รายงานการศึกษาส่วนบุคคล

กรณีศึกษา : เศรษฐกิจไทยจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป

 

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานสายงานเศรษฐกิจโลจิสติกส์

 

 

1. บทสรุปผู้บริหาร

     

       เศรษฐกิจถดถอยของยุโรปกลายเป็นปัญหาความเสี่ยงของโลก

ความเสี่ยงอันดับต้นๆ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จะอยู่ที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกอันเกิดจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของหลายประเทศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือยูโรโซน 15 ประเทศ ที่ลุกลามกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและความไม่น่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน ซึ่งก็ไม่ได้บั่นทอนเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกยูโรโซน แต่มีผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งมีเศรษฐกิจเชื่อมโยงต่อกัน รวมทั้งอาเซียนและประเทศไทย  ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือยูโรโซน (อียู) เริ่มบ่มเพาะมาตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2010  จากการที่ประเทศกรีซ  ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส มีหนี้สาธารณะสูง และมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ตามกำหนดเวลา  จนกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF (The International Monetary Fund) และรัฐบาลกลางของสหภาพยุโรป ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินมากกว่า 2.7 – 3  แสนล้านยูโร แต่สถานการณ์วิกฤตหนี้ยุโรปกลับมีท่าทีที่รุนแรงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่ประเทศกรีซ ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของอียู จะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF จนไปสู่การที่รัฐบาลต้องลาออก และมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งช่วงกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ซึ่งจนขณะนี้สถานะการณ์ของสถาบันการเงินและความน่าเชื่อถือของระบบการคลังของประเทศกรีซยังอยู่ในระดับวิกฤติ  ซึ่งอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอาจถูกขอให้ออกไปจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ขณะเดียวกันสมาชิกของสหภาพยุโรปหลายประเทศซึ่งเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยงกัน ก็เริ่มส่อเค้าของปัญหาวิกฤตทางการเงิน เช่น ประเทศไซปรัส ได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรปหรือ EFSF (European Financial Stability Facility) รวมทั้งประเทศสเปน และประเทศอิตาลี ก็ขอความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากเช่นกัน

วิกฤตของสหภาพยุโรปคงยืดเยื้อ เห็นได้จากการที่สถาบันการจัดอันดับชั้นนำ เช่น มูดี้ส์ ปรับลดระดับความน่าเชื่อถื่อทางการเงินของประเทศฝรั่งเศส, เยอรมัน, เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งประเทศอังกฤษ แสดงว่าวิกฤตของสหภาพยุโรปจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2 ปี จึงจะเห็นทางออกที่เป็นรูปธรรม ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจได้ชะลอตัวมาก่อนหน้านี้ และมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อประเทศคู่ค้าส่งออกหลักของไทย โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน

 

2. สาระสำคัญของเรื่องและข้อวิเคราะห์

 

      2.1 เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงและเปราะบางจากวิกฤตอียู

                ภายใต้วิกฤตทางการเงินไปสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป  ซึ่งได้กระทบกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.5  ปัจจัยสำคัญมาจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปโดย เฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ดี  การว่างงานยังอยู่ระดับสูง  การขยายตัวครึ่งปีหลังอาจโตต่ำกว่าร้อยละ 2.0  และรัฐบาลหมดเครื่องมือที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ  ขณะที่ประเทศจีน เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัวในอัตราที่น่าวิตก เพียงร้อยละ 7.6  ซึ่งนายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ออกมายอมรับ “จีน กำลังเผชิญเศรษฐกิจขาลงที่รุนแรง” ซึ่งจีนคงไม่กล้านำเม็ดเงินออกมากระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนงวดที่แล้ว เพราะเกรงจะเกิดฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ซึ่งเศรษฐกิจเชื่อมกับจีนโดยตรง พบว่า ธนาคารของอียูปล่อยสินเชื่อให้ตลาดการเงินฮ่องกง อัตราร้อยละ 150 ของ GDP (ฮ่องกง)  ทำให้สถาบันการเงินของฮ่องกงอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก และภาคการส่งออกก็พึ่งพิงตลาดอียูสูง ในระดับใกล้เคียงกับจีนที่ประมาณร้อยละ 18   สำหรับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เศรษฐกิจก็ล้วนอยู่ในช่วงขาลงทั้งสิ้น เช่น ประเทศอินเดีย  สิงคโปร์  เวียดนาม  ญี่ปุ่น เป็นต้น

                นอกจากนี้ สัญญาณทางลบต่อเศรษฐกิจโลก ยังเห็นได้จากการที่ประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจแข็งแกร่งของอียู เริ่มได้รับผลกระทบ เช่น ประเทศอังกฤษ การขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ติดลบ    ร้อยละ -0.7  แต่มหกรรมกีฬาโอลิมปิคคงช่วยได้บ้าง  ขณะที่ประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส ก็ยังถูก “มู้ดดี้ อินเวสเมนท์” ปรับลดเรตติ้งธนาคารไปถึง 17 แห่ง และประเทศลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ก็มีโอกาสถูกลดเรตติ้งทางการเงินเช่นกัน  และที่สำคัญ ประเทศสเปน เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูประเทศ โดยได้ตกลงกู้เงินกับกองทุนไถ่ถอนตราสารหนี้อียู จำนวน 100,000 ล้านยูโร เพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ และเดือนตุลาคม ประเทศสเปนมีพันธบัตรที่จะครบเวลาชำระคืนจำนวน 20,000 ล้านยูโร  ขณะที่ประเทศอิตาลีและไซปรัส ก็มีหนี้จำนวนมากอยู่ก่อนหน้านี้  สำหรับประเทศกรีซ คาดการณ์ว่าโอกาสที่จะออกจากสมาชิกยูโรโซน (17 ประเทศ) ในปลายปีหน้ามีความเป็นไปได้สูง

                อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FED  จะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ด้วยการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงินหรือ QE-3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศซึ่งอยู่ในช่วงตกต่ำ อันเกิดจากการชะลอตัวของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ขณะที่ทางสหภาพยุโรปและธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB (European Central Bank) ยังถกเถียงหาข้อสรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่ลงตัวกันในหมู่ประเทศสมาชิกว่าจะเข้าไปแก้ไขปัญหาในสถาบันการเงินและหนี้สาธารณะของประเทศสมาชิกซึ่งมีปัญหาได้อย่างไร  ทั้งหมดที่กล่าว ล้วนเป็นการตอกย้ำว่าวิกฤตการเงินของอียูและวิกฤตเศรษฐกิจโลก คงไม่ได้แก้และจบลงได้ง่ายๆ และโอกาสที่จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งมีเศรษฐกิจและธุรกรรมการเงินเชื่อมโยงกันในระดับสูง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา  ฮ่องกง  จีน  สิงคโปร์ ซึ่งธนาคารในยุโรปปล่อยกู้สูงถึงร้อยละ 70 ของ GDP  ประเทศเหล่านี้จึงอาจได้รับผลกระทบจากกรณีเงินไหลกลับ หรือเงินยูโรมีความผันผวน ก็ย่อมได้รับผลกระทบ  ขณะเดียวกัน วิกฤตเศรษฐกิจอียู ซึ่งกระทบไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่มีผลต่อประเทศต่างๆ เป็นวงกว้าง เช่น การส่งออกของอินโดนีเซีย เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ติดลบถึงร้อยละ -16.4   ประเทศเกาหลี ส่งออกติดลบร้อยละ -8.8 ดังนั้นรัฐบาลและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยให้เป็นทางบวกที่เกินจริง เพราะมีแรงกดดันทางลบอีกมาก ซึ่งจะฉุดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส่งออกของไทยให้ตกต่ำลงไปอีก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

2.2 การส่งออกของไทยครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก

การส่งออกของประเทศไทยไปสหภาพยุโรปหรืออียู(15) เดือนมิถุนายน ขยายตัวติดลบในระดับสูงถึง ร้อยละ -16.1   เทียบกับเดือนพฤษภาคมที่เป็นบวก ร้อยละ 6.8   ซึ่งโดยข้อเท็จจริง เศรษฐกิจโลกเชื่อมโยงต่อกัน เพราะประเทศสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  จีน และอาเซียน ต่างเป็นคู่ค้าของอียู และต่างเป็นคู่ค้าต่อกัน ทำให้ผลกระทบของอียูส่งผลต่อเศรษฐกิจ  สถาบันการเงิน และกำลังซื้อของประเทศเหล่านั้น ซึ่งเป็นคู่ค้าของไทย  จากตัวเลขการส่งออกเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คู่ค้าสำคัญของไทย มีตัวเลขลดน้อยถอยลงมาก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวเลขขยายตัวร้อยละ 5.0  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ร้อยละ 10.9  ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.5  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัว ร้อยละ +5.0  ขณะที่การส่งออกไปประเทศจีน ขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.0  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 22.3  ฮ่องกงติดลบร้อยละ -25.7  และอาเซียน (9) ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 3.5 เทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัวได้ร้อยละ 13.4  ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะนโยบายรัฐบาลที่จะขยายไปตลาดรอง เพื่อทดแทนตลาดหลัก  ส่วนใหญ่ตัวเลขก็ติดลบเช่นกัน เช่น เกาหลี ติดลบร้อยละ -18.5  ไต้หวัน ติดลบร้อยละ -4.7  อินเดีย ติดลบร้อยละ -10.9  กลุ่มแอฟริกา ติดลบร้อยละ -15.8   กลุ่มตะวันออกกลาง ติดลบร้อยละ -1.8  และกลุ่มสหภาพโซเวียตเดิม (CIS) ติดลบร้อยละ -35.7  เป็นต้น

การที่คู่ค้าหลักไทยล้วนมีปัญหาการลดลงของอุปสงค์ ส่งผลต่อตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2555  ไม่ได้ตามเป้าหมาย กล่าวคือส่งออกได้เพียง 19,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวติดลบร้อยละ -4.2  ซึ่งมูลค่าต่ำกว่าเดือนพฤษภาคม  ส่งผลให้มูลค่าส่งออกครึ่งปีแรกของปี 2555 มีมูลค่า 112,264 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การขยายตัวถดถอย ติดลบร้อยละ -2.0  โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดี เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 21.3  อัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวได้ดี ร้อยละ 27.2  ซึ่งก่อนหน้านี้ติดลบมาโดยตลอด และสินค้าอาหารสัตว์ ขยายตัวเชิงมูลค่าร้อยละ 18.5  ขณะที่สินค้าที่เคยขยายตัวได้ดีก่อนหน้านั้น กลับขยายตัวน้อยลงอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2  (เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัวได้ร้อยละ 10.9) และสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวได้เพียงที่ร้อยละ 1.1  ขณะที่ในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวได้ร้อยละ 11.8 นอกจากนั้น ล้วนขยายตัวติดลบ  เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ติดลบร้อยละ -0.4   สิ่งพิมพ์และกระดาษ ติดลบ  ร้อยละ -73.2   ขณะที่สินค้าเกษตรที่สำคัญ ติดลบอย่างรุนแรง เช่น ข้าวเจ้า ติดลบร้อยละ -49.2  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ร้อยละ -29.0  และยางพารา ติดลบร้อยละ -31.4 เทียบกับเดือนพฤษภาคม ร้อยละ -27.5  น้ำตาลทราย ติดลบร้อยละ -23.9  แต่มันสำปะหลังขยายตัวได้ร้อยละ +14.9   ไก่สดและแปรรูปขยายตัวได้ ร้อยละ 5.8 เป็นต้น

2.3 วิเคราะห์การส่งออกของไทยปี 2555

จากสถานการณ์ส่งออกภายใต้การถดถอยของตลาดคู่ค้า ทำให้คาดการณ์ว่า การส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลังคงขยายตัวได้ไม่ดีนัก ภายใต้สมมติฐาน หากไตรมาส 3 ซึ่งเป็นช่วงโรงงานซึ่งถูกน้ำท่วมได้เดินเครื่องจักรเต็มที่แล้ว และตลาดอาจกลับมาขยายตัวได้ จากมาตรการของรัฐบาล (โดยประเมินในทางบวกว่ามูลค่าส่งออกจะได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5  จากตัวเลขเดือนมิถุนายน) ทำให้การขยายตัวส่งออกเชิงมูลค่าไตรมาส 3 อาจจะขยายตัวได้ร้อยละ -0.61  ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 9 เดือน คือ เดือนมกราคม-กันยายน ขยายตัวติดลบร้อยละ -1.48  สำหรับในไตรมาส 4 ได้ใช้สมมติฐานว่า ตลาด (อาจจะ) ปรับตัวในทางบวกที่ดีกว่าไตรมาส 3 กอปรกับเทียบกับฐานส่งออกในปี 2554 มีตัวเลขที่ต่ำจากกรณีน้ำท่วม ทำให้การส่งออกไตรมาส 4 อาจขยายตัวได้ร้อยละ 31.50  หากใช้ตัวเลขสมมติฐานดังกล่าว ตัวเลขส่งออกทั้งปี 2555 จะมีมูลค่า 241,824 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 5.70  แต่หากจะใช้สมมติฐานในทางบวกแบบที่สุด การส่งออกของไทยทั้งปี 2555 อาจสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.0 – 7.5 ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินการส่งออกของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ สศช. ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ได้ปรับตัวเลขการส่งออกของไทยจะขยายตัวในเชิงมูลค่าลดลงเหลือร้อยละ 7.3 และเชิงปริมาณเหลือร้อยละ 6.8 จากเดิมซึ่งประเมินไว้ที่ร้อยละ 11.8 อย่างไรก็ตามทั้งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับลดเป้าการส่งออกจากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 15 โดยปรับลดลงเหลือร้อยละ 9 ขณะที่ภาคเอกชนเองก็ออกมากล่าวถึงการส่งออกคงชะลอตัวไปจนถึงปีหน้าเป็นอย่างน้อย

ประมาณการส่งออกครึ่งปีหลัง พ.ศ.2555

เดือน

ส่งออกขยายตัว

ส่งออกเฉลี่ย (%)

มูลค่า

ล้านเหรียญสหรัฐ (USD)

มกราคม – มิถุนายน

- 2.0%

- 2.0%

112,264

กรกฎาคม

- 0.56%

 

สิงหาคม

0.77%

- 0.61%

64,200

กันยายน

0.50%

 

 

ตุลาคม

27.8%

 

พฤศจิกายน

41.82%

31.50%

65,360

ธันวาคม

25.76%

 

 

ส่งออกขยายตัว

5.70%

241,824

     ที่มา : ธนิต  โสรัตน์ (ส.อ.ท.)  

      2.4 ความเสี่ยงเศรษฐกิจของไทยในครึ่งปีหลัง

ในภาพรวมเชิงมหภาคสภาวะเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง เพราะภาคการเงินไม่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยกู้ของธนาคารของยูโร ซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.0  อีกทั้ง สภาพคล่องในระบบสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท เอ็นพีแอล ประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 174,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555)  อย่างไรก็ตาม ภาคเศรษฐกิจจริงหรือเศรษฐกิจภาคเอกชน ส่วนใหญ่อาจไม่ได้ดูดีเช่นนั้น เพราะการส่งออกของประเทศคู่ค้าอยู่ใน GDP ร้อยละ 70 ของ GDP  และกว่าร้อยละ 70 อยู่ในภาค SMEs ซึ่งการที่การส่งออกซึ่งคาดว่า ทั้งปี พ.ศ.2555 การส่งออกจากการประเมินของภาคอุตสาหกรรม อาจขยายตัวเชิงมูลค่าได้เพียงร้อยละ 5.70 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 241,824 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหากจะขยายตัวได้เต็มที่โดยใช้ปัจจัยบวกสูงสุด อาจขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 6.0 – 6.5 สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่คาดการณ์ว่าการส่งออกน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.8  ปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังประกอบด้วย

1) ปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจส่งออก  โดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งนอกจากผลกระทบจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นแล้ว ในด้านทั้งเชิงราคาและเชิงปริมาณก็ลดลง ส่งผลต่อบางธุรกิจอาจทำกำไรไม่ได้ ส่งผลต่อสภาพคล่อง

2) การส่งออกจะขยายตัวลดลง กระทบการผลิต  ประเทศคู่ค้าเริ่มใช้วิธีการรัดเข็มขัด ขณะที่อุปสงค์ลดลง แต่การแข่งขันยังสูง ทำให้ตัวเลขการผลิตลดลง  ในบางตลาดและบางอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบ สะท้อนจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม (สศค.) เดือนมิถุนายน ติดลบถึงร้อยละ -9.5 และกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 72.4 ลดจากเดือนพฤษภาคมที่ระดับร้อยละ 74.3  และบางสำนักแจ้งว่า ส่งออกในไตรมาส 3 อาจติดลบสูงถึง ร้อยละ -2.7 (ทางผู้วิเคราะห์ยังเห็นว่าการส่งออกไตรมาส 3 อาจติดลบเพียงร้อยละ 0.61)

3) ปัญหาผู้นำเข้าไม่สามารถเปิด L/C  ความต้องการตลาดยังคงมีอยู่ในบางอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้สินค้าฟุ่มเฟือย แต่ผู้นำเข้าทั้งในยุโรปและในฮ่องกง หรือประเทศอื่น ซึ่งสถาบันการเงินกำลังรัดเข็มขัด และระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะเกรงปัญหา NPL  ทำให้การเปิด L/C โดยไม่มีหลักประกันเพียงพอ อาจทำได้ลำบาก

4) สต๊อกสินค้ามีแนวโน้ม  พบว่าในบางอุตสาหกรรมและผู้ส่งออก ซึ่งมีการตุนหรือสต๊อกวัตถุดิบไว้ก่อนหน้านี้ และหรือมีการผลิตสินค้าเพื่อรอคำสั่งซื้อ กอรปกับลูกค้ายังไม่มีการเปิดคำสั่งซื้อและหรือ L/C หรือยกเลิกออร์เดอร์ ทำให้สต๊อกสินค้าสูง สะท้อนจากตัวเลขการเก็บสต๊อกตามคลังสินค้าสาธารณะต่างๆ ในช่วงนี้ พื้นที่ค่อนข้างเต็ม

5) การถูกตัดสิทธิ GSP ยังส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน  สหภาพยุโรปได้ประกาศในการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือ GSP (Generalized System of Preferences ) กับประเทศไทย เนื่องจากรายได้ต่อประชากรของไทยอยู่ที่ระดับ 3,900 เหรียญสหรัฐต่อคน  ซึ่งอียูถือว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศยากจน และสินค้าไทยบางรายการ มีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 17.5  (การนำเข้ารวม ย้อนหลังไป 3 ปี) การถูกตัด GSP ทำให้สินค้าหลายรายการมีต้นทุนนำเข้าสูงกว่าคู่แข่งขัน เช่น กุ้งแช่แข็ง  สัปปะรดบรรจุกระป๋อง  ร้องเท้า  ยานยนต์ขนส่ง  อัญมณี  เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ

2.5  ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจสหภาพยุโรป

การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัจจัยหลักจะมาจากสภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยมีปัญหาการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ซึ่งมีความผันผวน กับเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีการงดแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่  ซึ่งจะต้องติดตามใกล้ชิด โดยเฉพาะปลายไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 3 ว่าเหตุการณ์ในยุโรป ทั้งประเทศกรีซ  อิตาลี  สเปน จะออกมาในทางใด มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด   ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้ก็คือ มีกระแสเงินไหลออกจากภาคตลาดทุน ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 8 และตลาดอนุพันธ์ประมาณร้อยละ 1.8  เพื่อเคลื่อนย้ายไปในที่ปลอดภัย ส่งผลให้เงินบาทของไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการอ่อนค่าไปมากกว่าร้อยละ 4.0 – 4.5 ซึ่งก็สอดคล้องไปกับภูมิภาค ส่งผลต่อการนำเข้า ซึ่งจะต้องมีต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบและน้ำมันที่สูงขึ้น แต่ก็เป็นโชคดีที่ระดับราคาน้ำมันโลกมีราคาดิ่งต่ำลง ซึ่งต่ำสุดในรอบ 1 ปี ทำให้ผลกระทบจากเงินบาทอ่อนค่า ไม่มีผลกระทบต่อภาคการนำเข้ามากนัก   

 

ทั้งนี้โดยภาพรวมพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังอยู่ในสภาพที่ดี จากการที่สถาบันการเงินของไทยยังอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในอัตราที่สูง จำนวน 174.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ณ วันที่ 30 มิถนายน 2555) หนี้สาธารณะของประเทศไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 42.4 ของ GDP อัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่รับมือกับได้ดี ซึ่งข้อกังวลคือการก่อหนี้และการใช้เงินของรัฐบาลในช่วงนี้ เช่นโครงการกู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาทเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งผลตอบแทนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน  อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีมาตรการในการเฝ้ามองปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป โดยมีการตั้ง “คณะอนุกรรมการเสถียรภาพระบบการเงิน” เพื่อติดตามสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพสถาบันการเงินของไทย ประเด็นสำคัญอยู่ที่รัฐบาลจะรับฟังข้อท้วงติงของ ธปท. มากน้อยเพียงใด

จากเครื่องมือเศรษฐกิจที่ชี้วัดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ประเมินได้ว่าอาจมีการกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในระดับที่ไม่มาก จากการประเมินของ สศช. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 จะขยายตัวได้ร้อยละ 5.5 – 6.0 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 5.5 – 6.5 ทั้งนี้ภาคเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนจาก

1)ภาคการบริโภคในประเทศ ซึ่งได้รับปัจจัยจากรายได้ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น และการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ปรับลดลงจากประมาณการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.8  

2)การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องจักรทดแทนที่ถูกน้ำท่วมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.2 การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 8.1 และดุลการค้ายังคงเกินดุลที่ 12.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ  

3)เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่ไม่สูง ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 – 3.4 สูงกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

4)การขับเคลื่อนโครงการจำนำข้าวและราคาสินค้าเกษตร ในช่วงครึ่งปีแรก ราคาสินค้าเกษตรหดตัวกว่าร้อยละ 13.2 โดยเฉพาะราคายางพาราที่จะผันผวนไปตามราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง และความเสี่ยงจากมาตรการจำนำข้าว ภายใต้การกดดันด้านราคาจากตลาดโลก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรในช่วงที่ผ่านมา หดตัวประมาณร้อยละ 13.5  

5)การแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชน การเพิ่มอำนาจซื้อจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดหนี้ประชาชนซึ่งหนี้ครัวเรือน มีแนวโน้มสูงขึ้น  ขณะที่รายได้แรงงานสูงขึ้น แต่หนี้สินภาคครัวเรือนก็สูงขึ้นเช่นกัน โดยตัวเลขเดือนมิถุนายนมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 17.2 ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวได้ร้อยละ 14.5

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังคงต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน และจากการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากที่เติบโตในไตรมาส 1/2555 ที่ร้อยละ 0.4  ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 2.2 (สศช. 21 ส.ค. 55)อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของเศรษฐกิจยังอยู่บนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าหลัก และบนความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันโลก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการปรับตัวในทางบวก โดยช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนสิงหาคม ระดับราคาน้ำมัน(WTI)  ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.3 ซึ่งโอกาสที่ราคาน้ำมันโลกอาจจะกลับมาสูงขึ้นก็มีความเป็นไปได้หากมีปัจจัยเข้ามาเอื้อ  นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศของไทย ซึ่งยังเป็นปัจจัยความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยรวมทั้งรัฐบาลคงไม่ออกมาตรการอะไรที่ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนและภาระทางการเมืองให้กับภาคเอกชนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

3. ข้อเสนอแนะ

1)       ปัญหาเฉพาะหน้าดูแลสภาพคล่องและการประกันส่งออก  ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ SMEs โดยให้ธนาคารของรัฐเข้ามาปล่อยสินเชื่อแบบผ่อนปรนรวมทั้งสนับสนุนการประกันส่งออก (Export Insurances)

2)       ดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวน  และสนับสนุนให้ใช้เงินสกุลต่างประเทศในการชำระค่าระวางเรือ (Freight) และร่วมมือกับ ธปท.ในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 3.0 หรือต่ำกว่านี้ไปจนถึงสิ้นปี

3)       ปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้า-ส่งออก  ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับระเบียบด้านการนำเข้า-ส่งออก  แก้ไข-ปรับปรุงกฎเกณฑ์-ข้อบังคับในการลดขั้นตอน เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกมีความสะดวก โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตต่างๆ ให้มีความรวดเร็ว

4)       ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาในการคืน VAT และภาษีนำเข้าเพื่อการส่งออกให้รวดเร็ว  โดยเฉพาะการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งมีกระบวนการในการขอคืนที่ล่าช้ามาก

5)       ส่งเสริมการส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน  รวมทั้งให้มีระบบสินเชื่อให้กับคู่ค้า เพื่อให้เพิ่มปริมาณและมูลค่าส่งออก รวมทั้งสนับสนุนและแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกให้สินค้าเข้า-ออกชายแดนได้สะดวก เช่น การเปิดด่านล่วงเวลา และหรือการเปิดด่านในวันหยุดราชการ  รวมถึงการเปิดด่านชายแดนที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นช่องทางส่งออกสินค้าไทยให้เพิ่มมากขึ้น

6)       การส่งเสริมการส่งออกทดแทนตลาดหลัก  ให้รัฐบาลมีการทำเป็นแบบบูรณาการและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการจัดโครงการส่งเสริมสินค้าไทย เช่น งานแสดงสินค้าต่างๆ โดยให้ SMEs และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าร่วมโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

7)       ส่งเสริมให้มีการจัดหาวัตถุดิบซึ่งขาดแคลนเพื่อผลิตและส่งออก (Global Sourcing)  ในปริมาณที่เพียงพอและมีแหล่งให้เลือกในการแข่งขันด้านราคา  โดยให้มีหน่วยงานดูแลโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มอุตสากรรมซึ่งขาดแคลนวัตถุดิบ เช่น กลุ่มอัญมณี  กลุ่มส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง  กลุ่มหนัง และกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ส่งออก SMEs

8)       ให้มีการเจรจาขอสิทธิ GSP กลับคืนมา  สินค้าไทยหลายรายการถูกประเทศคู่ค้าซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและอียู ตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้า  รัฐบาลควรเร่งเจรจาเพื่อขอคืน GSP หรือชะลอการตัดสิทธิประโยชน์ ซึ่งส่งผลให้สินค้าไทยมีราคานำเข้าสูงกว่าประเทศคู่แข่ง

9)       ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน  ปัญหาการขาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้แรงงานเข้มข้น เป็นปัญหากระทบต่อความสามารถในการส่งออก  รัฐบาลควรมีมาตรการเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ ว่าจะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร  เพื่อให้เป็นแรงงานซึ่งถูกกฎหมาย รวมทั้งโรงงานซึ่งได้รับ BOI ก็ควรจะพิจารณาอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่พิจารณาเป็นรายปี  เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจด้านการลงทุนในประเทศไทย

10)         การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศให้มีความชัดเจน  ภายใต้ค่าจ้างซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 2-3 เท่า และปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง ควรมีการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง SMEs มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุน  รัฐบาลจะต้องจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ มีแผนงาน  หน่วยงานเจ้าภาพ และงบประมาณ  มาตรการของรัฐบาลต้องชัดเจน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการนำกำไรกลับเข้าประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน และต้องมีความเป็นบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะธนาคารของรัฐ จะต้องเข้ามาสนับสนุนกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มด้อยโอกาสที่สุดในการลงทุนในต่างประเทศ

11)         รัฐบาลควรมีการกำหนดเป้าหมายการส่งออกให้สอดคล้องกับความเป็นจริง  โดยเป้าหมายการส่งออกสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากมีปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยภายในเข้ามากระทบ โดยให้ข้อมูลของตลาด  แนวโน้มเศรษฐกิจของคู่ค้า และสถานะการส่งออกรายอุตสาหกรรม และรายประเทศอย่างตรงตามข้อเท็จจริง  ซึ่งจะทำให้ภาคส่งออกสอดคล้องกับตลาด เพื่อที่จะได้ข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบในการนำเข้า หรือสต๊อกสินค้า รวมทั้งด้านการตัดสินใจรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

................................................................

" />
       
 

เศรษฐกิจไทยจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป Share


รายงานการศึกษาส่วนบุคคล

กรณีศึกษา : เศรษฐกิจไทยจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป

 

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานสายงานเศรษฐกิจโลจิสติกส์

 

 

1. บทสรุปผู้บริหาร

     

       เศรษฐกิจถดถอยของยุโรปกลายเป็นปัญหาความเสี่ยงของโลก

ความเสี่ยงอันดับต้นๆ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จะอยู่ที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกอันเกิดจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของหลายประเทศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือยูโรโซน 15 ประเทศ ที่ลุกลามกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและความไม่น่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน ซึ่งก็ไม่ได้บั่นทอนเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกยูโรโซน แต่มีผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งมีเศรษฐกิจเชื่อมโยงต่อกัน รวมทั้งอาเซียนและประเทศไทย  ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือยูโรโซน (อียู) เริ่มบ่มเพาะมาตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2010  จากการที่ประเทศกรีซ  ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส มีหนี้สาธารณะสูง และมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ตามกำหนดเวลา  จนกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF (The International Monetary Fund) และรัฐบาลกลางของสหภาพยุโรป ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินมากกว่า 2.7 – 3  แสนล้านยูโร แต่สถานการณ์วิกฤตหนี้ยุโรปกลับมีท่าทีที่รุนแรงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่ประเทศกรีซ ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของอียู จะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF จนไปสู่การที่รัฐบาลต้องลาออก และมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งช่วงกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ซึ่งจนขณะนี้สถานะการณ์ของสถาบันการเงินและความน่าเชื่อถือของระบบการคลังของประเทศกรีซยังอยู่ในระดับวิกฤติ  ซึ่งอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอาจถูกขอให้ออกไปจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ขณะเดียวกันสมาชิกของสหภาพยุโรปหลายประเทศซึ่งเศรษฐกิจมีการเชื่อมโยงกัน ก็เริ่มส่อเค้าของปัญหาวิกฤตทางการเงิน เช่น ประเทศไซปรัส ได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรปหรือ EFSF (European Financial Stability Facility) รวมทั้งประเทศสเปน และประเทศอิตาลี ก็ขอความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากเช่นกัน

วิกฤตของสหภาพยุโรปคงยืดเยื้อ เห็นได้จากการที่สถาบันการจัดอันดับชั้นนำ เช่น มูดี้ส์ ปรับลดระดับความน่าเชื่อถื่อทางการเงินของประเทศฝรั่งเศส, เยอรมัน, เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งประเทศอังกฤษ แสดงว่าวิกฤตของสหภาพยุโรปจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2 ปี จึงจะเห็นทางออกที่เป็นรูปธรรม ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจได้ชะลอตัวมาก่อนหน้านี้ และมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อประเทศคู่ค้าส่งออกหลักของไทย โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน

 

2. สาระสำคัญของเรื่องและข้อวิเคราะห์

 

      2.1 เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงและเปราะบางจากวิกฤตอียู

                ภายใต้วิกฤตทางการเงินไปสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป  ซึ่งได้กระทบกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.5  ปัจจัยสำคัญมาจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปโดย เฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ดี  การว่างงานยังอยู่ระดับสูง  การขยายตัวครึ่งปีหลังอาจโตต่ำกว่าร้อยละ 2.0  และรัฐบาลหมดเครื่องมือที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ  ขณะที่ประเทศจีน เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัวในอัตราที่น่าวิตก เพียงร้อยละ 7.6  ซึ่งนายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ออกมายอมรับ “จีน กำลังเผชิญเศรษฐกิจขาลงที่รุนแรง” ซึ่งจีนคงไม่กล้านำเม็ดเงินออกมากระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนงวดที่แล้ว เพราะเกรงจะเกิดฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ซึ่งเศรษฐกิจเชื่อมกับจีนโดยตรง พบว่า ธนาคารของอียูปล่อยสินเชื่อให้ตลาดการเงินฮ่องกง อัตราร้อยละ 150 ของ GDP (ฮ่องกง)  ทำให้สถาบันการเงินของฮ่องกงอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนัก และภาคการส่งออกก็พึ่งพิงตลาดอียูสูง ในระดับใกล้เคียงกับจีนที่ประมาณร้อยละ 18   สำหรับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เศรษฐกิจก็ล้วนอยู่ในช่วงขาลงทั้งสิ้น เช่น ประเทศอินเดีย  สิงคโปร์  เวียดนาม  ญี่ปุ่น เป็นต้น

                นอกจากนี้ สัญญาณทางลบต่อเศรษฐกิจโลก ยังเห็นได้จากการที่ประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจแข็งแกร่งของอียู เริ่มได้รับผลกระทบ เช่น ประเทศอังกฤษ การขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ติดลบ    ร้อยละ -0.7  แต่มหกรรมกีฬาโอลิมปิคคงช่วยได้บ้าง  ขณะที่ประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส ก็ยังถูก “มู้ดดี้ อินเวสเมนท์” ปรับลดเรตติ้งธนาคารไปถึง 17 แห่ง และประเทศลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ก็มีโอกาสถูกลดเรตติ้งทางการเงินเช่นกัน  และที่สำคัญ ประเทศสเปน เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูประเทศ โดยได้ตกลงกู้เงินกับกองทุนไถ่ถอนตราสารหนี้อียู จำนวน 100,000 ล้านยูโร เพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ และเดือนตุลาคม ประเทศสเปนมีพันธบัตรที่จะครบเวลาชำระคืนจำนวน 20,000 ล้านยูโร  ขณะที่ประเทศอิตาลีและไซปรัส ก็มีหนี้จำนวนมากอยู่ก่อนหน้านี้  สำหรับประเทศกรีซ คาดการณ์ว่าโอกาสที่จะออกจากสมาชิกยูโรโซน (17 ประเทศ) ในปลายปีหน้ามีความเป็นไปได้สูง

                อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FED  จะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ด้วยการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงินหรือ QE-3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศซึ่งอยู่ในช่วงตกต่ำ อันเกิดจากการชะลอตัวของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ขณะที่ทางสหภาพยุโรปและธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB (European Central Bank) ยังถกเถียงหาข้อสรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่ลงตัวกันในหมู่ประเทศสมาชิกว่าจะเข้าไปแก้ไขปัญหาในสถาบันการเงินและหนี้สาธารณะของประเทศสมาชิกซึ่งมีปัญหาได้อย่างไร  ทั้งหมดที่กล่าว ล้วนเป็นการตอกย้ำว่าวิกฤตการเงินของอียูและวิกฤตเศรษฐกิจโลก คงไม่ได้แก้และจบลงได้ง่ายๆ และโอกาสที่จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งมีเศรษฐกิจและธุรกรรมการเงินเชื่อมโยงกันในระดับสูง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา  ฮ่องกง  จีน  สิงคโปร์ ซึ่งธนาคารในยุโรปปล่อยกู้สูงถึงร้อยละ 70 ของ GDP  ประเทศเหล่านี้จึงอาจได้รับผลกระทบจากกรณีเงินไหลกลับ หรือเงินยูโรมีความผันผวน ก็ย่อมได้รับผลกระทบ  ขณะเดียวกัน วิกฤตเศรษฐกิจอียู ซึ่งกระทบไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่มีผลต่อประเทศต่างๆ เป็นวงกว้าง เช่น การส่งออกของอินโดนีเซีย เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ติดลบถึงร้อยละ -16.4   ประเทศเกาหลี ส่งออกติดลบร้อยละ -8.8 ดังนั้นรัฐบาลและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยให้เป็นทางบวกที่เกินจริง เพราะมีแรงกดดันทางลบอีกมาก ซึ่งจะฉุดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าส่งออกของไทยให้ตกต่ำลงไปอีก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

2.2 การส่งออกของไทยครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก

การส่งออกของประเทศไทยไปสหภาพยุโรปหรืออียู(15) เดือนมิถุนายน ขยายตัวติดลบในระดับสูงถึง ร้อยละ -16.1   เทียบกับเดือนพฤษภาคมที่เป็นบวก ร้อยละ 6.8   ซึ่งโดยข้อเท็จจริง เศรษฐกิจโลกเชื่อมโยงต่อกัน เพราะประเทศสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  จีน และอาเซียน ต่างเป็นคู่ค้าของอียู และต่างเป็นคู่ค้าต่อกัน ทำให้ผลกระทบของอียูส่งผลต่อเศรษฐกิจ  สถาบันการเงิน และกำลังซื้อของประเทศเหล่านั้น ซึ่งเป็นคู่ค้าของไทย  จากตัวเลขการส่งออกเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คู่ค้าสำคัญของไทย มีตัวเลขลดน้อยถอยลงมาก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวเลขขยายตัวร้อยละ 5.0  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ร้อยละ 10.9  ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.5  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัว ร้อยละ +5.0  ขณะที่การส่งออกไปประเทศจีน ขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.0  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 22.3  ฮ่องกงติดลบร้อยละ -25.7  และอาเซียน (9) ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 3.5 เทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัวได้ร้อยละ 13.4  ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะนโยบายรัฐบาลที่จะขยายไปตลาดรอง เพื่อทดแทนตลาดหลัก  ส่วนใหญ่ตัวเลขก็ติดลบเช่นกัน เช่น เกาหลี ติดลบร้อยละ -18.5  ไต้หวัน ติดลบร้อยละ -4.7  อินเดีย ติดลบร้อยละ -10.9  กลุ่มแอฟริกา ติดลบร้อยละ -15.8   กลุ่มตะวันออกกลาง ติดลบร้อยละ -1.8  และกลุ่มสหภาพโซเวียตเดิม (CIS) ติดลบร้อยละ -35.7  เป็นต้น

การที่คู่ค้าหลักไทยล้วนมีปัญหาการลดลงของอุปสงค์ ส่งผลต่อตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2555  ไม่ได้ตามเป้าหมาย กล่าวคือส่งออกได้เพียง 19,770 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวติดลบร้อยละ -4.2  ซึ่งมูลค่าต่ำกว่าเดือนพฤษภาคม  ส่งผลให้มูลค่าส่งออกครึ่งปีแรกของปี 2555 มีมูลค่า 112,264 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การขยายตัวถดถอย ติดลบร้อยละ -2.0  โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดี เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 21.3  อัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวได้ดี ร้อยละ 27.2  ซึ่งก่อนหน้านี้ติดลบมาโดยตลอด และสินค้าอาหารสัตว์ ขยายตัวเชิงมูลค่าร้อยละ 18.5  ขณะที่สินค้าที่เคยขยายตัวได้ดีก่อนหน้านั้น กลับขยายตัวน้อยลงอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2  (เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ขยายตัวได้ร้อยละ 10.9) และสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวได้เพียงที่ร้อยละ 1.1  ขณะที่ในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวได้ร้อยละ 11.8 นอกจากนั้น ล้วนขยายตัวติดลบ  เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ติดลบร้อยละ -0.4   สิ่งพิมพ์และกระดาษ ติดลบ  ร้อยละ -73.2   ขณะที่สินค้าเกษตรที่สำคัญ ติดลบอย่างรุนแรง เช่น ข้าวเจ้า ติดลบร้อยละ -49.2  เทียบกับเดือนพฤษภาคม ร้อยละ -29.0  และยางพารา ติดลบร้อยละ -31.4 เทียบกับเดือนพฤษภาคม ร้อยละ -27.5  น้ำตาลทราย ติดลบร้อยละ -23.9  แต่มันสำปะหลังขยายตัวได้ร้อยละ +14.9   ไก่สดและแปรรูปขยายตัวได้ ร้อยละ 5.8 เป็นต้น

2.3 วิเคราะห์การส่งออกของไทยปี 2555

จากสถานการณ์ส่งออกภายใต้การถดถอยของตลาดคู่ค้า ทำให้คาดการณ์ว่า การส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลังคงขยายตัวได้ไม่ดีนัก ภายใต้สมมติฐาน หากไตรมาส 3 ซึ่งเป็นช่วงโรงงานซึ่งถูกน้ำท่วมได้เดินเครื่องจักรเต็มที่แล้ว และตลาดอาจกลับมาขยายตัวได้ จากมาตรการของรัฐบาล (โดยประเมินในทางบวกว่ามูลค่าส่งออกจะได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5  จากตัวเลขเดือนมิถุนายน) ทำให้การขยายตัวส่งออกเชิงมูลค่าไตรมาส 3 อาจจะขยายตัวได้ร้อยละ -0.61  ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 9 เดือน คือ เดือนมกราคม-กันยายน ขยายตัวติดลบร้อยละ -1.48  สำหรับในไตรมาส 4 ได้ใช้สมมติฐานว่า ตลาด (อาจจะ) ปรับตัวในทางบวกที่ดีกว่าไตรมาส 3 กอปรกับเทียบกับฐานส่งออกในปี 2554 มีตัวเลขที่ต่ำจากกรณีน้ำท่วม ทำให้การส่งออกไตรมาส 4 อาจขยายตัวได้ร้อยละ 31.50  หากใช้ตัวเลขสมมติฐานดังกล่าว ตัวเลขส่งออกทั้งปี 2555 จะมีมูลค่า 241,824 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 5.70  แต่หากจะใช้สมมติฐานในทางบวกแบบที่สุด การส่งออกของไทยทั้งปี 2555 อาจสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.0 – 7.5 ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินการส่งออกของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ สศช. ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ได้ปรับตัวเลขการส่งออกของไทยจะขยายตัวในเชิงมูลค่าลดลงเหลือร้อยละ 7.3 และเชิงปริมาณเหลือร้อยละ 6.8 จากเดิมซึ่งประเมินไว้ที่ร้อยละ 11.8 อย่างไรก็ตามทั้งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับลดเป้าการส่งออกจากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 15 โดยปรับลดลงเหลือร้อยละ 9 ขณะที่ภาคเอกชนเองก็ออกมากล่าวถึงการส่งออกคงชะลอตัวไปจนถึงปีหน้าเป็นอย่างน้อย

ประมาณการส่งออกครึ่งปีหลัง พ.ศ.2555

เดือน

ส่งออกขยายตัว

ส่งออกเฉลี่ย (%)

มูลค่า

ล้านเหรียญสหรัฐ (USD)

มกราคม – มิถุนายน

- 2.0%

- 2.0%

112,264

กรกฎาคม

- 0.56%

 

สิงหาคม

0.77%

- 0.61%

64,200

กันยายน

0.50%

 

 

ตุลาคม

27.8%

 

พฤศจิกายน

41.82%

31.50%

65,360

ธันวาคม

25.76%

 

 

ส่งออกขยายตัว

5.70%

241,824

     ที่มา : ธนิต  โสรัตน์ (ส.อ.ท.)  

      2.4 ความเสี่ยงเศรษฐกิจของไทยในครึ่งปีหลัง

ในภาพรวมเชิงมหภาคสภาวะเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง เพราะภาคการเงินไม่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยกู้ของธนาคารของยูโร ซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.0  อีกทั้ง สภาพคล่องในระบบสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท เอ็นพีแอล ประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 174,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555)  อย่างไรก็ตาม ภาคเศรษฐกิจจริงหรือเศรษฐกิจภาคเอกชน ส่วนใหญ่อาจไม่ได้ดูดีเช่นนั้น เพราะการส่งออกของประเทศคู่ค้าอยู่ใน GDP ร้อยละ 70 ของ GDP  และกว่าร้อยละ 70 อยู่ในภาค SMEs ซึ่งการที่การส่งออกซึ่งคาดว่า ทั้งปี พ.ศ.2555 การส่งออกจากการประเมินของภาคอุตสาหกรรม อาจขยายตัวเชิงมูลค่าได้เพียงร้อยละ 5.70 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 241,824 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหากจะขยายตัวได้เต็มที่โดยใช้ปัจจัยบวกสูงสุด อาจขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 6.0 – 6.5 สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่คาดการณ์ว่าการส่งออกน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.8  ปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังประกอบด้วย

1) ปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจส่งออก  โดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งนอกจากผลกระทบจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นแล้ว ในด้านทั้งเชิงราคาและเชิงปริมาณก็ลดลง ส่งผลต่อบางธุรกิจอาจทำกำไรไม่ได้ ส่งผลต่อสภาพคล่อง

2) การส่งออกจะขยายตัวลดลง กระทบการผลิต  ประเทศคู่ค้าเริ่มใช้วิธีการรัดเข็มขัด ขณะที่อุปสงค์ลดลง แต่การแข่งขันยังสูง ทำให้ตัวเลขการผลิตลดลง  ในบางตลาดและบางอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบ สะท้อนจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม (สศค.) เดือนมิถุนายน ติดลบถึงร้อยละ -9.5 และกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 72.4 ลดจากเดือนพฤษภาคมที่ระดับร้อยละ 74.3  และบางสำนักแจ้งว่า ส่งออกในไตรมาส 3 อาจติดลบสูงถึง ร้อยละ -2.7 (ทางผู้วิเคราะห์ยังเห็นว่าการส่งออกไตรมาส 3 อาจติดลบเพียงร้อยละ 0.61)

3) ปัญหาผู้นำเข้าไม่สามารถเปิด L/C  ความต้องการตลาดยังคงมีอยู่ในบางอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้สินค้าฟุ่มเฟือย แต่ผู้นำเข้าทั้งในยุโรปและในฮ่องกง หรือประเทศอื่น ซึ่งสถาบันการเงินกำลังรัดเข็มขัด และระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะเกรงปัญหา NPL  ทำให้การเปิด L/C โดยไม่มีหลักประกันเพียงพอ อาจทำได้ลำบาก

4) สต๊อกสินค้ามีแนวโน้ม  พบว่าในบางอุตสาหกรรมและผู้ส่งออก ซึ่งมีการตุนหรือสต๊อกวัตถุดิบไว้ก่อนหน้านี้ และหรือมีการผลิตสินค้าเพื่อรอคำสั่งซื้อ กอรปกับลูกค้ายังไม่มีการเปิดคำสั่งซื้อและหรือ L/C หรือยกเลิกออร์เดอร์ ทำให้สต๊อกสินค้าสูง สะท้อนจากตัวเลขการเก็บสต๊อกตามคลังสินค้าสาธารณะต่างๆ ในช่วงนี้ พื้นที่ค่อนข้างเต็ม

5) การถูกตัดสิทธิ GSP ยังส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน  สหภาพยุโรปได้ประกาศในการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือ GSP (Generalized System of Preferences ) กับประเทศไทย เนื่องจากรายได้ต่อประชากรของไทยอยู่ที่ระดับ 3,900 เหรียญสหรัฐต่อคน  ซึ่งอียูถือว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศยากจน และสินค้าไทยบางรายการ มีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 17.5  (การนำเข้ารวม ย้อนหลังไป 3 ปี) การถูกตัด GSP ทำให้สินค้าหลายรายการมีต้นทุนนำเข้าสูงกว่าคู่แข่งขัน เช่น กุ้งแช่แข็ง  สัปปะรดบรรจุกระป๋อง  ร้องเท้า  ยานยนต์ขนส่ง  อัญมณี  เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ

2.5  ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจสหภาพยุโรป

การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัจจัยหลักจะมาจากสภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยมีปัญหาการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ซึ่งมีความผันผวน กับเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทย โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีการงดแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่  ซึ่งจะต้องติดตามใกล้ชิด โดยเฉพาะปลายไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 3 ว่าเหตุการณ์ในยุโรป ทั้งประเทศกรีซ  อิตาลี  สเปน จะออกมาในทางใด มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด   ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้ก็คือ มีกระแสเงินไหลออกจากภาคตลาดทุน ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 8 และตลาดอนุพันธ์ประมาณร้อยละ 1.8  เพื่อเคลื่อนย้ายไปในที่ปลอดภัย ส่งผลให้เงินบาทของไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการอ่อนค่าไปมากกว่าร้อยละ 4.0 – 4.5 ซึ่งก็สอดคล้องไปกับภูมิภาค ส่งผลต่อการนำเข้า ซึ่งจะต้องมีต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบและน้ำมันที่สูงขึ้น แต่ก็เป็นโชคดีที่ระดับราคาน้ำมันโลกมีราคาดิ่งต่ำลง ซึ่งต่ำสุดในรอบ 1 ปี ทำให้ผลกระทบจากเงินบาทอ่อนค่า ไม่มีผลกระทบต่อภาคการนำเข้ามากนัก   

 

ทั้งนี้โดยภาพรวมพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังอยู่ในสภาพที่ดี จากการที่สถาบันการเงินของไทยยังอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในอัตราที่สูง จำนวน 174.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ณ วันที่ 30 มิถนายน 2555) หนี้สาธารณะของประเทศไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 42.4 ของ GDP อัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่รับมือกับได้ดี ซึ่งข้อกังวลคือการก่อหนี้และการใช้เงินของรัฐบาลในช่วงนี้ เช่นโครงการกู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาทเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งผลตอบแทนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน  อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีมาตรการในการเฝ้ามองปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป โดยมีการตั้ง “คณะอนุกรรมการเสถียรภาพระบบการเงิน” เพื่อติดตามสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพสถาบันการเงินของไทย ประเด็นสำคัญอยู่ที่รัฐบาลจะรับฟังข้อท้วงติงของ ธปท. มากน้อยเพียงใด

จากเครื่องมือเศรษฐกิจที่ชี้วัดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ประเมินได้ว่าอาจมีการกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในระดับที่ไม่มาก จากการประเมินของ สศช. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 จะขยายตัวได้ร้อยละ 5.5 – 6.0 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 5.5 – 6.5 ทั้งนี้ภาคเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนจาก

1)ภาคการบริโภคในประเทศ ซึ่งได้รับปัจจัยจากรายได้ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น และการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งคาดการณ์ว่าการบริโภคภาคเอกชนไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ปรับลดลงจากประมาณการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.8  

2)การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องจักรทดแทนที่ถูกน้ำท่วมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.2 การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 8.1 และดุลการค้ายังคงเกินดุลที่ 12.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ  

3)เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่ไม่สูง ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 – 3.4 สูงกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

4)การขับเคลื่อนโครงการจำนำข้าวและราคาสินค้าเกษตร ในช่วงครึ่งปีแรก ราคาสินค้าเกษตรหดตัวกว่าร้อยละ 13.2 โดยเฉพาะราคายางพาราที่จะผันผวนไปตามราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง และความเสี่ยงจากมาตรการจำนำข้าว ภายใต้การกดดันด้านราคาจากตลาดโลก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรในช่วงที่ผ่านมา หดตัวประมาณร้อยละ 13.5  

5)การแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชน การเพิ่มอำนาจซื้อจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดหนี้ประชาชนซึ่งหนี้ครัวเรือน มีแนวโน้มสูงขึ้น  ขณะที่รายได้แรงงานสูงขึ้น แต่หนี้สินภาคครัวเรือนก็สูงขึ้นเช่นกัน โดยตัวเลขเดือนมิถุนายนมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 17.2 ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวได้ร้อยละ 14.5

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังคงต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน และจากการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากที่เติบโตในไตรมาส 1/2555 ที่ร้อยละ 0.4  ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 2.2 (สศช. 21 ส.ค. 55)อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของเศรษฐกิจยังอยู่บนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าหลัก และบนความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันโลก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการปรับตัวในทางบวก โดยช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนสิงหาคม ระดับราคาน้ำมัน(WTI)  ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.3 ซึ่งโอกาสที่ราคาน้ำมันโลกอาจจะกลับมาสูงขึ้นก็มีความเป็นไปได้หากมีปัจจัยเข้ามาเอื้อ  นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศของไทย ซึ่งยังเป็นปัจจัยความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยรวมทั้งรัฐบาลคงไม่ออกมาตรการอะไรที่ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนและภาระทางการเมืองให้กับภาคเอกชนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

3. ข้อเสนอแนะ

1)       ปัญหาเฉพาะหน้าดูแลสภาพคล่องและการประกันส่งออก  ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ SMEs โดยให้ธนาคารของรัฐเข้ามาปล่อยสินเชื่อแบบผ่อนปรนรวมทั้งสนับสนุนการประกันส่งออก (Export Insurances)

2)       ดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวน  และสนับสนุนให้ใช้เงินสกุลต่างประเทศในการชำระค่าระวางเรือ (Freight) และร่วมมือกับ ธปท.ในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 3.0 หรือต่ำกว่านี้ไปจนถึงสิ้นปี

3)       ปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้า-ส่งออก  ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับระเบียบด้านการนำเข้า-ส่งออก  แก้ไข-ปรับปรุงกฎเกณฑ์-ข้อบังคับในการลดขั้นตอน เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกมีความสะดวก โดยเฉพาะผู้เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตต่างๆ ให้มีความรวดเร็ว

4)       ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาในการคืน VAT และภาษีนำเข้าเพื่อการส่งออกให้รวดเร็ว  โดยเฉพาะการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งมีกระบวนการในการขอคืนที่ล่าช้ามาก

5)       ส่งเสริมการส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน  รวมทั้งให้มีระบบสินเชื่อให้กับคู่ค้า เพื่อให้เพิ่มปริมาณและมูลค่าส่งออก รวมทั้งสนับสนุนและแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกให้สินค้าเข้า-ออกชายแดนได้สะดวก เช่น การเปิดด่านล่วงเวลา และหรือการเปิดด่านในวันหยุดราชการ  รวมถึงการเปิดด่านชายแดนที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นช่องทางส่งออกสินค้าไทยให้เพิ่มมากขึ้น

6)       การส่งเสริมการส่งออกทดแทนตลาดหลัก  ให้รัฐบาลมีการทำเป็นแบบบูรณาการและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการจัดโครงการส่งเสริมสินค้าไทย เช่น งานแสดงสินค้าต่างๆ โดยให้ SMEs และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าร่วมโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

7)       ส่งเสริมให้มีการจัดหาวัตถุดิบซึ่งขาดแคลนเพื่อผลิตและส่งออก (Global Sourcing)  ในปริมาณที่เพียงพอและมีแหล่งให้เลือกในการแข่งขันด้านราคา  โดยให้มีหน่วยงานดูแลโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มอุตสากรรมซึ่งขาดแคลนวัตถุดิบ เช่น กลุ่มอัญมณี  กลุ่มส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง  กลุ่มหนัง และกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ส่งออก SMEs

8)       ให้มีการเจรจาขอสิทธิ GSP กลับคืนมา  สินค้าไทยหลายรายการถูกประเทศคู่ค้าซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและอียู ตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้า  รัฐบาลควรเร่งเจรจาเพื่อขอคืน GSP หรือชะลอการตัดสิทธิประโยชน์ ซึ่งส่งผลให้สินค้าไทยมีราคานำเข้าสูงกว่าประเทศคู่แข่ง

9)       ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน  ปัญหาการขาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้แรงงานเข้มข้น เป็นปัญหากระทบต่อความสามารถในการส่งออก  รัฐบาลควรมีมาตรการเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ ว่าจะมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร  เพื่อให้เป็นแรงงานซึ่งถูกกฎหมาย รวมทั้งโรงงานซึ่งได้รับ BOI ก็ควรจะพิจารณาอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่พิจารณาเป็นรายปี  เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจด้านการลงทุนในประเทศไทย

10)         การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศให้มีความชัดเจน  ภายใต้ค่าจ้างซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 2-3 เท่า และปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง ควรมีการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง SMEs มีศักยภาพในการเข้าไปลงทุน  รัฐบาลจะต้องจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ มีแผนงาน  หน่วยงานเจ้าภาพ และงบประมาณ  มาตรการของรัฐบาลต้องชัดเจน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการนำกำไรกลับเข้าประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน และต้องมีความเป็นบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะธนาคารของรัฐ จะต้องเข้ามาสนับสนุนกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มด้อยโอกาสที่สุดในการลงทุนในต่างประเทศ

11)         รัฐบาลควรมีการกำหนดเป้าหมายการส่งออกให้สอดคล้องกับความเป็นจริง  โดยเป้าหมายการส่งออกสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากมีปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยภายในเข้ามากระทบ โดยให้ข้อมูลของตลาด  แนวโน้มเศรษฐกิจของคู่ค้า และสถานะการส่งออกรายอุตสาหกรรม และรายประเทศอย่างตรงตามข้อเท็จจริง  ซึ่งจะทำให้ภาคส่งออกสอดคล้องกับตลาด เพื่อที่จะได้ข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบในการนำเข้า หรือสต๊อกสินค้า รวมทั้งด้านการตัดสินใจรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

................................................................


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 2610 ครั้ง
วันที่ : 27/08/2012

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com