Multimodal Transport

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

23 กรกฎาคม 2552


Multimodal Transport เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งที่ใด (One Point) หรือจากประเทศหนึ่งประเทศใด ไปสู่อีกที่หนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่เป็นจุดพบสุดท้าย (Interface Final Point) โดยใช้รูปแบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ขนส่งรายเดียว และมีสัญญาขนส่งฉบับเดียวหรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ โดย Multimodal Transport เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า เช่น ทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ฯลฯ โดยแนวคิดและเป้าหมายในการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มุ่งเน้นไปที่การทดแทนการขนส่งทางถนนเพียงอย่างเดียว ซึ่งการขนส่งลักษณะนี้จะให้ความสำคัญกับอัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถแข่งขันกับอัตราค่าใช้จ่ายทางถนน ซึ่งการขนส่งรูปแบบนี้จะสามารถลดต้นทุนขนส่งทางถนนได้ต่อเมื่อมีระยะทางในการขนส่งไม่น้อยกว่า 500 กิโลเมตร เพราะการเปลี่ยนโหมดขนส่งจะมีต้นทุนค่า Lift On / Lift Off คือค่าขนลงและขนขึ้น นอกจากนี้ การขนส่งต่อเนื่องส่งหลายรูปแบบที่เกิดประสิทธิภาพด้านต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งที่รวดเร็ว จะต้องดำเนินการในลักษณะที่ไม่มีการถ่ายเปลี่ยนสินค้า เข้า-ออกจากตู้คอนเทนเนอร์ โดยในการขนส่งจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งทางรถไฟ ทางแม่น้ำ และทางทะเลเป็นหลัก เพราะเป็นโหมดที่ประหยัดที่สุด ถ้าจำเป็นจะต้องมีการใช้การขนส่งทางถนนก็จะจำกัดระยะทางที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยอาจจะใช้การขนส่งทางถนนเพียงระยะทางสั้น ๆ ที่ต้นทางหรือปลายทางในการขนส่งสินค้าเท่านั้น ทั้งนี้ การขนส่งระหว่างประเทศ จำต้องใช้รูปแบบการขนส่งอย่างน้อยสองรูปแบบขึ้นไป เพื่อเชื่อมต่อกัน ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงไม่มีรูปแบบการขนส่งใด ที่จะมีศักยภาพในการเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดของสินค้ากับแหล่งความต้องการบริโภค ให้เข้าถึงกันได้โดยไม่ต้องใช้รูปแบบการขนส่งอื่น” หรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Supply Chain ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของคลังสินค้า , ต้นทุนที่เกี่ยวกับการผลิต และการกระจายสินค้า โดยปัจจัยสำคัญของโลจิสติกส์จะอยู่ที่กระบวนเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes) ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการขนส่ง โดยที่โลจิสติกส์เมื่อดำเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ กระบวนการขนส่งจึงเป็น “International Transportation” คือ ขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุม Mode ของการขนส่งทุกประเภท ซึ่งจาก Incoterm 2000 จะพบหลายเงื่อนไข ซึ่งได้กล่าวถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งนับเป็นรูปแบบการขนส่งที่จะมีบทบาทที่สำคัญต่อกระบวนการโลจิสติกส์ ทั้งนี้ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จะปรากฎอยู่ในเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศที่เรียกว่า “Incoterm 2000” เช่น CPT , CIP , DDU และ DDP เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการมอบความรับผิดชอบให้ผู้ขนส่งที่เรียกว่า “Carriage” ซึ่งโดยทางปฏิบัติจะมีการทำหน้าที่ในการเชื่อมวิธีการขนส่งของที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเชื่อมโครงสร้างพื้นฐาน โดยการก่อสร้างถนนและสะพานเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคอินโดจีน ทำให้บทบาทของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะเป็นกลไกผลักดันให้มีการกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรูปแบบการขนส่งแบบ Multimodal Transport ในการขนส่งข้ามแดนอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนโหมดประเภทขนส่ง เช่น จากรถบรรทุกไปสู่รถไฟ แต่อาจเป็นการขนส่งจากรถบรรทุกของประเทศไทยไปเป็นรถบรรทุกของประเทศเพื่อนบ้าน หรือเป็นการเปลี่ยนหัวลากที่ชายแดน ซึ่งยังคงผลให้ผู้ประกอบการรายแรกหรือที่เป็นคู่สัญญายังจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหลายทั้งปวง จนสินค้าได้ส่งมอบไปยังผู้รับ อย่างไรก็ตาม การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอย่างเป็นทางการอาจจะยังไม่ได้เป็นที่นิยมใช้มากนัก แต่ในทางปฏิบัติผู้รับขนส่งทอดแรก หรือตัวแทน ก็ถือเป็นผู้รับจัดการขนส่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้ รูปแบบการส่งมอบสินค้าในอนาคต ซึ่งจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเป็นลักษณะการขนส่งแบบ Door to Door จะเป็นการส่งเสริมบทบาทและความสำคัญที่การขนส่งแบบ Multimodal Transport จะเป็นกลไกขับเคลื่อนโลจิสติกส์ในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติของประเทศไทย..

" />
       
 

Multimodal Transport การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ Share


 

Multimodal Transport

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

23 กรกฎาคม 2552


Multimodal Transport เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า จากที่หนึ่งที่ใด (One Point) หรือจากประเทศหนึ่งประเทศใด ไปสู่อีกที่หนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่เป็นจุดพบสุดท้าย (Interface Final Point) โดยใช้รูปแบบการขนส่งตั้งแต่ 2 รูปแบบขึ้นไป ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ขนส่งรายเดียว และมีสัญญาขนส่งฉบับเดียวหรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ โดย Multimodal Transport เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า เช่น ทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ฯลฯ โดยแนวคิดและเป้าหมายในการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มุ่งเน้นไปที่การทดแทนการขนส่งทางถนนเพียงอย่างเดียว ซึ่งการขนส่งลักษณะนี้จะให้ความสำคัญกับอัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถแข่งขันกับอัตราค่าใช้จ่ายทางถนน ซึ่งการขนส่งรูปแบบนี้จะสามารถลดต้นทุนขนส่งทางถนนได้ต่อเมื่อมีระยะทางในการขนส่งไม่น้อยกว่า 500 กิโลเมตร เพราะการเปลี่ยนโหมดขนส่งจะมีต้นทุนค่า Lift On / Lift Off คือค่าขนลงและขนขึ้น นอกจากนี้ การขนส่งต่อเนื่องส่งหลายรูปแบบที่เกิดประสิทธิภาพด้านต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งที่รวดเร็ว จะต้องดำเนินการในลักษณะที่ไม่มีการถ่ายเปลี่ยนสินค้า เข้า-ออกจากตู้คอนเทนเนอร์ โดยในการขนส่งจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งทางรถไฟ ทางแม่น้ำ และทางทะเลเป็นหลัก เพราะเป็นโหมดที่ประหยัดที่สุด ถ้าจำเป็นจะต้องมีการใช้การขนส่งทางถนนก็จะจำกัดระยะทางที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยอาจจะใช้การขนส่งทางถนนเพียงระยะทางสั้น ๆ ที่ต้นทางหรือปลายทางในการขนส่งสินค้าเท่านั้น ทั้งนี้ การขนส่งระหว่างประเทศ จำต้องใช้รูปแบบการขนส่งอย่างน้อยสองรูปแบบขึ้นไป เพื่อเชื่อมต่อกัน ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงไม่มีรูปแบบการขนส่งใด ที่จะมีศักยภาพในการเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดของสินค้ากับแหล่งความต้องการบริโภค ให้เข้าถึงกันได้โดยไม่ต้องใช้รูปแบบการขนส่งอื่น” หรือเป็นวิธีการขนส่งสินค้าแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมการขนส่งทุกประเภท โดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ในการสนองความต้องการของกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Supply Chain ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของคลังสินค้า , ต้นทุนที่เกี่ยวกับการผลิต และการกระจายสินค้า โดยปัจจัยสำคัญของโลจิสติกส์จะอยู่ที่กระบวนเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes) ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการขนส่ง โดยที่โลจิสติกส์เมื่อดำเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ กระบวนการขนส่งจึงเป็น “International Transportation” คือ ขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุม Mode ของการขนส่งทุกประเภท ซึ่งจาก Incoterm 2000 จะพบหลายเงื่อนไข ซึ่งได้กล่าวถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งนับเป็นรูปแบบการขนส่งที่จะมีบทบาทที่สำคัญต่อกระบวนการโลจิสติกส์ ทั้งนี้ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จะปรากฎอยู่ในเงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศที่เรียกว่า “Incoterm 2000” เช่น CPT , CIP , DDU และ DDP เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการมอบความรับผิดชอบให้ผู้ขนส่งที่เรียกว่า “Carriage” ซึ่งโดยทางปฏิบัติจะมีการทำหน้าที่ในการเชื่อมวิธีการขนส่งของที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเชื่อมโครงสร้างพื้นฐาน โดยการก่อสร้างถนนและสะพานเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคอินโดจีน ทำให้บทบาทของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะเป็นกลไกผลักดันให้มีการกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรูปแบบการขนส่งแบบ Multimodal Transport ในการขนส่งข้ามแดนอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนโหมดประเภทขนส่ง เช่น จากรถบรรทุกไปสู่รถไฟ แต่อาจเป็นการขนส่งจากรถบรรทุกของประเทศไทยไปเป็นรถบรรทุกของประเทศเพื่อนบ้าน หรือเป็นการเปลี่ยนหัวลากที่ชายแดน ซึ่งยังคงผลให้ผู้ประกอบการรายแรกหรือที่เป็นคู่สัญญายังจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหลายทั้งปวง จนสินค้าได้ส่งมอบไปยังผู้รับ อย่างไรก็ตาม การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอย่างเป็นทางการอาจจะยังไม่ได้เป็นที่นิยมใช้มากนัก แต่ในทางปฏิบัติผู้รับขนส่งทอดแรก หรือตัวแทน ก็ถือเป็นผู้รับจัดการขนส่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งนี้ รูปแบบการส่งมอบสินค้าในอนาคต ซึ่งจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเป็นลักษณะการขนส่งแบบ Door to Door จะเป็นการส่งเสริมบทบาทและความสำคัญที่การขนส่งแบบ Multimodal Transport จะเป็นกลไกขับเคลื่อนโลจิสติกส์ในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติของประเทศไทย..


ไฟล์ประกอบ : 042-Multimodal Transport.pdf
อ่าน : 8351 ครั้ง
วันที่ : 23/07/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com