ภายใต้การเปิดเสรีภาคโลจิสติกส์อาเซียน ปี 2010
โดย ดร.
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
รองประธานกรรมการ
15 มิถุนายน 2552
คำจำกัดความ โดย ดร.ธนิต โสรัตน์[1] Logistics หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า จากแหล่งที่ผลิต (Source of Origin) จนสินค้าได้มีการส่งมอบไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ (Source of Consumption) โดยกิจกรรมดังกล่าว จะต้องมีลักษณะเป็นกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลา (Just in Time) และเพื่อลดต้นทุนรวม โดยมุ่งให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้า (Customers Satisfaction) และส่งเสริมเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆของระบบ Logistics จะต้องมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องประสานกัน ในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน (รายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารแนบ หรือ www.tanitsorat.com)
สาระและองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. Material Requirement Flow ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งสินค้าและวัตถุดิบ
2. Goods & Service Flow โลจิสติกส์ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า-บริการ
3. Information Flow ความหมายของโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร
4. Storage Flow โลจิสติกส์ในควาหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ
5. Distribution Flow ความหมายของโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า
6. Place Flow ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงพื้นที่
7. Time Flow ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเวลา
8. Fund Flow ความหมายที่เกี่ยวกับการจัดการเคลื่อนย้ายทุน
สถานภาพอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทย ประมาณการว่าผู้ประกอบการ โลจิสติกส์ของไทยจากข้อมูลของกรมพัฒนาเศรษฐกิจการค้า) ในปี 2549 มีทั้งสิ้นประมาณ 14,383 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนรวมกัน 224,630,360,778 บาท โดยกว่า 52% เป็น SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยลักษณะของธุรกิจ ประกอบด้วย
1. กลุ่มการขนส่งสินค้า มีสัดส่วน 54%
2. กลุ่มที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าและกระจายสินค้า มีสัดส่วน 24%
3. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับงานชิปปิ้งออกของและตัวแทนให้บริการทั่วไป มีสัดส่วน 19%
4. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาและบริการ มีสัดส่วน 3%
ประมาณกันว่า ในปี 2009 ธุรกิจประเภทผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีมูลค่าทางด้านการตลาด 150,000 165,000 ล้านบาท และปี 2010 มีมูลค่า 18,500 ล้านบาท โดยแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ยังไม่มีการบันทึก แต่จากตัวเลขการขยายตัวของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ภายในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีการเติบโตเฉลี่ยที่ ร้อยละ 12-15
สถานภาพการแข่งขัน
ปัจจุบันสถานภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทย จัดว่าอยู่ในระดับที่มีการแข่งขันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจด้านการขนส่งทางบก และด้านตัวแทนออกของหรือชิปปิ้งจะมีการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ให้บริการของไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs ขาดซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับบริษัทต่างชาติ ทำให้ขาดการต่อรอง โดยเฉพาะในช่วงปี 2009 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ GDP ของไทยติดลบร้อยละ 2-3 วิกฤตของไทยในช่วงเวลาที่ผ่านถึง 2-3 ปี มีการปิดตัวเป็นจำนวนมาก และหรือถูก Take Over / Nominee จากคนต่างชาติ จากตัวเลขผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทย 50 อันดับแรก เป็นบริษัทต่างชาติ จำนวน 26 บริษัท , บริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 บริษัท , บริษัทมหาชน จำนวน 10 บริษัท
พันธกรณีของไทยสาขาโลจิสติกส์ ภายใต้กรอบ WTO
1. การจัดตั้งธุรกิจ ได้ในรูปแบบ Limited Liability Company เท่านั้น และให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% และผู้บริหารไม่น้อยกว่า 50% ต้องเป็นคนไทย
2. การเคลื่อนย้ายบุคคล คนต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยได้ในฐานะผู้ติดต่อธุรกิจ (Business Visitor) หรือเข้ามาทำงานในฐานะเป็นผู้โอนย้ายภายในกิจการ (Intra Corporate Transferee) ที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญ (ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายไทย) ทั้งนี้ ไทยได้ผูกพันที่จะอนุญาตให้คนต่างชาติมาจัดตั้งธุรกิจและทำงานในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้
§ ธุรกิจขนส่งทางอากาศ บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน การขายและการตลาดบริการขนส่งทางอากาศ
§ ธุรกิจขนส่งทางราง บริการซ่อมบำรุงรถไฟ ทำความสะอาดรถไฟโดยสารและรถไฟสินค้า บริการรักษาความปลอดภัยที่สถานีรถไฟ
§ ธุรกิจขนส่งทางทะเล การขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ บริการลากจูง บริการรับถ่ายน้ำสกปรกจากเรือ บริการจัดการเรือต่างประเทศที่เมืองท่าในไทย บริการตรวจสภาพเรือและอุปกรณ์ และบริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
§ ธุรกิจขนส่งทางถนน บริการขนสินค้าแช่เย็นแช่แข็ง สินค้าเหลว และคอนเทนเนอร์ บริการให้เช่ารถเก๋งพร้อมคนขับ บริการให้เช่ารถบัสพร้อมคนขับ
§ ธุรกิจอื่น ๆ บริการเก็บรักษาสินค้า
ผลกระทบของไทยต่อการเปิดเสรีสาขาโลจิสติกส์ในปี 2013 โดยนักลงทุนในอาเซียนสามารถมาลงทุนถือหุ้นในธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยได้ 70% โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทยกว่าร้อยละ 60 70 ที่จะรับผลกระทบ เนื่องจากสภาวการณ์ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ อีกทั้ง การที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการสร้างเส้นทางขนส่งทางถนนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้เครือข่าย North South / East West Economics Corridor ซึ่งไทยมีพันธกิจในการพัฒนาเส้นทางตามกรอบข้อตกลงการขนส่งข้ามแดน CBTA ตามกรอบ ASEAN TRANSPORT / GMS / ACMECS ซึ่งบทบาทการขนส่งทางถนนในภูมิภาคจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการของสิงคโปร์ , มาเลเซีย และจีน (ซึ่งจะเป็นบริษัทนอมินี่ให้กับบางประเทศในอาเซียน จะเข้ามารุกตลาดด้านการบริการโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนมีทุนขนาดใหญ่และมีเครือข่าย รวมถึง ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ธุรกิจในไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้)
ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือก่อนที่จะมีการเปิดเสรี ในปี 2013
1. ปัญหาการพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย คือ ไม่มีหน่วยงานของรัฐใดๆ ที่เป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะมีการตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ หรือ กบส. ซึ่ง สศช. เป็นผู้ดูแล แต่ก็ทำหน้าที่เป็นเพียงเลขานุการ ขาดซึ่งยุทธศาสตร์ อำนาจหน้าที่ และงบประมาณที่จะเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทย
2. ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไปสู่สากล แต่โดยข้อเท็จจริงก็ไม่มีแผนงาน งบประมาณ และหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดที่จะเข้าไปดำเนินการ ถึงแม้จะมีการจัดตั้งสำนักโลจิสติกส์การค้าของกรมส่งเสริมการส่งออก ที่ผ่านมา 2 ปี ก็ยังไม่เห็นชิ้นงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของกระทรวงพาณิชย์ ก็ไปสนับสนุนให้มีการจัดตั้งการร่วมทุนผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย 2 บริษัท โดยหนึ่งบริษัทฯนั้นกำลังจะปิดตัว เพราะเป้าหมายไม่ชัดเจนว่าจะพัฒนาอย่างไร
3. ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยที่เป็น SMEs ต้องการให้พัฒนาเครือข่ายด้วยการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ประกอบการในประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งปัจจุบัน ทูตพาณิชย์ยังไม่ได้เข้าไปดำเนินการเรื่องนี้แต่อย่างใด ซึ่งการพัฒนาเครือข่าย จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ในการให้การพัฒนาที่เป็นแบบ Door to Door ซึ่ง SMEs ไทยไม่มีสาขาหรือบริษัทร่วมทุนก็สามารถไปใช้เครือข่ายหรือเอเย่นต์ในประเทศเพื่อนบ้านได้
4. สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีขีดความสามารถในการลงทุนในต่างประเทศ ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมให้มีการจับคู่ในการร่วมทุนกับนักธุรกิจผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงค์โปร์ , มาเลเซีย , เวียดนาม ,ลาว และกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีพันธกิจในเรื่องนี้ แต่ก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและเข้าใจในธุรกิจบริการโลจิสติกส์น้อยมาก
5. ในด้านสภาพคล่องและการเงิน สถาบันการเงินของไทย รวมถึง EXIM Bank และ SME Bank มีความเข้าใจในธุรกิจโลจิสติกส์ค่อนข้างน้อย และธุรกิจนี้เป็นธุรกิจบริการ หลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน จึงมีความแตกต่างจากภาคอุตสาหกรรม แต่ภาคการเงินยังมองธุรกิจนี้เหมือนกับอุตสาหกรรม จึงทำให้เข้าถึงแหล่งทุนยาก
6. ภาครัฐ ควรที่จะกำหนดให้มีหน่วยงานหลักที่จะเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทย ให้มีขีดความสามารถทั้งเชิงรับและเชิงรุก ต่อการเปิดเสรีภาคบริการโลจิสติกส์ภายใต้กรอบอาเซียน ในปี 2013 มิเช่นนั้นธุรกิจของไทยจะต้องมีการปิดกิจการเป็นจำนวนมาก
" />
|
||||
|
||||
การพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ภายใต้การเปิดเสรีภาคโลจิสติกส์อาเซียน ปี 2010 Shareการพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ภายใต้การเปิดเสรีภาคโลจิสติกส์อาเซียน ปี 2010 โดย ดร. รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองประธานกรรมการ 15 มิถุนายน 2552 คำจำกัดความ โดย ดร.ธนิต โสรัตน์[1] Logistics หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า จากแหล่งที่ผลิต (Source of Origin) จนสินค้าได้มีการส่งมอบไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ (Source of Consumption) โดยกิจกรรมดังกล่าว จะต้องมีลักษณะเป็นกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลา (Just in Time) และเพื่อลดต้นทุนรวม โดยมุ่งให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้า (Customers Satisfaction) และส่งเสริมเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆของระบบ Logistics จะต้องมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องประสานกัน ในอันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน (รายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารแนบ หรือ www.tanitsorat.com) สาระและองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1. Material Requirement Flow ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งสินค้าและวัตถุดิบ 2. Goods & Service Flow โลจิสติกส์ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า-บริการ 3. Information Flow ความหมายของโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร 4. Storage Flow โลจิสติกส์ในควาหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ 5. Distribution Flow ความหมายของโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า 6. Place Flow ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงพื้นที่ 7. Time Flow ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเวลา 8. Fund Flow ความหมายที่เกี่ยวกับการจัดการเคลื่อนย้ายทุน สถานภาพอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทย ประมาณการว่าผู้ประกอบการ โลจิสติกส์ของไทยจากข้อมูลของกรมพัฒนาเศรษฐกิจการค้า) ในปี 2549 มีทั้งสิ้นประมาณ 14,383 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนรวมกัน 224,630,360,778 บาท โดยกว่า 52% เป็น SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยลักษณะของธุรกิจ ประกอบด้วย 1. กลุ่มการขนส่งสินค้า มีสัดส่วน 54% 2. กลุ่มที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าและกระจายสินค้า มีสัดส่วน 24% 3. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับงานชิปปิ้งออกของและตัวแทนให้บริการทั่วไป มีสัดส่วน 19% 4. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาและบริการ มีสัดส่วน 3% ประมาณกันว่า ในปี 2009 ธุรกิจประเภทผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีมูลค่าทางด้านการตลาด 150,000 165,000 ล้านบาท และปี 2010 มีมูลค่า 18,500 ล้านบาท โดยแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ยังไม่มีการบันทึก แต่จากตัวเลขการขยายตัวของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ภายในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีการเติบโตเฉลี่ยที่ ร้อยละ 12-15 สถานภาพการแข่งขัน ปัจจุบันสถานภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทย จัดว่าอยู่ในระดับที่มีการแข่งขันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจด้านการขนส่งทางบก และด้านตัวแทนออกของหรือชิปปิ้งจะมีการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ให้บริการของไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs ขาดซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับบริษัทต่างชาติ ทำให้ขาดการต่อรอง โดยเฉพาะในช่วงปี 2009 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ GDP ของไทยติดลบร้อยละ 2-3 วิกฤตของไทยในช่วงเวลาที่ผ่านถึง 2-3 ปี มีการปิดตัวเป็นจำนวนมาก และหรือถูก Take Over / Nominee จากคนต่างชาติ จากตัวเลขผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทย 50 อันดับแรก เป็นบริษัทต่างชาติ จำนวน 26 บริษัท , บริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 บริษัท , บริษัทมหาชน จำนวน 10 บริษัท พันธกรณีของไทยสาขาโลจิสติกส์ ภายใต้กรอบ WTO 1. การจัดตั้งธุรกิจ ได้ในรูปแบบ Limited Liability Company เท่านั้น และให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% และผู้บริหารไม่น้อยกว่า 50% ต้องเป็นคนไทย 2. การเคลื่อนย้ายบุคคล คนต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยได้ในฐานะผู้ติดต่อธุรกิจ (Business Visitor) หรือเข้ามาทำงานในฐานะเป็นผู้โอนย้ายภายในกิจการ (Intra Corporate Transferee) ที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญ (ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายไทย) ทั้งนี้ ไทยได้ผูกพันที่จะอนุญาตให้คนต่างชาติมาจัดตั้งธุรกิจและทำงานในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้ § ธุรกิจขนส่งทางอากาศ บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน การขายและการตลาดบริการขนส่งทางอากาศ § ธุรกิจขนส่งทางราง บริการซ่อมบำรุงรถไฟ ทำความสะอาดรถไฟโดยสารและรถไฟสินค้า บริการรักษาความปลอดภัยที่สถานีรถไฟ § ธุรกิจขนส่งทางทะเล การขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ บริการลากจูง บริการรับถ่ายน้ำสกปรกจากเรือ บริการจัดการเรือต่างประเทศที่เมืองท่าในไทย บริการตรวจสภาพเรือและอุปกรณ์ และบริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ § ธุรกิจขนส่งทางถนน บริการขนสินค้าแช่เย็นแช่แข็ง สินค้าเหลว และคอนเทนเนอร์ บริการให้เช่ารถเก๋งพร้อมคนขับ บริการให้เช่ารถบัสพร้อมคนขับ § ธุรกิจอื่น ๆ บริการเก็บรักษาสินค้า ผลกระทบของไทยต่อการเปิดเสรีสาขาโลจิสติกส์ในปี 2013 โดยนักลงทุนในอาเซียนสามารถมาลงทุนถือหุ้นในธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยได้ 70% โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทยกว่าร้อยละ 60 70 ที่จะรับผลกระทบ เนื่องจากสภาวการณ์ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ อีกทั้ง การที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการสร้างเส้นทางขนส่งทางถนนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้เครือข่าย North South / East West Economics Corridor ซึ่งไทยมีพันธกิจในการพัฒนาเส้นทางตามกรอบข้อตกลงการขนส่งข้ามแดน CBTA ตามกรอบ ASEAN TRANSPORT / GMS / ACMECS ซึ่งบทบาทการขนส่งทางถนนในภูมิภาคจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการของสิงคโปร์ , มาเลเซีย และจีน (ซึ่งจะเป็นบริษัทนอมินี่ให้กับบางประเทศในอาเซียน จะเข้ามารุกตลาดด้านการบริการโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนมีทุนขนาดใหญ่และมีเครือข่าย รวมถึง ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ธุรกิจในไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้) ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือก่อนที่จะมีการเปิดเสรี ในปี 2013 1. ปัญหาการพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย คือ ไม่มีหน่วยงานของรัฐใดๆ ที่เป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะมีการตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ หรือ กบส. ซึ่ง สศช. เป็นผู้ดูแล แต่ก็ทำหน้าที่เป็นเพียงเลขานุการ ขาดซึ่งยุทธศาสตร์ อำนาจหน้าที่ และงบประมาณที่จะเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทย 2. ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไปสู่สากล แต่โดยข้อเท็จจริงก็ไม่มีแผนงาน งบประมาณ และหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดที่จะเข้าไปดำเนินการ ถึงแม้จะมีการจัดตั้งสำนักโลจิสติกส์การค้าของกรมส่งเสริมการส่งออก ที่ผ่านมา 2 ปี ก็ยังไม่เห็นชิ้นงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของกระทรวงพาณิชย์ ก็ไปสนับสนุนให้มีการจัดตั้งการร่วมทุนผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย 2 บริษัท โดยหนึ่งบริษัทฯนั้นกำลังจะปิดตัว เพราะเป้าหมายไม่ชัดเจนว่าจะพัฒนาอย่างไร 3. ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยที่เป็น SMEs ต้องการให้พัฒนาเครือข่ายด้วยการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ประกอบการในประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งปัจจุบัน ทูตพาณิชย์ยังไม่ได้เข้าไปดำเนินการเรื่องนี้แต่อย่างใด ซึ่งการพัฒนาเครือข่าย จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ในการให้การพัฒนาที่เป็นแบบ Door to Door ซึ่ง SMEs ไทยไม่มีสาขาหรือบริษัทร่วมทุนก็สามารถไปใช้เครือข่ายหรือเอเย่นต์ในประเทศเพื่อนบ้านได้ 4. สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีขีดความสามารถในการลงทุนในต่างประเทศ ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมให้มีการจับคู่ในการร่วมทุนกับนักธุรกิจผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงค์โปร์ , มาเลเซีย , เวียดนาม ,ลาว และกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีพันธกิจในเรื่องนี้ แต่ก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและเข้าใจในธุรกิจบริการโลจิสติกส์น้อยมาก 5. ในด้านสภาพคล่องและการเงิน สถาบันการเงินของไทย รวมถึง EXIM Bank และ SME Bank มีความเข้าใจในธุรกิจโลจิสติกส์ค่อนข้างน้อย และธุรกิจนี้เป็นธุรกิจบริการ หลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน จึงมีความแตกต่างจากภาคอุตสาหกรรม แต่ภาคการเงินยังมองธุรกิจนี้เหมือนกับอุตสาหกรรม จึงทำให้เข้าถึงแหล่งทุนยาก 6. ภาครัฐ ควรที่จะกำหนดให้มีหน่วยงานหลักที่จะเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทย ให้มีขีดความสามารถทั้งเชิงรับและเชิงรุก ต่อการเปิดเสรีภาคบริการโลจิสติกส์ภายใต้กรอบอาเซียน ในปี 2013 มิเช่นนั้นธุรกิจของไทยจะต้องมีการปิดกิจการเป็นจำนวนมาก ไฟล์ประกอบ : 039TNT20092.pdf อ่าน : 7384 ครั้ง วันที่ : 15/06/2009 |
||||
|