โดยธนิต โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP
จากการศึกษาจากนโยบายและแผนงานต่างๆของหน่วยงานของรัฐ ที่ได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบโครงสร้างคมนาคม (Infrastructure Logistics) ประกอบกับได้มีโอกาสในการเข้าร่วมการสัมมนาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคการเมืองและภาครัฐ ประกอบกับ ได้มีโอกาสสำรวจเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกับประเทศต่างๆใน ASIAN เห็นว่าประเทศมีความเป็นไปได้ที่จะมีโอกาสพัฒนาระบบ Logistics จนทำให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถ (Competency) ในการเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งจีนตอนใต้ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการที่ต้องเชื่อมโยงการคมนาคมทั้งทางน้ำ และ ทางบก จากประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากประเทศไทยได้มีนโยบายในการทำ FTA (Free Trade Agreement) กับหลายประเทศ เช่น การทำ FTA (Free Trade Area) กับประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 และประเทศออสเตรีย เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2547 และได้ทำกับอินเดียเมื่อเดือนกันยายน ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังดำเนินการในการทำ FTA กับประเทศสหรัฐอเมริกา , ยุโรป และอีกหลายประเทศ
ประเทศไทยควรจะเร่งรีบในการศึกษาและกำหนดยุทธศาสตร์ในระดับเศรษฐกิจจุลภาคในการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจกับเส้นทางเศรษฐกิจของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกกับตะวันตกหรือเส้นทางคุนหมิง-แม่สาย-มาเลเซีย ทั้งนี้ เส้นทางคมนาคมขนส่งเหล่านี้ จะทำให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงกับเมืองท่าที่สำคัญใน ASIAN จะทำให้ต้นทุน Logistics ของไทยมีความได้เปรียบ (Comparative Advantage) โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ (Strength on Geographical Location) ตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลอันดามัน 467 ไมล์ทะเล และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย 994 ไมล์ทะเล ประเทศไทยมีพรมแดนติดกับ พม่า ,ลาว ,เวียดนาม ซึ่งในปัจจุบันได้มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการผ่านแดนและในการพัฒนาประโยชน์จากการใช้เส้นทางคมนาคมขนส่ง ประเทศไทยตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของแผ่นดินใหญ่อาเซียน (ASIAN Mainland) ทุกประเทศ สามารถเชื่อมการขนส่งจากประเทศไทยต่อไปยังมาเลเซียไปถึงสิงคโปร์ และเชื่อมต่อกับจีนตอนใต้ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีถนนครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 140,000 กิโลเมตร ดังนั้นการที่ประเทศไทยจะมีการทำ FTA กับหลายประเทศทั้งจีน , ออสเตรีย และประเทศอินเดีย หรือการทำ โครงการ North South Corridor หรือ East West Corridor ก็ล้วนแต่มีแรงสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของอาเซียนได้ทั้งสิ้น
ปัจจัยตัวแปรที่เป็นอุปสรรคต่อการเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งทางบกของไทย คือ ประเทศไทยก็ยังมีข้อด้อยอยู่ไม่น้อย เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างจีน , มาเลเซีย , สิงคโปร์ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการเตรียมการที่จะมารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเป็นผู้นำในด้านการคมนาคมขนส่ง และประเทศไทยไม่มีท่าเรือที่มาตรฐาน ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ขณะที่มาเลเซียมี Port Klang และทางภาคเหนือประเทศไทยไม่มีท่าเรือมาตรฐานที่รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ ซึ่งแตกต่างจากจีนซึ่งมีแนวยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ Logistics ซึ่งจะพยายามใช้ประโยชน์จากการขนส่งสินค้าไปออกทะเลทั้งจากที่ฮานอยและเมืองดานัง โดยไม่จำเป็นจะต้องผ่านประเทศไทย สำหรับการคมนาคมขนส่งทางรถไฟของประเทศไทยนั้น ยังมีปัญหาเรื่องรถไฟทางคู่ (Dual Track) ซึ่งประเทศไทยยังไม่มี ขณะที่ประเทศ มาเลเซียในปี 2004 ก็จะมีทางรถไฟทางคู่เชื่อมต่อได้ทั้งประเทศ จนถึงสิงคโปร์ ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการรถไฟ ในการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะเชื่อมโยงระบบการขนส่งทางบก ให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยจะเห็นได้จากสถิติจากการขนส่งภายในประเทศ ในปี 2544 จะเป็นการขนส่งด้วยทางรถไฟเพียง 2% เมื่อเทียบจากการขนส่งทุกประเภท ขณะที่การขนส่งทางบกจะเป็นถึง 86% อย่างไรก็ดี ประเทศไทย คงจะต้องมีการปฏิรูประบบการขนส่ง ซึ่งไม่ใช่รูปแบบของการขนส่งที่เป็นมาตรฐาน ให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้นในระดับสากล และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน
" />
|
||||
|
||||
ประเทศไทยโอกาสและความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ Logistics เพื่อให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน Shareโดยธนิต โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP จากการศึกษาจากนโยบายและแผนงานต่างๆของหน่วยงานของรัฐ ที่ได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบโครงสร้างคมนาคม (Infrastructure Logistics) ประกอบกับได้มีโอกาสในการเข้าร่วมการสัมมนาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคการเมืองและภาครัฐ ประกอบกับ ได้มีโอกาสสำรวจเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกับประเทศต่างๆใน ASIAN เห็นว่าประเทศมีความเป็นไปได้ที่จะมีโอกาสพัฒนาระบบ Logistics จนทำให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถ (Competency) ในการเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งจีนตอนใต้ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการที่ต้องเชื่อมโยงการคมนาคมทั้งทางน้ำ และ ทางบก จากประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากประเทศไทยได้มีนโยบายในการทำ FTA (Free Trade Agreement) กับหลายประเทศ เช่น การทำ FTA (Free Trade Area) กับประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 และประเทศออสเตรีย เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2547 และได้ทำกับอินเดียเมื่อเดือนกันยายน ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังดำเนินการในการทำ FTA กับประเทศสหรัฐอเมริกา , ยุโรป และอีกหลายประเทศ ประเทศไทยควรจะเร่งรีบในการศึกษาและกำหนดยุทธศาสตร์ในระดับเศรษฐกิจจุลภาคในการใช้ประโยชน์ทางธุรกิจกับเส้นทางเศรษฐกิจของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกกับตะวันตกหรือเส้นทางคุนหมิง-แม่สาย-มาเลเซีย ทั้งนี้ เส้นทางคมนาคมขนส่งเหล่านี้ จะทำให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงกับเมืองท่าที่สำคัญใน ASIAN จะทำให้ต้นทุน Logistics ของไทยมีความได้เปรียบ (Comparative Advantage) โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ (Strength on Geographical Location) ตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลอันดามัน 467 ไมล์ทะเล และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย 994 ไมล์ทะเล ประเทศไทยมีพรมแดนติดกับ พม่า ,ลาว ,เวียดนาม ซึ่งในปัจจุบันได้มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการผ่านแดนและในการพัฒนาประโยชน์จากการใช้เส้นทางคมนาคมขนส่ง ประเทศไทยตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของแผ่นดินใหญ่อาเซียน (ASIAN Mainland) ทุกประเทศ สามารถเชื่อมการขนส่งจากประเทศไทยต่อไปยังมาเลเซียไปถึงสิงคโปร์ และเชื่อมต่อกับจีนตอนใต้ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีถนนครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 140,000 กิโลเมตร ดังนั้นการที่ประเทศไทยจะมีการทำ FTA กับหลายประเทศทั้งจีน , ออสเตรีย และประเทศอินเดีย หรือการทำ โครงการ North South Corridor หรือ East West Corridor ก็ล้วนแต่มีแรงสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของอาเซียนได้ทั้งสิ้น
ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์ อ่าน : 3124 ครั้ง วันที่ : 27/04/2007 |
||||
|