไทยหลายรายการมีส่วนลดภาษี  ส่วนปัจจัยลบจากนี้ไปคงจะต้องดูเรื่องของราคาน้ำมัน ซึ่งมีทิศทางที่จะมีราคาสูงขึ้น โดยมีทิศทางของราคาน้ำมันในสิ้นปี โดยราคาน้ำมันของตลาดนิวยอร์ค ส่งมอบเดือนธันวาคม ขึ้นไปแตะ 90 ดอลล่าร์ต่อบาเรล ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงินและกองทุน Hedge Fund ซึ่งเข้าไปแสวงหากำไร โดยในประเทศไทยได้มีการปรับราคาปลีกน้ำมันในประเทศไปแล้วตั้งวันที่ 23 ตุลาคม 2550 สำหรับสภาพคล่องทางด้านการเงินเริ่มมีสภาวะตื่นตัว เนื่องจากการดูดซับเงินในระบบกว่าแสนล้านบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เริ่มตรึงตัว เห็นได้จากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มมีการแข่งขันในการออกตั๋วเงิน B/E รวมทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ การแข่งขันเพื่อระดมเงินฝากจะไปสร้างแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์มีการขยายตัวทางด้านสินเชื่อที่ต่ำมาก หากทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นบวกกับสภาพคล่องของธนาคารที่ลดลง ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ ซึ่งธุรกิจยังต้องพึ่งพาเงินกู้จากธนาคาร ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยลบต่อการขยายเศรษฐกิจในปีหน้า

ปัจจัยเสี่ยงซึ่งมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2551

          ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่าในปี 2551 จะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ตาม จากการประเมินของ สศช. และ ธปท. ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2550 จะเติบโต 4.0%-4.5% (ไตรมาสแรกโต 4.2% , ไตรมาสที่ 2 โต 4.4%) และในปี 2551 เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 4.5% – 6.0%

ประเด็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องนำมาวิเคราะห์ถึงอนาคตเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย

1.      สถานการณ์การเมืองที่สั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล

2.      ความวิตกกังวลต่อสถานะการเมือง

3.      การหดตัวของสภาพคล่องของธุรกิจ

4.      การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

5.      ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท   

          ทั้งหมดนี้ จะเป็นปัจจัยต่อการชะลอตัวและการผันผวนต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 3 เดือนหลังของปีจนไปถึงปีหน้า โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นทางการเมืองและนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่ต่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นปัญหาที่ท้าทายเพื่อรอรับการแก้ไขจากรัฐบาลที่จะมาจากภายหลังการเลือกตั้งในปี 2551..

 

 

***************


ไฟล์ประกอบ : 22_วิเคราะห์เศรษฐกิจประจำเดือนตุลาคม 2550-ย่อ.pdf
อ่าน : 2281 ครั้ง
วันที่ : 07/11/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com