โลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และกระจายสินค้า โดยกิจกรรมหลักของการจัดการโลจิสติกส์ (Core Logistics Activity) จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อให้เกิดกระบวนการที่ไหลลื่นของสินค้า – บริการ และข้อมูลข่าวสารตั้งแต่ผู้จัดส่งสินค้าต้นทาง (Origin Source) จนถึงผู้รับที่เป็น End User หรือที่เรียกว่า ลูกค้าปลายน้ำ จะเห็นได้ว่ากิจกรรมของโลจิสติกส์จะปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งคู่ค้าที่เป็น Supplier ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi-Finished Goods) ซึ่งจะมีการส่งต่อและส่งมอบจนกระทั่งวัตถุดิบหรือสินค้ามาถึงองค์กร หากองค์กรเป็นเพียงผู้ผลิตกลางน้ำ และมีการแปรรูป , ผลิต , ประกอบ , บรรจุ จนเป็นสินค้า และได้มีการนำส่งไปสู่ลูกค้าที่เป็น Customer ซึ่งหากลูกค้าขององค์กร ไม่ได้เป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย สินค้าที่ส่งมอบนี้ก็จะกลายเป็นเพียงสินค้ากลางน้ำ ซึ่งจะต้องมีการผลิตและส่งมอบไปสู่ลูกค้าของลูกค้าจนกว่าสินค้านั้นจะได้มีการส่งมอบไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายที่เป็น End Customer จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า กระบวนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวเฉพาะในองค์กร แต่จะต้องมีกระบวนการต่อเนื่อง ปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกทั้งที่เป็นลูกค้าและคู่ค้า ดังนั้น ในการที่จะประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์จึงจะต้องมีการนำระบบโซ่อุปทานนำมาใช้ในการจัดการความสัมพันธ์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของคู่ค้าและลูกค้า เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการลดต้นทุนโดยการใช้เครือข่ายภายในโซ่อุปทานนำมาเพื่อการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลัง (Inventory Cost ) และต้นทุนที่เกี่ยวกับการขนส่ง (Transport Cost) กานำระบบโซ่อุปทานโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ (Best Practice) มาใช้ในองค์กรและตลอดโซ่อุปทานยังจะเป็นการสร้างให้เกิด Value Chain ก่อให้เกิดความร่วมมือของทุกองค์กรซึ่งอยู่ในโซ่อุปทาน (Chain Collaborate) ทำให้สินค้าซึ่งมีการส่งต่อในแต่ละช่วง เป็นไปตาม “Demand Needs” ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Right Time , Right Place , Right Quality , Right Quantity 5Rs Value

Food Processing Supply Chain Case Study

          กรณีศึกษาระบบโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอาหารจะทำให้เห็นภาพกว้างขององค์กรทั้งภายในกิจการและองค์กรภายนอก ซึ่งจะมีการปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบในโซ่อุปทานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์การประมง , อุตสาหกรรมพืชผัก ผลไม้ ทั้งในรูปแบบบรรจุภาชนะและหรือการแช่เย็น รวมถึงการแปรรูปอื่นๆ อุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนนำรายได้จากการส่งออกเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม หลายประเภทที่ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นๆของโลก เช่น ข้าว ผลไม้สดปลาบรรจุกระป๋อง สับปะรดบรรจุกระป๋อง ซึ่งอุตสาหกรรมไทยเป็นครัวของโลก อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรของไทยก็ยังมีความอ่อนแอ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังอยู่สภาวะที่ยากจน เหตุผลสำคัญก็ต้องมาดูที่ต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคการเกษตร ซึ่งสูงถึงร้อยละ 21-25 ของ GDP ขณะที่ต้นทุนโลจิสติกส์โดยเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 16-19 ของ GDP ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยก็ยังสูงกว่ามาก โดยความยากจนของเกษตรกรไทยซึ่งถือเป็นประชากรกว่าร้อยละ 61 ยังอยู่ในสภาวะที่ยากจนตัวเลขนี้จะมีความสัมพันธ์กับต้นทุนโลจิสติกส์และระดับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย ซึ่งจากการจัดอันดับของธนาคารโลก ประเทศไทย การพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยยังอยู่ระดับโลกที่สาม (Third World Logistics Level) ซึ่งก็สัมพันธ์ไปกับการจัดลำดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งไทยก็ยังอยู่ในลำดับที่ 32

          การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร จะต้องพัฒนาเป็นแบบบูรณาการตลอดทั้งโซ่อุปทาน โดยเริ่มต้นที่ต้นน้ำ ก็คือตัวเกษตรกร เริ่มตั้งแต่ให้มีการไหลลื่นและกระจายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร (Communication Flow) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเพาะปลูกให้สัมพันธ์กับฤดูกาลของความต้องการของผู้บริโภค (Demand Driven) เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูปของไทย ตลาดส่วนใหญ่จะอยู่ที่ต่ำ จึงจะต้องเข้าใจถึงช่วงเวลาที่สินค้าควรจะส่งมอบ การที่ผลผลิตการเกษตรออกมาพร้อมกันหรือออกในตลาดในช่วงที่ตลาดต้องการน้อย ย่อมส่งผลต่อราคา ประเด็นสำคัญก็เกิดจากภาคเกสรไม่ได้ใช้ประโยชน์ของข้อมูลข่าวสาร ว่าควรจะผลิตเมื่อใดและจะส่งมอบเมื่อใด ซึ่งจะส่งผลทั้งต่อราคาขายและต่อต้นทุนในการต้องเก็บสินค้าและต้นทุนที่เกิดจากน้ำหนักที่สูญเสียไป หรือความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากการเก็บในคลังสินค้าหรือไซโล ซึ่งทั้งหมดก็ถือเป็นต้นทุนทางด้าน Inventory Cot ซึ่งจัดเป็นต้นทุนประมาณร้อยละ 47 ของต้นทุนรวมโลจิสติกส์

          นอกจากนี้ การนำระบบโลจิสติกส์ไปใช้ในการลดต้นทนภาคการผลิตอาหารและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารจะต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการในการส่งมอบ ไม่ว่ากระบวนการผลิตจะมีระบบเกี่ยวกับคุณภาพที่ดีประการใดก็จะไร้ประสิทธิผล หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าเกษตรหรือวัตถุดิบต้นน้ำ ในช่วงของการขนส่ง ยิ่งการขนส่งระยะทางห่างไกลเท่าไรก็จะมีผลต่อคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น วัตถุดิบทางการประมง หรือผัก ผลไม้ ซึ่งจะต้องมีระบบตั้งแต่การบรรจุ (Packing) ซึ่งจะต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะของสินค้าบางประเภทที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิหรือ Paging ซึ่งออกแบบมาเพื่อการถนอมคุณภาพของวัตถุดิบหรือออกแบบมา ไม่ให้สินค้าเสียหายในระหว่างการส่งมอบ ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดบอดหรือเป็น Bottom Neck       ของการจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งการพัฒนาตรงนี้อยู่ในระดับกายภาพ (Physical Movement) ซึ่งการพัฒนาของไทยอยู่ในระดับการขนส่ง “โลจิสติกส์” เป็นกิจกรรมแยกส่วน ทำให้สินค้าส่วนหนึ่งเสียหายไปกับการขนส่งทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ เมื่อสินค้าไปถึงปลายทางก็ได้รับการกดราคา เนื่องจาก ผู้รับหรือลูกค้ากลางน้ำ ก็ต้องเผื่อความเสียหาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรของไทยไม่สามารถขายสินค้าได้ราคา ซึ่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตกลางน้ำ หรือปลายน้ำ (Down Stream Processing) จะมีปัญหาด้านการควบคุมคุณภาพและน้ำหนัก (Yield) ให้คงที่ โดยผักผลไม้ของไทยที่ส่งออกไปในต่างประเทศ มักอยู่ในตลาดระดับกลางหรือล่าง ไม่สามารถเข้าไปในตลาดบนเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะเห็นชัดเจนได้ว่า ผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ล เชอรี่ องุ่น ฯลฯ ที่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐฯ . ญี่ปุ่น หรือออสเตรเลีย จะมีคุณภาพทั้งในด้านความสดและความสวยงาม ซึ่งเกิดจากระบบโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพทั้งด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และระบบการขนส่ง ในสินค้าอาหารบรรจุกระป๋อง , พาชนะ ของไทยที่ส่งออกไปประเทศตะวันตก ก็มักมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ สารตกค้าง สินค้าหลายตัวเช่น กุ้งแช่แข็งไม่สามารถส่งออกได้ กรณีของไก่สดที่เป็นปัญหาไข้หวัดนก ก็เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการด้านโซ่อุปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพจนส่งผลต่อการที่ไม่สามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ การขาดประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่จะต้องมีการพัฒนาให้เชื่อมโยงทั้งเครือข่ายโซ่อุปทาน จะส่งผลต่อทั้งต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดจากสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) ซึ่งเกิดจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่เป็นลักษณะของฤดูกาล โดยเฉพาะหากไม่มีระบบข้อมูลข่าวสารที่เป็น Logistics Information Flow ก็จะทำให้ภาคการผลิตจะต้องนำระบบ EOQ : Economic Order Quantity ซึ่งจำเป็นจะต้องมี Buffer Stock จำนวนมาก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ไม่มีระบบการจัดการโลจิสติกส์ยังส่งผลต่อต้นทุนการขนส่ง โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ทั้งหมด ล้วนแต่เป็นปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่ยังไม่สามารถลงไปสู่ภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นต้นน้ำ ซึ่งหน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะให้ความสนใจและมีมาตรการ รวมถึง การมียุทธศาสตร์ที่เป็นวาระแห่งชาติในการที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่ภาคการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ในลักษณะที่เป็นบูรณาการที่เรียกว่า Integration Supply Chain Management

 

" />
       
 

กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้โซ่อุปทานโลจิสติกส์ Share


 

          โลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และกระจายสินค้า โดยกิจกรรมหลักของการจัดการโลจิสติกส์ (Core Logistics Activity) จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อให้เกิดกระบวนการที่ไหลลื่นของสินค้า – บริการ และข้อมูลข่าวสารตั้งแต่ผู้จัดส่งสินค้าต้นทาง (Origin Source) จนถึงผู้รับที่เป็น End User หรือที่เรียกว่า ลูกค้าปลายน้ำ จะเห็นได้ว่ากิจกรรมของโลจิสติกส์จะปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งคู่ค้าที่เป็น Supplier ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi-Finished Goods) ซึ่งจะมีการส่งต่อและส่งมอบจนกระทั่งวัตถุดิบหรือสินค้ามาถึงองค์กร หากองค์กรเป็นเพียงผู้ผลิตกลางน้ำ และมีการแปรรูป , ผลิต , ประกอบ , บรรจุ จนเป็นสินค้า และได้มีการนำส่งไปสู่ลูกค้าที่เป็น Customer ซึ่งหากลูกค้าขององค์กร ไม่ได้เป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย สินค้าที่ส่งมอบนี้ก็จะกลายเป็นเพียงสินค้ากลางน้ำ ซึ่งจะต้องมีการผลิตและส่งมอบไปสู่ลูกค้าของลูกค้าจนกว่าสินค้านั้นจะได้มีการส่งมอบไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายที่เป็น End Customer จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า กระบวนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวเฉพาะในองค์กร แต่จะต้องมีกระบวนการต่อเนื่อง ปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกทั้งที่เป็นลูกค้าและคู่ค้า ดังนั้น ในการที่จะประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์จึงจะต้องมีการนำระบบโซ่อุปทานนำมาใช้ในการจัดการความสัมพันธ์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของคู่ค้าและลูกค้า เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการลดต้นทุนโดยการใช้เครือข่ายภายในโซ่อุปทานนำมาเพื่อการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลัง (Inventory Cost ) และต้นทุนที่เกี่ยวกับการขนส่ง (Transport Cost) กานำระบบโซ่อุปทานโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ (Best Practice) มาใช้ในองค์กรและตลอดโซ่อุปทานยังจะเป็นการสร้างให้เกิด Value Chain ก่อให้เกิดความร่วมมือของทุกองค์กรซึ่งอยู่ในโซ่อุปทาน (Chain Collaborate) ทำให้สินค้าซึ่งมีการส่งต่อในแต่ละช่วง เป็นไปตาม “Demand Needs” ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Right Time , Right Place , Right Quality , Right Quantity 5Rs Value

Food Processing Supply Chain Case Study

          กรณีศึกษาระบบโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอาหารจะทำให้เห็นภาพกว้างขององค์กรทั้งภายในกิจการและองค์กรภายนอก ซึ่งจะมีการปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบในโซ่อุปทานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์การประมง , อุตสาหกรรมพืชผัก ผลไม้ ทั้งในรูปแบบบรรจุภาชนะและหรือการแช่เย็น รวมถึงการแปรรูปอื่นๆ อุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนนำรายได้จากการส่งออกเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม หลายประเภทที่ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นๆของโลก เช่น ข้าว ผลไม้สดปลาบรรจุกระป๋อง สับปะรดบรรจุกระป๋อง ซึ่งอุตสาหกรรมไทยเป็นครัวของโลก อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรของไทยก็ยังมีความอ่อนแอ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังอยู่สภาวะที่ยากจน เหตุผลสำคัญก็ต้องมาดูที่ต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคการเกษตร ซึ่งสูงถึงร้อยละ 21-25 ของ GDP ขณะที่ต้นทุนโลจิสติกส์โดยเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 16-19 ของ GDP ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยก็ยังสูงกว่ามาก โดยความยากจนของเกษตรกรไทยซึ่งถือเป็นประชากรกว่าร้อยละ 61 ยังอยู่ในสภาวะที่ยากจนตัวเลขนี้จะมีความสัมพันธ์กับต้นทุนโลจิสติกส์และระดับการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย ซึ่งจากการจัดอันดับของธนาคารโลก ประเทศไทย การพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยยังอยู่ระดับโลกที่สาม (Third World Logistics Level) ซึ่งก็สัมพันธ์ไปกับการจัดลำดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งไทยก็ยังอยู่ในลำดับที่ 32

          การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร จะต้องพัฒนาเป็นแบบบูรณาการตลอดทั้งโซ่อุปทาน โดยเริ่มต้นที่ต้นน้ำ ก็คือตัวเกษตรกร เริ่มตั้งแต่ให้มีการไหลลื่นและกระจายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร (Communication Flow) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเพาะปลูกให้สัมพันธ์กับฤดูกาลของความต้องการของผู้บริโภค (Demand Driven) เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูปของไทย ตลาดส่วนใหญ่จะอยู่ที่ต่ำ จึงจะต้องเข้าใจถึงช่วงเวลาที่สินค้าควรจะส่งมอบ การที่ผลผลิตการเกษตรออกมาพร้อมกันหรือออกในตลาดในช่วงที่ตลาดต้องการน้อย ย่อมส่งผลต่อราคา ประเด็นสำคัญก็เกิดจากภาคเกสรไม่ได้ใช้ประโยชน์ของข้อมูลข่าวสาร ว่าควรจะผลิตเมื่อใดและจะส่งมอบเมื่อใด ซึ่งจะส่งผลทั้งต่อราคาขายและต่อต้นทุนในการต้องเก็บสินค้าและต้นทุนที่เกิดจากน้ำหนักที่สูญเสียไป หรือความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจากการเก็บในคลังสินค้าหรือไซโล ซึ่งทั้งหมดก็ถือเป็นต้นทุนทางด้าน Inventory Cot ซึ่งจัดเป็นต้นทุนประมาณร้อยละ 47 ของต้นทุนรวมโลจิสติกส์

          นอกจากนี้ การนำระบบโลจิสติกส์ไปใช้ในการลดต้นทนภาคการผลิตอาหารและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารจะต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการในการส่งมอบ ไม่ว่ากระบวนการผลิตจะมีระบบเกี่ยวกับคุณภาพที่ดีประการใดก็จะไร้ประสิทธิผล หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าเกษตรหรือวัตถุดิบต้นน้ำ ในช่วงของการขนส่ง ยิ่งการขนส่งระยะทางห่างไกลเท่าไรก็จะมีผลต่อคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น วัตถุดิบทางการประมง หรือผัก ผลไม้ ซึ่งจะต้องมีระบบตั้งแต่การบรรจุ (Packing) ซึ่งจะต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะของสินค้าบางประเภทที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิหรือ Paging ซึ่งออกแบบมาเพื่อการถนอมคุณภาพของวัตถุดิบหรือออกแบบมา ไม่ให้สินค้าเสียหายในระหว่างการส่งมอบ ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดบอดหรือเป็น Bottom Neck       ของการจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งการพัฒนาตรงนี้อยู่ในระดับกายภาพ (Physical Movement) ซึ่งการพัฒนาของไทยอยู่ในระดับการขนส่ง “โลจิสติกส์” เป็นกิจกรรมแยกส่วน ทำให้สินค้าส่วนหนึ่งเสียหายไปกับการขนส่งทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ เมื่อสินค้าไปถึงปลายทางก็ได้รับการกดราคา เนื่องจาก ผู้รับหรือลูกค้ากลางน้ำ ก็ต้องเผื่อความเสียหาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรของไทยไม่สามารถขายสินค้าได้ราคา ซึ่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตกลางน้ำ หรือปลายน้ำ (Down Stream Processing) จะมีปัญหาด้านการควบคุมคุณภาพและน้ำหนัก (Yield) ให้คงที่ โดยผักผลไม้ของไทยที่ส่งออกไปในต่างประเทศ มักอยู่ในตลาดระดับกลางหรือล่าง ไม่สามารถเข้าไปในตลาดบนเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะเห็นชัดเจนได้ว่า ผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ล เชอรี่ องุ่น ฯลฯ ที่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐฯ . ญี่ปุ่น หรือออสเตรเลีย จะมีคุณภาพทั้งในด้านความสดและความสวยงาม ซึ่งเกิดจากระบบโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพทั้งด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และระบบการขนส่ง ในสินค้าอาหารบรรจุกระป๋อง , พาชนะ ของไทยที่ส่งออกไปประเทศตะวันตก ก็มักมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ สารตกค้าง สินค้าหลายตัวเช่น กุ้งแช่แข็งไม่สามารถส่งออกได้ กรณีของไก่สดที่เป็นปัญหาไข้หวัดนก ก็เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการด้านโซ่อุปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพจนส่งผลต่อการที่ไม่สามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ การขาดประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่จะต้องมีการพัฒนาให้เชื่อมโยงทั้งเครือข่ายโซ่อุปทาน จะส่งผลต่อทั้งต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดจากสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) ซึ่งเกิดจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่เป็นลักษณะของฤดูกาล โดยเฉพาะหากไม่มีระบบข้อมูลข่าวสารที่เป็น Logistics Information Flow ก็จะทำให้ภาคการผลิตจะต้องนำระบบ EOQ : Economic Order Quantity ซึ่งจำเป็นจะต้องมี Buffer Stock จำนวนมาก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ไม่มีระบบการจัดการโลจิสติกส์ยังส่งผลต่อต้นทุนการขนส่ง โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ทั้งหมด ล้วนแต่เป็นปัญหาของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่ยังไม่สามารถลงไปสู่ภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นต้นน้ำ ซึ่งหน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะให้ความสนใจและมีมาตรการ รวมถึง การมียุทธศาสตร์ที่เป็นวาระแห่งชาติในการที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่ภาคการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ในลักษณะที่เป็นบูรณาการที่เรียกว่า Integration Supply Chain Management

 


ไฟล์ประกอบ : 126_กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้โซ่อุปทานโลจิสติกส์.doc
อ่าน : 6530 ครั้ง
วันที่ : 09/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com