|
||||
|
||||
'ธนิต'เตือนลงทุนที่ดินพม่าต้องดูเอกสารสิทธิ Shareอดีต เลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า ผ่าประสบการณ์ลงทุน ระบุซื้อที่ดินพม่าต้องดูเอกสารสิทธิให้ชัด เหตุยังขาดระบบผังเมือง ไอทียังเข้าไม่ถึง
นายธนิต โสรัตน์ อดีตเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า ให้สัมภาษณ์ในรายการ "ตรงประเด็นเที่ยง" กรุงเทพธุรกิจทีวี ถึงกรณีที่ รัฐบาลพม่าเวนคืนที่ดินเอกชนว่า ด้านความเชื่อมั่น เราไปลงทุน ต้องไปลงทุนที่ดินเป็นอันดับแรก สร้างโรงงาน คนไทยสนใจไปทำโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ถ้าเราไม่เชื่อมั่นที่ดินว่าเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเปล่า รัฐบาลจะเวนคืนหรือไม่มันกระทบแน่นอนอยู่แล้ว คนไทยยังไม่เข้าไปลงทุนแบบเต็มร้อย เพราะเราไม่ค่อยมั่นใจ เรื่องกฏหมายลงทุน "เรื่องที่ดิน ที่เป็นข่าวต้องเข้าใจนะ ที่ผมไปตรวจสอบดู รัฐบาลไม่ได้ไปยึดที่ดินของเอกชน ต้องเข้าใจก่อนว่า กรมที่ดินพม่า ทำทั้งผังเมืองด้วย ไม่มีระบบไอทีอย่างเรา จะมีการออกเอกสารซ้ำซ้อนกัน ที่ดินพม่าแบ่งเป็น 2 ประเภท ที่ดินเกือบทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และ ที่ที่รัฐบาลขายให้เอกชนพม่า เวลาเราไปซื้อที่ดิน เราต้องรู้ว่า ซื้อจากใคร ซื้อจากรัฐบาลหรือซื้อจากเอกชน ถ้าซื้อจากรัฐบาลต้องไปดูเอกสารสิทธิ์ให้แน่ว่าหน่วยไหนออก เพราะพม่าความเป็นเอกภาพไม่มี ถ้าไปซื้อจากนอกพื้นที่ย่างกุ้ง ไปซื้อแถวพะโค หรืออะไรต่างๆ ต้องดูว่า หน่วยงานนั้น รัฐบาลกลางเขาให้ออกหรือไม่ให้ออก หรือไปซื้อเอกชน ต้องดูว่าเอกชนรายนั้นๆ ได้เอกสาร มาอย่างไร บางทีเขาไม่คิดจะโกงเราหรอก เขาได้เอกสารไม่ถูกต้องมาแต่ต้น มันออกกันซ้ำซ้อน บางทีที่ดิน ราคาแพงๆ ต่างคนก็ไปขายกัน ตัวเองก็คิดว่า ถือเอกสารถูกต้อง มันซ้ำซ้อน ระบบของเขาไม่มีระบบไอทีอย่างเรา" ทั้งนี้ รัฐบาลพม่ากำลังทำผังเมือง จัดโซนนิ่ง 1. จัดระเบียบ เพราะตอนนี้ที่ดินเขาเก็งกำไรกันมโหฬาร 2. จะเก็บ ภาษี อัตราที่เอกชนไปยื่นขอเสียภาษี กับ ราคาที่ซื้อขาย มันห่างเป็นพันเท่า เดี๋ยวนี้ที่ดินในย่างกุ้ง ขายกันเป็น ตารางฟุต ตารางฟุตละ 2 หมื่นบาท แพงมาก เขาจึงต้องการจัดโซนนิ่ง จัดเรื่องการเก็บภาษี เป็นเขตสีลม เขต พาหุรัต เอกชนบางรายที่มา เวลาจัดโซนนิ่ง แล้วเวนคืน เอกสารสิทธิ์ไม่ถูกต้อง บางทีได้มาไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น นโยบายหลักๆ ที่ผมตรวจสอบแล้ว เขายังไม่ไปยึดที่ดินเอกชน ส่วนนักลงทุนไทยจะไปลงทุนที่พม่า ต้องไปตรวจสอบหาข้อมูลที่มาที่ไปของที่ดินที่จะไปลงทุน ต้องไปหาที่ไหน นายธนิต กล่าวว่า ยากมาก ที่ดินมี 2 แบบ คนไทยไปลงทุนพม่า 1. แบบอุตสาหกรรม 2. แบบพาณิชกรรม ถ้าอุตสาหกรรมจะเป็นพื้นที่รอบนอก มันจะมีเขตใหญ่ๆ เป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม ทิลาวา อันนี้ก็อยู่ทางฝั่งตะวันตก ส่วนทางใต้ ก็เป็น เขตเจปิตา, เขตใจตายา, เขตเตาตะกุง เป็นชื่อนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เอกสารสิทธิค่อนข้างแน่ชัด ต้อง ระวังเรื่องของคนที่เขามาขายเรา ต้องดูว่าเราซื้อต่อหรือเปล่า ซื้อตรงจากตัวอุตสาหกรรม อันนี้โอเค ถ้าเราซื้อ ต่อ มือ 2 มือ3 ต้องระวังไว้ นิคมอุตสาหกรรมในพม่ามีมาก 20 กว่าแห่ง เราต้องเลือกด้วย ยิ่งถ้าไปซื้อในเขต เมือง อันนี้ต้องระวังมากๆ ออกเอกสารซ้ำซ้อนกันมากมาย "ผมมีประสบการณ์ ไปเช่าตึก เตรียมจะเอาของเข้า แล้ว เจ้าของตึกบอกว่า คุณเอามาทำไม ฉันบอกฉันเช่าแล้ว อ้าวเช่าได้อย่างไร ฉันเจ้าของ อีกคนก็บอกว่าฉัน เจ้าของ ใครเจ้าของ ต่างคนต่างถือเอกสารในมือ ต้องบอกเลยเรื่องนี้ ยากมาก" ส่วนกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ของพม่าที่ประกาศออกมา อดีตเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า ให้ความเห็นว่า เปิดโอกาสมากขึ้น แก้ไขใหม่เมื่อเดือน พ.ย. ท่านประธานเต็งเส่งแก้ไขใหม่ ก็ดีขึ้น ฉบับต้นร่าง หลักๆ ก็ คือ ลงทุนในเรื่องบริการได้ง่ายขึ้น อย่างเรื่องโลจิสติกส์แต่ก่อนลงทุนไม่ได้ เดี๋ยวนี้ลงทุนได้ 100% อย่างไปทำ โลจิสติกส์บริการก็ให้ลงทุนและใช้เงินไม่มาก หมายความว่าเป็นค่าจดทะเบียนประมาณ 5 พันดอลลาร์ หรือ แสนกว่าบาทก็สามารถจดทะเบียนได้ แล้วก็ไปทำเงินฝากกับแบงก์ไทย กรุงเทพ กสิกรไทย ประมาณ 1.5 ล้าน บาท สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ บางอย่างเขายังไม่ให้ลงทุน เช่น ค้าปลีก เขาสงวนไว้มากเลย ต้องมีนอมินี หุ้นส่วนดีๆ นอร์มินี่ เป็นล่ำเป็นสัน เค้ามีตัวแทนนอมินีให้เรียบร้อยเลย คุณจะเอาราคาแบบไหน ราคาเท่าไร เค้ามีเป็น price list มาให้เลย ต้องเลือกสำนักงานทนายความที่น่าเชื่อถือได้ ถ้าจะหาพาร์ทเนอร์ ต้องหา พาร์ทเนอร์แบบจับคู่แต่งงานกันให้ดีที่เดียว ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ อ่าน : 2058 ครั้ง วันที่ : 04/03/2013 |
||||
|