โดยธนิต โสรัตน์
ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP
ความเป็นมาและความสำคัญของท่าเรือเชียงแสน 2
จากการศึกษาของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ซึ่งได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2543 เห็นว่าท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ซึ่งเป็นท่าเรือรองรับการขนส่งทางแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีปัญหาอุปสรรคเชิงพื้นที่มาก และเห็นว่าควรจะมีการย้ายไปตรงบริเวณปากแม่น้ำกก บริเวณตำบลสบรวก เป็นพื้นที่ของ สปก. จำนวน 387 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ซึ่งได้รับอนุมัติการขอใช้ที่ดินจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยในปี 2549 ได้จ่ายงบประมาณชดเชยค่าที่ดินจำนวน 50 ล้านบาท พร้อมทั้งดำเนินการให้ศิลปากรจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาดูแลผลกระทบด้านโบราณสถานบริเวณรอบที่ดิน ทั้งนี้ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ได้รับการอนุมัติ งบประมาณในการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 เป็นงบประมาณผูกพันปี 2552 – 2554 จำนวน 1,546 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ระยะเวลาการก่อสร้าง 960 วัน ในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนที่จะเข้าท่าเรือกรมทางหลวงชนบทจะมีการดำเนินการสร้างเส้นทางสายใหม่ จากเส้นทางหมายเลข 1129 โดยเริ่มต้นที่บ้านสันทรายกองงาม เพื่อมาเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ดังนั้น ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จึงเป็นทางเลือกของการขนส่งทางแม่น้ำโขง จะยังคงมีบทบาทและเป็นทางเลือกระหว่างการขนส่งทางถนน (เส้นทาง R3E) โดยสินค้าหลักที่คาดว่าจะใช้เส้นทางขนส่งทางแม่น้ำ จะเป็นสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและยางพารา ซึ่งในปี 2550 มีสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสน 250,000 เมตริกตัน และในปี 2554 คาดว่าปริมาณ 500,000 เมตริกตัน โดยในปี 2558 จะเป็นปริมาณสินค้าที่จะขนส่งโดยใช้เส้นทางแม่น้ำโขงอาจไปถึง 1.0 ล้านเมตริกตัน ซึ่งสินค้าเกษตรประเภทที่ยังไม่แปรรูปจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการขนส่งทางแม่น้ำโขง
" />
|
||||
|
||||
โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงแสน Shareโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า เชียงแสน-เชียงของ โดยธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP ความเป็นมาและความสำคัญของท่าเรือเชียงแสน 2 จากการศึกษาของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ซึ่งได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2543 เห็นว่าท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ซึ่งเป็นท่าเรือรองรับการขนส่งทางแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีปัญหาอุปสรรคเชิงพื้นที่มาก และเห็นว่าควรจะมีการย้ายไปตรงบริเวณปากแม่น้ำกก บริเวณตำบลสบรวก เป็นพื้นที่ของ สปก. จำนวน 387 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ซึ่งได้รับอนุมัติการขอใช้ที่ดินจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยในปี 2549 ได้จ่ายงบประมาณชดเชยค่าที่ดินจำนวน 50 ล้านบาท พร้อมทั้งดำเนินการให้ศิลปากรจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาดูแลผลกระทบด้านโบราณสถานบริเวณรอบที่ดิน ทั้งนี้ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ได้รับการอนุมัติ งบประมาณในการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 เป็นงบประมาณผูกพันปี 2552 – 2554 จำนวน 1,546 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ระยะเวลาการก่อสร้าง 960 วัน ในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนที่จะเข้าท่าเรือกรมทางหลวงชนบทจะมีการดำเนินการสร้างเส้นทางสายใหม่ จากเส้นทางหมายเลข 1129 โดยเริ่มต้นที่บ้านสันทรายกองงาม เพื่อมาเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ดังนั้น ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จึงเป็นทางเลือกของการขนส่งทางแม่น้ำโขง จะยังคงมีบทบาทและเป็นทางเลือกระหว่างการขนส่งทางถนน (เส้นทาง R3E) โดยสินค้าหลักที่คาดว่าจะใช้เส้นทางขนส่งทางแม่น้ำ จะเป็นสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและยางพารา ซึ่งในปี 2550 มีสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสน 250,000 เมตริกตัน และในปี 2554 คาดว่าปริมาณ 500,000 เมตริกตัน โดยในปี 2558 จะเป็นปริมาณสินค้าที่จะขนส่งโดยใช้เส้นทางแม่น้ำโขงอาจไปถึง 1.0 ล้านเมตริกตัน ซึ่งสินค้าเกษตรประเภทที่ยังไม่แปรรูปจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการขนส่งทางแม่น้ำโขง
ไฟล์ประกอบ : 168_โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงแสน.pdf อ่าน : 2703 ครั้ง วันที่ : 14/07/2008 |
||||
|