ตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจเดือนม.ค.55สภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่ปกติ Share


  ดร.ธนิต โสรัตน์
          รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
          จากตัวเลขเครื่องมือทางเศรษฐกิจเดือนมกราคม แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจไทยเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อยจากด้านอุป
สงค์ในประเทศ และจากสาขาบริการการท่องเที่ยว เฉพาะในเดือนมกราคม 2555 จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน และร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนมกราคม 1.94 ล้านคนคาดว่าในปีนี้ทั้งปี จำนวนนักท่องเที่ยวอาจสูงถึง 20.8 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยกว่าร้อยละ 60 เป็นนักท่องเที่ยวจากเอเชีย 
          นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังถูกขับเคลื่อนจากผลผลิตสินค้าเกษตร ที่ยังมีการขยายตัวได้เล็กน้อย โดยตัวเลขดรรชนีการ
          ผลิตภาคเกษตร (API) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  เดือน
          มกราคม ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.9 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวจากยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ที่ร้อยละ 5.8 3.9 11.2 และ 88.6 ตามลำดับ ขณะที่ข้าวเปลือกได้
          รับผลกระทบจากการจำนำในราคาที่สูงทำให้ตัวเลข API ติดลบถึงร้อยละ 34.6 แต่ในเชิงราคาสามารถขยายตัวเป็นบวก ที่ร้อยละ 10.3 สำหรับยางพารา มันสำปะหลังราคาติดลบร้อยละ 36.5 และ 20.2 ตามลำดับ มีเพียงปาล์มน้ำมันและอ้อย ซึ่งมีราคาสูงตามราคาน้ำมันเบนซิน
          สำหรับด้านอุปทานในเดือนมกราคม2555 มีการฟื้นตัวเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากภาคอุตสาหกรรมหลักในภาคกลางที่ถูกน้ำท่วมยังไม่สามารถกลับมาผลิตได้ ซึ่งคาดว่าอุตสาหกรรมในพื้นที่น้ำท่วม ประมาณร้อยละ 60-65 ยังไม่สามารถเดินเครื่องได้สอดคล้องกับดรรชนีภาคอุตสาหกรรม MPI ในเดือนมกราคม มีการหดตัวถึงร้อยละ-
          15.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่หากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม MPI เดือนมกราคม ยังหดตัว -15.1 ซึ่งเป็นการหดตัวในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์เครื่องหนัง อุตสาหกรรมสิ่งทอและการ์เมนท์ ร้อยละ -47.4 -32.0 -28.1 -38.9 และ -21.2 ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยดรรชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI)เดือนมกราคม หดตัว -2.9 เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ปี 2554 มีการหดตัวสูงถึง -84.0 และ -30.4 ตามลำดับ
          ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มของธุรกิจ โดยดรรชนีความเชื่อมั่นเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ 99.6 สูงขึ้นกว่าเดือนธันวาคมที่ 93.7 โดยโรงงานขนาดใหญ่มีความเชื่อมั่นที่ 106.3 โรงงานขนาดกลาง 97.3 โรงงานขนาดเล็ก 94.7 ส่วนดรรชนีความเชื่อมั่นใน 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจและกำลังการผลิตจะปรับตัวดีขึ้น โดยให้ความเชื่อมั่น 107.7 แสดงว่าภาคการผลิตจะเข้าสู่สภาวะปกติได้ในเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน 
          สำหรับความเชื่อมั่นรายภาคนั้น มีเพียงผู้ประกอบการในภาคกลางที่อยู่ในเขตน้ำท่วม ยังขาดความมั่นใจและความเชื่อมั่นโดยดรรชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 89.7 ขณะที่ภาคอื่นอยู่ในเกณฑ์เกินร้อย  
          ขณะเดียวกัน ตัวเลขดรรชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 25.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมกราคม ที่ระดับ 24.2 ซึ่งความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ที่ระดับต่ำมากที่ 15.7 และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ออนาคตใน 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่32.6 ซึ่งค่าดรรชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงว่าประชาชนยังมีความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และยังมีความกังวลต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ระดับรายได้และความกังวลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ 
          อย่างไรก็ดี ดรรชนีรายได้ในอนาคตเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ50.3 เพิ่มจากเดือนมกราคมที่ 48.1 ซึ่งสอดคล้องกับดรรชนีความเชื่อมั่นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งผลการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นที่ระดับ 65.5 เทียบกับเดือนมกราคม ที่ระดับ 64.0 
          ทั้งนี้ สัญญาณแสดงถึงเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 2 เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่มาก เห็นได้จากปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แสดงถึงสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวที่ยังไม่เสถียร เห็นได้จากตัวเลขการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวเลขคงที่ ณ เดือนมกราคม มีตัวเลขลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.43 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ซึ่งประเมินว่าการบริโภคเอกชน ณ ราคาคงที่ ปี 2555 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.0 -4.5 เปรียบเทียบกับปี 2554 ที่จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.3 (การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2554 ติดลบร้อยละ -3.0) ซึ่งคาดการณ์ว่าหลังจากการปรับเงินเดือนปริญญาตรีแรกเข้าของราชการและรัฐวิสาหกิจ และค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 40 ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน2555 อาจทำให้ตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวได้ดีขึ้น 
          ทั้งนี้ มีแรงงานที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการปรับค่าจ้าง ประมาณ 5.5-6.5 ล้านคนซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนจะต้องมีการปรับค่าจ้าง เฉลี่ยร้อยละ 10-12 ของค่าจ้าง คิดเป็นเงินประมาณ 64,000-65,000 ล้านบาทต่อปีหรือประมาณร้อยละ 3.0 ถึง 5.0 ของต้นทุนรวม ซึ่งเมื่อเทียบกับ GDP แล้วก็มีสัดส่วนที่น้อยมาก เพียงประมาณร้อยละ 0.55 ของGDP ขึ้นอยู่กับความสามารถของกระทรวงพาณิชย์ที่จะควบคุมราคาสินค้าหลังจากการปรับค่าแรงได้มากน้อยเพียงใด ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการปรับราคาที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 8.0-8.5 
          อย่างไรก็ดี ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของกระทรวงพาณิชย์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ร้อยละ 3.35 เปรียบเทียบกับเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย ปี 2554 ที่สูงร้อยละ 3.8 ก็ถือว่าภาครัฐยังสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งทาง สศช.ประเมินว่าเงินเฟ้อปี 2555 น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4.0 
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 9 มี.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--


อ่าน : 1837 ครั้ง
วันที่ : 15/03/2012

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com