|
||||
|
||||
แรงงานไทย-ต่างด้าวแห่ย้ายฐาน ไหลเข้า 7 จังหวัดนำร่องค่าแรง 300.. Shareดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ ส.อ.ท.ได้ติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง พบว่ามีสัญญาณชัดเจนว่าลูกจ้างทั้งคนไทยและคนต่างด้าวเริ่มเคลื่อนย้ายเข้า มาทำงานใน 7 จังหวัดที่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ตั้งแต่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา เบื้องต้นที่ ส.อ.ท.ได้รับรายงาน อาทิ ชัยภูมิ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี ชุมพร สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ สาเหตุมาจากลูกจ้างเองต้องการค่าจ้างสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่ภาคกลาง 6 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดภูเก็ตยังขาดแคลนแรงงานสูง ขณะนี้ ส.อ.ท.ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาแบบเจาะลึก และเป็นหนึ่งในหลายประเด็นที่จะเสนอให้นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท.พิจารณา นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท.กล่าวเพิ่มเติมว่า ส.อ.ท.สำรวจผลกระทบหลังปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยสุ่มสำรวจภาคเหนือพบผู้ประกอบการ 119 รายได้รับผลกระทบรุนแรง 58% ผลกระทบปานกลาง 36% และผลกระทบน้อย 6% แหล่งข่าวจากสำนักงานแรงงาน จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ยังไม่พบรายงานตัวเลขที่เป็นทางการปัญหาแรงงานย้ายถิ่น หลังเดือน เม.ย.ไปแล้วน่าจะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น เพราะทางกระทรวงแรงงานสั่งการให้ตั้งวอร์รูมสังเกตการณ์ทุกปัญหาทึ่เป็นผล กระทบจากการปรับค่าจ้างอยู่แล้ว นายศักดิ์สกล จินดาสวัสดิ์ แรงงานจังหวัดสมุทรสงครามกล่าวว่า ได้เตรียมมาตรการป้องกันการเคลื่อนย้ายแรงงานไว้บางส่วน ซึ่งการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก 40% ในจ.สมุทรสงคราม ทำให้ค่าแรงเดิม 172 บาท/วัน เพิ่มเป็น 240 บาท/วัน ก็ทำให้ลูกจ้างบางส่วนยอมรับได้ นาย สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาก เพราะต้นทุนสูงขึ้นแต่ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม ถ้าแจ้งล่วงหน้าให้ผู้ประกอบการได้เตรียมความพร้อมผลกระทบอาจน้อยกว่านี้ นอกจากนี้การขึ้นค่าแรงฉับพลันทำให้ผู้ประกอบการในหลายจังหวัด อย่างสุพรรณบุรีขาดแคลนแรงงานหนัก เนื่องจากแรงงานบางส่วนย้ายถิ่นฐานไปทำงานใน 7 จังหวัดที่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท สิ่งที่คาดหวังคือแรงงานจะต้องมีคุณภาพฝีมือมากกว่านี้ และการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทในวันที่ 1 ม.ค. 2556 ใน 70 จังหวัดที่เหลือน่าจะเลื่อนออกไป ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ อ่าน : 1930 ครั้ง วันที่ : 04/05/2012 |
||||
|