โดย ดร.
ประธานกรรมการ
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
12 มิถุนายน 2552
การลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการนำระบบนวัตกรรม RFID มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเชิงเวลา และประหยัดต้นทุน โดยปัจจัยสำคัญจะต้องนำระบบโลจิสติกส์ที่เป็นกายภาพไปสู่ระบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า e-Logistics มาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehouse and Inventory Management) โดยเทคโนโลยีที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในระยะนี้ น่าจะได้แก่ การนำระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง, การขนส่งทางไกล รวมไปถึงการกระจายสินค้า เช่น ระบบการกระจายสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทเมกะสโตร์ ,ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจาก RFID ซึ่งเป็นนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า การแทรคกิ้ง (Tracking) , การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับซอฟท์แวร์ก็สามารถเติมเต็มจำนวนของสินค้าที่เรียกว่า e-Fulfillment หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lean และระบบการส่งมอบแบบ Kanban ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่มีสินค้าคงคลังต่ำ เห็นได้ว่า นวัตกรรม RFID จะเป็นความจำเป็นของภาคการผลิตและการค้าในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
RFID หรือ Radio-frequency identification คือ ระบบเก็บข้อมูลลงบน Tag Electronicsเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งส่งกำลังด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แทนการสัมผัสทางกายภาพ โดยมีการคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระดับเดียวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ,อี-คอมเมิร์ส (e-commerce) เช่น การค้าปลีก ,การค้าส่ง ,การผลิต ,การรักษาความปลอดภัย ,การทดแทนระบบบาร์โค้ด บัตรพนักงาน และบัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ RFID จัดเป็นนวัตกรรมใหม่ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ให้เกิดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายข้อมูลเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการไหลลื่นของการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การรวบรวม การจัดเก็บ และการกระจายสินค้า ตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรมต้นน้ำ ไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง จนสินค้านั้นได้มีการเปลี่ยนสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป และได้มีการส่งมอบไปจนถึงผู้บริโภค ปัญหาของการจัดการระบบโลจิสติกส์ที่ผ่านมา ก็คือการบ่งชี้สถานภาพของตัวสินค้า รายละเอียดของสินค้าและสถานะการส่งมอบ ถึงจะมีระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา ก็จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของคน ซึ่งนอกจากการทำให้มีความล่าช้าและยังก่อให้เกิดการผิดพลาดในลักษณะที่เป็น Human Error ในช่วงเวลาที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น (Cost Push) อันเกิดจากวิกฤติราคาน้ำมัน การลงทุนในระบบ RFID จึงจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการที่จะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าปลีก
RFID เป็นระบบอัจฉริยะภายใต้ Nano Technology ที่กำลังจะมีบทบาทเข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ด โดยระบบนี้จะใช้ระบบคลื่นของความถี่วิทยุ มาช่วยในการอ่านรหัสและข้อมูลของสินค้าหรือข้อมูลของฉลากได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ในขณะที่สินค้ายังเคลื่อนไหวพร้อมกันได้คราวละหลายชิ้น (Tag) โดย RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ด้วยความเร็วสูง และยังสามารถอ่านค่าของสินค้านั้นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล โดยส่วนประกอบใน RFID จะมีส่วนประกอบหลักๆสำคัญ คือ Tag หรือฉลาก ซึ่งจะติดอยู่กับตัวสินค้า โดยฉลากหรือ Tag จะมี Transceiver ซึ่งจะเป็นเครื่องอ่าน (Reader) โดยหน้าที่หลักของเครื่องอ่านจะสามารถเชื่อมต่อด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งมีทั้งการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ในการถอดรหัสสินค้า Decoding โดยระบบ RFID ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาไปมากจนถึงขั้นที่เป็น RFID จะมี Digital Chip ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่มีขีดความสามารถในการเก็บข้อมูล และส่งสัญญาณวิทยุแม้แต่ในที่ปิดทึบ โดยสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบ XML / Internet ก็สามารถที่จะถอดรหัสทางไกลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ปลายทาง ทำให้ผู้รับสินค้าสามารถรู้ล่วงหน้าถึงรายละเอียดของสินค้า , แหล่งที่ผลิต และสินค้ากำลังขนส่งอยู่ตรงส่วนใดของโลก รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งระบบบาร์โค้ดทำไม่ได้ ซึ่งด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นนวัตกรรมในการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งและรับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Security and Access Control) ในการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อการร้ายข้ามประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา , สหภาพยุโรป ฯลฯ ดังนั้น การส่งสินค้าออกด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในอนาคตอันสั้นๆ นี้ ระบบ RFID จะเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็น Electronic Seal ซึ่งติดอยู่ที่ตู้คอนเทนเนอร์ในการแสดงสถานะ (Status) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสินค้าและผู้ส่งสินค้าสามารถใช้ในการติดตาม Tracking การเดินทางของสินค้าในระยะทางไกล เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดี RFID ยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวกับซัพพลายเชน เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต (Neo Industries) ไม่ว่าจะเป็นระบบการค้าปลีก การค้าส่ง ระบบการผลิต รวมถึง การขับเคลื่อนทางโลจิสติกส์ โดยสามารถนำ RFID มาประยุกต์ในระบบ Production Line Automation เพื่อรับทราบข้อมูลการผลิตและการควบคุมคุณภาพได้ตลอดเวลา ซึ่งสินค้าที่ติด RFID Tag เมื่อผ่านสายพานลำเลียงของระบบการผลิตในโรงงานส่งผลให้แต่ละหน่วยงานจะรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร สินค้าอะไร จำนวนเท่าใด จะต้องส่งไปที่ไหน ส่งให้ใคร และเมื่อใด ซึ่งก่อให้เกิดการส่งมอบที่เป็น Just in Time Delivery ทั้งนี้ RFID ยังสามารถนำไปใช้จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เช่น ลูกค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยผู้ซื้อสินค้าเพียงหยิบใส่รถเข็นและเดินผ่านเครื่องถอดรหัสก็สามารถที่จะคิดเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยิบสินค้าทีละชิ้นมาผ่านแสงบาร์โค้ด เช่น ห้าง วอล์ล มาร์ท ซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้มีการนำ RFID มาใช้ตั้งแต่ปี 2005 รวมถึงได้นำมาเชื่อมเครือข่ายกับ Suppliers ทั่วโลกเริ่มตั้งแต่เมื่อลูกค้าได้หยิบสินค้าออกจากชั้นวางของ RFID จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์รวมเพื่อประมวลข้อมูลสินค้าคงเหลือกับ Safety Stock หลังจากนั้นก็จะส่งใบสั่งซื้อ Order Online ไปยังคู่ค้า Supplier เพื่อให้ผลิตและส่งมอบสินค้ามาทดแทน ซึ่งระบบนี้ก็จะเริ่มมีการใช้แพร่หลายในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งของโลก ทั้งนี้ RFID จะส่งเสริมต่อประสิทธิภาพของ VMI หรือ Vendor Managed Inventory คือ การจัดการควบคุมปริมาณการรับสินค้าจากคู่ค้าให้สอดคล้องกับการผลิตและการส่งมอบ ทำให้ช่วยลดต้นทุนและทำให้การส่งมอบเป็นแบบ Real Time โดยระบบนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การสั่งซื้ออัตโนมัติ ทำให้ลดเวลาและภาระในการจัดซื้อหรือ Reorder ในการลดสินค้าคงคลัง ทั้งนี้ RFID จะเป็นนวัตกรรมใหม่ของอนาคตในการแก้ปัญหาและหรือหาคำตอบ (Solution) ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน ทำให้ระบบโซ่อุปทานโลจิสติกส์กลายเป็นเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น e-supply chain อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี RFID จะมีความจำเป็นต่อการบริหารการจัดการซัพพลายเชนของภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Industries Sector) ในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
|
||||
|
||||
RFID Solution for Neo-Industry Sector ShareRFID Solution for Neo-Industry Sector โดย ดร. ประธานกรรมการ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 12 มิถุนายน 2552 การลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการนำระบบนวัตกรรม RFID มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย , จัดเก็บ และกระจายสินค้า เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเชิงเวลา และประหยัดต้นทุน โดยปัจจัยสำคัญจะต้องนำระบบโลจิสติกส์ที่เป็นกายภาพไปสู่ระบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า e-Logistics มาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehouse and Inventory Management) โดยเทคโนโลยีที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในระยะนี้ น่าจะได้แก่ การนำระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง, การขนส่งทางไกล รวมไปถึงการกระจายสินค้า เช่น ระบบการกระจายสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทเมกะสโตร์ ,ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจาก RFID ซึ่งเป็นนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า การแทรคกิ้ง (Tracking) , การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับซอฟท์แวร์ก็สามารถเติมเต็มจำนวนของสินค้าที่เรียกว่า e-Fulfillment หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lean และระบบการส่งมอบแบบ Kanban ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่มีสินค้าคงคลังต่ำ เห็นได้ว่า นวัตกรรม RFID จะเป็นความจำเป็นของภาคการผลิตและการค้าในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ RFID หรือ Radio-frequency identification คือ ระบบเก็บข้อมูลลงบน Tag Electronicsเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งส่งกำลังด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แทนการสัมผัสทางกายภาพ โดยมีการคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระดับเดียวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ,อี-คอมเมิร์ส (e-commerce) เช่น การค้าปลีก ,การค้าส่ง ,การผลิต ,การรักษาความปลอดภัย ,การทดแทนระบบบาร์โค้ด บัตรพนักงาน และบัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ RFID จัดเป็นนวัตกรรมใหม่ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ให้เกิดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายข้อมูลเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการไหลลื่นของการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การรวบรวม การจัดเก็บ และการกระจายสินค้า ตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรมต้นน้ำ ไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง จนสินค้านั้นได้มีการเปลี่ยนสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป และได้มีการส่งมอบไปจนถึงผู้บริโภค ปัญหาของการจัดการระบบโลจิสติกส์ที่ผ่านมา ก็คือการบ่งชี้สถานภาพของตัวสินค้า รายละเอียดของสินค้าและสถานะการส่งมอบ ถึงจะมีระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา ก็จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของคน ซึ่งนอกจากการทำให้มีความล่าช้าและยังก่อให้เกิดการผิดพลาดในลักษณะที่เป็น Human Error ในช่วงเวลาที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น (Cost Push) อันเกิดจากวิกฤติราคาน้ำมัน การลงทุนในระบบ RFID จึงจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการที่จะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าปลีก RFID เป็นระบบอัจฉริยะภายใต้ Nano Technology ที่กำลังจะมีบทบาทเข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ด โดยระบบนี้จะใช้ระบบคลื่นของความถี่วิทยุ มาช่วยในการอ่านรหัสและข้อมูลของสินค้าหรือข้อมูลของฉลากได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ในขณะที่สินค้ายังเคลื่อนไหวพร้อมกันได้คราวละหลายชิ้น (Tag) โดย RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ด้วยความเร็วสูง และยังสามารถอ่านค่าของสินค้านั้นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล โดยส่วนประกอบใน RFID จะมีส่วนประกอบหลักๆสำคัญ คือ Tag หรือฉลาก ซึ่งจะติดอยู่กับตัวสินค้า โดยฉลากหรือ Tag จะมี Transceiver ซึ่งจะเป็นเครื่องอ่าน (Reader) โดยหน้าที่หลักของเครื่องอ่านจะสามารถเชื่อมต่อด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งมีทั้งการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ในการถอดรหัสสินค้า Decoding โดยระบบ RFID ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาไปมากจนถึงขั้นที่เป็น RFID จะมี Digital Chip ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่มีขีดความสามารถในการเก็บข้อมูล และส่งสัญญาณวิทยุแม้แต่ในที่ปิดทึบ โดยสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบ XML / Internet ก็สามารถที่จะถอดรหัสทางไกลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ปลายทาง ทำให้ผู้รับสินค้าสามารถรู้ล่วงหน้าถึงรายละเอียดของสินค้า , แหล่งที่ผลิต และสินค้ากำลังขนส่งอยู่ตรงส่วนใดของโลก รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ ซึ่งระบบบาร์โค้ดทำไม่ได้ ซึ่งด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นนวัตกรรมในการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งและรับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Security and Access Control) ในการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อการร้ายข้ามประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา , สหภาพยุโรป ฯลฯ ดังนั้น การส่งสินค้าออกด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในอนาคตอันสั้นๆ นี้ ระบบ RFID จะเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็น Electronic Seal ซึ่งติดอยู่ที่ตู้คอนเทนเนอร์ในการแสดงสถานะ (Status) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสินค้าและผู้ส่งสินค้าสามารถใช้ในการติดตาม Tracking การเดินทางของสินค้าในระยะทางไกล เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี RFID ยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวกับซัพพลายเชน เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต (Neo Industries) ไม่ว่าจะเป็นระบบการค้าปลีก การค้าส่ง ระบบการผลิต รวมถึง การขับเคลื่อนทางโลจิสติกส์ โดยสามารถนำ RFID มาประยุกต์ในระบบ Production Line Automation เพื่อรับทราบข้อมูลการผลิตและการควบคุมคุณภาพได้ตลอดเวลา ซึ่งสินค้าที่ติด RFID Tag เมื่อผ่านสายพานลำเลียงของระบบการผลิตในโรงงานส่งผลให้แต่ละหน่วยงานจะรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร สินค้าอะไร จำนวนเท่าใด จะต้องส่งไปที่ไหน ส่งให้ใคร และเมื่อใด ซึ่งก่อให้เกิดการส่งมอบที่เป็น Just in Time Delivery ทั้งนี้ RFID ยังสามารถนำไปใช้จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เช่น ลูกค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยผู้ซื้อสินค้าเพียงหยิบใส่รถเข็นและเดินผ่านเครื่องถอดรหัสก็สามารถที่จะคิดเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยิบสินค้าทีละชิ้นมาผ่านแสงบาร์โค้ด เช่น ห้าง วอล์ล มาร์ท ซึ่งเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้มีการนำ RFID มาใช้ตั้งแต่ปี 2005 รวมถึงได้นำมาเชื่อมเครือข่ายกับ Suppliers ทั่วโลกเริ่มตั้งแต่เมื่อลูกค้าได้หยิบสินค้าออกจากชั้นวางของ RFID จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์รวมเพื่อประมวลข้อมูลสินค้าคงเหลือกับ Safety Stock หลังจากนั้นก็จะส่งใบสั่งซื้อ Order Online ไปยังคู่ค้า Supplier เพื่อให้ผลิตและส่งมอบสินค้ามาทดแทน ซึ่งระบบนี้ก็จะเริ่มมีการใช้แพร่หลายในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งของโลก ทั้งนี้ RFID จะส่งเสริมต่อประสิทธิภาพของ VMI หรือ Vendor Managed Inventory คือ การจัดการควบคุมปริมาณการรับสินค้าจากคู่ค้าให้สอดคล้องกับการผลิตและการส่งมอบ ทำให้ช่วยลดต้นทุนและทำให้การส่งมอบเป็นแบบ Real Time โดยระบบนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การสั่งซื้ออัตโนมัติ ทำให้ลดเวลาและภาระในการจัดซื้อหรือ Reorder ในการลดสินค้าคงคลัง ทั้งนี้ RFID จะเป็นนวัตกรรมใหม่ของอนาคตในการแก้ปัญหาและหรือหาคำตอบ (Solution) ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน ทำให้ระบบโซ่อุปทานโลจิสติกส์กลายเป็นเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น e-supply chain อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี RFID จะมีความจำเป็นต่อการบริหารการจัดการซัพพลายเชนของภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Industries Sector) ในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไฟล์ประกอบ : 038-RFIDSolutionfo.pdf อ่าน : 3483 ครั้ง วันที่ : 15/06/2009 |
||||
|