|
||||
|
||||
ส.อ.ท.เตือนหาเสียงขึ้นค่าจ้างส่อเศรษฐกิจพัง Share เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ดร.ธนิต โสรัตน์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
กล่าวถึงกรณีพรรคการเมืองต่างๆ
แข่งขันกันชูนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำว่า
ขณะนี้เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกลายเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการ
เมืองไปแล้ว โดยมีการเสนอตัวเลขตั้งแต่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25
ภายใน 2 ปี หรือประมาณ 269 บาท, 300 บาท, 350 บาท และ 400 บาทต่อวัน ทั้งๆ
ที่ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินที่มาจากต้นทุนของภาคเอกชนไม่ใช่เงินของภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท.ประเมินสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้
หากจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งอยู่ในอัตราที่ไม่กระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการ
มากนักควรปรับไม่เกินร้อยละ 5 หรือระหว่าง 5-9 บาท เฉลี่ย 220 บาทต่อวัน
จากที่ปัจจุบันอยู่ที่ 215 บาทต่อวัน
เนื่องจากในรอบที่ผ่านมาได้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปถึงร้อยละ 10 "หากจะให้นายจ้างปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นไปอีก 40-50 บาท
ตามนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ
ผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับต้นทุนผลิตสินค้าที่สูงขึ้นได้
และเป็นเรื่องที่อันตรายต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
เพราะจะทำให้ราคาสินค้า ค่าครองชีพ
และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจนสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนทุกกลุ่ม
และส่งผลให้ต้องมีการปรับเงินเดือนข้าราชการ
อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรก็จะปรับสูงขึ้นตามไปด้วย
ขณะที่การส่งออกสินค้าจะลดลงเนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้น" ดร.ธนิต กล่าว นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลปล่อยให้กลุ่มทุนผูกขาดโครงสร้างทางการตลาด ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ดังนั้นการเรียกร้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรจะพ่วงข้อเรียกร้องมาตรฐานควบคุม ราคาสินค้าเข้าไปด้วย และว่า อยากให้ภาคแรงงานต้องตั้งคำถามให้ชัดเจนต่อพรรคการเมืองว่า จะสร้างจุดแข็ง เช่น ทักษะฝีมือ ภาษา ให้แก่ภาคแรงงานอย่างไร เพื่อให้แข่งขันได้ในประชาคมอาเซียน เพราะศูนย์การแข่งขันของโลกเปลี่ยนมาสู่เอเชียตะวันออกแล้ว ที่มา : มติชนออนไลน์ อ่าน : 1761 ครั้ง วันที่ : 27/06/2011 |
||||
|