|
||||
|
||||
ลูกจ้างโวยเลื่อนขึ้น 300 บ. ลั่นต้องเริ่ม 1 ม.ค.2555 Shareลูกจ้างโวยเลื่อนขึ้น 300 บ. ลั่นต้องเริ่ม1ม.ค.55 จ่อเคลื่อนไหวกดดัน เอกชนฉะรัฐบาลหาเสียง จี้ชะลอเริ่มต้นปี 2556 ขู่จ่ายไม่ไหวก็เลิกจ้าง เมื่อวันที่ 23 พ.ย. น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงกรณี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 พ.ย. มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำวันละ 300 บาท นำร่องใน 7 จังหวัด และที่เหลือปรับขึ้นเฉลี่ยที่ 40% (วันละ 63-85 บาท) ให้มีผลวันที่ 1 เม.ย. 2555 จากเดิมให้มีผลในวันที่ 1 ม.ค. 2555 เนื่องจากสถานประกอบการในหลายจังหวัดประสบ ปัญหา น้ำท่วม ว่า ที่ผ่านมา คสรท.มีการประชุมหารือ มาก่อนหน้านี้และมีมติไปแล้วว่ารัฐบาลควร ดำเนินการตามนโยบายเดิมคือ ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศภายใน วันที่ 1 ม.ค. ปีหน้า แต่จากสถานการณ์น้ำท่วม ก็เข้าใจ แต่การจะรวมยอดทั้งประเทศคงไม่ใช่ เนื่องจากไม่ได้ท่วมทั้งประเทศ จ่อเคลื่อนไหวทวง300บ.ต้องต้นมค.55 อย่างไรก็ตาม คสรท.จะมีการประชุมหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรอีกครั้งในสิ้นเดือนธ.ค.นี้ ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพราะแม้จะมีสถานการณ์น้ำท่วม แต่ไม่ได้ท่วมทั้งหมด ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่สามารถคุมราคาสินค้าได้ทำให้คนงานยิ่งประสบปัญหาใน การครองชีพ ซึ่งการปรับค่าจ้างยิ่งช้าก็ยิ่งมีปัญหา ที่สำคัญยังปรับไม่เท่ากันหมดไม่เป็นไปตามนโยบายเดิม อีกทั้งยังส่งผลให้คนงานเครียดยิ่งขึ้น "ยกตัวอย่างกรณีคนงานในโรงงาน ไดนามิกส์ กรุ๊ป อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร นายจ้างทำท่าไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างก็โทรศัพท์ มาปรึกษาคสรท.กันเยอะ สุดท้ายมีอยู่ 1 คน ชื่อว่า นางธีรารัตน์ ศรีสุข อายุ 52 ปี มีอาการเครียดมากจนเส้นเลือดในสมองแตกซึ่งทราบมีโรคประจำตัวคล้ายๆ เลือดจาง ต้อง เข้าโรงพยาบาลนครปฐมตอนนี้อาการสาหัส อยู่ห้องไอซียู ตรงนี้อยากให้รัฐบาลดูแลด้วยไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว นายจ้างค้านขึ้นค่าแรงซ้ำภาคธุรกิจ ด้านนายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ครม.ต้องรับผิดชอบที่มีมติเห็นชอบ ให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทนำร่องใน 7 จังหวัด และที่เหลือปรับขึ้นเฉลี่ยที่ 40% มีผลวันที่ 1 เม.ย. 2555 เพราะถือเป็นการเร่งปรับขึ้นค่าแรงในช่วงที่ไม่เหมาะสมซึ่งเป็นการซ้ำเติม ภาคธุรกิจอย่างหนัก หลังจากที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมโรงงาน จนมีความ เสียหายมูลค่ามหาศาล โดยคาดว่าผลที่ตามมาอาจมีผู้ประกอบการหลายรายต้องปิดกิจการ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต นายจ้างอ่วมควัก1.8หมื่นล.จ่ายค่าแรง ขณะที่ ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสอท. กล่าวในการเสวนาทิศทางเศรษฐกิจไทย ภายหลังสถานการณ์น้ำท่วมว่า จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นในส่วนของ ภาคแรงงานพบว่ามีแรงงานที่ได้รับผลกระทบ จากน้ำท่วมไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านคน โดยแบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ใน 7 นิคมอุตสาหกรรม 6.6 แสนคน แรงงานในภาคพาณิชยกรรม 3.4 แสนคน และแรงงานในภาคเอสเอ็มอี 8 แสนคน ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงให้กับกลุ่มนี้ตั้งแต่เดือนต.ค.-พ.ย. ทั้งๆ ที่ยังไม่สามารถ เดินเครื่องการผลิตได้ เป็นวงเงินไม่น้อยกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ตลอดเวลาที่น้ำท่วม ประเมินว่าจะต้องจ่ายค่าแรงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ชี้ควรเลื่อนขึ้นหลังเม.ย.55 "เดิมทีคณะกรรมการไตรภาคีก็เคยมีมติให้ขึ้นค่าแรงวันที่ 1 เมษายน 2555 อยู่แล้ว แต่ก็งงเหมือนกันที่รัฐบาลบอกกับสาธารณชน ว่า รัฐบาลได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการช่วงน้ำท่วมจึงต้องเลื่อนการขึ้นค่าแรงจาก วันที่ 1 มกราคม เป็น 1 เมษายน 2555 ซึ่งตรงนี้ก็ไม่เป็นความจริง ที่ภาครัฐให้เหตุผลแบบนี้เพราะมติเดิมของไตรภาคีก็วันที่ 1 เมษายน อยู่แล้วหากมีความจริงใจก็ต้องเลื่อนขึ้นค่าแรง หลังวันที่ 1 เมษายน 2555 จึงจะถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมามติคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) อยากให้รัฐบาลขึ้นค่าแรงวันที่ 1 มกราคม 2556" นายสมมาต กล่าว ซัดรบ.หวั่นทำเอกชนเจ๊งยับ เลขาฯสอท. กล่าวด้วย ว่า ภาคเอกชนไม่เข้าใจนักการเมืองเหมือนกัน ทั้งๆ ที่ช่วงตอนนี้ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเลื่อนขึ้นค่าแรง เพราะผู้ประกอบการจำนวนมากต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟู รวมถึงผู้ประกอบการได้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจจำนวนมากซึ่งผู้ใช้แรงงานเองก็ คงเข้าใจ เพราะในปี 2555 ภาคอุตสาหกรรมต้องประสบปัจจัยเสี่ยงมากมาย เช่น การใช้งบประมาณในการฟื้นฟูโรงงาน, เศรษฐกิจโลกที่ต้องชะลอตัวอย่างน้อยอีก 2 ปี, การขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดด, ต้นทุนวัตถุดิบที่จะปรับตัวสูง และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับที่สูง ซึ่งที่ผ่านมาภาคเอกชนต้องการให้ลดดอกเบี้ยลงอีก 2% เป็นการชั่วคราว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จวกรบ.หวังหาเสียงลูกจ้าง นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการ ค้าไทยและคณะกรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า จริงๆ แล้วมติของคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ 17 ต.ค.2554 ระบุไว้ชัดเจนว่าให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัด และจังหวัดอื่นๆ ขึ้นในอัตรา 40% ของค่าจ้าง มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2555 อยู่แล้วไม่ได้เป็นการเลื่อนการปรับค่าจ้างเร็วขึ้นแต่อย่างใดอีก ทั้งนี้มติดังกล่าวมีขึ้นตั้งแต่ยังไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วม "การที่รัฐบาลอ้างว่าเลื่อนจากวันที่ 1 ม.ค.2555 เป็น 1 เม.ย. 2555 เพื่อช่วยนายจ้างที่ประสบภัยน้ำท่วมถือว่าเป็นการคลาดเคลื่อน และเป็นการหาเสียง อย่างไรก็ตาม คงต้อง รอให้คณะกรรมการค่าจ้างมีการประชุม ซึ่งคิดว่าฝ่ายนายจ้างหลายฝ่ายอาจจะมีการนำข้อเสนอ มาพูดคุย เพื่อหาความเป็นไปได้ในการที่จะยืดเวลาการปรับขึ้นค่าจ้างออกไปได้หรือไม่" ขู่เลิกจ้างถ้าไม่ยืดไปต้นปี'56 ส่วนนายวรพงษ์ รวิรัฐ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้เป็นแบบก้าวกระโดดซึ่งส่งผลกระทบต่อนาย จ้างอยู่แล้ว และยิ่งมาประสบภาวะน้ำท่วมก็ยิ่งเท่ากับมาซ้ำเติมนายจ้างเข้าไปอีก อยากให้รัฐบาลเห็นใจนายจ้างตนจึงขอเสนอให้รัฐบาลเลื่อนบังคับใช้ออกไป และมีผลบังคับใช้ในเดือนม.ค. 2556 เนื่องจากนายจ้างจะได้มีเวลาในการปรับตัวได้ทัน แต่ถ้ารัฐบาลหรือคณะกรรมการ ค่าจ้างยังยืนยันที่จะให้มีการปรับขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.2555 นายจ้างก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องรับกรรมไป แต่หากสถานการณ์เลวร้ายคงถึงขั้นต้องมีการลดหรือเลิกจ้างแรงงาน ชี้พิษน้ำท่วมซัดศก.ไทยยับ 1.1 ลล. นายธนิตกล่าวว่า จากน้ำท่วมประเมินว่าความเสียหายทางต่อภาคเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเบื้องต้นคาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,124,163 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10.5% ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) โดยแบ่งเป็นความเสียหายทางภาคอุตสาหกรรม 474,750 ล้านบาท โดยนิคมฯทั้ง 7 แห่ง จำนวน 838 โรงงาน มูลค่าความเสียหาย 237,340 ล้านบาท และอุตสาหกรรมนอกนิคมฯจำนวน 9,021 แห่ง มูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท และกระทบ ต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวน 285,000 ราย มูลค่ากว่า 24,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกลดลงประมาณ 148,413 ล้านบาท และกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวหายไป 74,000 ล้านบาท ส่วนภาคครัวเรือเสียหาย 80,000 ล้านบาท และภาคเกษตรเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท ขณะที่ความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐานมีมูลค่าราว 30,000-35,000 ล้านบาท ด้านการค้าปลีกค้าส่งอีก 65,000-70,000 ล้านบาท คาดฉุดศก.ไทยยาวถึงกลางปี 2555 นายธนิต กล่าวว่า สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงสุดในรอบ 50 ปี ทำให้ฉุดการเติบโตของจีดีพีในปีนี้อย่างหนัก และลากยาวถึงไตรมาส 2 ปี 2555 แต่ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลทั้งนโยบายการเงิน การคลังว่าจะสามารถ ขับเคลื่อนได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจ ไทยยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงด้านความขัดแย้ง ซึ่งอาจทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซับซ้อนและยากมากขึ้น ทีมกรุ๊ปจี้ทุ่ม 3 แสนล.ทำมอเตอร์เวย์น้ำ ด้านนายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการบริการทีมกรุ๊ป กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลลงทุนสร้างมอเตอร์เวย์น้ำลึก 8 เมตร เพื่อเป็นเส้นทางระบายน้ำลงสู่ทะเล โดยเริ่มตั้งแต่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปสู่ภาคตะวันออกลงอ่าวไทย โดยคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาท แต่เมื่อ เทียบกับความเสียหายต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กว่า 1ล้านล้านบาท ก็ถือว่าคุ้มค่า สปส.ขยายเวลาแจ้งตกงานน้ำท่วม นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ตามที่เกิดอุทกภัยขึ้นในจังหวัดต่างๆ ทำให้มีสถานประกอบการหลาย แห่งได้รับผลกระทบและต้องปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้แรงงานถูกเลิกจ้าง ซึ่งแรงงาน ซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน จึงขอให้รีบติดต่อไปยังสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่เพื่อขอรับ สิทธิประโยชน์รับเงินทดแทน50% ของค่าจ้างเป็นเวลา 6 เดือน โดยสปส.ได้ขยายระยะเวลาแจ้งรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานให้แก่ผู้ประกันตน ที่ทำงานในสถานประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จากเดิม 30 วัน เป็น 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุด ความเป็นผู้ประกันตน ที่มา: แนวหน้า อ่าน : 1883 ครั้ง วันที่ : 30/11/2011 |
||||
|