|
||||
|
||||
ค้านเงินเดือนปวช. 16,000 บาท Shareดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ต้องการเห็นองค์กรขนาดใหญ่รับผู้จบการศึกษาระดับอาชีวะและปวส. เข้ามาทำงานในเงินเดือนขั้นต่ำ 16,000 บาทต่อเดือน ว่า รัฐบาลควรแยกแยะระหว่างแรงงานมีฝีมือกับแรงงานขั้นต่ำ ให้ชัดเจนเพราะผู้ที่จบอาชีวะระดับปวช. และปวส.มีทั้งสาขาช่าง และสาขาพาณิชย์ หากขึ้นเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 16,000 บาททั้งหมด จะกลายเป็นอันตรายกว่านโยบายขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท เนื่องจากผู้จบสายอาชีวะเป็นฐานที่ใหญ่ระดับ 6-7 ล้านคน สำหรับนโยบายขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวันที่จะนำร่องใน 7 จังหวัดนั้นยอมรับว่าเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีการจ้างงานระดับล่างที่เข้มข้น โดยเฉพาะแถบปริมณฑล และส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี จากผลสำรวจส.อ.ท.ยอมรับว่าได้รับผลกระทบพอสมควรเพราะการปรับครั้งนี้จะมีผล ต่อการขึ้นค่าจ้างแรงงานต่างด้าวด้วย ดังนั้น รัฐบาลควรหามาตรการดูแลเอสเอ็มอีหากมีผลทันที นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. ยืนยันในหลักการเดิมให้ทยอยปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันภายในกรอบเวลา 3-4 ปี แม้ว่ากระทรวงแรงงานจะมีการหารือการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนำร่องใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย กทม., สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ปทุมธานี, นครปฐม, นนทบุรี และภูเก็ต คาดว่าจะมีผลวันที่ 1 ม.ค. 55 ก็ตาม เห็นด้วยที่จะจัดกลุ่มในการทยอยปรับโดยนำร่อง 7 จังหวัดแรกแต่สำคัญคือจะต้องมาคุยเรื่องกรอบเวลาถ้าขึ้นทันที 300 บาทต่อวันมีผล 1 ม.ค. 55 เลยทันที ภาคเอกชนคงคัดค้านเพราะต้องเข้าใจว่าผู้ประกอบการมีความสามารถในการรับภาระ ต่างกัน ซึ่งคงต้องอาศัยเรื่องกรอบเวลา. ที่มา: เดลินิวส์ อ่าน : 1858 ครั้ง วันที่ : 05/09/2011 |
||||
|