โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP          

             เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงลาวและเวียดนาม ระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตลาว 210 กม. และในเขตเวียดนาม 83 กม. อยู่เขตเมียนม่าประมาณ 198 กม. ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย ถนนเส้นนี้มีตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสปกครองต่อมาสภาพถนนชำรุดเสียหายมากเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและภาวะความมาสงบในประเทศ เมื่อธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) สนับสนุนโครงการ East-West Economic Corridor จึงให้งบประมาณช่วยเหลือแก่ลาว เพื่อปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 เนื่องจากเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่จะเชื่อมโยงเมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ในพม่าทางตะวันตกกับนครดานัง (Danang City) ในเวียดนามทางตะวันออก โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทย คือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร-สะหวันนะเขต เพื่อไปเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข 9


โครงการก่อสร้างเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งประกอบด้วย โครงการดังนี้

  1. เส้นทางหมายเลข 9 (ในลาว) ระยะทางประมาณ 210 กม. เป็นการปรับปรุงและซ่อมแซมเส้นทางหมายเลข 9 (สะหวันนะเขต-เมืองพิน-แดนสวรรค์) ใน สปป.ลาว โดย JICA  ADB และรัฐบาลลาวเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน (มูลค่ารวมประมาณ 105 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อ 23 เม.ย.47
  2. เส้นทางหมายเลข 9 (ในเวียดนาม) ระยะทางประมาณ 83 กม. เป็นการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 (ลาวบาว-ดองฮา) ในเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก ADB และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) คาดว่าจะปรับปรุงเสร็จภายในปี 2547
  3. อุโมงค์ไฮวัน เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ (ระยะทาง 6.4 กม.) และถนนเชื่อมโยง (ระยะทาง 5.9 กม.) บนทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนามในช่วงเมือง Hue-Da Nang โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก JBIC และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 251 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งจะเปิดใช้งานในปี 2547

             การศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงประเทศไทย , สปป.ลาว และกัมพูชา โดยใช้ถนนนานาชาติ International Road สายใหม่ของ Asian ที่รู้จักในชื่อเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ East West Economic Corridor เป็นการร่วมมือของประเทศต่างๆซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอนุทวีปหรือคาบสมุทรอาเซียน (Asian Main Land) ประกอบด้วย ประเทศไทย , เมียนม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศนอก Asian คือ ประเทศจีนตอนใต้ (สำหรับฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย และบรูไน พื้นที่เป็นเกาะ) โดยโครงการจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางถนนในการเชื่อมโยงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ถนนหมายเลข 9 เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนามกับเชื่อมโยงท่าเรือเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ของเมียนม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น  ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน  ทั้งนี้ โดยชายฝั่งทะเลของเวียดนามยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือไฮฟอง (Hai Phrong Port) , ท่าเรือวิน (Vinh Port) , ท่าเรือดานัง (Danang Port) , ท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) ฯลฯ โดยเส้นทางจะผ่านเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน (Asian Mainland) เริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนามผ่านเมืองเว้ และเมืองลาวบาวอันเป็นเมืองชายแดน (Lao Bao) อยู่ในจังหวัดกวางจิ (Quangtri) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ติดกับชายแดน สปป.ลาว ระยะทางในประเทศเวียดนามประมาณ 83 กิโลเมตร

             จากนั้นเส้นทางถนนหมายเลข 9 จะผ่านเข้าไปในประเทศ สปป.ลาว เป็นระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร โดยได้รับการพัฒนาการก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น โดย JICA หรือสำนักงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเส้นทางคอนกรีตมาตรฐานรถสวนสองเลน สร้างเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งเส้นทางนี้จะผ่านแขวงสะหวันนะเขตและมาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขง (ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเป็น Land Bridge Gate Way ของไทย โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศเมียนม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลองซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ

           ปัญหาของการใช้เส้นทางที่ประเทศไทย จะต้องเร่งดำเนินการเจรจากับเวียดนาม ก็คือ ปัญหายานยนต์ขนส่งของไทยจะเป็นรถพวงมาลัยขวา ขณะที่ลาวและเวียดนามจะพวงมาลัยซ้าย ซึ่งเป็นปัญหามากในทาง Logistics โดยเฉพาะกับเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งมีเพียงสองเลน เพราะฉะนั้นการขนส่งทางบกระหว่างประเทศ โดยใช้เส้นทางนี้ ภาครัฐจะต้องเร่งทำความตกลงในเรื่องการเอารถจากไทยผ่านลาวเข้าเวียดนาม คงจะต้องมีการเจรจาต่อรองกับทางเวียดนามด้วย ขณะนี้เวียดนามไม่ให้รถของไทยเข้าประเทศ โดยอ้างว่า สภาพถนนของเวียดนามยังไม่มีความปลอดภัยเพราะรถไทยใช้พวงมาลัยขวา นอกจากนี้ การใช้เส้นทางหมายเลข 9 จะต้องผ่านประเทศลาว ซึ่งเป็น Land Lock จึงต้องเร่งทำความตกลงเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว โดยประเทศไทยจะเร่งทำความตกลงการจัดทำ Customs Single Inspection คือ การไม่ต้องตรวจสินค้าของศุลกากร หากเป็นสินค้าผ่านแดน Transit จะเป็นปัญหามาก โดยเฉพาะเมื่อรถผ่านแต่ละแขวงของลาวจะมีการเปิดตรวจ และเรียกเก็บภาษี  โดยทั้งหมดนี้จะต้องดำเนินการก่อนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะแล้วเสร็จในต้นปี 2549 มิฉะนั้น ก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์จากเส้นทางขนส่งสายนี้

 

" />
       
 

ทำความรู้จักกับเส้นทางเศรษฐกิจมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง หรือทางหลวงเอเชียหมายเลข 9 Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP          

             เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงลาวและเวียดนาม ระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตลาว 210 กม. และในเขตเวียดนาม 83 กม. อยู่เขตเมียนม่าประมาณ 198 กม. ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย ถนนเส้นนี้มีตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสปกครองต่อมาสภาพถนนชำรุดเสียหายมากเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและภาวะความมาสงบในประเทศ เมื่อธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) สนับสนุนโครงการ East-West Economic Corridor จึงให้งบประมาณช่วยเหลือแก่ลาว เพื่อปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 เนื่องจากเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่จะเชื่อมโยงเมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ในพม่าทางตะวันตกกับนครดานัง (Danang City) ในเวียดนามทางตะวันออก โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทย คือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร-สะหวันนะเขต เพื่อไปเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข 9


โครงการก่อสร้างเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งประกอบด้วย โครงการดังนี้

  1. เส้นทางหมายเลข 9 (ในลาว) ระยะทางประมาณ 210 กม. เป็นการปรับปรุงและซ่อมแซมเส้นทางหมายเลข 9 (สะหวันนะเขต-เมืองพิน-แดนสวรรค์) ใน สปป.ลาว โดย JICA  ADB และรัฐบาลลาวเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน (มูลค่ารวมประมาณ 105 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อ 23 เม.ย.47
  2. เส้นทางหมายเลข 9 (ในเวียดนาม) ระยะทางประมาณ 83 กม. เป็นการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 (ลาวบาว-ดองฮา) ในเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก ADB และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) คาดว่าจะปรับปรุงเสร็จภายในปี 2547
  3. อุโมงค์ไฮวัน เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ (ระยะทาง 6.4 กม.) และถนนเชื่อมโยง (ระยะทาง 5.9 กม.) บนทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนามในช่วงเมือง Hue-Da Nang โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก JBIC และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 251 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งจะเปิดใช้งานในปี 2547

             การศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงประเทศไทย , สปป.ลาว และกัมพูชา โดยใช้ถนนนานาชาติ International Road สายใหม่ของ Asian ที่รู้จักในชื่อเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ East West Economic Corridor เป็นการร่วมมือของประเทศต่างๆซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอนุทวีปหรือคาบสมุทรอาเซียน (Asian Main Land) ประกอบด้วย ประเทศไทย , เมียนม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศนอก Asian คือ ประเทศจีนตอนใต้ (สำหรับฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย และบรูไน พื้นที่เป็นเกาะ) โดยโครงการจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางถนนในการเชื่อมโยงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ถนนหมายเลข 9 เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนามกับเชื่อมโยงท่าเรือเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ของเมียนม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น  ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน  ทั้งนี้ โดยชายฝั่งทะเลของเวียดนามยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือไฮฟอง (Hai Phrong Port) , ท่าเรือวิน (Vinh Port) , ท่าเรือดานัง (Danang Port) , ท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) ฯลฯ โดยเส้นทางจะผ่านเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน (Asian Mainland) เริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนามผ่านเมืองเว้ และเมืองลาวบาวอันเป็นเมืองชายแดน (Lao Bao) อยู่ในจังหวัดกวางจิ (Quangtri) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ติดกับชายแดน สปป.ลาว ระยะทางในประเทศเวียดนามประมาณ 83 กิโลเมตร

             จากนั้นเส้นทางถนนหมายเลข 9 จะผ่านเข้าไปในประเทศ สปป.ลาว เป็นระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร โดยได้รับการพัฒนาการก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น โดย JICA หรือสำนักงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเส้นทางคอนกรีตมาตรฐานรถสวนสองเลน สร้างเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งเส้นทางนี้จะผ่านแขวงสะหวันนะเขตและมาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขง (ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเป็น Land Bridge Gate Way ของไทย โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศเมียนม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลองซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ

           ปัญหาของการใช้เส้นทางที่ประเทศไทย จะต้องเร่งดำเนินการเจรจากับเวียดนาม ก็คือ ปัญหายานยนต์ขนส่งของไทยจะเป็นรถพวงมาลัยขวา ขณะที่ลาวและเวียดนามจะพวงมาลัยซ้าย ซึ่งเป็นปัญหามากในทาง Logistics โดยเฉพาะกับเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งมีเพียงสองเลน เพราะฉะนั้นการขนส่งทางบกระหว่างประเทศ โดยใช้เส้นทางนี้ ภาครัฐจะต้องเร่งทำความตกลงในเรื่องการเอารถจากไทยผ่านลาวเข้าเวียดนาม คงจะต้องมีการเจรจาต่อรองกับทางเวียดนามด้วย ขณะนี้เวียดนามไม่ให้รถของไทยเข้าประเทศ โดยอ้างว่า สภาพถนนของเวียดนามยังไม่มีความปลอดภัยเพราะรถไทยใช้พวงมาลัยขวา นอกจากนี้ การใช้เส้นทางหมายเลข 9 จะต้องผ่านประเทศลาว ซึ่งเป็น Land Lock จึงต้องเร่งทำความตกลงเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว โดยประเทศไทยจะเร่งทำความตกลงการจัดทำ Customs Single Inspection คือ การไม่ต้องตรวจสินค้าของศุลกากร หากเป็นสินค้าผ่านแดน Transit จะเป็นปัญหามาก โดยเฉพาะเมื่อรถผ่านแต่ละแขวงของลาวจะมีการเปิดตรวจ และเรียกเก็บภาษี  โดยทั้งหมดนี้จะต้องดำเนินการก่อนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะแล้วเสร็จในต้นปี 2549 มิฉะนั้น ก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์จากเส้นทางขนส่งสายนี้

 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 4499 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com