ประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับงานโลจิสติกส์

                โดยธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

3 เมษายน 2552

 

บทบาทของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จะมีพันธะกิจหลักเพื่อการขนย้าย , เก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ และสามารถจัดเรียง รวบรวม อยู่ในเนื้อที่ซึ่งจำกัด ให้มีปริมาตรการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลต่อการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆในระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและต่อต้นทุนโลจิสติกส์ อีกทั้ง บรรจุภัณฑ์ที่ดี จะมีการออกแบบเพื่อให้ทำหน้าที่ในการป้องกันสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมค่าทั้งในระหว่างการขนส่งและหรือระหว่างการเก็บเพื่อรอส่งมอบ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังสามารถช่วยให้การจัดวางหรือจัดเรียงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีส่วนสำคัญในฐานะเป็น “Logistics Supporting” ที่จำเป็นต่อการขนย้ายสินค้าจากแหล่งต้นน้ำให้มีการส่งต่อสินค้าผ่านกิจกรรมต่างๆทางโลจิสติกส์จนสินค้าไปสู่ผู้รับปลายทางและหรือผู้บริโภค ในสภาพที่ปลอดภัยมีความสะดวกและมีต้นทุนในการส่งมอบที่ประหยัด  ทั้งนี้ แพคเกจจิ้งหรือการบรรจุภัณฑ์  มีความหมายรวมถึง ภาชนะ , กล่อง , หีบ ,  ห่อ , ลัง , พาเลท , ตู้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำหน้าที่เพื่อการบรรจุวัตถุดิบสินค้าหรือสิ่งของไว้ภายใน จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าตลอดโซ่อุปทานจนไปสู่ผู้ใช้หรือผู้บริโภค

                นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทต่อการส่งเสริมทางการตลาด (Market Promotion) โดยการเน้นในเรื่องของความสวยงาม ความสะดุดตาและดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้มีการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์ในยุคปัจจุบันจึงทำหน้าที่ในการสร้าง “Image” หรือภาพลักษณ์ ของสินค้าก่อนที่ผู้ซื้อจะเห็นตัวสินค้าจริง (ซึ่งอยู่ภายใน) จะเห็นได้ว่า ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้าสำหรับผู้บริโภคจะมีการดีไซน์รูปแบบหรือสีสันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ รวมถึงมีข้อความประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทต่อประสิทธิภาพของการส่งมอบสินค้าภายใต้ความพึงพอใจของสินค้า อย่างไรก็ตาม  แพคเกจจิ้งไม่ใช่มีบทบาทเฉพาะเพียงที่สำหรับใส่หรือบรรจุสินค้าแต่ยังเกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์และการเพิ่มคุณค่าของสินค้า เพื่อให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น หรือขายสินค้าได้ราคาที่ดีกว่า กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็น Marketing Image ในการช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อสินค้า ขณะเดียวกันแพคเกจจิ้งยังจะออกแบบให้สะดวกต่อการจับต้องหรือหยิบฉวย (Handling) ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกของผู้บริโภคและหรือเพื่อการเคลื่อนย้ายในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า รวมทั้ง เพื่อการขนส่งและการส่งมอบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บรรจุภัณฑ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้ระบบโลจิสติกส์มีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร  

" />
       
 

ประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับงานโลจิสติกส์ Share


ประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับงานโลจิสติกส์

                โดยธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

3 เมษายน 2552

 

บทบาทของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จะมีพันธะกิจหลักเพื่อการขนย้าย , เก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ และสามารถจัดเรียง รวบรวม อยู่ในเนื้อที่ซึ่งจำกัด ให้มีปริมาตรการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลต่อการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆในระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและต่อต้นทุนโลจิสติกส์ อีกทั้ง บรรจุภัณฑ์ที่ดี จะมีการออกแบบเพื่อให้ทำหน้าที่ในการป้องกันสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมค่าทั้งในระหว่างการขนส่งและหรือระหว่างการเก็บเพื่อรอส่งมอบ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังสามารถช่วยให้การจัดวางหรือจัดเรียงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีส่วนสำคัญในฐานะเป็น “Logistics Supporting” ที่จำเป็นต่อการขนย้ายสินค้าจากแหล่งต้นน้ำให้มีการส่งต่อสินค้าผ่านกิจกรรมต่างๆทางโลจิสติกส์จนสินค้าไปสู่ผู้รับปลายทางและหรือผู้บริโภค ในสภาพที่ปลอดภัยมีความสะดวกและมีต้นทุนในการส่งมอบที่ประหยัด  ทั้งนี้ แพคเกจจิ้งหรือการบรรจุภัณฑ์  มีความหมายรวมถึง ภาชนะ , กล่อง , หีบ ,  ห่อ , ลัง , พาเลท , ตู้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำหน้าที่เพื่อการบรรจุวัตถุดิบสินค้าหรือสิ่งของไว้ภายใน จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าตลอดโซ่อุปทานจนไปสู่ผู้ใช้หรือผู้บริโภค

                นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทต่อการส่งเสริมทางการตลาด (Market Promotion) โดยการเน้นในเรื่องของความสวยงาม ความสะดุดตาและดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้มีการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์ในยุคปัจจุบันจึงทำหน้าที่ในการสร้าง “Image” หรือภาพลักษณ์ ของสินค้าก่อนที่ผู้ซื้อจะเห็นตัวสินค้าจริง (ซึ่งอยู่ภายใน) จะเห็นได้ว่า ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้าสำหรับผู้บริโภคจะมีการดีไซน์รูปแบบหรือสีสันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ รวมถึงมีข้อความประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทต่อประสิทธิภาพของการส่งมอบสินค้าภายใต้ความพึงพอใจของสินค้า อย่างไรก็ตาม  แพคเกจจิ้งไม่ใช่มีบทบาทเฉพาะเพียงที่สำหรับใส่หรือบรรจุสินค้าแต่ยังเกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์และการเพิ่มคุณค่าของสินค้า เพื่อให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น หรือขายสินค้าได้ราคาที่ดีกว่า กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็น Marketing Image ในการช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อสินค้า ขณะเดียวกันแพคเกจจิ้งยังจะออกแบบให้สะดวกต่อการจับต้องหรือหยิบฉวย (Handling) ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกของผู้บริโภคและหรือเพื่อการเคลื่อนย้ายในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า รวมทั้ง เพื่อการขนส่งและการส่งมอบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บรรจุภัณฑ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญให้ระบบโลจิสติกส์มีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร  


ไฟล์ประกอบ : 027_PackagingAndHandling.pdf
อ่าน : 4525 ครั้ง
วันที่ : 20/04/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com