ประชุมอาเซียน-สหรัฐ...ไทยได้อะไร?

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

           

            สัปดาห์ที่แล้วข่าวเด่นแต่กลับไม่ดัง คือนายกรัฐมนตรีบินกลับจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - สหรัฐ ซึ่งเป็นคำเชิญของประธานาธิบดี บารัก โอบามา เป็นการประชุมครั้งแรกโดยสหรัฐอเมริกาเป็นสปอนเซอร์ ภาพที่เห็นคือพลเอกประยุทธ์ฯในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้จับมือกับประธานาธิบดีสหรัฐแถมเห็นรอยยิ้มนิดๆจากนายโอบามา แสดงให้เห็นถึงสหรัฐฯให้ความสำคัญและไม่ปล่อยให้ไทยหลุดมือไปพึ่งพาจีนได้ง่ายๆ

            การประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างภูมิภาคครั้งนี้ สหรัฐฯทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และความมั่นคง แสดงให้เห็นถึงบทบาทของประเทศสหรัฐอเมริกายังคงให้ความสำคัญต่อภูมิภาคอาเซียนด้วยการดึงเอา 10 ประเทศอาเซียนเข้ามาเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนเศรษฐกิจซึ่งก่อนหน้านั้นได้ลงนามความตกลง ?TPP? หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว ขณะที่หลายชาติของอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ต่างกระหายที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก เพราะผลประโยชน์ทางการค้าของทีพีพีนั้นมีมากกว่าเออีซี (AEC) เสียด้วยซ้ำ  

            การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ซันนี่แลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แสดงให้เห็นถึงการกลับมาของสหรัฐฯ โดยการดึงพันธมิตรในอาเซียนเข้ามาเป็นพวก ในทางยุทธศาสตร์ถือเป็นการปิดล้อมจีนทางการค้าแถมยังโอ๋เป็นพิเศษทั้งกับเวียดนามและฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นกันชนไม่ให้จีนไประรานพื้นที่ต่างๆในทะเลจีนใต้ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีข้อพิพาทกับประเทศจีนอยู่ในขณะนี้

            อย่างไรก็ตามก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปถึงท่าทีสหรัฐฯที่มีต่ออาเซียน เพราะสหรัฐฯไม่ได้มองอาเซียนเป็นหนึ่งแต่ใช้วิธีเจรจาแลกผลประโยชน์เป็นรายประเทศ กรณียกระดับความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐฯจึงเป็นเรื่องผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาล้วนๆ ขณะที่สหรัฐฯก็มีตัวเลือกโดยใช้พม่า เวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯฟีเวอร์มากกว่าไทยเป็นดุลถ่วงกับจีน  ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมนอกเหนือจากภาครัฐแล้วยังมีการนำผู้บริหารหรือ CEO บริษัทใหญ่ของสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลและไอทีเข้าร่วมประชุม    ซึ่งสหรัฐฯหวังจะผลักดันให้เป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยหวังว่าประเทศอาเซียนจะเป็นลูกค้าสำคัญ

กรณีของประเทศไทยดูเหมือนว่าการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้จะทำให้ไม่ถูกกันออกจากเวทีความร่วมมืออาเซียน ? สหรัฐฯ และได้มีโอกาสใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับนานาประเทศเกี่ยวกับการเดินหน้าปฏิรูปประเทศและดูเหมือนสหรัฐจะพอใจในระดับหนึ่งซึ่งจะยกระดับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยในทางบวก

            อย่างไรก็ตามการความร่วมประชุมอาเซียน-สหรัฐ ถือว่าไทยได้ประโยชน์ เพราะอย่างน้อยไม่ถูกกันให้ตกขบวนการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาค และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้นำไทยบนเวทีภูมิภาค อีกทั้งมีโอกาสประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงว่ากำลังเดินหน้าแก้ปัญหาการเมืองในประเทศ แต่จะให้นานาชาติยอมรับจริง คงต้องเร่งปฏิรูปให้บ้านเมืองเข้าสู่วิถีปรกติเร็วๆนะครับ.....(สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************

" />
       
 

ประชุมอาเซียน-สหรัฐ...ไทยได้อะไร? Share


ประชุมอาเซียน-สหรัฐ...ไทยได้อะไร?

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

           

            สัปดาห์ที่แล้วข่าวเด่นแต่กลับไม่ดัง คือนายกรัฐมนตรีบินกลับจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - สหรัฐ ซึ่งเป็นคำเชิญของประธานาธิบดี บารัก โอบามา เป็นการประชุมครั้งแรกโดยสหรัฐอเมริกาเป็นสปอนเซอร์ ภาพที่เห็นคือพลเอกประยุทธ์ฯในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้จับมือกับประธานาธิบดีสหรัฐแถมเห็นรอยยิ้มนิดๆจากนายโอบามา แสดงให้เห็นถึงสหรัฐฯให้ความสำคัญและไม่ปล่อยให้ไทยหลุดมือไปพึ่งพาจีนได้ง่ายๆ

            การประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างภูมิภาคครั้งนี้ สหรัฐฯทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และความมั่นคง แสดงให้เห็นถึงบทบาทของประเทศสหรัฐอเมริกายังคงให้ความสำคัญต่อภูมิภาคอาเซียนด้วยการดึงเอา 10 ประเทศอาเซียนเข้ามาเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนเศรษฐกิจซึ่งก่อนหน้านั้นได้ลงนามความตกลง ?TPP? หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว ขณะที่หลายชาติของอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ต่างกระหายที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก เพราะผลประโยชน์ทางการค้าของทีพีพีนั้นมีมากกว่าเออีซี (AEC) เสียด้วยซ้ำ  

            การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ซันนี่แลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แสดงให้เห็นถึงการกลับมาของสหรัฐฯ โดยการดึงพันธมิตรในอาเซียนเข้ามาเป็นพวก ในทางยุทธศาสตร์ถือเป็นการปิดล้อมจีนทางการค้าแถมยังโอ๋เป็นพิเศษทั้งกับเวียดนามและฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นกันชนไม่ให้จีนไประรานพื้นที่ต่างๆในทะเลจีนใต้ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีข้อพิพาทกับประเทศจีนอยู่ในขณะนี้

            อย่างไรก็ตามก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปถึงท่าทีสหรัฐฯที่มีต่ออาเซียน เพราะสหรัฐฯไม่ได้มองอาเซียนเป็นหนึ่งแต่ใช้วิธีเจรจาแลกผลประโยชน์เป็นรายประเทศ กรณียกระดับความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐฯจึงเป็นเรื่องผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาล้วนๆ ขณะที่สหรัฐฯก็มีตัวเลือกโดยใช้พม่า เวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯฟีเวอร์มากกว่าไทยเป็นดุลถ่วงกับจีน  ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมนอกเหนือจากภาครัฐแล้วยังมีการนำผู้บริหารหรือ CEO บริษัทใหญ่ของสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลและไอทีเข้าร่วมประชุม    ซึ่งสหรัฐฯหวังจะผลักดันให้เป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยหวังว่าประเทศอาเซียนจะเป็นลูกค้าสำคัญ

กรณีของประเทศไทยดูเหมือนว่าการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้จะทำให้ไม่ถูกกันออกจากเวทีความร่วมมืออาเซียน ? สหรัฐฯ และได้มีโอกาสใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับนานาประเทศเกี่ยวกับการเดินหน้าปฏิรูปประเทศและดูเหมือนสหรัฐจะพอใจในระดับหนึ่งซึ่งจะยกระดับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยในทางบวก

            อย่างไรก็ตามการความร่วมประชุมอาเซียน-สหรัฐ ถือว่าไทยได้ประโยชน์ เพราะอย่างน้อยไม่ถูกกันให้ตกขบวนการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาค และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้นำไทยบนเวทีภูมิภาค อีกทั้งมีโอกาสประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงว่ากำลังเดินหน้าแก้ปัญหาการเมืองในประเทศ แต่จะให้นานาชาติยอมรับจริง คงต้องเร่งปฏิรูปให้บ้านเมืองเข้าสู่วิถีปรกติเร็วๆนะครับ.....(สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************


ไฟล์ประกอบ : ประชุมอาเซียน-สหรัฐ...ไทยได้อะไร.doc
อ่าน : 1360 ครั้ง
วันที่ : 23/02/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com