นโยบายวิกฤตภัยแล้ง...เอาอยู่ไหม

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

           

            ผมมีโอกาสเข้าประชุมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาภัยแล้ง ต้องบอกว่าปีนี้ประเทศไทยจะประสบภัยแล้งอาจถึงขั้นวิกฤตหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี เป็นปรากฏการณ์ ?เอลนิโญ? ซึ่งจะหมุนเวียนทุกช่วง 4-5 ปี บวกกับภัยจากโลกที่อุ่นขึ้น (Global Warming) ส่งผลให้ทวีความรุนแรงมากกว่าปรกติ

            จากข้อมูลของ NOAA หรือสำนักงานมหาสมุทรและอวกาศของสหรัฐ ได้พยากรณ์ว่าวิกฤตภัยแล้งครั้งนี้จะรุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี ผมเข้าไปดูในเว็ปเห็นภาพน้ำในมหาสมุทรแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นสีส้มเข้ม แสดงถึงอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงกว่าปรกติ และคาดว่าภัยแล้งอาจยาวไปถึงปีหน้าและอาจเลวร้ายกว่าปีนี้ด้วยซ้ำ

            ทั้งนี้หากอยากรู้ว่าภัยแล้งจะหนักหนาแค่ไหน ลองเทียบจากปีที่แล้วซึ่งก็แล้งสุดๆแล้ว ขณะที่ปีนี้ (2559) กลางเดือนกุมภาพันธ์น้ำใช้การได้จริงจากเขื่อนหลักใหญ่ 4 แห่ง มีปริมาณน้ำเหลือน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 54.3% โดยเขื่อนภูมิพลซึ่งส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตรลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะประสบปัญหาหนักกว่าเพื่อน

            อย่างไรก็ตามข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ แจงว่าจะไม่กระทบกับน้ำอุปโภคและบริโภคแต่จะกระทบกับพื้นที่นาปรังถึงร้อยละ 70-75 โดยก่อนหน้านี้กระทรวงเกษตรฯ ประกาศให้งดปลูกข้าวนาปรัง 100% ใน แต่พบว่าเกษตรกรยังคงทำนาเหมือนเดิมโดยลดพื้นที่นาปรังได้เพียง 23% จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนขณะนี้ถึงขั้นวิกฤตหากฝนทิ้งช่วงยาว เดือนมีนาคม-เมษายน อาจถึงขั้นต้องงดไม่ปล่อยน้ำทั้งพื้นที่ในและนอกพื้นที่ชลประทาน ซึ่งนอกจากชาวนาจะเดือดร้อนยังกระทบถึงเกษตรกรชาวไร่และชาวสวน

            ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าการประกาศให้งดปลูกข้าวนาปรังหรือการไม่ปล่อยน้ำ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาเช่า โดยต้องจ่ายค่าเช่าไม่ว่าจะทำนาหรือไม่ทำนาจึงไม่แปลกว่าชาวนาส่วนใหญ่ยังคงฟื้นปลูกข้าวเพราะต้องเอาไปจ่ายค่าเช่านา-ค่ากิน-ค่าใช้ของครอบครัว ส่วนที่จะให้ไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น พวกถั่วซึ่งก็ต้องการน้ำเช่นกันและรายได้ไม่พอกิน

            ปัญหาวิกฤตภัยแล้งซึ่งมีเค้าว่าจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าทุกๆปี เป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลว่าจะรับมืออย่างไร เพราะการให้ชาวนาร่วมมืองดปลูกข้าวนาปรัง คำถามว่าแล้วจะให้พวกเขาไปทำอะไรและจะอยู่กันอย่างไร รัฐบาลจะต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการเยี่ยวยา ส่วนมาตรการช่วยเหลือแบบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เมื่อไม่มีรายได้จะไปใช้หนี้ได้อย่างไร แถมหนี้เก่าก็ยังใช้ไม่หมดกลับยิ่งไปพอกเพิ่มเติมภาระการเป็นหนี้ให้สูงขึ้น

            ปัญหาวิกฤตน้ำแล้งครั้งนี้อาจรุนแรงมากกว่าที่ประเมินไว้จะกระทบถึงเศรษฐกิจทุกภาคส่วน งานนี้อย่าแก้ปัญหาอย่างฉาบฉวยมาตรการอะไรที่ดีๆเอามาใช้ อย่างเกี่ยงว่าเคยเป็นนโยบายของใคร โดยเฉพาะต้องเลือกคนมือถึงจริงๆมาแก้ปัญหา พวกชื่อดังๆ พูดฟังแล้วดูดี แต่ทำหรือปฏิบัติไม่ได้......ไม่เอานะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

" />
       
 

นโยบายวิกฤตภัยแล้ง...เอาอยู่ไหม Share


นโยบายวิกฤตภัยแล้ง...เอาอยู่ไหม

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

           

            ผมมีโอกาสเข้าประชุมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาภัยแล้ง ต้องบอกว่าปีนี้ประเทศไทยจะประสบภัยแล้งอาจถึงขั้นวิกฤตหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี เป็นปรากฏการณ์ ?เอลนิโญ? ซึ่งจะหมุนเวียนทุกช่วง 4-5 ปี บวกกับภัยจากโลกที่อุ่นขึ้น (Global Warming) ส่งผลให้ทวีความรุนแรงมากกว่าปรกติ

            จากข้อมูลของ NOAA หรือสำนักงานมหาสมุทรและอวกาศของสหรัฐ ได้พยากรณ์ว่าวิกฤตภัยแล้งครั้งนี้จะรุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี ผมเข้าไปดูในเว็ปเห็นภาพน้ำในมหาสมุทรแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นสีส้มเข้ม แสดงถึงอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงกว่าปรกติ และคาดว่าภัยแล้งอาจยาวไปถึงปีหน้าและอาจเลวร้ายกว่าปีนี้ด้วยซ้ำ

            ทั้งนี้หากอยากรู้ว่าภัยแล้งจะหนักหนาแค่ไหน ลองเทียบจากปีที่แล้วซึ่งก็แล้งสุดๆแล้ว ขณะที่ปีนี้ (2559) กลางเดือนกุมภาพันธ์น้ำใช้การได้จริงจากเขื่อนหลักใหญ่ 4 แห่ง มีปริมาณน้ำเหลือน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 54.3% โดยเขื่อนภูมิพลซึ่งส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตรลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะประสบปัญหาหนักกว่าเพื่อน

            อย่างไรก็ตามข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ แจงว่าจะไม่กระทบกับน้ำอุปโภคและบริโภคแต่จะกระทบกับพื้นที่นาปรังถึงร้อยละ 70-75 โดยก่อนหน้านี้กระทรวงเกษตรฯ ประกาศให้งดปลูกข้าวนาปรัง 100% ใน แต่พบว่าเกษตรกรยังคงทำนาเหมือนเดิมโดยลดพื้นที่นาปรังได้เพียง 23% จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนขณะนี้ถึงขั้นวิกฤตหากฝนทิ้งช่วงยาว เดือนมีนาคม-เมษายน อาจถึงขั้นต้องงดไม่ปล่อยน้ำทั้งพื้นที่ในและนอกพื้นที่ชลประทาน ซึ่งนอกจากชาวนาจะเดือดร้อนยังกระทบถึงเกษตรกรชาวไร่และชาวสวน

            ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าการประกาศให้งดปลูกข้าวนาปรังหรือการไม่ปล่อยน้ำ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาเช่า โดยต้องจ่ายค่าเช่าไม่ว่าจะทำนาหรือไม่ทำนาจึงไม่แปลกว่าชาวนาส่วนใหญ่ยังคงฟื้นปลูกข้าวเพราะต้องเอาไปจ่ายค่าเช่านา-ค่ากิน-ค่าใช้ของครอบครัว ส่วนที่จะให้ไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น พวกถั่วซึ่งก็ต้องการน้ำเช่นกันและรายได้ไม่พอกิน

            ปัญหาวิกฤตภัยแล้งซึ่งมีเค้าว่าจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าทุกๆปี เป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลว่าจะรับมืออย่างไร เพราะการให้ชาวนาร่วมมืองดปลูกข้าวนาปรัง คำถามว่าแล้วจะให้พวกเขาไปทำอะไรและจะอยู่กันอย่างไร รัฐบาลจะต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการเยี่ยวยา ส่วนมาตรการช่วยเหลือแบบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เมื่อไม่มีรายได้จะไปใช้หนี้ได้อย่างไร แถมหนี้เก่าก็ยังใช้ไม่หมดกลับยิ่งไปพอกเพิ่มเติมภาระการเป็นหนี้ให้สูงขึ้น

            ปัญหาวิกฤตน้ำแล้งครั้งนี้อาจรุนแรงมากกว่าที่ประเมินไว้จะกระทบถึงเศรษฐกิจทุกภาคส่วน งานนี้อย่าแก้ปัญหาอย่างฉาบฉวยมาตรการอะไรที่ดีๆเอามาใช้ อย่างเกี่ยงว่าเคยเป็นนโยบายของใคร โดยเฉพาะต้องเลือกคนมือถึงจริงๆมาแก้ปัญหา พวกชื่อดังๆ พูดฟังแล้วดูดี แต่ทำหรือปฏิบัติไม่ได้......ไม่เอานะครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)


ไฟล์ประกอบ : นโยบายวิกฤตภัยแล้ง...เอาอยู่ไหม.doc
อ่าน : 1556 ครั้ง
วันที่ : 16/02/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com