มาตรการอุ้มราคายาง...แก้ปัญหาได้นานแค่ไหน

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 25 มกราคม 2559

           

            ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจและเกี่ยวข้องกับการเมืองมานานโดยเฉพาะการเมืองภาคใต้ ซึ่งเป็นมวลชนหลักที่เคลื่อนไหวจนมีเปลี่ยนแปลงมาสู่การเป็นอยู่ของรัฐบาลปัจจุบัน ดังนั้นการแก้ปัญหาราคายางเกี่ยวข้องทั้งกับมิติการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่เดือดร้อนและเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

            ทั้งนี้รัฐบาลได้เข้ามาอุ้มราคายางโดยปัดฝุ่นมาตรการที่เคยออกมาในช่วงต้นปี 2558 แต่ผ่านมา 1 ปี ส่วนใหญ่แทบไม่เห็นเป็นชิ้นเป็นอัน โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางในประเทศซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยขยับ สำหรับมาตรการใหม่ๆ เช่น โครงการจัดสรรโควต้าให้ 8 กระทรวง งบ 4.5 พันล้านบาท โดยนำยางพาราไปแปรรูปให้เห็นผลอย่างเป็นจริงเป็นจัง ซึ่งพลเอกฉัตรชัยฯ รมว.เกษตรเข้าไปสั่งการ-ติดตามแบบรายวันด้วยตนเอง

            นอกจากนี้ยังมีโครงการแทรกแซงตลาดด้วยการรับซื้อยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น 3 ความชื้นไม่เกิน 3% ในราคาชี้นำตลาดที่กิโลละ 45 บาท และราคารับซื้อน้ำยางสดชี้นำตลาดราคากิโลกรัมละ 42 บาท โดยจำกัดการรับซื้อต่อครัวเรือนรวมกันต้องไม่เกิน 150 กิโลกรัม หลังการขับเคลื่อนแทรกแซงตลาดไม่กี่วันราคายางเริ่มขยับสูงขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาชี้นำตลาดค่อนข้างมาก      

            คำถามคือด้วยงบประมาณอันน้อยนิด ขณะที่กลไกลขับเคลื่อนอย่างการยางแห่งประเทศไทยหรือ กยท. ยังอยู่ระยะพึ่งตั้งไข่จะสามารถอุ้มราคายางให้สูงสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในสภาวะชะลอตัวได้นานเพียงใด ทั้งนี้ราคายางดังกล่าวที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเป็นราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ซึ่งต้องเข้าใจว่ายางแผ่นดิบยังไม่สามารถส่งออกได้ จะต้องผ่านกระบวนการผลิตทั้งการรมควันเพื่อกำจัดความชื้นและการอัดก้อนให้เป็นยางแผ่นดิบชั้น 3 (RSS-3) ซึ่งปัจจุบันราคาตลาดซื้อขายจริงที่ตลาดกลางหาดใหญ่อยู่ที่กิโลกรัมละ 41 บาท

            ประเด็นคือราคายางพาราซึ่งกว่าร้อยละ 86 ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศส่งออกในรูปกึ่งวัตถุดิบ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางสด ฯลฯ โดยเกินกว่าครึ่งส่งออกให้กับประเทศจีน ขณะที่การใช้ยางของโลกมากกว่าร้อยละ 60 อยู่ในอุตสาหกรรมล้อรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งสามารถใช้ยางสังเคราะห์ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ราคายางพาราจึงสัมพันธ์แบบปาท่องโก๋กับราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันโลกดิ่งลงจึงส่งผลกระทบต่อราคายางบวกกับเศรษฐกิจโลกซึ่งอยู่ในช่วงขาลง ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยลบต่อราคายางไปอีก หลายปี

            ผมเห็นด้วยและสนับสนุนกับมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อดึงราคายางและช่วยเหลือเกษตรกร แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นมาตรการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าและไม่ยั่งยืน ปัญหาของยางมีความซับซ้อนเกี่ยวข้องกับผลผลิตส่วนเกินความต้องการ ส่วนนโยบายให้หน่วยงานรัฐ?เอกชนนำไปแปรรูปคงได้อย่างมาก 2-3 แสนตัน ซึ่งเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับตัวเลขการส่งออก ขณะที่ภาครัฐยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกลตลาดยางซึ่งอิงกับตลาดล่วงหน้าของโลก เรื่องของยางทั้งน้ำยางและยางแผ่น....ใครเข้ามาก็มักติดหนึม....เพราะแก้ยากครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************

" />
       
 

มาตรการอุ้มราคายาง...แก้ปัญหาได้นานแค่ไหน Share


มาตรการอุ้มราคายาง...แก้ปัญหาได้นานแค่ไหน

โดย  ดร.ธนิต  โสรัตน์

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

วันที่ 25 มกราคม 2559

           

            ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจและเกี่ยวข้องกับการเมืองมานานโดยเฉพาะการเมืองภาคใต้ ซึ่งเป็นมวลชนหลักที่เคลื่อนไหวจนมีเปลี่ยนแปลงมาสู่การเป็นอยู่ของรัฐบาลปัจจุบัน ดังนั้นการแก้ปัญหาราคายางเกี่ยวข้องทั้งกับมิติการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่เดือดร้อนและเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

            ทั้งนี้รัฐบาลได้เข้ามาอุ้มราคายางโดยปัดฝุ่นมาตรการที่เคยออกมาในช่วงต้นปี 2558 แต่ผ่านมา 1 ปี ส่วนใหญ่แทบไม่เห็นเป็นชิ้นเป็นอัน โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางในประเทศซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยขยับ สำหรับมาตรการใหม่ๆ เช่น โครงการจัดสรรโควต้าให้ 8 กระทรวง งบ 4.5 พันล้านบาท โดยนำยางพาราไปแปรรูปให้เห็นผลอย่างเป็นจริงเป็นจัง ซึ่งพลเอกฉัตรชัยฯ รมว.เกษตรเข้าไปสั่งการ-ติดตามแบบรายวันด้วยตนเอง

            นอกจากนี้ยังมีโครงการแทรกแซงตลาดด้วยการรับซื้อยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น 3 ความชื้นไม่เกิน 3% ในราคาชี้นำตลาดที่กิโลละ 45 บาท และราคารับซื้อน้ำยางสดชี้นำตลาดราคากิโลกรัมละ 42 บาท โดยจำกัดการรับซื้อต่อครัวเรือนรวมกันต้องไม่เกิน 150 กิโลกรัม หลังการขับเคลื่อนแทรกแซงตลาดไม่กี่วันราคายางเริ่มขยับสูงขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาชี้นำตลาดค่อนข้างมาก      

            คำถามคือด้วยงบประมาณอันน้อยนิด ขณะที่กลไกลขับเคลื่อนอย่างการยางแห่งประเทศไทยหรือ กยท. ยังอยู่ระยะพึ่งตั้งไข่จะสามารถอุ้มราคายางให้สูงสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในสภาวะชะลอตัวได้นานเพียงใด ทั้งนี้ราคายางดังกล่าวที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเป็นราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ซึ่งต้องเข้าใจว่ายางแผ่นดิบยังไม่สามารถส่งออกได้ จะต้องผ่านกระบวนการผลิตทั้งการรมควันเพื่อกำจัดความชื้นและการอัดก้อนให้เป็นยางแผ่นดิบชั้น 3 (RSS-3) ซึ่งปัจจุบันราคาตลาดซื้อขายจริงที่ตลาดกลางหาดใหญ่อยู่ที่กิโลกรัมละ 41 บาท

            ประเด็นคือราคายางพาราซึ่งกว่าร้อยละ 86 ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศส่งออกในรูปกึ่งวัตถุดิบ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางสด ฯลฯ โดยเกินกว่าครึ่งส่งออกให้กับประเทศจีน ขณะที่การใช้ยางของโลกมากกว่าร้อยละ 60 อยู่ในอุตสาหกรรมล้อรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งสามารถใช้ยางสังเคราะห์ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ราคายางพาราจึงสัมพันธ์แบบปาท่องโก๋กับราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันโลกดิ่งลงจึงส่งผลกระทบต่อราคายางบวกกับเศรษฐกิจโลกซึ่งอยู่ในช่วงขาลง ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยลบต่อราคายางไปอีก หลายปี

            ผมเห็นด้วยและสนับสนุนกับมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อดึงราคายางและช่วยเหลือเกษตรกร แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นมาตรการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าและไม่ยั่งยืน ปัญหาของยางมีความซับซ้อนเกี่ยวข้องกับผลผลิตส่วนเกินความต้องการ ส่วนนโยบายให้หน่วยงานรัฐ?เอกชนนำไปแปรรูปคงได้อย่างมาก 2-3 แสนตัน ซึ่งเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับตัวเลขการส่งออก ขณะที่ภาครัฐยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกลตลาดยางซึ่งอิงกับตลาดล่วงหน้าของโลก เรื่องของยางทั้งน้ำยางและยางแผ่น....ใครเข้ามาก็มักติดหนึม....เพราะแก้ยากครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ www.facebook.com/tanit.sorat)

*****************************


ไฟล์ประกอบ : มาตรการอุ้มราคายาง...แก้ปัญหาได้นานแค่ไหน .doc
อ่าน : 1612 ครั้ง
วันที่ : 26/01/2016

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com