|
||||
|
||||
เอกชนไม่ลดค่าขนส่ง แฉถูกรีดส่วย สอท.จ่อตบเท้าถกพิชัย โอดขยับ LPG อีกเจ๊งแน่ Shareภาคเอกชนยันไม่ลดค่าขนส่ง แม้รัฐลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เหตุมีต้นทุนจ่ายส่วยแฝงอยู่ 7-8% ด้านสหพันธ์ขนส่ง ผู้ประกอบการแก้วกระจก เตรียมเข้าพบ พิชัย ขอความชัดเจน ทั้งนโยบายเอ็นจีวีและแอลพีจี หวั่นทำลูกค้าหนี ระบุตั้งแต่ 1 ต.ค.54 เริ่มขาดทุนแน่ หากรัฐขึ้นค่าแรงอีก 300 เร่ง เจ๊งเร็วขึ้น ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) สายงานโลจิสติกส์ เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการภาคขนส่งจะไม่ปรับลดค่าบริการขนส่ง แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มน้ำมัน เบนซินและดีเซล เนื่องจากน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุน 30% ของค่าขนส่ง แต่เมื่อปรับลดราคาลง 3 บาทต่อลิตรจาก 29.99 บาทต่อลิตรมาอยู่ที่ 26.99 บาทต่อลิตร จะมีผลต่อต้นทุนเพียง 3-3.5% ราคาน้ำมันลง แล้วจะให้ผู้ประกอบการลดค่าขนส่งคงทำได้ยาก เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ อีก เช่น ค่าจ้างคนขับรถ การจ่ายส่วยให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเส้นทางในการขนส่งสินค้าซึ่งเป็นต้นทุนสูงถึง 7-8% ไม่จ่ายก็ไม่ได้ ยิ่งการขนส่งเป็นรถสิบล้อยิ่งเจอหนัก ซึ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนการคอรัปชั่น ที่เป็นต้นทุนแฝงของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วย ดร.ธนิตกล่าว นอกจาก นี้ ในการคิดค่าบริการภาคขนส่งจะมีการทำสัญญากับลูกค้าในระยะยาว 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ซึ่งมีการกำหนดต้นทุนและราคาแล้ว ดังนั้น นโยบายลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่ทำในระยะสั้น จึงไม่มีผลต่อค่าบริการมากนัก จึงไม่มีผลต่อการปรับลดราคาสินค้าลงแต่อย่างใด นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สหพันธ์ฯ ได้ทำหนังสือขอพบ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ในสัปดาห์หน้า เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยาน ยนต์ (เอ็นจีวี) ว่าหากมีการปรับขึ้นราคาแล้วจะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนเหมือนกับในปัจจุบัน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่ยังมีปัญหาอยู่ รวมทั้งแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีด้วยว่าจะเป็นอย่างไร นายขวัญ ชัย ติยะวานิช นายกสมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าภาคอีสาน กล่าวว่า ปัญหาก๊าซเอ็นจีวีนอกแนวท่อขาดแคลนยังมีอยู่ ทั้งที่ปกติช่วงฤดูฝนรถบรรทุกจะหยุดวิ่ง 30% และจะกลับมาวิ่งรับงานเพิ่มในช่วงปลายปี จึงทำให้เป็นห่วงว่าปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้น นายสมชัย โอวุฒิธรรม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจก ส.อ.ท.กล่าวว่า ผู้ประกอบการกลุ่มแก้ว กระจก และกลุ่มเซรามิก ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการขอนัดพบ รมว.พลังงาน เพื่อชี้แจงผลกระทบของการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคอุตสาหกรรม โดยจะเร่งเข้าไปพบให้ได้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีการปรับราคาขึ้นอีก 3 บาทต่อกิโลกรัม ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ เพราะเริ่มจะขาดทุนจากการประกอบธุรกิจแล้ว ส่วนนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน หากขึ้นจริงก็เตรียมปิดโรงงานแน่นอน คงไม่มีใครปรับตัวได้ เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการในโรงงานผลิตแก้วกระจกจ่ายค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยตก อยู่เดือนละ 1.5 หมื่นบาทต่อคนอยู่แล้ว คิดบนฐานค่าแรงขั้นต่ำที่ 200 บาทต่อวัน หากปรับเป็น 300 บาทต่อวัน จะทำให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2.1 หมื่นบาทต่อเดือนต่อคน ถือว่าสูงมาก. ที่มา: ไทยโพสต์ อ่าน : 1945 ครั้ง วันที่ : 13/09/2011 |
||||
|