|
||||
|
||||
'ธนิต' ชงเรื่องคลัง-ธปท.ช่วย SMEs Shareนายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการและรักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในการเสวนารับฟังความเห็นเรื่องทิศทางการแข็งค่าเงินบาท และกรณีศึกษาการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการส่งออก ว่า ส.อ.ท.จะนำ ข้อเสนอที่ได้จากการรับฟังความเห็นครั้งนี้ ทำเป็นหนังสือให้นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในวันที่ 30 เม.ย.56 รวม 7 ข้อ คือ 1.ขอให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและสอดคล้องกับภูมิภาค 2.ให้ ธปท.และกระทรวงการคลังสนับสนุนเอสเอ็มอีรวมกลุ่ม
เพื่อขอทำประกันความเสี่ยงค่าเงินบาท
และให้สถาบันการเงินลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม 3.ให้ผู้ส่งออกเปิดแอล/ซีในสกุลเงินบาทได้
เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 4.ให้กระทรวงพาณิชย์ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ส่งออกหาตลาดใหม่ เช่น พาผู้ส่งออกหาตลาดใหม่ อุดหนุนค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่าง ประเทศ 5.ให้กระทรวงการคลังตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่
ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าวงเงิน 5,000-10,000 ล้านบาท
เพื่อให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเสริมสภาพคล่องและอุดหนุนดอกเบี้ยใน
การลงทุน ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 6.ให้กระทรวงการคลังและ
ธปท.ออกมาตรการป้องกันเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น 7.ให้กระทรวงการคลังทบทวนอัตราชดเชยภาษีสำหรับผู้ส่งออก (มุมน้ำเงิน) เพิ่มขึ้น นายธนิต กล่าวว่า นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. จะเข้าพบนายประสารในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ซึ่งกลุ่มของตนคงไม่ได้ไปเข้าพบด้วย แต่จะส่งหนังสือไปแทน โดยเชื่อว่า ธปท.คงไม่สับสนที่มีความเห็นจาก ส.อ.ท. 2 ชุด เพราะเข้าใจว่า ทุกคนทำเพื่อสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า และที่ผ่านมา นายประสารก็ทำหนังสือถึงตนเพื่อชี้แจงความเห็นที่เสนอไปก่อนหน้า นี้ ซึ่งนายประสารชี้แจงว่า การพิจารณาปรับดอกเบี้ยนโยบายต้องพิจารณาข้อมูลหลายด้าน เช่น อัตราเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ แต่ ธปท.ก็ไม่ปฏิเสธแนวคิดเรื่องการลดดอกเบี้ยนโยบาย ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในวันที่ 30 เม.ย.นี้ สภาอุตสาหกรรมจะนำ 5 มาตรการที่เป็นผลสรุปเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า เสนอผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณา เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยลง 1% การออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งอุตสาหกรรมอัญมณี มูลค่าการค้าลดลง 40% อุตสาหกรรมยานยนต์ สิ่งทอ และอาหาร เริ่มมีปัญหาคำสั่งซื้อในอนาคตลดลง นอกจากนี้ยังย้ำด้วยว่า รัฐไม่ควรลดเป้าการส่งออกในปีนี้ ที่ตั้งไว้ 8-9% แต่ควรหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าจะดีกว่า ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง อ่าน : 1905 ครั้ง วันที่ : 30/04/2013 |
||||
|