|
||||
|
||||
เอกชนวอนแบงก์อย่าชะลอปล่อยสินเชื่อ Shareเอกชนร้องธนาคารอย่าตื่นตูม ชะลอการปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ส่งออก เพราะจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออกให้สูงขึ้น ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารส่วนใหญ่เริ่มเข้มงวดต่อการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการค่อนข้าง มากอยู่แล้ว โดยจะจัดผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เข้าบัญชีที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าแรง และกลุ่มผู้ส่งออกที่มีตลาดหลัก 80-100% เป็นสหรัฐ และอียู ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงดังกล่าวธนาคารจะพิจารณาเป็นพิเศษ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ถึงขั้นชะลอการให้สินเชื่อ ส่วนการให้ผู้ส่งออกไปทำประกันความเสี่ยงค่าเงินนั้น เป็นเรื่องที่ดำเนินการกันอยู่แล้ว ตอนนี้แบงก์เริ่มระวังมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีกำไรน้อย และกลุ่มผู้ส่งออกไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง ดังนั้นการจะขยายธุรกิจแบงก์ก็จะพิจารณาเป็นพิเศษ ว่ามีตลาดอยู่ที่ไหน และจะยิ่งเข้มงวดมากขึ้นอีกในปีหน้านายธนิตกล่าว อย่างไรก็ตาม บริษัทขนาดใหญ่ไม่น่าจะได้รับผลกระทบมาก แต่รายย่อยอาจจะลำบากมากขึ้นในการเข้าถึงสินเชื่อ และมีต้นทุนการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยอาจหันไปใช้บริการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย แทน เพราะพิจารณาเรื่องหลักประกันน้อยกว่า นาย พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การที่ธนาคารออกมาส่งสัญญาณชะลอการให้สินเชื่อ หรือให้ผู้ส่งออกไปทำประกันความเสี่ยง สำหรับผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าไปสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการหายไป และหากธนาคารดำเนินมาตรการดังกล่าวจริงๆ ต้นทุนของผู้ส่งออกจะยิ่งแพงขึ้น ในปัจจุบันผู้ส่งออกส่วนใหญ่ระมัดระวังการส่งออกสินค้าอยู่แล้ว และพยายามหาวิธีป้องกันความเสี่ยงด้วยตัวเองอยู่แล้ว และก็ทราบอยู่แล้วว่าลูกค้ารายใดเชื่อถือได้ ดังนั้นธนาคารต้องอย่างตื่นตูมจนเกินไป โดยเฉพาะการชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพราะเงินที่ได้มาส่วนใหญ่ก็นำไปใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อส่งออกไปขายยังประเทศอื่นๆ ด้วยไม่ใช้เฉพาะแต่อียู และสหรัฐเท่านั้น มาตรการที่ธนาคารจะเข้มงวด ก็ควรจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ไม่ใช่ออกมาตรการแบบปูพรม เพราะจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกอย่างมาก และเชื่อว่าไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ตั้งใจจะโกงแบงก์ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้เกิดขึ้นเพราะความตกใจ นายพรศิลป์ กล่าว สำหรับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ และอียูที่เกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอยู่บ้างในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งอาจทำให้การส่งออกชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่จะยังไม่ถึงขั้นยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือหยุดซื้อสินค้า แต่อาจจะซื้อน้อยลง หรือขอเครดิตที่ยาวกว่าปกติ ส่วนเรื่องการขอลดราคาเกิดขึ้นยากถ้าไม่วิกฤตจริงๆ เพราะราคาขึ้นอยู่กับตลาดค่อนข้างมาก ที่มา: โพสต์ทูเดย์ อ่าน : 1723 ครั้ง วันที่ : 29/09/2011 |
||||
|