|
||||
|
||||
รื้อแผนรถไฟ 1.7 แสนล้าน ชะลอรางคู่ ลุยไฮสปีดเทรน Shareการรถไฟฯ - ชัจจ์ เบรกแผนพัฒนารถไฟฉบับ ็ประชาธิปัตย์ หัวทิ่ม สั่งร.ฟ.ท.ชะลอการลงทุนรางคู่ 5 เส้นทาง โยกงบกว่า 6 หมื่นล้านมาลงทุนไฮสปีดเทรน 4 เส้นทางแทน ระบุไฮสปีดเทรนเร่งด่วนกว่าเน้นสายอีสาน-เหนือก่อน เพราะเป็นเส้นทางหลักในการขนสินค้าภาคการเกษตรมายังท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนสายใต้เป็นเฟส 2 ด้านเอกชนมึนนโยบายรัฐต้องการลดต้นทุนค่าขนส่ง แต่มุ่งเน้นลง ทุนขนคนมากกว่าขนสินค้า เตรียมเข้าพบรมว.คมนาคมรับทราบนโยบายลอจิสติกส์ 16 ก.ย.นี้ ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธาน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และประธานกลุ่มสายงานโลจิสติกส์ เปิดเผย ็สยามธุรกิจ ถึงกรณีที่กระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายให้ชะลอการก่อสร้างรถ ไฟรางคู่ โดยหันไปเน้นการลงทุนรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) แทน ว่า เรื่องดังกล่าวตนยังไม่ทราบ ว่านโยบายรัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างไร และมีคำนิยาม ไฮสปีดเทรนอย่างไร แต่ในทางวิชาการนั้นไฮสปีดเทรนจะเป็นรถไฟที่มีความเร็วสูง 250-300 กม.ต่อชั่วโมง ซึ่งใช้สำหรับขนคนเชื่อมระหว่างเมืองที่อยู่ห่างไกลกันประมาณ 300-500 กม. เช่น ที่ญี่ปุ่นระหว่างเมืองโอซากา-โตเกียว ในจีน เช่น จากปูดอง-เซี่ยงไฮ้ หรืออังกฤษ-ฝรั่งเศส เป็นต้น เพื่อยกระดับการขนส่งให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งอัตราค่าโดยสารก็จะสูงกว่าการโดยสารโดยรถ ขณะที่หากระยะทางเกิน 500 กม.เป็นต้นไปจะโดยสารโดยเครื่องบิน นอกจากนี้การที่รถไฟมีความเร็วสูง 250-300 กม.ต่อชั่วโมง ก็ไม่เหมาะสมในการขนสินค้า เพราะอันราย อย่างไรก็ตาม ตนยังไม่ทราบว่านิยามของไฮสปีดเทรนเมืองไทยนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งหากความเร็วไม่มากก็อาจจะขนสินค้าได้ แต่การที่มีรางเดียวก็ไม่ได้ถือว่าเป็นรถไฟความเร็วสูง เพราะต้องมารอหลีกกันเหมือนรถไฟในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่มีความชัดเจน โดยในวันที่ 16 กันยายน นี้ภาคเอกชนจะเข้าไปพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อรับทราบนโยบาย รวมถึงแลดเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้โครงการเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ โดยรวม นายทิพย ดาลาล ประเจ้าหน้าที่บริหาร ทริพเพิล ไอ ลอจิสติกส์ กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลต้องการลดทุนลอจิสติกส์ของประเทศลง แต่โครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการนั้นยังคงเน้นเรื่องการขนคนมากกว่าขนสินค้า เช่น โครงการไฮสปีดเทรน อย่างไรก็ตามที่กระทรวงคมนาคมบอกว่าทำไฮสปีดเทรนสำหรับขนส่งสินค้าด้วยนั้น ตนยังไม่แน่ใจในเรื่องความเร็วว่ากระทรวงคมนาคม กำหนดที่เท่าไหร่ เพราะหากความสูงเกินไปก็ไม่สามารถขนสินค้าได้เช่นกัน ขณะที่ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายแก่ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนการพัฒนาโครงการสำคัญๆ ของการรถไฟฯเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) จำนวน 4 เส้นทาง ซึ่งประกอบด้วย 1.กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 2.กรุงเทพฯ-ระยอง 3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ4.กรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งทราบมาว่าโครงการมีความคืบหน้าไปมาก โดยงบประมาณการออกแบบของทั้ง 4 เส้นทางผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท.แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างบรรจุในแผนงบประมาณปี 2555 ทั้งนี้ ยังมีรถไฟรางคู่อีก 5 สายทาง ได้แก่ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ วงลงทุนประมาณ 7.8 พันล้านบาท 2.มาบกะเบา-ถนนจิระ วงเงินลงทุนประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท 3.ถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงินลงทุนประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-หัวหิน วงเงินลงทุนประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท และ5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงินลงทุนประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็เป็นโครงการที่สำคัญในการพัฒนารถไฟไทยให้ทัดเทียมกับต่างชาติในการขน ส่งสินค้าทางราง เพื่อลดการขนส่งด้านโลจิสติกส์ของไทยลง สำหรับแผนลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน จำนวนเงิน 176,808 ล้านบาท นั้น อยากให้ผู้บริหารการรถไฟฯกลับไปทบทวนดูว่า จะสามารถแบ่งงบประมาณดังกล่าวมาลงทุนในด้านรถไฟความเร็วสูงได้หรือไม่ เพราะในอนาคตนานาประเทศจะมีการปรับระบบรางจากความกว้าง 1 เมตร หรือ Metre Gauge เป็นขนาด 1.435 เมตร หรือ Standard Gauge กันหมดแล้ว ซึ่งถ้าประเทศไทยไม่เปลี่ยนอาจจะเสียโอกาสในการเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ผมยอมรับว่าแผนการพัฒนารถไฟ 1.76 แสนล้านบาท ที่ ร.ฟ.ท. นำมาเสนอนั้น ไม่ตรงกับแนวทางการพัฒนารถไฟของรัฐบาลปัจจุบัน จึงได้สั่งการให้กลับไปทำการศึกษาการใช้งบประมาณใหม่ทั้งหมด โดยจะมุ่งเน้นเรื่องของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเป็นสำคัญ เนื่องจากจะสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนได้ทันที ส่วนหัวรถจักรเดิม หรือรางเดิมที่มีอยู่แล้วก็ให้ใช้วิธีซ่อมแซมแทนการซื้อใหม่หรือสร้างใหม่ ทั้งนี้ ก็อยากจะดำเนินการตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน หากไม่สามารถทำได้จะมีความผิดอาจโดยยุบพรรคได้ พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าว พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าวอีกว่า แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรถไฟฯ 1.76 แสนล้านบาท คงต้องลงไปดูรายละเอียดอีกครั้ง โดยมุ่งหมายให้ผู้บริหารของการรถไฟฯ ทบทวนงบประมาณดังกล่าวเพื่อนำมาจัดสรรใหม่ ในโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ในส่วนที่ร่างทีโออาร์ขึ้นมาแล้วอาจจะมีปรับเล็กน้อย เพื่อใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ที่สุด ซึ่งทางการรถไฟฯต้องกลับไปศึกษาและนำเสนออีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวกับ ็สยามธุรกิจิ ว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ร.ฟ.ท.จัดอันดับความสำคัญโครงการว่าอะไรควรลงทุนก่อน-หลัง อย่างไรก็ตามความเห็นของตนนั้นมองว่าทุกโครงการที่ความสำคัญหมด แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณลงทุน ดังนั้นสิ่งแรกที่คือ ต้องมีรางรถไฟที่แข็งแรง และรถที่แข็งแรงมาให้บริการประชาชน และก็ต้องมีความปลอดภัยในการใช้บริการด้วย ซึ่งต้องเร่งดำเนินการ ส่วนที่จะเพิ่มเติมก็ต้องศึกษา และเพิ่มเติมเข้ามาทีหลังได้ เช่น โครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้รถไฟความเร็วสูงถือว่าเป็นโครงการที่เร่งด่วนของรัฐบาลนี้ตามที่ได้ หาเสียงกับประชาชนไว้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องเร่งที่ต้องดำเนินการ ส่วนรถไฟรางคู่ก็ต้องเร่งทำการศึกษาและพัฒนาต่อไป ที่มา : สยามธุรกิจ อ่าน : 2274 ครั้ง วันที่ : 13/09/2011 |
||||
|