รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3 กุมภาพันธ์ 2554
โครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ (China City Complex) เป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้าที่จะสร้างขึ้น โดยจะเป็นศูนย์การค้าส่ง-ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ภายใต้การลงทุนของนักธุรกิจจากประเทศจีน ซึ่งได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 เป็นอภิโปรเจกต์ด้านค้าส่ง-ค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สุดที่ต่างชาติลงทุนในประเทศไทย พื้นที่ของโครงการแบ่งเป็น 3 เฟส มีเนื้อที่ 2.0 ล้านตารางเมตร รองรับร้านค้าได้ 15,000 ร้าน ตามโครงการเมื่อเสร็จในกลางปี 2555 จะทำให้จ้างแรงงานไทยได้ 70,000 คน ประเด็นที่เป็นคำถามจะเกี่ยวกับ ผลกระทบที่จะมีต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคค้าส่ง-ค้าปลีกของไทยอย่างไร โครงการนี้เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง Yiwu International Trade City (เป็นกลุ่มทุนจากเมืองอี้อู ซึ่งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง ภาคตะวันออกของประเทศจีน) ร่วมกับ Yunnan-based Cultural Industry (Group) Investment
โครงการนี้เป็นการขยายการลงทุนในตลาดการค้าส่ง-ค้าปลีกของนักธุรกิจจากเมืองอี้อู (Yiwu) ประเทศจีน ซึ่งที่ประเทศจีนได้มีการเปิดไปแล้ว 4 แห่ง ล้วนเป็นโครงการขนาดใหญ่สำหรับประเทศไทย โดยแจ้งว่าเป็นการลงทุน 45,000 ล้านบาท หรือ 10,000 ล้านหยวน ซึ่งจะเป็นศูนย์การค้าปลีกและส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จีนได้มาลงทุนในต่างประเทศ โดยจะเป็นการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากจีน ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องเรือนต่างๆ จากข้อมูลจากประเทศจีน การก่อสร้างศูนย์พาณิชย์จะครอบคลุมพื้นที่
ความกังวลของภาคเอกชนไทยที่มีต่อโครงการ
ความกังวลของผู้ค้าส่ง-ปลีกไทยที่มีต่อโครงการนี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าสินค้าของจีนราคาถูก กลุ่มที่จะกระทบก็จะขยายวงกว้างโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยไม่สามารถแข่งขันในเชิงราคากับสินค้าจีนได้ ในการพิจารณาประเด็นในเรื่องนี้จึงต้องมีความรอบคอบ เนื่องจากมีผู้ที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการ โดยได้นำผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554 โดยได้นำเสนอข้อวิตกกังวลของประเด็นที่อาจจะกระทบต่อการค้าส่ง-ค้าปลีกต่อการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกของจีน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อศูนย์การค้าของไทย เช่น ประตูน้ำ ตลาดโบ้เบ๊ ฯลฯ ในกรณีนี้ กลุ่มองค์กรที่ได้เข้าร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมฯ สมาคมการค้าส่ง-ค้าปลีกไทย, สมาพันธ์ธุรกิจไลฟ์สไตล์, สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย, สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย, สมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทน, สมาคมสินค้าตกแต่งบ้านและสมาคมของขวัญของชำร่วยไทย ซึ่งทางผู้ประกอบการไทยทราบดีว่าภายใต้ข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน ไม่สามารถห้ามต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ และไม่สามารถปิดกั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจีนสู่ประเทศไทยได้
ประเด็นที่ภาคเอกชนนำเสนอให้ภาครัฐพิจารณา
1. ความวิตกกังวลต่อการสัมภาษณ์ของจีนที่จะให้ไทยเป็นฐานการกระจายสินค้า จากการสัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชลของนาย
อีกทั้งการสัมภาษณ์ของของนายหยาง ฟางซู ประธานสมาคม ASEAN-China Economic and Trade Promotion ได้กล่าวถึงว่า จะเป็นการส่งเสริมผู้ส่งออกของจีนในการที่จะใช้ประโยชน์จาก FTA อาเซียน-จีน ซึ่งไม่มีการจัดเก็บภาษี และมีภาษีต่ำเมื่อค้าขายกับประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว โดยถือว่าเป็นโอกาสของนักธุรกิจที่จะใช้ประโยชน์ของศูนย์ค้าสินค้าแห่งนี้ (ซึ่งต่างกับการให้สัมภาษณ์ของภาครัฐไทย ว่าเป็นโครงการส่งเสริมการค้าไทยและจีน)
2. ภาคเอกชนเสนอว่า หากรัฐเจรจากับนักธุรกิจจีนที่จะจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ประกอบการไทย ซึ่งแต่เดิมกำหนดพื้นที่ไว้เพียง 30% ประเด็นคือ ศูนย์การค้าของจีนสามารถกำหนดสัดส่วนของคนไทยที่จะเข้าไปเช่าร้านค้าเหล่านี้ได้หรือไม่ เพราะตามกฎหมายธุรกิจการค้าปลีกยังคงถูกสงวนไว้ ไม่ใช่ว่าผู้ค้ารายย่อยจะมาเปิดร้านได้ ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ
(1) กฎหมายไทยมีความยืดหยุ่นที่จะให้ผู้ค้ารายย่อย ปลีก-ส่ง (รายย่อยจากต่างชาติ) สามารถดำเนินธุรกิจเปิดร้านค้าส่ง-ปลีกในประเทศไทยได้อย่างเสรี
(2) ผู้ประกอบการจีนสามารถขอ Work Permit เข้ามาทำธุรกิจการค้าส่ง-ค้าปลีก เปิดร้านค้าย่อยในศูนย์การค้าแห่งนี้ได้หรือไม่
(3) ลูกจ้างที่จะมาเป็นผู้ขายในศูนย์ค้าสินค้าแห่งนี้ในแต่ละร้าน ถึงแม้ว่าเจ้าของร้านจะเป็นชาวจีน ลูกจ้างในร้านจะเป็นชาวจีนได้หรือไม่ ถ้าได้ จะขอ Work Permit ในฐานะอะไร
(4) ศูนย์ค้าสินค้าไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์เป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของเอกชนจีน คงทำได้เหมือน Tesco Lotus หรือ Big C แต่ห้างเหล่านั้นก็ไม่มีการมาปิดกั้นสัดส่วนของร้านค้าย่อย ว่าจะให้ผู้ประกอบการจากประเทศตนเป็นสัดส่วนเท่าใด ซึ่งต่างจากผู้ประกอบการของจีนสามารถกำหนดสัดส่วนได้ ซึ่งเป็นคำถามว่า ได้ใช้กฎหมายข้อใดเป็นตัวกำหนด
3. กระทรวงพาณิชย์จะต้องมีความเข้มงวดในการบังคับกฎหมายสำหรับการค้าปลีก-ค้าส่ง รวมถึงการนำกฎหมายทุ่มตลาดของจีนที่จะเข้ามาขายในศูนย์ค้าสินค้าแห่งนี้ รวมถึงกำหนดมาตรฐานและคุณภาพสินค้า โดยการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) เพื่อไม่ให้ประเทศจีนใช้ไทยเป็นฐานในการส่งออกสินค้า Made in
4. สภาอุตสาหกรรมเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ จัดตั้งคณะทำงานติดตามผลกระทบที่จะมีต่อภาคการค้าส่ง-ปลีก และการผลิต โดยเฉพาะ SMEs และโอกาสการต่อยอดธุรกิจ โดยการนำศูนย์ค้าสินค้าของประเทศจีนที่จะสร้างขึ้นให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าของ Made in
5. ขอให้กรมศุลกากรมีความเข้มงวดตรวจสอบสินค้าที่จะนำมาจำหน่ายภายในศูนย์การค้า ซึ่งจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง สินค้าทุกรายการจะต้องมี Invoice และใบขนสินค้าที่ตรงกับ Form E ซึ่งเป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจีน ในการที่จะใช้ภาษีอัตรา 0% และต้องตรวจสอบราคาสินค้าตามเอกสารวาถูกต้องตรงกับที่มีการโอนเงินเข้า-ออกเพื่อเป็นการป้องกันการลักลอบการนำเข้าโดยไม่ถูกกฎหมาย
6. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. จะต้องมีความเข้มงวดตรวจสอบผู้ประกอบการจีนและพนักงานขายของว่าเข้ามาและถือวีซ่าในฐานะนักท่องเที่ยว โดยที่ไม่มี Work Permit ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยและการจ้างงานคนไทย
7. กระทรวงพาณิชย์จะต้องตรวจสอบทะเบียนร้านค้าว่ามีการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายไทยหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง จะต้องมีการจัดการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
|
||||
|
||||
บทความพิเศษ โครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ยุทธศาสตร์การรุกของจีนสู่ประเทศไทย Shareโดย ดร. รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3 กุมภาพันธ์ 2554 โครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ (China City Complex) เป็นศูนย์ค้าส่งออกสินค้าที่จะสร้างขึ้น โดยจะเป็นศูนย์การค้าส่ง-ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ภายใต้การลงทุนของนักธุรกิจจากประเทศจีน ซึ่งได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 เป็นอภิโปรเจกต์ด้านค้าส่ง-ค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สุดที่ต่างชาติลงทุนในประเทศไทย พื้นที่ของโครงการแบ่งเป็น 3 เฟส มีเนื้อที่ 2.0 ล้านตารางเมตร รองรับร้านค้าได้ 15,000 ร้าน ตามโครงการเมื่อเสร็จในกลางปี 2555 จะทำให้จ้างแรงงานไทยได้ 70,000 คน ประเด็นที่เป็นคำถามจะเกี่ยวกับ ผลกระทบที่จะมีต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคค้าส่ง-ค้าปลีกของไทยอย่างไร โครงการนี้เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง Yiwu International Trade City (เป็นกลุ่มทุนจากเมืองอี้อู ซึ่งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง ภาคตะวันออกของประเทศจีน) ร่วมกับ Yunnan-based Cultural Industry (Group) Investment โครงการนี้เป็นการขยายการลงทุนในตลาดการค้าส่ง-ค้าปลีกของนักธุรกิจจากเมืองอี้อู (Yiwu) ประเทศจีน ซึ่งที่ประเทศจีนได้มีการเปิดไปแล้ว 4 แห่ง ล้วนเป็นโครงการขนาดใหญ่สำหรับประเทศไทย โดยแจ้งว่าเป็นการลงทุน 45,000 ล้านบาท หรือ 10,000 ล้านหยวน ซึ่งจะเป็นศูนย์การค้าปลีกและส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จีนได้มาลงทุนในต่างประเทศ โดยจะเป็นการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากจีน ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องเรือนต่างๆ จากข้อมูลจากประเทศจีน การก่อสร้างศูนย์พาณิชย์จะครอบคลุมพื้นที่ ความกังวลของภาคเอกชนไทยที่มีต่อโครงการ ความกังวลของผู้ค้าส่ง-ปลีกไทยที่มีต่อโครงการนี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าสินค้าของจีนราคาถูก กลุ่มที่จะกระทบก็จะขยายวงกว้างโดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยไม่สามารถแข่งขันในเชิงราคากับสินค้าจีนได้ ในการพิจารณาประเด็นในเรื่องนี้จึงต้องมีความรอบคอบ เนื่องจากมีผู้ที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการ โดยได้นำผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554 โดยได้นำเสนอข้อวิตกกังวลของประเด็นที่อาจจะกระทบต่อการค้าส่ง-ค้าปลีกต่อการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกของจีน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อศูนย์การค้าของไทย เช่น ประตูน้ำ ตลาดโบ้เบ๊ ฯลฯ ในกรณีนี้ กลุ่มองค์กรที่ได้เข้าร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมฯ สมาคมการค้าส่ง-ค้าปลีกไทย, สมาพันธ์ธุรกิจไลฟ์สไตล์, สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย, สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย, สมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทน, สมาคมสินค้าตกแต่งบ้านและสมาคมของขวัญของชำร่วยไทย ซึ่งทางผู้ประกอบการไทยทราบดีว่าภายใต้ข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน ไม่สามารถห้ามต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ และไม่สามารถปิดกั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจีนสู่ประเทศไทยได้ ประเด็นที่ภาคเอกชนนำเสนอให้ภาครัฐพิจารณา 1. ความวิตกกังวลต่อการสัมภาษณ์ของจีนที่จะให้ไทยเป็นฐานการกระจายสินค้า จากการสัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชลของนาย อีกทั้งการสัมภาษณ์ของของนายหยาง ฟางซู ประธานสมาคม ASEAN-China Economic and Trade Promotion ได้กล่าวถึงว่า จะเป็นการส่งเสริมผู้ส่งออกของจีนในการที่จะใช้ประโยชน์จาก FTA อาเซียน-จีน ซึ่งไม่มีการจัดเก็บภาษี และมีภาษีต่ำเมื่อค้าขายกับประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว โดยถือว่าเป็นโอกาสของนักธุรกิจที่จะใช้ประโยชน์ของศูนย์ค้าสินค้าแห่งนี้ (ซึ่งต่างกับการให้สัมภาษณ์ของภาครัฐไทย ว่าเป็นโครงการส่งเสริมการค้าไทยและจีน) 2. ภาคเอกชนเสนอว่า หากรัฐเจรจากับนักธุรกิจจีนที่จะจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ประกอบการไทย ซึ่งแต่เดิมกำหนดพื้นที่ไว้เพียง 30% ประเด็นคือ ศูนย์การค้าของจีนสามารถกำหนดสัดส่วนของคนไทยที่จะเข้าไปเช่าร้านค้าเหล่านี้ได้หรือไม่ เพราะตามกฎหมายธุรกิจการค้าปลีกยังคงถูกสงวนไว้ ไม่ใช่ว่าผู้ค้ารายย่อยจะมาเปิดร้านได้ ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ (1) กฎหมายไทยมีความยืดหยุ่นที่จะให้ผู้ค้ารายย่อย ปลีก-ส่ง (รายย่อยจากต่างชาติ) สามารถดำเนินธุรกิจเปิดร้านค้าส่ง-ปลีกในประเทศไทยได้อย่างเสรี (2) ผู้ประกอบการจีนสามารถขอ Work Permit เข้ามาทำธุรกิจการค้าส่ง-ค้าปลีก เปิดร้านค้าย่อยในศูนย์การค้าแห่งนี้ได้หรือไม่ (3) ลูกจ้างที่จะมาเป็นผู้ขายในศูนย์ค้าสินค้าแห่งนี้ในแต่ละร้าน ถึงแม้ว่าเจ้าของร้านจะเป็นชาวจีน ลูกจ้างในร้านจะเป็นชาวจีนได้หรือไม่ ถ้าได้ จะขอ Work Permit ในฐานะอะไร (4) ศูนย์ค้าสินค้าไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์เป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของเอกชนจีน คงทำได้เหมือน Tesco Lotus หรือ Big C แต่ห้างเหล่านั้นก็ไม่มีการมาปิดกั้นสัดส่วนของร้านค้าย่อย ว่าจะให้ผู้ประกอบการจากประเทศตนเป็นสัดส่วนเท่าใด ซึ่งต่างจากผู้ประกอบการของจีนสามารถกำหนดสัดส่วนได้ ซึ่งเป็นคำถามว่า ได้ใช้กฎหมายข้อใดเป็นตัวกำหนด 3. กระทรวงพาณิชย์จะต้องมีความเข้มงวดในการบังคับกฎหมายสำหรับการค้าปลีก-ค้าส่ง รวมถึงการนำกฎหมายทุ่มตลาดของจีนที่จะเข้ามาขายในศูนย์ค้าสินค้าแห่งนี้ รวมถึงกำหนดมาตรฐานและคุณภาพสินค้า โดยการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) เพื่อไม่ให้ประเทศจีนใช้ไทยเป็นฐานในการส่งออกสินค้า Made in 4. สภาอุตสาหกรรมเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ จัดตั้งคณะทำงานติดตามผลกระทบที่จะมีต่อภาคการค้าส่ง-ปลีก และการผลิต โดยเฉพาะ SMEs และโอกาสการต่อยอดธุรกิจ โดยการนำศูนย์ค้าสินค้าของประเทศจีนที่จะสร้างขึ้นให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าของ Made in 5. ขอให้กรมศุลกากรมีความเข้มงวดตรวจสอบสินค้าที่จะนำมาจำหน่ายภายในศูนย์การค้า ซึ่งจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง สินค้าทุกรายการจะต้องมี Invoice และใบขนสินค้าที่ตรงกับ Form E ซึ่งเป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจีน ในการที่จะใช้ภาษีอัตรา 0% และต้องตรวจสอบราคาสินค้าตามเอกสารวาถูกต้องตรงกับที่มีการโอนเงินเข้า-ออกเพื่อเป็นการป้องกันการลักลอบการนำเข้าโดยไม่ถูกกฎหมาย 6. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. จะต้องมีความเข้มงวดตรวจสอบผู้ประกอบการจีนและพนักงานขายของว่าเข้ามาและถือวีซ่าในฐานะนักท่องเที่ยว โดยที่ไม่มี Work Permit ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยและการจ้างงานคนไทย 7. กระทรวงพาณิชย์จะต้องตรวจสอบทะเบียนร้านค้าว่ามีการขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายไทยหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง จะต้องมีการจัดการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์ อ่าน : 3231 ครั้ง วันที่ : 05/02/2011 |
||||
|