|
||||
|
||||
ภาคธุรกิจลุ้นรัฐบาลมั่นคง เชื่อกระแสขัดแย้งลดลง Shareการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ในวันที่ 3กรกฎาคม 2554 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้มีส ส.ทั้งหมด 500 คน จากระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(เขตเดียวเบอร์เดียว)375 คน และระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์)125 คน โดยมีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้งถึง 40 พรรค และได้มีการรณรงค์หาเสียงกันทั่วประเทศมากว่าเดือนนั้น "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สำรวจความคาดหวังของประชาชนโดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชนที่ต้อง การได้ผู้แทนราษฎรที่จะเข้ามากำหนดทิศทางเศรษฐกิจและสร้างความปรองดองเพื่อ ให้การบริหารประเทศ เดินหน้าไปได้ในท่ามกลางกระแสสังคมที่เกิดความขัดแย้ง แบ่งแยกจนหลายๆฝ่ายเกรงว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ไทยยังเสี่ยงภาวะเงินเฟ้อ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้วว่า น่าจะเห็นความชัดเจนมากในเรื่องวงเงินงบประมาณปี 2555 ว่าจะเป็นอย่างไร โดยเวลานี้ฐานะการคลังของไทยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมั่นคง เนื่องจากการดำเนินนโยบายการคลังมีทิศทางในการกระตุ้นอยู่พอสมควร แต่ไทยยังมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออยู่ ฉะนั้นตลาดเงินคงไม่คาดหวังให้ใช้นโยบายการคลังกระตุ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ สำหรับนโยบายขาดดุลงบประมาณที่ตั้งไว้ประมาณ 350,000 ล้านบาทน่าจะเพียงพอแล้ว เนื่องจากงบประมาณปี 25 54 มีการขาดดุลงบประมาณถึง 420,000 ล้านบาท จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลใหม่จะเพิ่มหรือแก้ไขงบประมาณให้ขาดดุลมากไป กว่านี้ เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณให้ตลาดเงินในทางที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากช่วงนี้ยังมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ "ในส่วนตัวผมเองคงมีความต้องการไม่แตกต่างไปจากทุกคนในประเทศคือ อยากเห็นรัฐบาลที่มั่นคง โดยมีการดำเนินนโยบายที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศชาติและมีความ ซื่อสัตย์สุจริต" กลุ่มสีต่างๆจะลดหายไป ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยว่าขณะนี้ภาคเอกชนมี ความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเดินไปสู่ถนนการปรองดองแห่ง ชาติขึ้น เพราะเมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วทุกฝ่ายจะต้องยอมรับกันให้ได้ และเชื่อว่ากระแสกลุ่มสีต่างๆก็จะลดหายไป ความขัดแย้งก็จะลดลง ซึ่งตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่ที่รัฐบาลใหม่ด้วยว่าจะต้องนำนโยบายปรองดองมาดู ก่อน เนื่องจากทางยูเอ็นก็แสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ ว่าไทยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมา 5 ปี เป็นมูลค่าที่ไม่สามารถประเมินได้ และจะทำให้มีผลกระทบในระยะยาว ส่วนเศรษฐกิจครึ่งปีหลังนั้น ยังถือว่าเป็นผลจากการขับเคลื่อนของรัฐบาล"อภิสิทธิ์"ที่กำลังจะผ่านพ้นไป และกว่ารัฐบาลใหม่จะทำงานได้ก็น่าจะประมาณเดือนสิงหาคม เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศจะขับเคลื่อนโดยภาคส่งออกเป็นหลัก ซึ่งน่าจะทำได้เกินเป้าจาก 12% หรือเกิน 15% ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังโตต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้โต 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน ส่วนการปล่อยสินเชื่อก็ขยายตัว 16%จากปีที่แล้วขยายตัวเพียง 9% "การเลือกตั้งแล้วมีรัฐบาลไม่ได้มีผลต่อการดำเนินธุรกิจหรือการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนขนาดกลางและขนาดใหญ่จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า 2-3 ปี ในการซื้อเครื่องจักร สร้างโรงงาน รวมถึงการวางแผนทางการตลาด และการวางแผนเรื่องแรงงาน ฉะนั้นที่เห็นว่ามีการลงทุนในปีนี้ ก็เกิดจากผลพวงที่มีการวางแผนมาแล้วเมื่อปี 2552 หรือปี 2553 และกว่าจะตัดสินใจเลือกไทยก็ใช้เวลาเป็นปีๆเนื่องจากมีหลายประเทศที่เป็นคู่ แข่งที่มีตัวดึงดูดเรียกทุนเข้าประเทศตัวเอง" อย่างไรก็ตามขณะนี้กำลังติดดูว่าลำดับแรกรัฐบาลจะต้องเดินนโยบายปรองดองให้ ได้ก่อน และอยากจะเห็นประสิทธิภาพการคลัง เรื่องงบประมาณขาดดุล เพราะการใช้นโยบายประชานิยมจะขาดดุล 420,000 ล้านบาทต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี ก็จะทำให้หนี้สาธารณะของไทยจาก 28% ขึ้นไปสู่ 50% หรือมากกว่านี้ได้ในปี2560 ต่างชาติผวา-เบรกลงทุน นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการจัดเลี้ยงทูตพาณิชย์ต่างประเทศประจำประเทศไทย และประธานหอการค้าต่างประเทศในไทย รวมกว่า 100 คน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยสิ่งที่ต่างชาติแสดงความเป็นห่วงคล้ายกันคือ บรรยากาศการเมืองไทยหลังการเลือกตั้งที่ไม่อยากให้เกิดเหตุความรุนแรงเหมือน ปีที่ผ่านมา สำหรับการลงทุนของต่างชาติในช่วงนี้ส่วนใหญ่ระบุว่าคงต้องชะลอเอาไว้ก่อน เพื่อรอดูสถานการณ์ ส่วนเศรษฐกิจไทยหลังการเลือกตั้งมองว่า หากจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ และการเมืองไม่มีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง เศรษฐกิจก็จะเดินหน้าต่อไปได้ดี เพราะพื้นฐานมีความแข็งแกร่ง แต่หากมีปัญหาก็อาจส่งผลกระทบทำให้ไทยเป็นประเทศที่ล้าหลังเพื่อนบ้านใน กลุ่มอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจ(เออีซี)ในปี 2558 ส่วนนโยบายของรัฐบาลใหม่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรัฐบาลเดิมก็ไม่มีใครว่า แต่ขอให้ทำดีกว่าเดิม ห่วงแข่งอาเซียนระยะยาว นายมงคล ลีลาธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาความไม่สงบทางการเมืองมานาน แต่เศรษฐกิจก็สามารถผ่านพ้นมาได้ เพราะการขับเคลื่อนส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชนในอัตราส่วนถึง 75% ของจีดีพี เนื่องจากภาคเอกชนมีโครงสร้างในการทำธุรกิจที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ปรับตัวได้ดีในทุกสถานการณ์ ดังนั้น ประเด็นด้านการเมืองจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบ แต่ที่น่าเป็นกังวลคือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวภายหลังการเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 ที่จะทำให้เศรษฐกิจในอาเซียนเกิดการถ่ายเทได้อย่างเสรี หากรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพอาจจะทำให้ความต่อเนื่องด้านนโยบายการบริหารเกิดการ สะดุดและเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของภาคเอกชนได้ " ความขัดแย้งในประเทศถือเป็นเรื่องธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย ที่เกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่อยากให้ทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก โดยหันมาปรับปรุงโครงสร้างการบริหารประเทศเน้นที่นโยบายการบริหารเศรษฐกิจ ระยะยาว ไม่ใช่นโยบายประชานิยมฉาบฉวย เพราะหากการเมืองไปได้ดีภาคธุรกิจก็น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น เห็นได้จากที่ผ่านมาแม้การเมืองไม่สงบจีดีพีก็ยังเติบโตได้ 4-6% ซึ่งเชื่อว่าถ้าการเมืองนิ่งจีดีพีน่าจะโตได้ที่ 6-8%" อย่างไรตาม การพัฒนาเศรษฐกิจไทยควรต้องปฏิรูป 3 โครงสร้างพื้นฐานหลัก ดังนี้ 1.ระบบการศึกษา 2.ระบบความยุติธรรม (รวมการปฏิรูปการคอร์รัปชัน)และ 3.การลงทุนขนาดใหญ่ เช่น ระบบขนส่ง ระบบชลประทาน เป็นต้น ภาวนาให้ไปในทิศทางบวก นายประพัฒน์ เชยชม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ไม่มีผลเกี่ยวกับแผนงานด้านการลงทุนของค่ายรถยนต์แต่ละค่าย ทั้งนี้เพราะมีการวางแผนการดำเนินงานแต่ละปีล่วงหน้าอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยที่ไม่คาดฝันค่ายรถแต่ละค่ายก็ต้อง มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ยกตัวอย่าง แผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ส่งผลกระทบเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่ขาดแคลน ทำให้ค่ายรถที่เกิดปัญหาต้องชะลอการผลิตและหาวิธีแก้ไขปัญหาให้สามารถกลับมา ฟื้นคืนการผลิตให้รวดเร็วที่สุด "หลังวันที่ 3 ก.ค.นี้ ในฐานะผู้ประกอบการยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ก็ภาวนาให้ไปในทิศทางที่บวก ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์ที่มีฐานในประเทศไทยก็ยังคงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ และยังคงยึดไทยเป็นฐานการผลิตต่อไป แต่หากเกิดความไม่สงบทางด้านการเมืองในประเทศ ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆที่จะเข้ามาลงทุนเกิดการชะลอหรือหันไป ลงทุนในประเทศอื่นๆแทน" สำหรับ ทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ในครึ่งปีหลังของไทยจะมีความเข้มข้นและดุเดือด เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ ตลาดขาขึ้น เพราะภาพรวมเศรษฐกิจที่ดี รายได้ประชากรสูง ,การมีรถยนต์รุ่นใหม่ๆเข้าสู่ตลาด โดยคาดว่าจะมีมากกว่า 7 - 8 รุ่นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ,ปลายปีถือเป็นช่วงการเร่งปิดยอดของค่ายรถยนต์ และปัจจัยสนับสนุนข้อสุดท้ายคือ ค่ายรถที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิ จะต้องรีบกลับมาผลิตและทำตลาดเพื่อให้ได้ตามเป้าที่เคยวางไว้ โดยคาดว่าจนถึงสิ้นปีตัวเลขยอดขายรถยนต์อาจจะขายได้ประมาณ 900,000 - 950,000 คัน "การประเมินตัวเลขยอดขายตั้งแต่ 9 - 9.5 แสนคันนั้น มีข้อแม้ว่าเหตุการณ์หลังการเมืองจะไม่มีอะไรที่ร้ายแรง ซึ่งปัจจัยตรงนี้น่าห่วงมากที่สุด ขณะที่ปัจจัยอื่นๆไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ,อัตราดอกเบี้ย หรือเศรษฐกิจในยุโรป ไม่ได้มีผลกระทบมากนักกับยอดขายรถภายในประเทศไทย " มีรัฐบาลใหม่ศก.จะยิ่งดีขึ้น นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากำลังซื้อของผู้บริโภคยังเติบโตดี แม้จะมีความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นบ้าง และเชื่อว่าหลังเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้นเศรษฐกิจที่ดีอยู่แล้วจะ ยิ่งดีขึ้นไปอีก และไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลก็เชื่อว่าจะทำให้ภาพรวม เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังดี มีการเติบโตเพราะตอนนี้ภาพรวมของเศรษฐกิจดีอยู่แล้ว การส่งออกดี สินค้าเกษตรราคาดี ค่าแรงงานดี และสิ่งแรกที่ฝากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ปัญหาคือ ความปรองดอง ด้านนายประพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองประธานผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารบิ๊กซี ไฮเปอร์มาร์เก็ต แสดงความคิดเห็นว่า การลงทุนหรือชะลอการลงทุนของบิ๊กซีไม่ได้นำเรื่องของการเลือกตั้งมาเป็นองค์ ประกอบในการวางแผน อีกทั้งที่ผ่านมาบิ๊กซีเคยเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆมาหมดแล้ว ทำให้เชื่อว่าจะสามารถรับมือและเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ อีกทั้งเชื่อว่าหลังการเลือกตั้งผ่านพ้นไป แนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น เพราะประเทศไทยก็บอบช้ำมามากแล้ว ผู้ใหญ่คงหาแนวทางการสมานฉันท์กันอยู่ ที่มา : ฐานเศรษกิจ อ่าน : 2061 ครั้ง วันที่ : 07/07/2011 |
||||
|