ธนิต โสรัตน์ "ย่างกุ้ง จุดหมายการลงทุนในเมียนมาร์".. Share




กระแสการแห่ไปลงทุนในประเทศเมียนมาร์มาแรงกว่าชาติใด ๆ ในอาเซียน แต่หากมองย้อนกลับไปก่อนเมียนมาร์ส่งสัญญาณการเปิดประเทศ มีหลายธุรกิจที่ต้องปิดตัวลงและย้ายตนกลับบ้าน แต่ใน พ.ศ.นี้เมียนมาร์แสดงตนว่าพร้อมรับการลงทุนและพร้อมพัฒนาประเทศเพื่อเปิด กว้างทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่

นับแต่การปฏิรูปการเงิน โดยประกาศลอยตัวค่าเงินจ๊าตแบบจัดการได้ ในวันเดียวกับการเลือกตั้งซ่อมที่พรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจี คว้าชัย การเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์มีแต่สัญญาณทางบวก

นายธนิต โสรัตน์ ผู้ดำรงตำแหน่งควบทั้งรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรองประธานสภาธุรกิจไทย-พม่า ผู้เชี่ยวชาญรอบด้านเกี่ยวกับเมียนมาร์ เปิดโอกาสให้ "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ถึงการลงทุนในประเทศนี้ เขากล่าวชัดเจนว่า แม้ท่าเรือน้ำลึกทวายจะทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นเต้น แต่ขณะนี้ "ย่างกุ้ง" คือจุดหมายของการลงทุนในเมียนมาร์

- สถานการณ์การลงทุนจากต่างชาติในเมียนมาร์

ขณะ นี้ถือว่ากระแสการเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์แรงมาก สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมาร์รับแขกต่างชาติที่เข้าไปเยี่ยมอย่างต่อ เนื่อง ล่าสุด รัฐบาลเมียนมาร์ประกาศลอยตัวค่าเงินจ๊าตจาก 2 ระบบ คือ ระบบทางการ โดย 1 ดอลลาร์ แลกได้ 6.4 จ๊าต และอีกอัตราอยู่นอกระบบ ซึ่งแลกได้ 800-820 จ๊าต ขณะนี้ได้ปรับให้เหลือระบบเดียว คือ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 800-850 จ๊าต หรือ 1 บาท เท่ากับ 27 จ๊าต นี่ถือเป็นเรื่องดี แต่การที่ค่าเงิน 2 ระบบต่างกันมากราว 120 เท่า ในทางปฏิบัติจึงต้องรอดูกลไกของแบงก์ชาติ

เมียนมาร์ว่าจะดูแลระบบค่าเงินเช่นนี้ให้เป็นไปได้เรียบร้อยเพียงใด

ที่ ผ่านมาเมียนมาร์มีการลงทุนจากต่างชาติจำกัดเพียงบางสาขา ราว 85 เปอร์เซ็นต์ เป็นการลงทุนในสาขาพลังงาน ทั้งน้ำมัน ก๊าซ และแร่ต่าง ๆ ส่วนในปี 2554 การลงทุนอันดับ 1 คือการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ จำนวน 5 โครงการ มูลค่า 18,873 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 46.7 เปอร์เซ็นต์ ของการลงทุนทั้งหมด

อัน ที่จริง เมียนมาร์มีศักยภาพในการลงทุนมากกว่าด้านพลังงาน สามารถพัฒนาให้เติบโตได้หลายด้าน แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเมียนมาร์ก่อนเข้าไปลงทุนด้วย

ณ วันนี้ขอย้ำว่า "ย่างกุ้ง" คือจุดหมายของการลงทุนในเมียนมาร์ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความพร้อมสูงสุด

- ศักยภาพของ "ย่างกุ้ง"

ย่างกุ้ง มีท่าเรือขนาดใหญ่และเล็กรองรับระบบโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในเมียนมาร์ เนื่องจากประเทศยังมีสาธารณูปโภคไม่ครบครัน และถนนหนทางยังไม่สะดวกนัก โลจิสติกส์จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจสูง จึงถือว่าท่าเรือเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้ระบบโลจิสติกส์ของธุรกิจราบรื่น ขึ้น

ท่าเรือสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในเมียนมาร์ ได้แก่ท่าเรือทิลาวา (Thilawa) ซึ่งห่างจากตัวเมืองย่างกุ้ง 13 กิโลเมตร ท่าเรือนี้อยู่ในเขตเศรษฐกิจทิลาวา เป็นท่าเรือสำหรับขนส่งคอนเทนเนอร์ ความจุมากถึง 1,000 ตันกรอสส์ (1 ตันกรอสส์ เท่ากับ 1,016 กิโลกรัม)

อีก ท่าเรือเป็นท่าเรือเก่าแก่สมัยอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคม คือท่าเรือแอมเฮิร์ส หรือไจกะมี ทางเหนือเชื่อมกับมัณฑะเลย์ และห่างจากเนย์ปิดอว์ราว 390 กิโลเมตร ทั้งยังมีถนนเชื่อมไปยังทวาย

ท่าเรืออีกแห่งคือท่าเรือ เอเชีย เวิลด์พอร์ต เป็นท่าเรือของเอกชน สามารถออกสู่อ่าวเมาะตะมะ มีศักยภาพสามารถเชื่อมต่อกับภูมิภาคเอเชียใต้ได้ เพราะสามารถติดต่อกับท่าเรือจิตตะกองของบังกลาเทศได้

ศักยภาพอีก ประการคือแรงงานในประเทศ ส่วนใหญ่มีอายุน้อย มีมากกว่า 30-35 ล้านคน และมีค่าแรงต่ำ แม้ว่าทางการเมียนมาร์เพิ่งจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 2 เท่า คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน แต่ก็ยังเป็นอัตราที่ต่ำมาก หากเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบนี้ รวมถึงไทยด้วย

- สาขาการลงทุนที่น่าสนใจ

สำหรับ ย่างกุ้ง นักลงทุนต่างชาติควรมองการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมเบา (Light Industries) ทุกประเภท ซึ่งคิดว่าสามารถพัฒนาได้ในย่างกุ้ง โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ในการบริโภคภายในประเทศ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก กระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กล่องต่าง ๆ กระดาษ หรือแม้กระทั่งรองเท้าแตะ บริษัทใหญ่ ๆ จากต่างประเทศ เริ่มก้าวเข้าไปลงทุนใน

เมียนมาร์แล้ว เช่น เสื้อผ้าแบรนด์ La Coste, รองเท้า Hush Puppies เป็นต้น

ประเภท ธุรกิจที่เข้ามาลงทุนและประสบความสำเร็จอย่างสูงขณะนี้คือผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น กล่อง ตะกร้า และอื่น ๆ ที่ใช้ในครัวเรือนเมียนมาร์ อีกประเภทคือรองเท้า โดยเฉพาะรองเท้าแตะ ซึ่งเป็นตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคทุกระดับ ตั้งแต่ประชาชนไปจนถึงชนชั้นนำ ซึ่งสวมใส่ในโอกาสที่เป็นทางการด้วย สินค้าเหล่านี้ถือว่าผู้ผลิตเข้าใจตลาดภายในของประเทศเป็นอย่างดี

- อุปสรรคการลงทุนในย่างกุ้ง

ไฟฟ้า ยังเป็นอุปสรรค เนื่องจากในประเทศเมียนมาร์มีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่จะเข้าไปเปิดโรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีทุนในการผลิตแหล่งไฟฟ้า เช่น เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ เพื่อใช้สำหรับกิจการของตนโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ต้นทุนโลจิสติกส์ก็มีราคาสูง

ด้านกฎหมายการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งออกมาเมื่อปลายปี 2554 มีทั้งหมดจำนวน 3 ฉบับ แต่ปัจจุบันออกมาเพียง 1 ฉบับ คือเขตอุตสาหกรรมพิเศษทวาย ส่วนอีก 2 ฉบับของเขตเศรษฐกิจทิลาว่าและเขตเศรษฐกิจพิเศษขยักพยูยังไม่ออกมา กฎหมายลงทุนที่ยังไม่ชัดเจน เป็นผลให้นักลงทุนยังไม่เชื่อมั่น อีกเรื่องที่สำคัญคือการขาดข้อมูลจากภาครัฐ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

แต่ผมก็เชื่อว่าการได้รับการลดระดับการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ชาติต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในเมียนมาร์มากขึ้น

ที่มา : ประชาชาิติธุรกิจ




อ่าน : 2047 ครั้ง
วันที่ : 04/05/2012

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com