สภาอุตฯ แถลงรับไม่ไหวค่าแรง 300 บาท ธุรกิจช็อค! ให้รัฐบาลจ่ายส่วนต่างเอง Share


ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมฝ่ายเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ในรายการสรยุทธ เจาะข่าวเด่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เมื่อวันที่ 12 ก.ค. หลังจากที่สภาอุตสาหกรรมออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้าง 300 บาทโดย ดร.ธนิต กล่าวว่า เป็นมติแสดงจุดยืน หลังจากการประชุมกรรมการบริหาร และอีกหลายภาคส่วน โดยก่อนหน้านี้มีการทำโพลล์สำรวจผู้ประกอบการ โดยผลปรากฏว่า ผู้ประกอบการบอกว่ากระทบ 90-92 เปอร์เซ็นต์ มีบอกว่าไม่กระทบ 3-6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งคิดว่ารายใหญ่ที่ไม่คิดว่าจะกระทบก็พบว่ากระทบ 90-92 เปอร์เซ็นต์


ส่วนเรื่องภาษีนั้นดร.ธนิต กล่าวว่า ลดภาษีก็ดีเพราะภาษีของประเทศไทยสูงกว่าเพื่อนบ้านเขา แต่ต้องคุยแยกส่วนไม่ใช่มาคุยเรื่องค้าจ้างเหมือนยื่นหมู ยื่นแมว เพราะ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่หากเพิ่มค่าแรง 40 ปอร์เซ็นต์จะช็อค ส่วนเอสเอ็มอี ที่รายได้น้อยอยู่แล้วก็ต้องจ่ายเพิ่ม ก็ไม่มีกำไร แล้วจะจ่ายภาษีได้อย่างไร แต่ทั้งนี้รายใหญ่พวกรายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานน้อย จะได้ประโยชน์ เพราะ 15 กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในแรงงานเข้มข้น การส่งออกก็ต้องแข่งขันกับเพื่อนบ้านเรา การแข่งขันก็ลำบาก


สำหรับมติ 4 ข้อมีรายละเอียดดังนี้ 1. สภาอุตสาหกรรมแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ เพราะจะกระทบกับเศรษฐกิจ และการลงทุนต่างๆ 2. ค่าจ้างควรเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยมีคณะกรรมการไตรภาคีเป็นผู้พิจารณาตามกฎหมาย การเมืองต้องไม่ก้าวก่าย หรือกดดัน 3. ถ้าภาคการเมืองประสงค์จ่ายค่าแรง 300 บาท ให้รัฐบาลที่เป็นคนรับปากไว้จ่ายส่วนต่างจากที่ไตรภาคีกำหนดเอง เพราะอุตสาหกรรมจ่ายแล้วเจ๊ง 4. สภาอุตสาหกรรมพร้อมหารือกับรัฐบาลเพื่อหาทางออก รอให้ตั้งรัฐบาลเรียบร้อย


เมื่อพิธีกรถามถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยให้สัมภาษณ์คร่าวๆว่า 300 บาทเฉพาะกรุงเทพ จังหวัดอื่นลดหลั่นกันลงไปเป็นไปได้หรือไม่ ดร.ธนิต กล่าวว่า ถ้าฟังจากที่บอร์ดพิจารณาเรื่องค้าจ้างเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา เผยว่าจะมีกรุงเทพฯ และภูเก็ตจะทยอยขึ้นค่าจ้างก่อน 33 บาท ส่วนจังหวัดอื่นทยอยขึ้น 40 ปอร์เซ็นต์จากฐานที่เป็นอยู่ จนครบ 300 บาท ซึ่งจะมีผลกระทบคือ ดึงแรงงานจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงาน ซึ่งจากเดิมที่เราต้องการกระจายรายได้ ประชาชนอยู่ในท้องที่ไม่ต้องมาทำงานในกรุงเทพฯ แต่คราวนี้จะไม่ใช่กระจายรายได้ จะเป็นรวยกระจุกจนกระจาย


เมื่อพิธีกรถามนำว่า ที่ทางพรรคเพื่อไทยจะมีนโยบายกระตุ้นอย่างอื่นเช่นเรื่อง รถ และบ้าน ซึ่งหากมองว่าจะเป็นการกระตุ้นอีกทางให้คนใช้จ่ายเงินกระตุ้นภาคธุรกิจได้ หรือไม่ ดร.ธนิต กล่าวว่า ก็มีความเป็นไปได้หากใช้ระบบนี้ คาดว่าจีดีพีจะโตขึ้น 6-7 เปอร์เซ็นต์ แต่จีดีพีไม่ได้บอกถึงความสามารถในการแข่งขัน บอกเศรษฐกิจโตจากการปั่นหมุน แต่อย่าลืมว่าจ่ายมากขึ้น รายได้มากขึ้น ค่าใช้จ่ายก็มากขึ้นตาม ที่สุดแล้วก็เงินเฟ้อ


ดร.ธนิต กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจของเราวันนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ของเราส่งออก หากเราใช้ทฤษฎี 2 สูง แต่เพื่อนบ้านเรายังใช้ 2 ต่ำ เราต้องไปแข่งขันกับเขา มันเร็วเกินไป มันต้องค่อยเป็นค่อยไป หากเราไปตัดเลยมันจะช็อต เศรษฐกิจเราเพิ่งกับการส่งออกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ เศรษฐกิจของเราก็ไม่ใช่ส่งออกอย่างเดียว มีทั้งขายภายในประเทศด้วย ของนอกประเทศก็จะเข้ามาตีตลาด กระทบส่งออก และนำเข้าก็จะมาตีตลาดเราด้วย วันนี้มันเร็วไปที่จะเป็น 2 สูง


"หลังจากนั้นก็จะมีรายงานต่างด้าวตามเข้ามาเพราะค่าแรงต่ำ บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทยก็กระทบ" ดร.ธนิตกล่าว


ที่มา: มติชนออนไลน์




อ่าน : 1860 ครั้ง
วันที่ : 20/07/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com