การเสวนา F.T.I. Economic and Logistic Focus ครั้งที่ 1/2554 Share


 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดการเสวนา “F.T.I. Economic and Logistic Focus ครั้งที่ 1/2554” ในวันที่ 26 มกราคม 2554 เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ไทยในปี 2554 โดยมีรองประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ (ดร.ธนิต โสรัตน์) เป็นประธานฯ และผู้ทรงคุณวุฒิจากธนาคาร CIMB (นายบันลือศักดิ์ ปุสสรังษี) ธนาคารทหารไทย (นายเสถียร ตันธนสฤษดิ์) ร่วมเสวนาเรื่องทิศทางเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ไทยในปี 2554 ซึ่ง มีผู้แทนภาคราชการ อาทิธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมรับฟังการเสวนา โดยมีการรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2554 แนวโน้มค่าเงินบาท และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย สรุปได้ดังนี้

                 

                1. ภาพรวมเศรษฐกิจไทย

1.1 เศรษฐกิจไทยปี 2553: มีอัตราการเติบโตสูงถึง 7.8-7.9% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากาการขับเคลื่อนของการส่งออกที่มีมูลค่าอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 60.8 ประกอบกับรัฐบาลได้ใช้งบประมาณจ านวนมหาศาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะงบไทยเข้มแข็ง

1.2 เศรษฐกิจไทยปี 2554:

                       เศรษฐกิจไทยในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2553 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวไปตามเศรษฐกิจโลก IMF สหประชาชาติ ธนาคารโลก ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระดับที่ใกล้เคียงกันระหว่าง 3.0%-4.8% อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเกื้อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ฐานะการเงินการคลังของไทยที่ยังอยู่ระดับสูง (ดุลการค้าเกินดุลราว 1.2 พันล้านดอลลาร์) เงิน สำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงมาก เช่นเดียวกับระดับงบประมาณรายจ่ายของรัฐที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือน (จากการขึ้นเงินเดือนข้าราชการและการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ) เป็นต้น

                - ภาคการส่งออก ปี 2554 เป็นปีที่ภาคการส่งออกจะต้องประสบปัญหา ทั้งจากอุปสงค์ที่ลดลงและความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะมาตรการการอัดฉีดเงินเพื่อปกป้องเศรษฐกิจในประเทศ เช่น Quantitative Easing1 (QE) ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯและสหภาพฯ ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าจะมีการเติบโตเพียงร้อยละ 2.8 และ 1.3 และการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 9.4 และ 10.1 ตามลำดับ

                - ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโต อาทิ ราคาน้ำมันในต่างประเทศที่ยังผันผวน แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน/การปรับค่าแรง การขาดแรงงานในการผลิต ปัญหาการเมืองและการเลือกตั้งในประเทศ และสภาวะในตลาดทุนที่คาดว่าจะมีการถอนทุนในไทยเพื่อลงทุนในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น

 

1.3 ค่าเงินบาทในปี 2554: ผู้ทรง คุณวุฒิจากธนาคารทหารไทยคาดการณ์ว่า เงินบาทจะอ่อนค่าลงจากการถอนทุนในไทยเพื่อลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งเศรษฐกิจส่อเค้าว่าจะเริ่มดีขึ้น ค่าเงินดอลลาร์ก็น่าจะดีขึ้นด้วย หากค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างช้าๆ ก็น่าจะปรับตัวรับได้ จากการประเมินความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันคาดว่าค่าเงินบาท จะอ่อนตัวลงบ้างแต่ก็ไม่น่าเกิน 32 บาท/ดอลลาร์

 

2. สถานการณ์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย

การ พัฒนาโลจิสติกส์ไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่ก้าวหน้า โดยมีปัญหาจากต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะเมื่อเทียบ กับคู่แข่งทางการค้า โดยในปี 2551 ไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่ร้อยละ 18.6 ของ GDP ในขณะที่มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน และบราซิลมีต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่ร้อยละ 14-15 ของ GDP นอกจากนี้ยังขาดการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การขนส่งของไทยที่ยังกระจุกอยู่ที่การขนส่งทางถนน (ร้อยละ 83.76) ซึ่ง ทำให้ต้นทุนทางโลจิสติกส์สูง การขนส่งทางชายฝั่งยังประสบสภาวะขาดทุนในขณะที่การขนส่งทางรางยังมีการใช้ งานในระดับต่ า สภาอุตสาหกรรมจึงเห็นว่าในระยะเร่งด่วนควรมีการตั้งสำนักงานแผนและนโยบายพัฒนาระบบโลจิสติกส์แห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกสิ์อย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ผู้แทนกระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงว่าการวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ไทยโดยเทียบต้นทุนต่อ GDP ไม่สามารถสะท้อนค่าที่แท้จริงได้ จึงได้มีการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ขึ้นใหม่ โดยจะวัดเป็นต้นทุนบาทต่อตัน-กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้กำลังรอสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกาศการใช้ระบบดังกล่าวอยู่

------------------------------------------------------------------------------

 

1 นโยบายการเงิน (monetary policy) ที่ ธนาคารกลางของสหรัฐฯ เพิ่มเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้มีสภาพคล่องยิ่งขึ้นโดย การเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจากสถาบันการเงินซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน หรือแม้กระทั่งตราสารหนี้ประเภทที่มี ลูกหนี้สินเชื่อบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้้าประกัน 



อ่าน : 2121 ครั้ง
วันที่ : 14/02/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com