|
||||
|
||||
3 กูรู มอง "เมียนมาร์" ก่อนเข้าสู่ AEC Shareอย่างไร ก็ตาม ก่อนหน้าที่เมียนมาร์จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เมียนมาร์จะได้รับตำแหน่งประธานอาเซียนประจำปี 2557 ส่งผลให้เมียนมาร์ทวีความโดดเด่นบนเวทีอาเซียนมากขึ้น ทั้งนี้ใน อดีตความสัมพันธ์ของเมียนมาร์กับอาเซียนเป็นความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างขมขื่น ชาติในอาเซียนต่างประณามเมียนมาร์เมื่อครั้งนางออง ซาน ซู จี ถูกกักบริเวณในบ้านของตนเป็นครั้งที่ 3 เมื่อปี 2547 หลังจากเกิดการปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้งของรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุนนางออง ซาน ซู จี จนทำให้ผู้สนับสนุนของนางบาดเจ็บล้มตายหลายสิบคน ส่งผลให้อาเซียนกดดันเมียนมาร์ให้สละตำแหน่งประธานอาเซียนที่ควรจะได้รับใน ปี 2549 แต่ในปัจจุบันเมื่อเมียนมาร์เดินตาม road map ของประเทศไปสู่การปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน บรรดาชาติอาเซียนต่าง "ทบทวน" ทรรศนะที่ตนมีต่อเมียนมาร์ ร่วมมือกันเป็นฮับของอาเซียน ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวแทนนักลงทุนไทยผู้เชี่ยวชาญในเมียนมาร์ กล่าวว่า บทบาทของเมียนมาร์จะเพิ่มขึ้นในเวทีอาเซียน เนื่องจากอีกใน 2 ปีข้างหน้า เมียนมาร์จะรับบทบาทเป็นประธานเวทีอาเซียนและในปี 2556 นี้ก็จะได้เป็นประธานซีเกมส์ แต่ต้องดูด้วยว่า ขณะนี้กระแสเมียนมาร์ไม่ใช่แค่อยู่ในไทยเท่านั้น แต่เป็นกระแสระดับโลก นับ แต่นี้ไปเมื่อเมียนมาร์ก้าวสู่บทบาทในระดับนานาชาติและเปิดประเทศแล้ว จะเกิดการลงทุนขนาดใหญ่เข้าไปแน่นอน ภูมิศาสตร์เมียนมาร์สอดคล้องกับระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคภายใต้กรอบ GSM หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก (เมาะลำไย-ดานัง) และทางใต้ (ทวาย-กวียง/วังเตา) อีกทั้งยังมีท่าเรือในประเทศที่มีศักยภาพ ตอกย้ำการเป็นโลจิสติกส์และฮับของภูมิภาค "นโยบายของรัฐบาลยิ่ง ลักษณ์ประกาศว่า เราจะเป็นฮับ แต่ไม่ควรประกาศว่าไทยเป็นฮับเพียงประเทศเดียว มันไม่ได้ เพราะเราต้องร่วมมือกับเมียนมาร์และเวียดนามที่มีศักยภาพเป็นฮับร่วมกัน มากกว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า เมียนมาร์น่าจะเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของอาเซียน หากเปิดประเทศเต็มที่จะเป็นผู้นำด้านอัญมณีของโลก ในอนาคตก็มีศักยภาพครองตำแหน่งครัวโลก และการท่องเที่ยวอีกด้วย" คู่ขนานหรือล้ำหน้าอาเซียน ประเด็นนี้ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเมียนมาร์ ได้ให้ทรรศนะว่า ที่ผ่านมาเมียนมาร์เป็นอุปสรรคของการรวมกลุ่มอาเซียน ถือเป็นตัวฉุดการพัฒนาของอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ไม่ตกอยู่ในฐานะเช่นนั้น แต่ช่วงปีที่ผ่านมา เมียนมาร์กลับกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้อาเซียนต้องกลับมาให้ความสนใจ และนี่ก็คือผลจากการroad map ของประเทศ ภาพลักษณ์ของเมียนมาร์จึงเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วฉับพลัน "ขณะนี้บทบาท เมียนมาร์ในอาเซียนมีอยู่ 2 สถานะคือ สถานะแรก เมียนมาร์ไม่ได้เป็นปัญหาต่ออาเซียนอีกต่อไปแล้ว และยังสามารถเดินคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงของอาเซียน ทั้งยังเป็นตัวช่วยมากกว่าเป็นตัวฉุดเช่นที่ผ่านมา อีกสถานะหนึ่ง เมียนมาร์ได้ก้าวล้ำไปอยู่เหนือกว่าสถานะความเป็นอาเซียน เนื่องจากความสนใจทั่วโลกต่างพุ่งมายังเมียนมาร์ มหาอำนาจที่ดำเนินความสัมพันธ์ต่อเมียนมาร์ไม่ได้คำนึงถึงอีกต่อไปว่า เมียนมาร์เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียนหรือไม่" อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนและการปฏิรูปของเมียนมาร์จะพิสูจน์ตนเองว่า เมียนมาร์จะพัฒนาคู่ขนานไปกับอาเซียนหรือก้าวล้ำอาเซียน แต่เมียนมาร์ยังต้องอาศัยฐานอาเซียนอยู่เช่นเดิม ทั้งการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์หรือประธานอาเซียน ซึ่งถือว่าเป็นจุดพิสูจน์สำคัญยิ่งว่า เมียนมาร์จะก้าวขึ้นมายืนอย่างเต็มภาคภูมิได้เท่าเทียมประเทศสมาชิกอื่น อย่างรวดเร็วมากแค่ไหน จับตา"ระบบการเงินเมียนมาร์" ขณะที่ ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้มุมมองแบบนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อเมียนมาร์ว่า หากพิจารณาจากพื้นฐานที่เมียนมาร์มีก่อนหน้านี้ถือว่าเมียนมาร์เติบโตรวด เร็วสุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน หากพิจารณาในฐานะผู้รับ การลงทุนเมียนมาร์ถือว่า เนื้อหอมกว่าชาติอื่น ๆ ในอาเซียนอีกเช่นกัน หากไม่นับอินโดนีเซียที่มีญี่ปุ่นรุกเข้าลงทุนด้านอุตสาหกรรม ยาน ยนต์อย่างมากในขณะนี้ในอาเซียนเมียนมาร์ถือเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่ถูก ปิดกั้นการนำเข้าสินค้าจากการบอยคอตของประเทศตะวันตกมาอย่างยาวนาน ในประเด็นนี้ยิ่งขับให้เกิดดีมานด์การจับจ่ายสูงขึ้นเมื่อเมียนมาร์เริ่ม เปิดประเทศ ด้านการเข้าไปลงทุนเมียนมาร์มีแรงจูงใจสูงกว่าชาติอื่นในอาเซียน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหม่มาก ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องมีการร่วมทุนก็ได้ โดยต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% ได้ในทุกอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติ ต่างก็จ้องที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ด้วย ไม่เพียงแต่นักลงทุนจากไทยหรือในอาเซียน ในส่วนนี้ต้องรอดูทิศทางอีกเล็กน้อย แม้การลงทุนจะมีต้นทุนต่ำ แต่ก็มีต้นทุนแฝงในด้านโลจิสติกส์ สำหรับความกังวลการลงทุนในเมีย นมาร์เมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในอาเซียนมีอยู่ 3 ประการคือ 1) กฎระเบียบต่าง ๆ และสภาพการเมืองภายในประเทศที่อาจส่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องติดตามอย่างละเอียด โดยอาจจะส่งผลกระทบการลงทุนระยะยาว 2) ต้นทุนแฝงในการลงทุน ได้แก่ สาธารณูปโภค ค่าติดต่อประสานงาน ที่ดิน ที่พัก ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต และ 3) ในทางเศรษฐศาสตร์ เมียนมาร์มีเงินไหลทะลักเข้าอย่างมากกว่า 60-70 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในรูปแบบเงินช่วยเหลือ เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และเงินในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ในประเทศ ในประเด็นนี้ต้องพิจารณาด้วยว่า "ระบบการเงินของเมียนมาร์แข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับเงินที่ไหลเข้ามามากเช่น นี้เพียงใด มีระบบดูดซับสภาพคล่องดีแค่ไหน มีระบบธนาคารที่จะส่งสัญญาณไปยังภาคเอกชนดีแค่ไหน และธนาคารชาติเมียนมาร์มีศักยภาพเรื่องเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนได้ชัดเจนเพียงไร" ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ อ่าน : 2745 ครั้ง วันที่ : 17/05/2012 |
||||
|