โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP          

              ประเทศไทยมีอาณาบริเวณเขตแดนทางบก ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความยาวประมาณ 5,656 กิโลเมตร แยกเป็นเขตแดนไทย-กัมพูชา ประมาณ 725 กิโลเมตร ไทย-ลาว ประมาณ 1,810 กิโลเมตร ไทย-พม่า ประมาณ 2,400 กิโลเมตร และประเทศไทย-มาเลเซีย ประมาณ 647 กิโลเมตร  การที่ประเทศไทยมีเขตชายแดน ซึ่งมีความยาวมากเช่นนี้จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการที่ต้องการเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของภูมิภาค  ขณะที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคต่างก็เห็นประโยชน์ของการเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางภูมิภาค จึงได้กำหนดแผนงานและยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาระบบการขนส่งที่ต้องการได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึง ประเทศจีนซึ่งมีเขตแดนในมณฑลยูนาน มีเขตแดนติดกับทั้งประเทศพม่า และลาว รวมถึงเวียดนาม  ประเทศจีน ซึ่งเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณร้อยละ 9.3 ต่อปี ในอัตราการขยายตัวที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในโลก ประเทศจีนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ที่เรียกว่า “China Factory of the world” ประเทศจีนได้มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ในกรณีภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอินโดจีน จีนได้ให้ความสำคัญต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนครคุนหมิง ในมณฑลยูนาน ซึ่งจีนกำหนดให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงจีนตอนใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสามารถเชื่อมโยงไปถึงเมืองเฉินตู และนครฉงชิ่ง ในมณฑลเสฉวน โดยประเทศจีนมีนโยบายในการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องการขยายเส้นทางและควบคุมเส้นทางการขนส่งเพื่อให้สามารถกระจายสินค้าโดยอาศัยเส้นทางเชื่อมโยงผ่านพม่าและลาว เข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทยทางอำเภอแม่สายและอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  

             ทั้งนี้ จีนสามารถเชื่อมต่อระบบการขนส่งจากเชียงรายลงมาจนถึงสี่แยกอินโดจีน  ณ จังหวัดพิษณุโลก จากตรงจุดนี้สามารถกระจายสินค้าไปตามภาคต่างๆของประเทศไทย และออกสู่ทะเลทั้งภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ผ่านเส้นทางหมายเลข 9 (East-West Corridor) ซึ่งเชื่อมพม่า (เมียวดี) ผ่านแม่สอด-ขอนแก่น-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ลาวบาว-เว้ และเมืองท่าดานังของเวียดนาม  ทั้งนี้ การขนส่งผ่านลุ่มแม่น้ำโขงจีนได้ควบคุมเส้นทางขนส่งได้ทั้งหมด โดยหวังจะเป็นเส้นทางขนส่งสำคัญในการเข้าครอบครองเส้นทางขนส่งในส่วนเหนือของอนุภูมิภาค  ประเทศจีนนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจและมีอำนาจต่อรองทางการเมืองที่สูงของภูมิภาค  โดยจีนได้ใช้ความได้เปรียบโดยการเมืองนำเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ในอาณาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและอินโดจีน  รวมทั้งประเทศไทย โดยความสัมพันธ์ดังกล่าว จะมีทั้งในลักษณะที่เกื้อกูล แข่งขัน และร่วมมือ โดยภาครัฐของแต่ละประเทศ  ล้วนแต่มีความต้องการวัตถุดิบราคาถูก และต้องการกระจายสินค้าเข้าไปในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า การที่สามารถควบคุมเส้นทางขนส่ง จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพเชิงความได้เปรียบ  โดยภาครัฐของประเทศต่างๆมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เรียกว่า ข้อตกลง GMS : Greater Mekong Sub-Region เป็นข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ ESCAP  ซึ่งเป็นองค์การภายใต้องค์การสหประชาชาติ ซึ่งประเทศต่างๆในลุ่มแม่น้ำโขงรวมทั้งประเทศไทย ได้มีการลงนามในข้อตกลง ตั้งแต่ปี 2535  ผลของข้อตกลง GMS  ก่อให้เกิดการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการขนส่งกับประเทศต่างในภูมิภาคอินโดจีน รวมถึงโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงทั้ง 3 สะพาน และโครงการก่อสร้างทางหลวงสายอาเซียน ซึ่งเรียกว่าเส้นทาง East-West / North – South Economic Corridor ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทย (พิษณุโลก) กลายเป็นสี่แยกอินโดจีน นอกจากนี้โครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-  แม่โขง-เจ้าพระยา ที่รู้จักกันในชื่อของ ACMECS   เป็นความริเริ่มโดยรัฐบาลไทยในฐานะผู้ริเริ่มโครงการความร่วมมือแก่ประเทศสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยโครงการนี้ รัฐบาลไทยได้ให้เงินช่วยเหลือให้เปล่าแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ก่อสร้างเส้นทางขนส่งให้กับประเทศพม่า ลาว หรือกัมพูชา รวมถึงการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆไม่ว่าด้านการเกษตร (Contract Farming) เป็นการแสดงให้เห็นถึงนโยบายทางการเมืองในรูปแบบข้อตกลงความร่วมมือและช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน โดยหวังผลความร่วมมือ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงการขนส่งและธุรกิจของภาคธุรกิจ เป็นการสอดประสานที่สัมพันธ์ของการเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคแห่งนี้ ปัจจัยสำคัญก็อยู่ที่ภาคการเมืองและข้อจำกัดของกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ  และการเมืองของประเทศต่างๆ  ซึ่งมีทัศนะคติเชิงลบต่อประเทศไทย ได้แก่ กรณีของ สปป.ลาว และของประเทศกัมพูชา ก็มีปัญหาทางการเมืองในแง่ลบกับประเทศไทย โดยประเทศลาวต้องการลดบทบาทไทยในการพึ่งพาทางออกทะเล โดยหันไปใช้เส้นทางขนส่งผ่านประเทศเวียดนาม สำหรับประเทศพม่านั้น ปัญหาภายในซึ่งยังไม่มีเอกภาพ ความสัมพันธ์และการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในทั้งหมดนี้จะเกี่ยวข้องกับที่แต่ละประเทศก็จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก โดยประเทศไทยนั้นก็จะใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจที่เข้มแข็งกว่าในการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคล้ายคลึงและเข้ากับระบบของประเทศไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ แต่การที่ประเทศไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีนและลุ่มแม่น้ำโขงได้  จะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาโลจิสติกส์ จะต้องมีการเชื่อมโยงเป็น HUB เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นจีนตอนใต้ , พม่า , ลาว , เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งทั้งหมดยกเว้นจีนล้วนเป็นประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASIAN ซึ่งหากไทยสามารถควบคุมเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเหล่านี้ได้ ก็เท่ากับสามารถทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และขนส่งของอนุภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ โอกาสที่จะเป็นไปได้หรือไม่ได้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของภาคการเมืองจะต้องมีบทบาทในการผลักดันนโยบายและกำหนดแผนงานให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนงาน , แผนยุทธศาสตร์ และการดำเนินการด้วยการเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมโยงการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการส่งเสริม , ผลักดันและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตของประเทศไทย ประเด็นก็คือ เมื่อเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค สินค้าที่อยู่บนรถบรรทุกนั้นเป็นสินค้าของไทย หรือเป็นสินค้าของจีน..ตรงนี้น่าจะสำคัญกว่า เพราะหากไทยเป็นสี่แยกอินโดจีน แต่ถนนเต็มไปด้วยสินค้าจีน เผลอๆ รถบรรทุกก็ของจีน อย่างนี้อย่าเป็นเสียจะดีกว่าจริงไหมครับ..!!


 

" />
       
 

การแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านไทยในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP          

              ประเทศไทยมีอาณาบริเวณเขตแดนทางบก ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความยาวประมาณ 5,656 กิโลเมตร แยกเป็นเขตแดนไทย-กัมพูชา ประมาณ 725 กิโลเมตร ไทย-ลาว ประมาณ 1,810 กิโลเมตร ไทย-พม่า ประมาณ 2,400 กิโลเมตร และประเทศไทย-มาเลเซีย ประมาณ 647 กิโลเมตร  การที่ประเทศไทยมีเขตชายแดน ซึ่งมีความยาวมากเช่นนี้จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการที่ต้องการเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของภูมิภาค  ขณะที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคต่างก็เห็นประโยชน์ของการเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางภูมิภาค จึงได้กำหนดแผนงานและยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาระบบการขนส่งที่ต้องการได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึง ประเทศจีนซึ่งมีเขตแดนในมณฑลยูนาน มีเขตแดนติดกับทั้งประเทศพม่า และลาว รวมถึงเวียดนาม  ประเทศจีน ซึ่งเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณร้อยละ 9.3 ต่อปี ในอัตราการขยายตัวที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในโลก ประเทศจีนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ที่เรียกว่า “China Factory of the world” ประเทศจีนได้มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ในกรณีภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอินโดจีน จีนได้ให้ความสำคัญต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนครคุนหมิง ในมณฑลยูนาน ซึ่งจีนกำหนดให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงจีนตอนใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสามารถเชื่อมโยงไปถึงเมืองเฉินตู และนครฉงชิ่ง ในมณฑลเสฉวน โดยประเทศจีนมีนโยบายในการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องการขยายเส้นทางและควบคุมเส้นทางการขนส่งเพื่อให้สามารถกระจายสินค้าโดยอาศัยเส้นทางเชื่อมโยงผ่านพม่าและลาว เข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทยทางอำเภอแม่สายและอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  

             ทั้งนี้ จีนสามารถเชื่อมต่อระบบการขนส่งจากเชียงรายลงมาจนถึงสี่แยกอินโดจีน  ณ จังหวัดพิษณุโลก จากตรงจุดนี้สามารถกระจายสินค้าไปตามภาคต่างๆของประเทศไทย และออกสู่ทะเลทั้งภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ผ่านเส้นทางหมายเลข 9 (East-West Corridor) ซึ่งเชื่อมพม่า (เมียวดี) ผ่านแม่สอด-ขอนแก่น-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ลาวบาว-เว้ และเมืองท่าดานังของเวียดนาม  ทั้งนี้ การขนส่งผ่านลุ่มแม่น้ำโขงจีนได้ควบคุมเส้นทางขนส่งได้ทั้งหมด โดยหวังจะเป็นเส้นทางขนส่งสำคัญในการเข้าครอบครองเส้นทางขนส่งในส่วนเหนือของอนุภูมิภาค  ประเทศจีนนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจและมีอำนาจต่อรองทางการเมืองที่สูงของภูมิภาค  โดยจีนได้ใช้ความได้เปรียบโดยการเมืองนำเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ในอาณาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและอินโดจีน  รวมทั้งประเทศไทย โดยความสัมพันธ์ดังกล่าว จะมีทั้งในลักษณะที่เกื้อกูล แข่งขัน และร่วมมือ โดยภาครัฐของแต่ละประเทศ  ล้วนแต่มีความต้องการวัตถุดิบราคาถูก และต้องการกระจายสินค้าเข้าไปในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า การที่สามารถควบคุมเส้นทางขนส่ง จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพเชิงความได้เปรียบ  โดยภาครัฐของประเทศต่างๆมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เรียกว่า ข้อตกลง GMS : Greater Mekong Sub-Region เป็นข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ ESCAP  ซึ่งเป็นองค์การภายใต้องค์การสหประชาชาติ ซึ่งประเทศต่างๆในลุ่มแม่น้ำโขงรวมทั้งประเทศไทย ได้มีการลงนามในข้อตกลง ตั้งแต่ปี 2535  ผลของข้อตกลง GMS  ก่อให้เกิดการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการขนส่งกับประเทศต่างในภูมิภาคอินโดจีน รวมถึงโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงทั้ง 3 สะพาน และโครงการก่อสร้างทางหลวงสายอาเซียน ซึ่งเรียกว่าเส้นทาง East-West / North – South Economic Corridor ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทย (พิษณุโลก) กลายเป็นสี่แยกอินโดจีน นอกจากนี้โครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-  แม่โขง-เจ้าพระยา ที่รู้จักกันในชื่อของ ACMECS   เป็นความริเริ่มโดยรัฐบาลไทยในฐานะผู้ริเริ่มโครงการความร่วมมือแก่ประเทศสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยโครงการนี้ รัฐบาลไทยได้ให้เงินช่วยเหลือให้เปล่าแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ก่อสร้างเส้นทางขนส่งให้กับประเทศพม่า ลาว หรือกัมพูชา รวมถึงการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆไม่ว่าด้านการเกษตร (Contract Farming) เป็นการแสดงให้เห็นถึงนโยบายทางการเมืองในรูปแบบข้อตกลงความร่วมมือและช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน โดยหวังผลความร่วมมือ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงการขนส่งและธุรกิจของภาคธุรกิจ เป็นการสอดประสานที่สัมพันธ์ของการเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคแห่งนี้ ปัจจัยสำคัญก็อยู่ที่ภาคการเมืองและข้อจำกัดของกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ  และการเมืองของประเทศต่างๆ  ซึ่งมีทัศนะคติเชิงลบต่อประเทศไทย ได้แก่ กรณีของ สปป.ลาว และของประเทศกัมพูชา ก็มีปัญหาทางการเมืองในแง่ลบกับประเทศไทย โดยประเทศลาวต้องการลดบทบาทไทยในการพึ่งพาทางออกทะเล โดยหันไปใช้เส้นทางขนส่งผ่านประเทศเวียดนาม สำหรับประเทศพม่านั้น ปัญหาภายในซึ่งยังไม่มีเอกภาพ ความสัมพันธ์และการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในทั้งหมดนี้จะเกี่ยวข้องกับที่แต่ละประเทศก็จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก โดยประเทศไทยนั้นก็จะใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจที่เข้มแข็งกว่าในการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคล้ายคลึงและเข้ากับระบบของประเทศไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ แต่การที่ประเทศไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีนและลุ่มแม่น้ำโขงได้  จะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาโลจิสติกส์ จะต้องมีการเชื่อมโยงเป็น HUB เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นจีนตอนใต้ , พม่า , ลาว , เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งทั้งหมดยกเว้นจีนล้วนเป็นประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASIAN ซึ่งหากไทยสามารถควบคุมเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเหล่านี้ได้ ก็เท่ากับสามารถทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และขนส่งของอนุภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ โอกาสที่จะเป็นไปได้หรือไม่ได้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของภาคการเมืองจะต้องมีบทบาทในการผลักดันนโยบายและกำหนดแผนงานให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนงาน , แผนยุทธศาสตร์ และการดำเนินการด้วยการเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมโยงการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการส่งเสริม , ผลักดันและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตของประเทศไทย ประเด็นก็คือ เมื่อเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค สินค้าที่อยู่บนรถบรรทุกนั้นเป็นสินค้าของไทย หรือเป็นสินค้าของจีน..ตรงนี้น่าจะสำคัญกว่า เพราะหากไทยเป็นสี่แยกอินโดจีน แต่ถนนเต็มไปด้วยสินค้าจีน เผลอๆ รถบรรทุกก็ของจีน อย่างนี้อย่าเป็นเสียจะดีกว่าจริงไหมครับ..!!


 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 3015 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com