|
||||
|
||||
ส.อ.ท.เตรียมเสนอแนวทางแก้ปมโลจิสติกส์ 14 มาตรการในสภาวะน้ำท่วม Shareดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ในภาวะน้ำท่วมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและภาคเอกชน ว่า ส.อ.ท.เตรียมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโลจิสติกส์จากผลกระทบน้ำท่วมให้กับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม 14 ข้อ คือ 1.ขอให้ภาครัฐแก้ปัญหาสินค้าขาดแคลน โดยมีมาตรการเร่งกระจายสินค้าและป้องกันการเก็งกำไร 2.ขอให้กระทรวงคมนาคมเร่งซ่อมโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนนหลักเชื่อมจังหวัดและถนนรองที่เชื่อมนิคมอุตสาหกรรม 3.ของให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งซ่อมแซมทางรถไฟที่ถูกน้ำท่วม 4.ขอให้เร่งฟื้นฟูสนามบินดอนเมืองและอาคารผู้โดยสารให้เร็ว 5.มีแนวทางปกป้องถนนพระราม 2 และเตรียมเส้นทางขนส่งลงภาคใต้หากเส้นทางดังกล่าวมีปัญหา 6.ขอให้ภาครัฐให้ข้อมูลเส้นทางขนส่งที่เดินทางได้หรือไม่ได้และติดป้ายสัญญาณที่ทันเหตุการณ์ 7.ขอให้แก้ปัญหาความแออัดของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อให้ผู้นำเข้าส่งออกที่มีตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่มีผู้ส่งหรือผู้รับหลายรายในตู้เดียวกัน (แอลซีแอล) ขนสินค้าได้เร็ว 8.ขอให้ท่าเรือคลองเตยสนับสนุนพื้นที่ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในช่วงน้ำท่วม 9.ขอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยและบริษัท ทอท.จำกัด (มหาชน)ลดค่าภาระท่าเรือและท่าอากาศยาน เช่น ค่าภาระฝากสินค้า 10.ขอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยสนับสนุนพื้นที่วางพักตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่มีผู้ส่งหรือผู้รับเป็นรายเดียวกัน (เอฟซีแอล) เพราะผู้นำเข้าได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ไม่มารับตู้ที่ท่าเรือ 11.ขอให้ภาครัฐมีมาตรการดูแลศูนย์บรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง เพราะอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมและไม่มีความปลอดภัยจึงควรมีมาตรการป้องกันจากน้ำท่วม เพราะมีตู้สินค้าและสินค้าจำนวนมากตั้งเรียงไว้ที่นี่เพื่อขนส่งไปท่าเรือแหลมฉบัง 12.ขอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเตรียมสถานที่รองรับเครื่องจักรหรือสินค้าของโรงงานน้ำท่วมที่ขนส่งผ่านท่าเรือ 13.ขอให้ภาครัฐปรับยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ พลังงานและสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรองรับภัยพิบัติในอนาคต 14.ขอให้ภาครัฐมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเดือนร้อนครอบคลุมทุกกลุ่มทั้งอุตสาหกรรม บริการและเกษตร ดร.ธนิต กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกว่ามีตู้สินค้าแอลซีแอลที่ท่าเรือแหลมฉบังตกค้างในคลังสินค้าจำนวนมากและใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ จึงจะเคลียร์สินค้าได้ ซึ่งปัญหาน้ำท่วมทำให้มีตู้แอลซีแอลที่รอการเปิดตู้เข้าสะสมในท่าเรือเพิ่มขึ้น 100 % และมีตู้แอลซีแอลจำนวนมากที่รอการเปิดตู้ โดยท่าเรือได้แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการเปิดตู้ที่ลานสินค้าก็ช่วยได้บ้าง ซึ่งได้ขอให้ท่าเรือเปลี่ยนสถานที่เปิดตู้สินค้าแอลซีแอลจากท่าเรือแหลมฉบังเป็นที่อื่นแทน นอกจากนี้ สำหรับไอซีดีลาดกระบังมีแนวป้องกันน้ำท่วมสูง 30 เซนติเมตร จึงเห็นว่าไม่เพียงพอและควรมีมาตรการป้องกันมากกว่านี้ ซึ่งไอซีดีลาดกระบังเป็นพื้นที่ของ รฟท.แต่การบริหารเป็นของผู้ประกอบการ 5 ราย จึงไม่มีเจ้าภาพชัดเจนที่จะทำระบบป้องกันน้ำท่วม โดยขณะนี้มีตู้สินค้าอยู่ที่ไอซีดีลาดกระบังประมาณ 50,000-60,000 ตู้ ดร.ธนิต กล่าวว่า กรมทางหลวงได้เตรียมแผนการซ่อมแซมถนนเพื่อรองรับการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง จะให้ฟื้นฟู 7 เส้นทาง คือ 1.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ซ่อมเส้นทาง 32 (เอเชีย-บางปะอิน-อยุธยา) ระยะทาง 12.5 กิโลเมตร 2.สวนตอุตสาหกรรมโรจนะ ซ่อมเส้นทาง 309 (อยุธยา-โรจนะ-วังน้อย) ระยะทาง 15 กิโลเมตร และเส้นทาง 3056 (อยุธยา-โรจนะ-วังน้อย) ระยะทาง 4 กิโลเมตร 3.สวนอุตสาหกรรมนวนคร ซ่อมเส้นทาง 1 พลหลโยธิน (รังสิต-นวนคร) ระยะทาง 20 กิโลเมตร 4.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ซ่อมเส้นทาง 329 (แยกสายเอเชีย-นครหลวง) ระยะทาง 6 กิโลเมตร 5.นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ซ่อมเส้นทาง 308 (แยกสายเอเชีย-บางปะอิน) ระยะทาง 6 กิโลเมตร 6.สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ซ่อมเส้นทาง 306 ติวานนท์ (ปากเกร็ด-บางกะดี-ปทุมธานี) ระยะทาง 12 กิโลเมตร ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ อ่าน : 1775 ครั้ง วันที่ : 18/11/2011 |
||||
|